How to Study GED Test?

GED (General Educational Development) test คือการสอบเทียบเท่าระดับวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยตามหลักสูตรการศึกษาของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา นั่นหมายความว่าผู้ที่ผ่านการสอบ GED จะมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าการเรียนจบม.6 ในไทยและสิ่งนั้นหมายถึงการมีสิทธิสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้

ความหมายอีกอย่างหนึ่งคือการสอบเทียบนั่นเอง โดย GED มีวิชาที่ต้องสอบ 4 วิชา (ก่อนปี 2017 มี 5 วิชา เพิ่งจะมาปรับลดเหลือ 4 วิชา) หากใครสอบผ่านได้หมดก็เท่ากับจบม.6 เลย (แต่ต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปีขึ้นไป) แถมสามารถนำไปสมัครเรียนมหาวิทยาลัยได้หลายประเทศ หลายสถาบัน รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

GED มีจัดสอบตลอดทั้งปีในวันธรรมดา ภายในสัปดาห์เดียว และก็ผ่านหมด ซึ่งหมายถึงจบม.6 ในสัปดาห์เดียวและนั่นหมายถึงการได้สิทธิของผู้จบม.6  เช่น การมีสิทธิสมัครเรียนมหาวิทยาลัย (หลักสูตรอินเตอร์และไทย) สอบ O-NET ม.6/ GAT/ PAT หรือแม้กระทั่งการสอบ กสพท. แม้จะยังอยู่ชั้นม.4-5 เท่านั้น

1) GED สอบวิชาอะไรบ้าง?
GED มีสอบทั้งหมด 4 วิชา ดังนี้

Mathematics Reasoning
Social Studies
Science
Reasoning Through Language Arts (RLA)
แต่ละวิชาจะมีคำถาม 30-50 คำถาม โดยเป็นตัวเลือกตอบ (Choice) เกือบทั้งหมด ส่วนวิชา Reasoning Through Language Arts จะมีการให้เขียน Essay ด้วย

2) สอบได้กี่คะแนนถึงจะผ่าน?
การสอบ GED ให้ผ่านมีรายละเอียดดังนี้

“ทุกวิชามี Scale ตั้งแต่ 100 ถึง 200 คะแนน ในแต่ละวิชาต้องไม่น้อยกว่า 145 คะแนนจึงจะถือว่าสอบผ่านและได้รับ GED Diploma and Transcript ซึ่งเอกสาร 2 อย่างนี้จะต้องทำการ Request ในระบบหลังจากสอบผ่านแล้ว มิฉะนั้นจะไม่มีเอกสารใดๆส่งมา”

3) การสอบซ่อม หรือการสอบเพื่อต้องการให้ได้คะแนนเพิ่ม ต้องเว้นระยะเวลากี่วัน?
การสอบซ่อมและการสอบใหม่เพื่อให้ได้คะแนนมากกว่าเดิม หากเป็นการสอบครั้งที่ 2 และ 3 ในแต่ละวิชา ผู้สอบสามารถลงทะเบียนสอบได้เลย แต่การสอบครั้งที่ 4 เป็นต้นไป ผู้สอบจะต้องเว้นระยะห่างจากการสอบครั้งที่แล้วไม่ต่ำกว่า 60 วัน แต่ผู้สอบเองก็ต้องพิจารณาถึงตัวเองด้วยว่า จะสามารถสอบผ่านหรือไม่?

4) ค่าใช้จ่ายของ GED มีอะไรบ้าง?
ค่าใช้จ่ายของการสอบ GED แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ค่าสอบวิชาละ 75 USD
ค่าใบ GED Diploma and Transcript ใบละ 15 USD
การชำระค่าสอบและค่าเอกสาร จะเป็นการชำระด้วยหมายเลขบัตรเครดิต โดยคีย์ข้อมูลเข้าไป ในเวปไซต์ www.ged.com

5) สมัครสอบ GED ที่ไหน?
การสมัครสอบ GED ผู้เข้าสอบต้องไปเว็ปไซต์ www.ged.com เพื่อเข้าสร้าง Account ถัดจากนั้นจึงสามารถจัดตารางสอบได้
ข้อควรระวังในการสร้าง Account มีดังนี้

ชื่อ-นามสกุล และวัน เดือน ปีเกิด ต้องเหมือนกับเอกสารแสดงตัวที่นำไปสนามสอบ (บัตรประชาชนหรือ Passport)
เลือกสถานที่สอบ ผู้เข้าสอบต้องเลือก “ Other countries และให้เลือก International”

6) สอบ GED ผู้เข้าสอบต้องมีอายุเท่าไร?
ผู้เข้าสอบ GED ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ (นับตามวัน เดือน ปีเกิด) ถึงจะสามารถเข้าสอบ GED ได้

สำหรับผู้ที่อายุ 16-17 ปีบริบูรณ์ (นับตามวัน เดือน ปีเกิด) และต้องการสอบ GED จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน และต้องทำเป็นหนังสือยินยอม (Consent Form) เป็นหลักฐานส่งไปยัง GED Testing Service เพื่อขอเข้าสอบ

7) Consent Form คืออะไร?
Consent Form คือหนังสือยินยอมของผู้ปกครองที่อนุญาตให้นักเรียนที่มีอายุ 16-17 ปีบริบูรณ์เข้าสอบ GED

Consent Form ผู้เข้าสอบสามารถ Download ได้จากเวปไซต์สมัครสอบ GED (www.ged.com) ผู้ปกครองและผู้เข้าสอบต้องกรอกข้อความใน Consent Form ด้วยกัน ถัดจากนั้นส่งเป็น File PDF ไปยัง Operations@gedtestingservice.com

GED Testing Service จะใช้เวลาดำเนินการ Consent Form ประมาณ 2 วัน ถัดจากนั้นผู้เข้าสอบก็จะสามารถจัดตารางสอบ GED ได้

8) ประเทศไทย สอบ GED ที่ไหน?
สถานที่สอบ GED ในประเทศไทย มีทั้งหมด 5 ที่ ดังนี้

1. Paradigm: ชั้น 2 อาคารอัลม่าลิงค์ ชิดลม กทม. 092 063 5599
2. Pearson Professional Centers: BB Building, ชั้น 10 ถนนอโศกมนตรี ซอยสุขุมวิท 21 กทม. 02 664 3563
3. Movaci Technology: 420/11-13 ถนนช้างคลาน  อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 053 920 555
4. Thabyay Education: อ.แม่สอด จ.ตาก
5. Phuket Academic Language School: 66/19 ถนนวิจิตรสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

9) เปลี่ยนวันสอบ GED ได้ไหม?
การเปลี่ยนวันสอบ สามารถเปลี่ยนได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องเปลี่ยนก่อนถึงเวลาสอบ 24 ชั่วโมง ส่วนการยกเลิกสอบนั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยคืนค่าสอบเต็มจำนวน ผ่านบัตรเครดิตที่ใช้สมัครสอบ แต่ต้องยกเลิกก่อนถึงเวลาสอบ 24 ชั่วโมง

10) สอบผ่านแล้ว เมื่อไรจะได้ Diploma และ Transcript?
เมื่อสอบผ่านแล้ว ผู้เข้าสอบต้องรอประมาณ 2 อาทิตย์ หรือน้อยกว่านั้นจะได้รับอีเมลย์ E-Diploma และ E-Transcript จาก GED Testing Service

E-Diploma and E-Transcript ผู้เข้าสอบมีสิทธิ Download ได้ 7 ครั้ง ตามระยะเวลาที่ทาง GED Testing Service กำหนดเอาไว้

โดยส่วนตัว (ผู้เขียน) ผู้เข้าสอบควรดาวน์โหลดเก็บเอาไว้ เผื่อได้ใช้ส่งไปสมัครเรียนต่อตามมหาวิทยาลัยต่างๆ

11) ทำอย่างไรจึงจะได้ Paper Diploma และ Paper Transcript?
เนื่องจากปัจจุบัน GED Testing Service ไม่ได้ส่ง Paper Diploma และ Transcript แล้ว มีเฉพาะ E-Diploma  และ E-Transcript เท่านั้น

12) สิ่งที่ต้องรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการ Paper Diploma และ Paper Transcript มีดังนี้
รออย่างน้อย 2 อาทิตย์ หรือจนกว่าจะได้อีเมลย์ GED Diploma and Transcipt จาก GED Testing Service ถัดจากนั้นจึงจะสามารถ Order เอกสารได้
GED Transcript and Diploma ใบละ 15 USD
บริการส่งเอกสารมี 2 แบบให้เลือก คือ
3.1 United State Postal Service (USPS) เอกสารจะส่งถึงบ้านประมาณ 14 วัน และมีโอกาสหายประมาณ 5% (ในอดีตเคยเกิดขึ้นแล้ว)
3.2 FedEx จะมีค่าบริการเพิ่มใบละ 40 USD เอกสารจะส่งถึงบ้านประมาณ 5 วัน (ไม่นับวันอาทิตย์)

13) GED Diploma ออกโดยรัฐใด?
หน่วยงานที่ออกเอกสาร GED ให้สำหรับผู้สอบที่สอบนอกสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นไปคือ Government of the District of Columbia (Washington, D.C.) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ที่มีใบ GED Diploma จาก District of Columbia สามารถนำไปสมัครสอบมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้เลยโดยไม่ต้องทำการเทียบวุฒิ

14) ประเทศไทยยอมรับ GED หรือเปล่า?
ประเทศไทย โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศเรื่อง การเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศลงไว้วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558 มีเนื้อหาโดยใจความสำคัญว่า ผู้ใดสอบได้รับประกาศนียบัตร High School Equivalency Credential ดำเนินการในนามของ Government of the District of District of Columbia (Washington, D.C.) ให้เท่ากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6)

ทั้งนี้แต่ละหลักสูตรอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก เช่น หลักสูตร BBA จุฬาฯ ยอมรับผลสอบ GED แต่ต้องมีผลการเรียนอย่างน้อย 4 เทอมในระดับม.ปลาย หรือหลักสูตรด้านการแพทย์จะไม่รับผลสอบ GED ดังนั้นผู้สมัครจึงควรตรวจสอบกับหลักสูตรที่สมัครให้ดี

15) ข้อดีของ GED มีอะไรบ้าง?
GED เป็นการศึกษานอกระบบของประเทศอเมริกา ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้สอบ และเมื่อสอบผ่านจะได้รับ High School Equivalency Diploma โดย GED มีข้อดีหลายประการ ดังนี้

เด็กอายุ 16 ปีบริบูรณ์เข้าสอบได้ (กรณีที่ผู้ปกครองอนุญาต)
สอบแค่ 4 วิชาเท่านั้น และข้อสอบก็เป็นแบบ Multiple choices เป็นส่วนใหญ่
มีวันสอบทุกสัปดาห์ วันจันทร์ถึงวันศุกร์
ได้วุฒิเทียบเท่า ม.6 ภายในระยะเวลาไม่นาน
มีหนังสือเตรียมสอบ และสื่อการเรียนในรูปแบบอื่นๆ มากมาย
กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศรับรองวุฒิ GED

16) ข้อเสียของ GED มีไหม?
GED เป็นการศึกษานอกระบบ ซึ่งเหมาะกับบุคคลทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าเรียนภาคปกติได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อนักเรียนที่เรียนอยู่ในระบบปกติให้ความสนใจมาสอบ GED จะมีข้อเสียเปรียบ ดังนี้

ความรู้ด้านวิชาการไม่แน่นเท่าการเรียนตามหลักสูตรม.ปลาย 3 ปี จะมีความลำบากในการเรียนต่อในมหาวิทยาลัย (แต่จะได้เปรียบด้านภาษาอังกฤษแทน)

ข้อสอบวิชา Language Arts, Reading และ Social Studies ผู้เข้าสอบต้องมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ และทักษะการคิด วิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ที่มีความสามารถภาษาอังกฤษไม่ดี จะต้องใช้เวลาเรียนค่อนข้างนาน

สรุปก็คือ สิ่งต่างๆในโลกนี้มักจะมีข้อดีและข้อเสียอยู่เสมอ แต่อย่างน้อย GED ก็เปิดโอกาสให้น้องๆหลายคนมีทางเลือกที่มากขึ้น จากประสบการณ์ 20 ปีของ aims พบว่าน้องๆที่มาสอบ GED มักจะมีลักษณะดังนี้

กลับมาจาก Exchange Program โดยไปต่างประเทศตอนม.5 เมื่อกลับมาจึงต้องการเรียนม.6 พร้อมเพื่อนๆแต่โรงเรียนไม่อนุญาต (และไม่อยากไปเรียนกับน้องๆ) จึงมาสอบ GED เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปเลย

เรียนจบระดับ High School จากต่างประเทศ แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง กระทรวงศึกษาไม่รับเทียบวุฒิให้ (เช่น เรียนจบจริงแต่หน่วยกิตได้ไม่มากพอตามที่กระทรวงฯจะรับเทียบวุฒิให้)
เรียนจบจากโรงเรียนนานาชาติในไทยแต่กระทรวงศึกษาธิการไม่รับรองคุณวุฒิ จึงต้องมาสอบ GED
ต้องการสอบ GED เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก่อนเพื่อนๆ (มีทั้งนักเรียนจากโรงเรียนไทยและนานาชาติ) เพราะการสอบ GED หมายถึงจบระดับชั้นม.ปลาย ดังนั้นในกรณีของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรภาษาไทย นักเรียนที่สอบผ่าน GED จึงมีสิทธิสอบข้อสอบต่างๆที่ “สงวนสิทธิ” ให้กับนักเรียนม.6 เท่านั้น เช่น GAT/ PAT/ 9 วิชาสามัญ/ O-NET/ ข้อสอบ admission ต่างๆ
นักเรียน Home School



ความคิดเห็น