ประวัติกีฬาแฮนด์บอล
กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก ซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก
ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย (Thailand Handball)
หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด
กติกาแฮนด์บอล
กติกาข้อ 1 สนาม (The Playing Court)
1.1 สนามแข่งขัน (รูปที่ 1) เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดยาว 40 เมตร และกว้าง 20 เมตร ประกอบด้วยเขตประตูสองด้านและเขตสนามแข่งขัน เส้นรอบสนามด้านยาวเรียกว่า “เส้นข้าง” และเส้นสั้นเรียกว่า “เส้นประตู”
ข้อกำหนดของสนามแข่งขัน จะต้องไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบต่อทีมหนึ่งทีมใด
ข้อสังเกต เพื่อความปลอดภัย ควรมีพื้นที่รอบสนามแข่งขันกว้างอย่างน้อย 1 เมตร ตลอดแนวจากด้านข้าง และกว้าง 2 เมตร ตลอดแนวจากหลังเส้นประตู
1.2 ประตู (รูปที่ 2) วางที่จุดกึ่งกลางของเส้นประตู ขอบหลังของเสาประตูแต่ละด้านและต้องวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง โดยมีความสูงวัดจากภายใน 2 เมตร กว้าง 3 เมตร
เสาประตูทั้งสองต้องเชื่อมต่อด้วยคานประตู ขอบหลังของเสาประตูจะต้องตั้งอยู่ที่ขอบนอกของเส้นประตู เสาประตูและคานประตูจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดพื้นที่หน้าตัดกว้าง 8 เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน (เช่น ไม้ หรือโลหะชนิด เบาหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ) โดยทาสีตัดกันสองสีทุกด้าน และต้องตัดกับสีของผนังด้านหลังประตู
บริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างเสาประตูและคานประตูควรทาสีเป็นสีเดียวกันด้านละ 28 เซนติเมตร และบริเวณที่อื่น ๆ ยาว 20 เซนติเมตร (รูปที่ 2 ) ประตูจะต้องมีตาข่ายขึงติดไว้และมีลักษณะหยุ่นตัว เมื่อลูกบอลถูกขว้างเข้าไปแล้วจะไม่กระดอนกลับมาอย่างรวดเร็ว
1.3 เขตประตู กำหนดโดยเส้นเขตประตู ซึ่งเขียนได้ดังนี้
- ลากเส้นยาว 3 เมตร ให้ขนานและห่างจากเส้นประตู 6 เมตร
- ลากเส้น ¼ ของวงกลม ใช้รัศมี 6 เมตร โดยใช้จุดศูนย์กลางจากด้านในของเสาประตูแต่ละเสา ลากเส้นจากเส้นประตูไปบรรจบปลายเส้นที่ยาว 3 เมตร (รูปที่ 1 และ 2 )
1.4 เส้นส่งกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) เป็นเส้นไข่ปลา (ในแต่ละช่องยาว 15 เซนติเมตร) ลากขนานให้ห่างจากเส้นเขตประตู 3 เมตร
1.5 เส้น 7 เมตร ลากขนานกับเส้นประตู โดยห่างจากขอบนอกของเส้นประตู 7 เมตร
1.6 เส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) เป็นเส้นยาว 15 เซนติเมตร ลากขนานกับเส้น ประตู โดยห่างจากขอบนอกของเส้นประตู 4 เมตร (รูปที่ 1)
1.7 เส้นกลางสนามลากต่อจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้างทั้งสองด้าน (รูปที่ 1 และ 3)
1.8 เส้นเขตเปลี่ยนตัว 2 ด้าน แต่ละด้านห่างจากเส้นกลางสนาม 4.5 เมตร ลากขนานกับเส้นกลางสนามเข้าไปในสนาม 15 เซนติเมตร
1.9 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น ๆ และกว้าง 5 เซนติเมตร
1.10 เส้นประตูที่อยู่ระหว่างเสาประตูกว้าง 8 เซนติเมตร และต้องสัมพันธ์กับเสาประตูด้วย
กติกาข้อ 2 เวลาการเล่น (Playing Time)
2.1 เวลาการเล่นทั้งประเภทชายและหญิงที่มีอายุ 18 ปี หรือมากกว่า แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พักระหว่างครึ่ง 10 นาที
2.2 เวลาการเล่นจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ตัดสินในสนาม (Court Referee) ให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งเริ่มเล่น และสิ้นสุดเวลาเมื่อผู้จับเวลาให้สัญญาณครั้งสุดท้าย
การละเมิดและการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ก่อนที่ผู้จับเวลาจะให้สัญญาณหมดเวลา จะต้องทำโทษการทำผิดนั้นก่อนหลังจากนั้นจึงค่อยให้สัญญาณหมดเวลา ผู้ตัดสินในสนามสามารถหยุดการเล่นเท่าที่จำเป็นภายหลังจากมีการส่งลูกกินเปล่าหรือยิงโทษการละเมิดกติการะหว่างการส่งลูกกินเปล่าจะมีผลให้การส่งลูกกินเปล่านั้นต้องยกเลิก และเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามได้สิทธิ์ทำการส่ง
ข้อสังเกต ถ้านาฬิกาอัตโนมัติที่แจ้งสัญญาณการหมดเวลาเกิดขัดข้อง ผู้จับเวลาจะต้องใช้นาฬิกาตั้งโต๊ะหรือนาฬิกาจับเวลาแทนและให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน ถ้าใช้นาฬิกาอัตโนมัติ ควรตั้งเวลาตั้งแต่ 0 ถึง 30 นาที
2.3 ทั้งสองทีมจะต้องเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลัง
2.4 ผู้ตัดสินทั้งสองจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่า จะให้มีการหยุดการเล่นชั่วขณะหนึ่งและจะให้เริ่มเล่นต่อเมื่อใด โดยจะต้องให้สัญญาณกับผู้จับเวลาว่าเมื่อไรจะให้หยุดนาฬิกา (ขอเวลานอก) และจะเริ่มเมื่อไร
การหยุดเวลาการเล่น การขอเวลานอกจะต้องแสดงให้ผู้จับเวลาทราบโดยการเป่านกหวีด สั้น ๆ 3 ครั้ง และให้สัญญาณมือรูปตัว T สัญญาณนกหวีดจะต้องเป่าเพื่อแสดงสัญญาณให้เริ่มการเล่นภายหลังจากการขอเวลานอก
2.5 ถ้าสัญญาณหมดเวลาดังขึ้นขณะส่งลูกกินเปล่า หรือยิงลูกโทษที่ 7 เมตร หรือในขณะที่ลูกบอลกำลังอยู่ในอากาศ ให้ทำการส่งใหม่ก่อนที่ผู้ตัดสินจะยุติการแข่งขัน
การละเมิดกติกาหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาระหว่างการส่งลูกกินหรือเปล่า หรือการยิงลูกโทษ จะต้องถูกลงโทษ
2.6 ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่า ผู้จับเวลาได้ให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขันก่อนกำหนด จะต้องให้นักกีฬาอยู่ในสนามและเล่นต่อไป ทีมที่ได้ครอบครองลูกบอลขณะที่สัญญาณหมดเวลาก่อนกำหนดดังขึ้น จะเป็นทีมที่ได้ครอบครองลูกบอลต่อ
ถ้าเวลาในครึ่งแรกจบช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด เวลาในครึ่งหลังจะต้องตัดลงให้น้อยกว่ากำหนดตามเวลาที่เกินไปนั้น
2.7 เมื่อหมดเวลาในช่วงปกติแล้ว ผลเสมอกัน ให้เพิ่มเวลาเพิ่มพิเศษหลังจากพัก 5 นาที โดยให้ทำการเสี่ยงเพื่อเลือกส่งหรือเลือกแดน
เวลาเพิ่มพิเศษแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 5 นาที และให้เปลี่ยนแดน เมื่อหมดเวลาช่วงแรก โดยไม่ต้องพัก
ถ้าผลการแข่งขันยังคงเสมอกันอีกหลังจากต่อเวลาเพิ่มพิเศษครั้งแรกแล้ว ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษครั้ง 2 อีกโดยให้พัก 5 นาทีและทำการเสี่ยงเพื่อเลือกส่งหรือเลือกแดน
ถ้าผลการแข่งขันยังคงเสมอกันอีก การหาผู้ชนะจะต้องเป็นไปตามระเบียบการแข่งขันเฉพาะครั้งนั้น ๆ
กติกาข้อ 3 ลูกบอล (The Ball)
3.1 ลูกบอลจะต้องทำด้วยหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ และเป็นรูปทรงกลม ผิวของลูกบอลต้องไม่สะท้อนแสงหรือลื่น
3.2 ลูกบอลเมื่อวัดโดยรอบก่อนการแข่งขัน สำหรับผู้ชายมีเส้นรอบวงระหว่าง 58-60 เซนติเมตร หนัก 425-475 กรัม สำหรับผู้หญิง มีเส้นรอบวงระหว่าง 54-56 เซนติเมตร หนัก 325-400 กรัม
3.3 การแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีลูกบอลที่ถูกต้องตามกติกาจำนวน 2 ลูก
3.4 เมื่อการแข่งขันได้เริ่มขึ้น จะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้ นอกจากจะมีเหตุผลอันสมควรเท่านั้น
3.5 ลูกบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติต้องมีเครื่องหมายของสหพันธ์เท่านั้นจึงจะสามารถใช้แข่งขันในระดับนานาชาติได้
กติกาข้อ 4 ทีม (The Team)
4.1 ทีมหนึ่งประกอบด้วนผู้เล่น 12 คน ผู้เล่นทุกคนจะต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึกและมีผู้รักษาประตู 1 คน ตลอดเวลาการแข่งขันต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 7 คน (ผู้เล่นในสนาม 6 คน และ ผู้รักษาประตู 1 คน) อยู่ในสนามแข่งขัน ส่วนผู้เล่นที่เหลือ คือ ผู้เล่นสำรอง
เฉพาะผู้เล่นสำรอง ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักและเจ้าหน้าที่ประจำทีม 4 คนเท่านั้นที่อนุญาตให้อยู่ในบริเวณผู้เล่นสำรองได้ เจ้าหน้าที่ประจำทีมทุกคนต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึกและจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ตลอดเวลาการแข่งขัน โดยมีหนึ่งคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อทีมและเฉพาะเจ้าหน้าที่คนนี้เท่านั้นที่สามารถติดต่อกับผู้จับเวลา ผู้บันทึก และผู้ตัดสินได้
4.2 ขณะเริ่มต้นการแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน ที่พร้อมอยู่ในสนามขณะนั้น
จำนวนผู้เล่นของทีมสามารถเพิ่มได้จนถึง 12 คน ตลอดเวลาการแข่งขัน รวมทั้งเวลาเพิ่มพิเศษด้วย
การแข่งขันจะดำเนินต่อไปถึงแม้ว่าจะมีผู้เล่นในสนามเหลือน้อยกว่า 5 คน
4.3 ผู้เล่นมีสิทธิ์เข้าเล่นได้ ถ้าเขามาปรากฏตัวในขณะเริ่มการแข่งขันและมีชื่อในใบบันทึก
ผู้เล่นที่มีสิทธิ์สามารถเข้าเล่นในสนามได้ทุกเวลาในบริเวณเขตเปลี่ยนเขตเปลี่ยนตัวของทีมตัวเอง
ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของทีมซึ่งมาหลังจากการแข่งขันได้เริ่มไปแล้ว จะต้องได้รับอนุญาตให้เข้ามาร่วมการแข่งขันจากผู้จับเวลาหรือผู้บันทึก
ผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันเข้าไปในสนาม จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน และฝ่ายตรงกันข้ามจะได้ส่งลูกกินเปล่า
4.4 ผู้เล่นสำรองสามารถเข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนตัวเข้าซ้ำได้อีกโดยไม่ต้องแจ้งต่อผู้บันทึก/ผู้จับเวลา ผู้เล่นในสนามต้องออกจากสนามให้เรียบร้อยก่อน ในกรณีนี้จะใช้รวมถึงการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูด้วย ผู้เล่นทุกคนจะสามารถเข้าหรือออกจากสนามเฉพาะในส่วนบริเวณเขตเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น
ในระหว่างการขอเวลานอก อนุญาตให้ผู้เล่นเข้าสนามที่บริเวณเขตเปลี่ยนตัว (ซึ่งจะใช้เมื่อ)
การเปลี่ยนตัวตามปกติ
เมื่อได้รับการเรียกให้เข้าสนามจากผู้ตัดสิน (สัญญาณมือที่ 18)
ข้อสังเกต ผู้เล่นคนใดที่ออกหรือเข้าสนามโดยไม่ถูกต้อง จะถูกทำโทษในการเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ ยกเว้น ในกรณีที่บางคนออกจากสนามโดยไม่ตั้งใจ
4.5 การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกาจะถูกทำโทษโดยให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้ส่งลูกกินหรือเปล่า ณ จุดที่ผู้เล่นได้ผ่านเส้นข้าง และถ้าเป็นการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้องขณะหยุดการแข่งขันผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และจะเริ่มเล่นใหม่ ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลงตามความเหมาะสม
4.6 ถ้ามีผู้เล่นเข้าไปในสนามเกินจำนวน โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนตัวผิดระเบียบผู้เล่นนั้นจะต้องสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นคนอื่น 1 คน จะต้องออกจากสนามเพื่อให้ทีมนั้นเล่น โดยมีผู้เล่นน้อยลงอีก 2 คน
ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพักเข้าไปในสนามในขณะช่วงเวลาสั่งพักเขาจะต้องออกจากสนามและถูกสั่งพักในระหว่างช่วงเวลาการสั่งพักช่วงที่ 1 และ 2 ด้วย
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบของทีมจะต้องเป็นผู้กำหนดว่าผู้เล่นคนใดที่จะออกจากสนาม มิฉะนั้น ผู้ตัดสินจะเป็นผู้กำหนดว่าใครจะต้องออกจากสนาม
ข้อสังเกต ผู้เล่นที่ถูกออกจากสนามจากการสั่งพัก หรือยังคงถูกสั่งพักต่อนั้น จะเข้าเล่นในสนามอีกให้ปฏิบัติเหมือนการเปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรอง
เฉพาะผู้เล่นที่ทำความผิดจะถูกสั่งพักเท่านั้นที่จะถูกบันทึกลงในใบบันทึก
4.7 ผู้เล่นแต่ละทีมอยู่ในสนามทุกคนจะต้องสวมเสื้อเป็นสีเดียวกันและทั้งสองทีมต้องสวมเสื้อที่มีแตกต่างจากกันอย่างชัดเจนผู้เล่นที่เป็นผู้รักษาประตูจะต้องสวมเสื้อที่มีสีต่างจากสีเสื้อของ ผู้เล่นในสนามทั้งสองทีม รวมทั้งสีเสื้อของผู้รักษาประตูฝ่ายตรงข้ามด้วย
ผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อที่มีหมายเลขด้านหลังระหว่าง 1 -20 หมายเลข มีขนาดความสูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร และที่ด้านหน้ามีขนาดความสูงอย่างน้อย 10 เซนติเมตร
สีของหมายเลขจะต้องมีสีที่ตัดกับเสื้ออย่างชัดเจน ผู้เล่นทุกคนจะต้องสวมรองเท้ากีฬา
ไม่อนุญาตให้สวมใส่สิ่งใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นอื่น ๆ เช่น เครื่องป้องกันศีรษะหรือหน้า กำไล นาฬิกา แหวน สร้อยคอ สายสร้อย ต่างหู แว่นตาที่ไม่มีกรอบนอก หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่น
ผู้เล่นที่ไม่สามารถถอดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว จะไม่อนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขัน จนกว่าจะได้ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน
หัวหน้าทีมของแต่ละทีม จะต้องสวมปลอกแขนที่มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตรที่แขนท่อนบน และสีของปลอกแขนจะต้องแตกต่างจากสีเสื้อด้วย
กติกาข้อ 5 ผู้รักษาประตู (The Goalkeeper)
5.1 ผู้เล่นที่เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตู สามารถเข้าเล่นเป็นผู้เล่นในสนามได้ทุกเวลา ผู้เล่นในสนามสามารถเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ทุกเวลา แต่ต้องเปลี่ยนเสื้อก่อน
ผู้รักษาประตูสำรองจะต้องอยู่ในบริเวณเขตกาเปลี่ยนตัวตลอดเวลา
อนุญาตให้ผู้รักษาประตูกระทำดังนี้
5.2 ถูกลูกบอลด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทุกส่วนในขณะที่อยู่ในลักษณะการป้องกันภายในเขตประตู
5.3 เคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอลภายในเขตประตูโดยปราศจากข้อจำกัด
5.4 ออกจากเขตประตู โดยมิได้นำเอาลูกบอลออกมา และสามารถเข้าร่วมเล่นในสนามบริเวณเขตสนามเล่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกติกาเช่นเดียวกับผู้เล่นในสนามคนอื่น ๆ
การจะพิจารณาว่าผู้รักษาประตูได้ออกจากเขตประตูเมื่อทันทีที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ถูกพื้นสนามนอกเส้นเขตประตู
5.5 ออกจากเขตประตูและเล่นลูกบอลอีกภายในเขตสนามเล่นโดยมิได้ออกมาโดยการครอบครองลูก (เป็นการป้องกันลูกและไม่สามารถครอบครองลูกได้)
ห้ามผู้รักษาประตูกระทำดังต่อไปนี้
5.6 ทำการป้องกันในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้
5.7 เจตนาทำให้ลูกบอลข้ามออกนอกเส้นประตูลักษณะที่ไม่สามารถครอบครองลูกบอลนั้นได้
5.8 ออกจากเขตประตูพร้อมกับลูกบอล
5.9 ถูกลูกบอลนอกเขตประตู ภายหลังจากได้ส่งลูกบอลจากประตูไปแล้ว นอกจากลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นอื่น ๆ ก่อน (กติกาข้อ 13.1 ข)
5.10 นำลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่นอกเส้นเขตประตูเข้าไปในขณะที่ตัวอยู่ในเขตประตู
(กติกาข้อ 13.1 ข)
5.11 นำลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่นอกเส้นเขตประตูเข้าไปในเขตประตู (กติกาข้อ 13.1 ข)
5.12 กลับเข้าไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอล (กติกาข้อ 13.1 ข)
5.13 ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาในขณะที่ลูกบอลกำลังเคลื่อนที่ไปในสนาม หรือในขณะที่ลูกบอลวางอยู่ในเขตประตู (กติกาข้อ 13.1)
5.14 ข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกบอลจะออกจากมือผู้ยิงโทษ ในขณะที่มีการยิงโทษ (กติกาข้อ 14.1)
ข้อสังเกต ในขณะที่ผู้รักษาประตูยืนที่พื้นด้วยเท้าหนึ่งหลังเส้นเขตประตู (เส้น 4 เมตร) เขาสามารถที่จะเคลื่อนเท้าอื่น ๆ หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายล้ำเหนือเส้นได้
กติกาข้อ 6 เขตประตู (The Goal Area)
6.1 ผู้รักษาประตูเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอนุญาตได้ (กติกาข้อ 6.3)
6.2 ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตู จะถูกพิจารณาตัดสินดังนี้
ก. ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตูขณะที่กำลังครอบครอง ลูกบอลอยู่ (กติกาข้อ 13.1ค)
ข. ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นในสนามที่ไม่ได้ครอบครองลูกบอลเข้าไปในเขตประตูและทำให้เกิดการได้เปรียบ (กติกาข้อ 6.1ค และ 13.1ค)
ค. ยิงลูกโทษ ถ้าผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตูและได้เปรียบฝ่ายรุก ทำให้ได้ครอบครองลูกบอล (กติกาข้อ 14.1 ค.)
6.3 ผู้เล่นในสนามที่เข้าไปในเขตประตูจะยังไม่ถูกทำโทษ
ก. ถ้าเข้าไปในเขตประตูภายหลังจากการเล่นลูกบอลและไม่ทำให้คู่ต่อสู้เกิดการเสียเปรียบ
ข. ถ้าเข้าไปในเขตประตูโดยไม่มีลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบ
ค. ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปในประตูโดยไม่มีลูกบอล ในระหว่าง หรือภายหลังจากการพยายามป้องกันโดยไม่เกิดการได้เปรียบกับคู่ต่อสู้
6.4 ลูกบอลที่อยู่ในเขตประตูเป็นของผู้รักษาประตู ห้ามผู้เล่นในสนามคนอื่นๆ ถูกลูกบอลในขณะที่ลูกบอลวางหรือกลิ้งอยู่บนพื้นสนามในเขตประตู หรือในขณะที่ผู้รักษาครอบครองลูกบอลอยู่ (กติกาข้อ 13.1 ค.) แต่จะอนุญาตให้เล่นลูกบอลในขณะที่ลูกบอลอยู่ในอากาศเหนือเขตประตูได้
6.5 ลูกบอลที่อยู่ในเขตประตู ผู้รักษาประตูจะต้องส่งกลับออกมาเข้าสู่การเล่น
6.6 การเล่นจะคงดำเนินต่อไป ถ้าเป็นลักษณะการป้องกันของฝ่ายรับ โดยลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายป้องกันและหลังจากนั้นผู้รักษาประตูได้รับลูกนั้นหรือลูกหยุดในเขตประตู
6.7 ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกกลับเข้าไปในเขตประตูของตนเอง ผู้ตัดสินจะพิจารณาตัดสินดังนี้
ก. ได้ประตู ถ้าลูกบอลเข้าประตู
ข. ส่งลูกกินเปล่า ถ้าลูกบอลหยุดนิ่งอยู่ในเขตผู้รักษาประตู หรือถูกผู้รักษาประตู และลูกบอลไม่เข้าประตู
ค. ส่งลูกเข้าเล่น ถ้าลูกบอลออกนอกเส้นประตู
ง. การเล่นจะดำเนินต่อไป ถ้าลูกบอลได้กระดอนกลับออกมาในสนามอีกโดยไม่ได้ถูกผู้รักษาประตู
6.8 ลูกบอลที่กลับออกมาจากเขตประตูเข้าสู่เขตการเล่นจะถือว่าอยู่ในการเล่นต่อไป
กติกาข้อ 7 การเล่นลูกบอล (Playing The Ball)
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
7.1 ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมือทั้งสอง (แบมือหรือกำมือ) แขนศีรษะ ลำตัว ต้นขา และเข่า
7.2 จับลูกบอลไว้ได้ไม่เกิน 3 วินาที ในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้น
7.3 ถือลูกบอลและก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าว หนึ่งก้าวให้พิจารณาการกระทำดังนี้
ก. ยกเท้าหนึ่งและวางลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ข. ถ้าผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงเท้าเดียวจับลูกบอล และใช้เท้าอีกเท้าหนึ่งสัมผัสพื้น
ค. ถ้าผู้เล่น หลังจากกระโดดและสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น
ง. ถ้าผู้เล่น หลังจากกระโดดและสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมกันและยกเท้าหนึ่งและวางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ข้อสังเกต
ถ้าเท้าหนึ่งเคลื่อนที่จากหนึ่งไปยังที่อื่น อนุญาตให้ลากเท้าอีกเท้าหนึ่งได้
7.4 ในขณะยืนหรือวิ่ง
ก. กระดอนลูกบอลครั้งหนึ่งและจับมือด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ข. กระดอนลูกบอลซ้ำด้วยมือเดียว (การเลี้ยงลูกบอล) หรือกลิ้งลูกบอลไปบนพื้นสนามด้วยมือเดียว แล้วจับหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาอีกด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ในขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือนั้นจะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าว
การเลี้ยงหรือกระดอนนั้น ผู้เล่นสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถูกลูกบอลและเลี้ยงลูกไปบนพื้น
เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นอื่นหรือประตู ผู้เล่นมีสิทธิ์ที่จะแตะหรือกระแทกลูกบอลและจับได้อีกครั้ง
7.5 เคลื่อนย้ายลูกบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง
7.6 เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้น
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
7.7 ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากจะได้ถูกพื้น ผู้เล่นอื่น ๆ หรือประตู (กติกาข้อ 13.1 ง.)
การจับลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกทำโทษ
ข้อสังเกต Fumbling หมายถึง ผู้เล่นพลาดจากการครอบครองลูกบอลในขณะที่พยายามจะจับหรือหยุดลูก
7.8 ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไป ยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ขว้างลูกบอลมาถูกผู้ล่น (กติกาข้อ 13.1 ง.) แต่อย่างไรก็ตาม การทำผิดอย่างนี้ไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้เล่นหรือเพื่อนร่วมทีม
7.9 ทิ้งตัวลงเล่นลูกบอล ในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ (กติกาข้อ 13.1 ง.)
กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำมาใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตู
7.10 เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู (กติกาข้อ 13.1 ง.)
กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำมาใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูและเสียการครอบครองลูกบอลและลูกบอลได้ออกไปนอกเส้นประตู (ผู้รักษาประตูส่ง)
7.11 พยายามครอบครองลูกบอลไว้ในทีมของตน โดยไม่พยายามที่จะรุก หรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษด้วยการส่งลูกกินเปล่า ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง (กติกาข้อ 13.1 ฉ.)
7.12 การเล่นจะดำเนินต่อไป ถ้าลูกบอลถูกผู้ตัดสินในสนาม
กติกาข้อ 8 การเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม (The Approach To The Opponent)
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.1 ใช้มือและแขนเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล
8.2 แบมือเล่นลูกบอลได้ทุกทิศทาง
8.3 ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ในขณะที่คู่ต่อสู้ไม่ได้เป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.4 กีดกันหรือดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขนหรือขา
8.5 ผลักคู่ต่อสู้ให้เข้าไปในเขตประตู
8.6 ดึงหรือตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือให้ออกจากมือคู่ต่อสู้
8.7 ใช้กำปั้นทุกบลูกบอลให้ออกจากคู่ต่อสู้
8.8 ใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือแกล้งใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย
8.9 ทำให้ผู้รักษาประตูเกิดอันตราย
8.10 ดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือผลักคู่ต่อสู้
8.11 วิ่งเข้าหา กระโดดเข้าหา ทำให้ล้ม ตีหรือขู่คู่ต่อสู้ในทุก ๆ ทาง
8.12 ทำผิดกติกาเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม จะถูกทำโทษโดยส่งลูกกินเปล่าหรือให้ยิงโทษ
8.13 ทำผิดกติกาเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม โดยที่การกระทำนั้นมุ่งที่ตัวบุคคลมากกว่าลูกบอล การกระทำดังกล่าวนี้จะถูกลงโทษที่รุนแรง การลงโทษที่รุนแรงจะนำมาใช้ในกรณีการกระทำที่ไม่น้ำใจนักกีฬา
8.14 การทำผิดอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้ามหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างรุนแรง จะต้องถูกลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ผู้เล่นที่ผิดนั้น
8.15 ผู้เล่นที่ทำผิดการทำร้ายร่างกายจะถูกไล่ออกจากการแข่งขัน
กติกาข้อ 9 การได้ประตู (Scoring)
9.1 จะนับว่าได้ประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูก ได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตู (รูปที่ 4) โดยผู้ทำประตู หรือเพื่อนร่วมทีมไม่ได้ทำผิดกติกาก่อนหรือขณะทำการยิงประตู
ถ้าผู้เล่นฝ่ายรับพยายามป้องกันอย่างผิดกติกาหรือและลูกบอลได้ผ่านเข้าประตู ให้ถือว่าได้ประตู
ถ้าผู้ตัดสินหรือผู้จับเวลาให้สัญญาณหยุดเวลาก่อนที่ลูกบอลจะผ่านเข้าไปในประตู ถือว่าไม่ได้ประตู
ถ้าผู้รักษาประตูเล่นบอลในเขตประตูและลูกบอลได้หลุดเข้าประตูตนเองให้ถือว่าเป็นประตูของฝ่ายตรงกันข้าม นอกจากลูกบอลจะได้ออกนอกเส้นเขตประตูก่อนแล้ว
หมายเหตุ ถ้าลูกบอลถูกป้องกันไม่ให้เข้าประตูโดยบุคคลอื่นหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในสนาม (เช่นผู้ชม) และผู้ตัดสินได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นลูกบอลจะต้องเข้าประตูอย่างแน่นอน ให้ถือว่าได้ประตู
9.2 ถ้าผู้ตัดสินได้เป่านกหวีดเพื่อให้ส่งเริ่มเล่นต่อไปแล้วประตูทีได้จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการได้ประตูอย่างชัดเจน ถ้าสัญญาณการหมดเวลาแต่ละครึ่งดังขึ้นทันทีหลังจากได้ประตูจะต้องนับเป็นประตู
ข้อสังเกต จะต้องแจ้งการได้ประตูบนป้ายคะแนนทันทีที่ผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณการได้ประตู
9.3 ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าอีกทีมหนึ่งคือผู้ชนะการแข่งขัน
9.4 ถ้าทั้งสองทีมทำประตูได้เท่ากันหรือไม่ได้ประตูเหมือนกันให้ถือว่าเสมอกัน
กติกาข้อ 10 การส่งเริ่มเล่น (The Throw-Off)
10.1 การส่งเริ่มเล่น จะเริ่มโดยที่ชนะการเสี่ยงและเลือกเล่นโดยเป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล ฝ่ายตรงกันข้ามจะเลือกแดนถ้าฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเลือกแดน ฝ่ายตรงกันข้ามได้เป็นผู้ส่งเริ่มเล่น
การส่งเริ่มในครึ่งเวลาหลังจะส่งโดยทีมที่มิได้เป็นฝ่ายส่งในการเริ่มครึ่งเวลาแรก เมื่อมีเวลาเพิ่มพิเศษให้ทำการเสี่ยงใหม่
10.2 หลังจากมีการได้ประตู ทีมที่เสียประตูจะต้องเป็นผู้ส่งเริ่มเล่นใหม่ (กติกาข้อ 9.2)
10.3 การส่งเริ่มเล่น จะทำที่จุดกึ่งกลางสนามทิศทางใด ๆ ก็ได้หลังจากที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีด การส่งเริ่มจะต้องทำภายในเวลา 3 วินาที (กติกาข้อ 13.1 ซ.)
10.4 ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนครึ่งสนามของตนเองในขณะที่มีการส่งเริ่มและผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร
กติกาข้อ 11 การส่งลูกเข้าเล่น (The Throw-In)
11.1 จะตัดสินใจส่งลูกเข้าเล่น ถ้าลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านความกว้างของเส้นข้าง หรือลูกบอลได้ถูกผู้เล่นในสนามของฝ่ายรับเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ลูกนั้นจะออกข้ามเส้นประตูไป
11.2 การส่งลูกเข้าเล่นจะส่งโดยผู้เล่นฝ่ายที่มิได้ถูกลูกบอลเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ลูกบอลจะข้ามเส้นข้างหรือเส้นประตู โดยผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด
11.3 การส่งลูกเข้าเล่น ให้ส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลได้ข้ามเส้นข้างหรือที่บริเวณปลายเส้นข้างด้านที่ลูกบอลได้ออกนอกเส้นประตู
11.4 ผู้เล่นที่ส่งลูกเข้าเล่น ให้ส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลได้ข้ามเส้นหรือที่บริเวณปลายเส้นข้างด้านที่ลูกบอลได้ออกนอกเส้นประตู
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นวางลูกบอลลงบนพื้นและเก็บขึ้นมาอีกด้วยตนเอง หรือกระดอนแล้วจับลูกบอลอีก
11.5 ขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่น ผู้เล่นฝ่ายตรงกันจะต้องยืนอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกเข้าเล่นอย่างน้อย 3 เมตร แต่ผู้เล่นสามารถยืนใกล้เส้นประตูด้านนอกได้ ถึงแม้ว่าระยะทางระหว่างผู้ส่งลูกเข้าเล่นกับผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามน้อยกว่า 3 เมตรก็ตาม
กติกาข้อ 12 ผู้รักษาประตูส่ง (The Goalkeeper Throw)
12.1 ผู้รักษาประตูจะส่งเมื่อลูกบอลได้ข้ามออกนอกเส้นประตู (กติกาข้อ 5,7 7.12)
12.2 ผู้รักษาประตูจะส่งโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน จากภายในเขตประตูให้ออกจากเส้นเขตประตู
จะพิจารณาว่าเป็นการส่งโดยสมบูรณ์เมื่อ ลูกบอลได้ส่งโดยผู้รักษาประตูและข้ามเส้นเขตประตู
12.3 ถ้าลูกบอลอยู่ในประตู ผู้รักษาประตูจะต้องนำมาลูกนั้นกลับเข้าสู่การเล่น (กติกาข้อ 6.7 ค.)
12.4 ผู้รักษาประตูจะต้องไม่ถูกลูกบอลนั้นอีก หลังจากได้ส่งลูกบอลเข้าไปแล่นจนกว่าลูกนั้นจะได้สัมผัสผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน (กติกาข้อ 5.9, 13.1 ญ)
กติกาข้อ 13 การส่งลูกกินเปล่า (The Free-Throw)
13.1 การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำดังนี้
ก. การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู่สนามผิดกติกา (กติกาข้อ 4.4 -6)
ข. ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา (กติกาข้อ 5.7- 10, 5.13)
ค. ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู (กติกาข้อ 6.2 ก – ข., 6.4)
ง. เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 7.2 -4,7 -9)
จ. เจตนาทำให้ลูกบอลออกเส้นประตูหรือเส้นข้าง (กติกาข้อ 7.10)
ฉ. ถ่วงเวลาการเล่น (กติกาข้อ 7.11)
ช. การฟาล์วเนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้ (กติกาข้อ 8.12)
ซ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น (กติกาข้อ 10.3)
ฌ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น (กติกาข้อ 11.4)
ญ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากเขตประตู (กติกาข้อ 12.4)
ฎ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า (กติกาข้อ 13.3)
ฏ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงลูกโทษ (กติกาข้อ 14.2-4)
ฐ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกโดยผู้ตัดสิน (กติกาข้อ 15.4.)
ฑ. การทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่งตามปกติ
ฒ. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (กติกาข้อ 16.12.)
ณ. การรุกราน (กติกาข้อ 8.5)
13.2 การส่งลูกกินเปล่า จะส่ง ณ จุดที่มีการทำผิดกติกา โดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน
ถ้าจุดส่งกินเปล่าอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) ของฝ่ายที่ทำผิด การส่งลูกกินเปล่าจะต้องกระทำ ณ บริเวณที่ใกล้ที่สุดอยู่นอกเส้น 9 เมตร
13.3 ในขณะที่ฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งที่จะส่ง ต้องมีลูกบอลอยู่ในมือ เขาจะวางลูกลงบอลบนพื้นและเก็บขึ้นมาอีกหรือกระดอนลูกและจับอีกไม่ได้ (กติกาข้อ 13.1 ฎ.)
13.4 ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่สัมผัสหรือข้ามเส้น 9 เมตรของฝ่ายตรงกันข้ามก่อนที่การส่งลูกบอลกินเปล่าจะเริ่มขึ้น
ผู้ตัดสินจะต้องดูตำแหน่งของผู้เล่นในขณะที่มีการส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องจะมีผลกระทบต่อการเล่น
การส่งลูกกินเปล่าในกรณีนี้จะต้องส่งหลังสัญญาณนกหวีด
13.5 ในขณะที่มีการส่งลูกกินเปล่า ผู้ฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม จะอนุญาตให้ผู้เล่นอื่นยืนใกล้เส้นเขตประตูด้านนอกสนามได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าลูกนั้นส่ง ณ บริเวณเส้น 9 เมตร
13.6 ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในการทำผิดของฝ่ายรับ ถ้าการทำผิดนั้นจะมีผลทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ
จะต้องให้การส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อย ถ้าการทำผิดกติกานั้นทำให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล
จะต้องไม่ให้ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นยังครอบครองลูกและทรงตัวได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีการทำผิดกติกาของฝ่ายรับ
13.7 ถ้าการแข่งขันต้องหยุดลง โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดกติกา ทีมที่ได้ครอบครองลูกบอลอยู่ยังคงได้ครอบครองลูกบอลต่อโดยการได้ส่งลูกกินเปล่า ณ บริเวณที่ลูกบอลอยู่ในขณะที่เวลาได้หยุดลง การส่งจะต้องได้รับสัญญาณนกหวีดก่อน
13.8 ถ้ามีการตัดสินที่เป็นความผิดของฝ่ายรุก ผู้เล่นที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกนั้นลงบนพื้นทันที
กติกาข้อ 14 การยิงลูกโทษ (The 7-Meter Throw)
14.1 การยิงลูกโทษ จะกระทำเมื่อ
ก. มีการทำให้เสียโอกาสอย่างชัดแจ้งในการได้ประตูในทุก ๆ ส่วนของสนามโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมของฝ่ายตรงข้าม
ข. มีสัญญาณนกหวีดที่ไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่มีโอกาสได้ประตูอย่างชัดเจน
ค. มีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในเกมเข้าไปในสนามทำให้เสียโอกาสในการได้ประตูอย่างชัดเจน
14.2 ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกสนามควบคุมบอลและร่างกายได้อย่างสมบูรณ์หลังจากถูกกระทำผิด โดยผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม (ในขณะที่มีโอกาสจะได้ประตู) จะต้องไม่ให้เป็นลูกโทษ ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายรุกส้มหรือเสียโอกาสที่จะได้ประตู จะต้องตัดสินให้เป็นลูกโทษ
14.3 หลังจากผู้ตัดสินเป่าสัญญาณให้เป็นลูกโทษแล้ว ผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณหยุดเวลาทุกครั้ง
14.4 ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ และผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิงลูกโทษ ไม่สามารถเล่นบอลได้ จนกว่าลูกบอลจะสัมผัสฝ่ายตรงกันข้ามหรือประตู
14.5 ผู้ยิงลูกโทษ ไม่สามารถสัมผัสหรือข้ามเส้น 7 เมตร ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือ
14.6 ผู้ที่ยิงลูกโทษ และผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิงลูกโทษ ไม่สามารถเล่นบอลได้ จนกว่า ลูกบอลสัมผัสกับฝ่ายตรงข้ามหรือประตู
14.7 ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ ผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิงลูกโทษ ต้องอยู่นอกเขตส่งลูกกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) จนกว่าลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้ยิงประตูไปแล้ว ถ้ามีการทำผิดกติกาให้เปลี่ยนเป็นลูกส่งกินเปล่าแก่ฝ่ายตรงข้าม
14.8 ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่นอกเขตส่งลูกกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) และห่างจากผู้ยิงลูกโทษออกไป 3 เมตร ถ้ามีการทำผิดกติกาให้ยิงลูกโทษอีกครั้ง ถ้าลูกนั้นไม่เข้าประตู
14.9 ให้มีการยิงลูกโทษใหม่อีกครั้งถ้าลูกไม่เข้าประตู เนื่องจากผู้รักษาประตูข้ามเส้น 4 เมตร ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้ยิงลูกโทษ
14.10 ไม่อนุญาตให้มีการถ่วงเวลาในการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตู ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ พร้อมที่จะทำการยิง ถ้าเกิดการทำผิดในกรณีให้ลงโทษโดยใช้ข้อไม่มีน้ำใจนักกีฬา
กติกาข้อ 15 การปฏิบัติในการส่ง (ส่งลูกริเริ่มเล่นส่งลูกเข้าเล่น การส่งจากผู้รักษาประตูส่งกินเปล่า ลูก 7 เมตร)
15.1 ลูกบอลจะต้องอยู่ในมือผู้ส่งก่อนที่ทำการส่ง ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในตำแหน่งตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการส่ง และผู้เล่นต้องอยู่ในตำแหน่งนั้นจนกว่าบอลจะหลุดออกจากมือของผู้ส่ง
15.2 ยกเว้นการส่งจากผู้รักษาประตู ให้สามารถใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าสัมผัสกับพื้น และเมื่อส่งลูกให้ยกเท้าอื่น และวางลงได้อีกครั้ง
15.3 ผู้ตัดสินจะต้องเป่านกหวีดเมื่อเริ่ม
ก. ทุกกรณีของการส่งลูก (กติกาข้อ 10.3) และยิงลูกโทษ
ข. ในกรณีของการส่งลูกเข้าเล่น การส่งลูกของผู้รักษาประตูหรือส่งลูกกินเปล่า
: เมื่อเริ่มเล่นหลังจากขอเวลานอก
: เมื่อเริ่มส่งลูกกินเปล่า กรณีที่เกิดการเปลี่ยนตัวผิดกติกา
: เมื่อเริ่มเล่นหลังจากลงโทษผู้เล่นโดยการให้บัตรเหลือง สั่งพัก 2 นาที ตัดสิทธิ์
: เมื่อหลังจากการแก้ไขตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง
: หลังจากมีการเตือนหรือลงโทษ
หลังจากสัญญาณของผู้ตัดสิน ผู้เล่นจะต้องส่งลูกบอลภายใน 3 วินาที
15.4 การส่งจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อลูกบอลได้หลุดออกจากมือจะต้องไม่ใช้วิธีการยื่นลูกบอลหรือแตะโดยเพื่อนร่วมทีม
15.5 ผู้ส่งลูกจะต้องไม่ถูกบอลอีกจนกว่าลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูก่อน
15.6 การส่งลูกทุกชนิด ถ้าลูกเข้าประตูโดยตรงถือว่าเข้าประตู
15.7 ในขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่นหรือส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามยืนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง และฝ่ายส่งบอลได้ทำการส่งบอลเพื่อเล่นเร็วและกำลังได้เปรียบ ผู้ตัดสินอาจไม่เข้าใจตำแหน่ง แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าฝ่ายรุกไม่ได้เปรียบจึงให้แก้ไขตำแหน่งของฝ่ายรับให้ถูกต้อง
ถ้าผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีดเพื่อให้เริ่มส่ง แม้ว่าผู้เล่นฝ่ายรับจะมีตำแหน่งไม่ถูกต้องก็ตาม กรณีเช่นนี้ฝ่ายรับมีสิทธิ์เข้าเล่นได้
ผู้เล่นจะถูกเตือนถ้าทำการถ่วงเวลาหรือกีดขวางการส่งของคู่ต่อสู้โดยการยืนชิดหรือทำผิดอย่างอื่น จะต้องถูกสั่งพัก 2 นาที ถ้าทำซ้ำอีกหลังจากได้ทำการเตือนแล้ว
กติกาข้อ 16 การลงโทษ (The Punishments)
16.1 การเตือนจะทำเมื่อ
ก. การทำผิดเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม (กติกาข้อ 5.6, 8.4-11)
ข. การทำผิดเกี่ยวกับการเข้าเล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องถูกลงโทษ (กติกาข้อ 8.13)
ค. การทำผิดในขณะที่ฝ่ายตรงกันข้ามกำลังทำการส่ง (กติกาข้อ 16.7)
ง. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม
16.2 ในขณะที่มีการเตือน ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการทำผิดนั้น ๆ ของผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ และแสดงให้ผู้จับเวลาและผู้บันทึกทราบโดยการใช้บัตรสีเหลือง
ข้อสังเกต บัตรสีเหลืองควรมีขนาด 9 × 12 เซนติเมตร นักกีฬาแต่ละคนไม่ควรได้รับการเตือนเกินกว่า 1 ครั้ง และทีมหนึ่งไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาที ไม่ควรมีการเตือนอีก และทีมเจ้าหน้าที่ไม่ควรถูกเตือนเกินกว่า 1 ครั้ง
16.3 การสั่งพัก 2 นาที จะทำเมื่อ
ก. มีการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือการเข้าสู่สนามที่ผิดกติกา (กติกาข้อ 4.4-6)
ข. การทำผิดกติกาซ้ำเนื่องจากการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม จะถูกลงโทษ ลักษณะการเล่นที่รุนแรง (กติกาข้อ 8.13)
ค. การทำผิดซ้ำเกี่ยวกับการไม่มีน้ำใจนักกีฬาของผู้เล่นในสนาม
ง. ไม่วางลูกบอลลงอย่างทันทีในขณะที่มีการตัดสินให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้เล่น(กติกาข้อ 13.8)
จ. ทำผิดกติกาซ้ำ ๆ ในขณะที่คู่ต่อสู้กำลังส่งลูก
ฉ. ผลที่เกิดจากการตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม
ข้อยกเว้น การสั่งพักสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีการเตือนมาก่อน
16.4 ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการสั่งพักผู้เล่นที่ทำผิดให้ชัดเจนและแจ้งให้ผู้จับเวลา ผู้บันทึกด้วยการใช้สัญญาณมือ ในลักษณะยกมือเหยียดแขนขึ้นข้างเดียวและชูนิ้วสองนิ้ว
การสั่งพักโดยปกติจะให้หยุดพัก 2 นาที แต่ถ้าเป็นผู้เล่นคนถูกสั่งพักครั้งที่ 3 ผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักจะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในขณะที่ถูกสั่งพัก และจะไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นอื่นเข้าแทนได้
ช่วงเวลาการสั่งพักจะเริ่มเมื่อการเล่นได้เริ่มขึ้นใหม่ด้วยสัญญาณนกหวีด การสั่งพัก 2 นาทีจะมีต่อไปจนถึงครึ่งเวลาหลังถ้าเลาสั่งพักนั้นยังไม่หมด และได้หมดเวลาของครึ่งแรกก่อน และให้รวมถึงเวลาเพิ่มเติมพิเศษด้วย
16.5 การตัดสิทธิ์จะทำเมื่อ
ก. ถ้าผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันเข้าไปในสนามกติกาข้อ 4.3)
ข. ทำผิดอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกัน (กติกาข้อ 8.14)
ค. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา โดยนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่อยู่นอกสนาม
ง. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างรุนแรง โดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม
จ. ผู้เล่นคนเดิมถูกสั่งพักครั้งที่ 3
ฉ. การรุกรานโดยเจ้าหน้าที่ประจำทีม
การตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าประทีมในขณะเวลาแข่งขัน จะต้องทำคู่ไปกับการสั่งพัก 2 นาทีด้วย โดยผู้เล่นในสนามจะต้องลดลง 1 คน
16.6 ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำผิดต่อผู้จับเวลา ผู้บันทึกโดยการชูบัตรสีแดง
การตัดสินผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมจะทำในเวลาการเล่นผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่จะต้องออกจากสนามและบริเวณเขตการเปลี่ยนตัวทันที
การตัดสินสิทธิ์จะต้องลดจำนวนผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่จากที่มีอยู่ (ยกเว้นกติกาข้อ 16.12 ข.) แต่อย่างไรก็ตาม จะอนุญาตให้เพิ่มจำนวนผู้เล่นในสนามได้เมื่อหมดเวลาสั่งพัก 2 นาที (ข้อสังเกตกติกา ข้อ 4.6)
ข้อสังเกต บัตรสีแดงมีขนาด 9 × 12 เซนติเมตร
การบังคับให้ออกจากบริเวณเขตเปลี่ยนตัว หมายถึง ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ต้องออกจากตำแหน่งที่เขาจะสวมมีผลต่อทีมได้
16.7 การให้ออกจะทำเมื่อ
ในกรณีที่มีการทำร้ายในขณะแข่งขัน รวมถึงนอกสนามแข่งขันด้วย (กติกาข้อ 8.15, 17.8-9)
ข้อสังเกต การทำร้าย หมายถึง การกระทำโดยเจตนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการทำร้ายต่อผู้อื่น (กติกาข้อ 8.15) เช่น ผู้เล่น ผู้ตัดสิน ผู้จับเวลา ผู้บันทึก เจ้าหน้าที่ หรือผู้ชม
16.8 ผู้ตัดสินควรจะขอเวลานอกและแจ้งให้ผู้เล่นที่ทำผิดทราบและแจ้งต่อผู้จับเวลาและผู้บันทึกโดยตรง โดยการแสดงสัญญาณมือต่อหน้าผู้เล่น ด้วยการยกมือทั้งสองไขว้ที่ระดับใบหน้า
การให้ออกจะทำในเวลาเล่นและทีมนั้นจะเล่นต่อโดยมีผู้เล่นในสนามน้อยลงไป 1 คน ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากสนามทันที (รวมทั้งบริเวณเขตเปลี่ยนตัว)
16.9 ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาทีทำการละเมิดกติกาก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันใหม่ ให้พิจารณาแยกการลงโทษแต่ละอย่างไป
16.10 ถ้าผู้รักษาประตูถูกสั่งพัก ตัดสิทธิ์ หรือให้ออก ผู้เล่นคนอื่น ๆ 1 คนจะต้องเข้าแทนตำแหน่งผู้รักษาประตู (กติกาข้อ 4.1)
16.11 ผู้ตัดสินจะทำการเตือนผู้เล่นที่ทำผิดเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นการกระทำในหรือนอกสนาม (กติกาข้อ 16.1 ง.)
ถ้าเป็นการทำซ้ำโดยผู้เล่นคนนั้นและอยู่ในสนามเขาจะถูกสั่งพัก (กติกาข้อ 16.3 ค.) ถ้าผู้เล่นคนนั้นอยู่นอกสนาม (ผู้เล่นสำรองหรือผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก) จะถูกตัดสิทธิ์ (กติกาข้อ 16.5 ค. , 16.6)
เจ้าหน้าที่ประจำทีมที่ทำการไม่มีน้ำใจนักกีฬาจะต้องถูกเตือน (กติกาข้อ 16.1 ง.) และถ้ายังทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ (กติกาข้อ 16.5 ค. , 16.6)
ถ้าการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา หรือการทำร้ายเกิดขึ้นในขณะที่การแข่งขันหยุดลง เมื่อเริ่มการแข่งขันใหม่จะต้องเริ่มโดยให้การกระทำนั้นตรงกับเหตุที่หยุดการแข่งขันลง
ข้อสังเกต การแสดงออกด้วยวาจาหรือท่าทางซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นนักกีฬาที่ดี ให้ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา
ให้พิจารณาลงโทษการไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรง ถ้าเจ้าหน้าที่ประจำทีมเข้าสู่สนามโดยไม่ได้รับอนุญาต (กติกา ข้อ 4.4 )
ถ้าผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมทำผิดหลาย ๆ ครั้ง (การละเมิดกติกาการกระทำที่ไม่มีน้ำใจกีฬา การรุกราน) ในเวลาเดียวกันหรือคนละช่วงเวลา ซึ่งแต่ละอย่างเป็นโทษที่รุนแรงให้พิจารณาลงโทษที่หนักเพียงอันเดียว
16.12 การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือการก้าวร้าว จะพิจารณาลงโทษดังนี้
ก่อนการแข่งขัน
ก. เตือน ในกรณีที่กระทำไม่มีน้ำใจนักกีฬา (กติกาข้อ 16.1 ง.)
ข. ตัดสิทธิ์ ในกรณีที่กระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างรุนแรง (กติกาข้อ 16.5 ง. และ ฉ.) แต่อนุญาตให้ทีมนั้นเริ่มเล่นด้วยผู้เล่นใน 12 คน
ระหว่างเวลาพัก
ค. เตือน ในกรณีที่กระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (กติกาข้อ 16.1 ง.)
ง. ตัดสิทธิในกรณีที่กระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำหรือรุนแรง หรือในกรณีที่เกิดการรุกราน (กติกาข้อ 16.5 ค., ง. และ ฉ.)
ภายหลังการแข่งขัน
จ. เขียนรายงาน
กติกาข้อ 17 ผู้ตัดสิน (The Referees)
17.1 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่เท่ากัน โดยมีผู้ช่วย คือผู้บันทึกและผู้จับเวลา
17.2 ผู้ตัดสินมีอำนาจกว่ากล่าวการกระทำของผู้เล่นตั้งแต่เริ่มเข้าสนาม จนถึงออกจากสนามแข่งขัน
17.3 ผู้ตัดสินมีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจสนามแข่งขันประตู และลูกบอลก่อนเริ่มการแข่งขัน (กติกาข้อ 3.1) และจะเป็นผู้พิจารณาว่าลูกบอลลูกใดที่จะใช้ในการแข่งขันได้ ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จะพิจารณาใช้ข้อเสนอของผู้ตัดสินที่มีชื่อแรก
ผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบเครื่องแต่งกายของทั้งสองทีมให้ถูกต้อง ตรวจสอบใบบันทึกและอุปกรณ์ของผู้เล่น และต้องแน่ใจว่าจำนวนผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเขตเปลี่ยนตัวนั้นเป็นไปตามกำหนดและจะต้องทราบเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของทีมที่แน่นอนของแต่ละทีมหากมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้แก้ไข (กติกาข้อ 10.1)
17.4 ผู้ตัดสินที่มีชื่อแรกจะเป็นผู้เสี่ยงต่อหน้าผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งและหัวหน้าทีมทั้งสองทีม (กติกาข้อ 10.1)
17.5 การเริ่มการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียงเป็นลำดับที่สองจะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในสนามต่ออยู่ด้านหลังของทีมที่จะส่งลูกเริ่มเล่น (Court Referee)
ผู้ตัดสินในสนามจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีดให้ส่งลูกเริ่มเล่น (กติกาข้อ 10.3) ต่อมา ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอลผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นลำดับที่ 2 จะไปทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินที่เส้นประตูด้านที่เป็นฝ่ายรับ ผู้ตัดสินที่เริ่มอยู่ที่เส้นประตูอีกด้านหนึ่ง จะกลับมาเป็นผู้ตัดสินในสนามแทน เมื่อทีมนั้นสูญเสียการครอบครองลูกบอลผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนแดนกันตลอดเวลาการแข่งขัน
17.6 โดยหลักการ ตลอดการแข่งขันควรจะควบคุมโดยผู้ตัดสินชุดเดิม มีหน้าที่รับผิดชอบให้การแข่งขันเป็นไปตามกติกาและจะต้องทำโทษกระทำผิดทุกชนิด (กติกาข้อ 13.6, 14.9)
ถ้าผู้ตัดสินคนใดไม่สามารถทำหน้าที่ที่ได้จนจบการแข่งขัน ผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจะต้องทำหน้าที่ต่อโดยลำพัง
17.7 ในหลักการ ผู้ตัดสินในสนามจะเป่านกหวีดเมื่อ
ก. การส่งทุกชนิดที่เป็นไปตามกติกาข้อ 16.3 ก. –ฉ. และภายหลังการขอเวลานอก (กติกาข้อ 2.4)
ข. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ถ้าสัญญาณอัตโนมัติไม่ทำงาน หรือผู้จับเวลาไม่ให้สัญญาณหมดเวลา
ค. เมื่อมีการได้ประตู
17.8 ถ้าผู้ตัดสินทั้งสองคนให้สัญญาณนกหวีดเกี่ยวกับการละเมิดกติกา และได้พิจารณาลงโทษ แต่ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของการลงโทษต่างกัน ให้พิจารณาลงโทษที่รุนแรงกว่าเป็นหลัก
17.9 ถ้าผู้ตัดสินทั้งสองคนให้สัญญาณนกหวีดเกี่ยวกับการละเมิดกติกา แต่มีความคิดเห็นทีแตกต่างกันว่าทีมใดควรจะได้รับการลงโทษ ให้ยึดผู้ตัดสินในสนามเป็นหลัก
การแข่งขันจะเริ่มต่อไปเมื่อผู้ตัดสินในสนามได้ให้สัญญาณมืออย่างชัดเจนพร้อมสัญญาณนกหวีด
17.10 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมคะแนน และจะต้องควบคุมการบันทึกเกี่ยวกับการเตือน การสั่งพัก การตัดสิทธิ์ และการให้ออก
17.11 ผู้ตัดสินทั้งสองมีหน้าที่ในการควบคุมเวลาการแข่งขันหากเกิดการสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของการควบคุมเวลา ผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นชื่อแรกจะเป็นผู้พิจารณาตัดสิน
17.12 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับใบบันทึก โดยไม่ต้องแน่ใจว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์
17.13 การตัดสินของผู้ตัดสินให้พิจารณาจากพื้นฐานของความจริงและถือเป็นสิ้นสุด การอุทธรณ์ คำตัดสินที่ไม่เป็นไปตามกติกา หัวหน้าทีมมีสิทธิ์ที่แจ้งต่อผู้ตัดสินได้
17.14 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีอำนาจที่จะหยุดการแข่งขันชั่วขณะหนึ่ง หรือยุติการแข่งขันได้ต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะให้การแข่งขันดำเนินต่อไปก่อนที่จะมีการตัดสินให้ยุติการแข่งขัน
17.15 ผู้ตัดสินจะต้องใส่ชุดสีดำเป็นหลักหรือสีอื่นที่แตกต่างจากผู้เล่นทั้งสองทีมอย่างชัดเจน
กติกาข้อ 18 ผู้บันทึกและผู้จับเวลา (The Scorekeeper and The Timekeeper)
18.1 ผู้บันทึกต้องตรวจสอบรายชื่อของทีม เฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเท่านั้นมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันได้ ผู้บันทึกกับผู้จับเวลาจะต้องช่วยกันตรวจสอบการลงสนามของผู้เล่นที่มาถึงสนาม หลังจากการแข่งขันได้เริ่มไปแล้ว หรือเข้าสู่สนามอีกภายหลังจากถูกสั่งพัก
ผู้บันทึกมีหน้าที่ควบคุมและทำเครื่องหมายต่าง ๆ ที่จำเป็นลงในใบบันทึก (การได้ประตู การเตือน การสั่งพัก การตัดสิทธิ์ และการให้ออก)
18.2 ผู้จับเวลามีหน้าที่ควบคุม
ก. เวลาการแข่งขัน (กติกาข้อ 2.1, 2.4, 2.7) การหยุดและเริ่มเวลาเมื่อผู้ตัดสินสั่ง
ข. จำนวนผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ในเขตเปลี่ยนตัว (กติกาข้อ 4.1)
ค. ร่วมกับผู้บันทึก เกี่ยวกับผู้เล่นที่มาถึงภายหลังจากที่การแข่งขันได้เริ่มไปแล้ว (กติกาข้อ 4.3)
ง. การออกและเข้าสนามของการเปลี่ยนตัวผู้เล่น (กติกาข้อ 4.4 , 4.5)
จ. ผู้เล่นที่เข้าสนามโดยไม่สิทธิ์ (กติกาข้อ 4.6)
ฉ. เวลาสั่งพักสำหรับผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก
ถ้าไม่มีนาฬิกาที่สามารถแจ้งเวลาสิ้นสุดการแข่งขันแบบอัตโนมัติ ผู้จับเวลาจะต้องให้สัญญาณหยุดการแข่งขันในแต่ละครึ่งอย่างชัดเจน
18.3 เมื่อมีการหยุดเวลาการแข่งขัน (ขอเวลานอก) ผู้จับเวลาจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำทีมของแต่ละทีมได้ทราบว่า เวลาแข่งขันหมดไปเท่าไร (ยกเว้นในกรณีที่มีนาฬิกาที่สามารถแจ้งเวลาให้สาธารณชนทราบ)
18.4 ผู้จับเวลาจะต้องแจ้งให้ผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก หรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่รับผิดชอบได้ทราบว่าเมื่อไรจะหมดเวลาสั่งพัก
กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก ซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก
ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย (Thailand Handball)
หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด
กติกาแฮนด์บอล
กติกาข้อ 1 สนาม (The Playing Court)
1.1 สนามแข่งขัน (รูปที่ 1) เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดยาว 40 เมตร และกว้าง 20 เมตร ประกอบด้วยเขตประตูสองด้านและเขตสนามแข่งขัน เส้นรอบสนามด้านยาวเรียกว่า “เส้นข้าง” และเส้นสั้นเรียกว่า “เส้นประตู”
ข้อกำหนดของสนามแข่งขัน จะต้องไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบต่อทีมหนึ่งทีมใด
ข้อสังเกต เพื่อความปลอดภัย ควรมีพื้นที่รอบสนามแข่งขันกว้างอย่างน้อย 1 เมตร ตลอดแนวจากด้านข้าง และกว้าง 2 เมตร ตลอดแนวจากหลังเส้นประตู
1.2 ประตู (รูปที่ 2) วางที่จุดกึ่งกลางของเส้นประตู ขอบหลังของเสาประตูแต่ละด้านและต้องวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง โดยมีความสูงวัดจากภายใน 2 เมตร กว้าง 3 เมตร
เสาประตูทั้งสองต้องเชื่อมต่อด้วยคานประตู ขอบหลังของเสาประตูจะต้องตั้งอยู่ที่ขอบนอกของเส้นประตู เสาประตูและคานประตูจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดพื้นที่หน้าตัดกว้าง 8 เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน (เช่น ไม้ หรือโลหะชนิด เบาหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ) โดยทาสีตัดกันสองสีทุกด้าน และต้องตัดกับสีของผนังด้านหลังประตู
บริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างเสาประตูและคานประตูควรทาสีเป็นสีเดียวกันด้านละ 28 เซนติเมตร และบริเวณที่อื่น ๆ ยาว 20 เซนติเมตร (รูปที่ 2 ) ประตูจะต้องมีตาข่ายขึงติดไว้และมีลักษณะหยุ่นตัว เมื่อลูกบอลถูกขว้างเข้าไปแล้วจะไม่กระดอนกลับมาอย่างรวดเร็ว
1.3 เขตประตู กำหนดโดยเส้นเขตประตู ซึ่งเขียนได้ดังนี้
- ลากเส้นยาว 3 เมตร ให้ขนานและห่างจากเส้นประตู 6 เมตร
- ลากเส้น ¼ ของวงกลม ใช้รัศมี 6 เมตร โดยใช้จุดศูนย์กลางจากด้านในของเสาประตูแต่ละเสา ลากเส้นจากเส้นประตูไปบรรจบปลายเส้นที่ยาว 3 เมตร (รูปที่ 1 และ 2 )
1.4 เส้นส่งกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) เป็นเส้นไข่ปลา (ในแต่ละช่องยาว 15 เซนติเมตร) ลากขนานให้ห่างจากเส้นเขตประตู 3 เมตร
1.5 เส้น 7 เมตร ลากขนานกับเส้นประตู โดยห่างจากขอบนอกของเส้นประตู 7 เมตร
1.6 เส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) เป็นเส้นยาว 15 เซนติเมตร ลากขนานกับเส้น ประตู โดยห่างจากขอบนอกของเส้นประตู 4 เมตร (รูปที่ 1)
1.7 เส้นกลางสนามลากต่อจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้างทั้งสองด้าน (รูปที่ 1 และ 3)
1.8 เส้นเขตเปลี่ยนตัว 2 ด้าน แต่ละด้านห่างจากเส้นกลางสนาม 4.5 เมตร ลากขนานกับเส้นกลางสนามเข้าไปในสนาม 15 เซนติเมตร
1.9 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น ๆ และกว้าง 5 เซนติเมตร
1.10 เส้นประตูที่อยู่ระหว่างเสาประตูกว้าง 8 เซนติเมตร และต้องสัมพันธ์กับเสาประตูด้วย
กติกาข้อ 2 เวลาการเล่น (Playing Time)
2.1 เวลาการเล่นทั้งประเภทชายและหญิงที่มีอายุ 18 ปี หรือมากกว่า แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พักระหว่างครึ่ง 10 นาที
2.2 เวลาการเล่นจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ตัดสินในสนาม (Court Referee) ให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งเริ่มเล่น และสิ้นสุดเวลาเมื่อผู้จับเวลาให้สัญญาณครั้งสุดท้าย
การละเมิดและการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา ก่อนที่ผู้จับเวลาจะให้สัญญาณหมดเวลา จะต้องทำโทษการทำผิดนั้นก่อนหลังจากนั้นจึงค่อยให้สัญญาณหมดเวลา ผู้ตัดสินในสนามสามารถหยุดการเล่นเท่าที่จำเป็นภายหลังจากมีการส่งลูกกินเปล่าหรือยิงโทษการละเมิดกติการะหว่างการส่งลูกกินเปล่าจะมีผลให้การส่งลูกกินเปล่านั้นต้องยกเลิก และเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามได้สิทธิ์ทำการส่ง
ข้อสังเกต ถ้านาฬิกาอัตโนมัติที่แจ้งสัญญาณการหมดเวลาเกิดขัดข้อง ผู้จับเวลาจะต้องใช้นาฬิกาตั้งโต๊ะหรือนาฬิกาจับเวลาแทนและให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน ถ้าใช้นาฬิกาอัตโนมัติ ควรตั้งเวลาตั้งแต่ 0 ถึง 30 นาที
2.3 ทั้งสองทีมจะต้องเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลัง
2.4 ผู้ตัดสินทั้งสองจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่า จะให้มีการหยุดการเล่นชั่วขณะหนึ่งและจะให้เริ่มเล่นต่อเมื่อใด โดยจะต้องให้สัญญาณกับผู้จับเวลาว่าเมื่อไรจะให้หยุดนาฬิกา (ขอเวลานอก) และจะเริ่มเมื่อไร
การหยุดเวลาการเล่น การขอเวลานอกจะต้องแสดงให้ผู้จับเวลาทราบโดยการเป่านกหวีด สั้น ๆ 3 ครั้ง และให้สัญญาณมือรูปตัว T สัญญาณนกหวีดจะต้องเป่าเพื่อแสดงสัญญาณให้เริ่มการเล่นภายหลังจากการขอเวลานอก
2.5 ถ้าสัญญาณหมดเวลาดังขึ้นขณะส่งลูกกินเปล่า หรือยิงลูกโทษที่ 7 เมตร หรือในขณะที่ลูกบอลกำลังอยู่ในอากาศ ให้ทำการส่งใหม่ก่อนที่ผู้ตัดสินจะยุติการแข่งขัน
การละเมิดกติกาหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาระหว่างการส่งลูกกินหรือเปล่า หรือการยิงลูกโทษ จะต้องถูกลงโทษ
2.6 ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่า ผู้จับเวลาได้ให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขันก่อนกำหนด จะต้องให้นักกีฬาอยู่ในสนามและเล่นต่อไป ทีมที่ได้ครอบครองลูกบอลขณะที่สัญญาณหมดเวลาก่อนกำหนดดังขึ้น จะเป็นทีมที่ได้ครอบครองลูกบอลต่อ
ถ้าเวลาในครึ่งแรกจบช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด เวลาในครึ่งหลังจะต้องตัดลงให้น้อยกว่ากำหนดตามเวลาที่เกินไปนั้น
2.7 เมื่อหมดเวลาในช่วงปกติแล้ว ผลเสมอกัน ให้เพิ่มเวลาเพิ่มพิเศษหลังจากพัก 5 นาที โดยให้ทำการเสี่ยงเพื่อเลือกส่งหรือเลือกแดน
เวลาเพิ่มพิเศษแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 5 นาที และให้เปลี่ยนแดน เมื่อหมดเวลาช่วงแรก โดยไม่ต้องพัก
ถ้าผลการแข่งขันยังคงเสมอกันอีกหลังจากต่อเวลาเพิ่มพิเศษครั้งแรกแล้ว ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษครั้ง 2 อีกโดยให้พัก 5 นาทีและทำการเสี่ยงเพื่อเลือกส่งหรือเลือกแดน
ถ้าผลการแข่งขันยังคงเสมอกันอีก การหาผู้ชนะจะต้องเป็นไปตามระเบียบการแข่งขันเฉพาะครั้งนั้น ๆ
กติกาข้อ 3 ลูกบอล (The Ball)
3.1 ลูกบอลจะต้องทำด้วยหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ และเป็นรูปทรงกลม ผิวของลูกบอลต้องไม่สะท้อนแสงหรือลื่น
3.2 ลูกบอลเมื่อวัดโดยรอบก่อนการแข่งขัน สำหรับผู้ชายมีเส้นรอบวงระหว่าง 58-60 เซนติเมตร หนัก 425-475 กรัม สำหรับผู้หญิง มีเส้นรอบวงระหว่าง 54-56 เซนติเมตร หนัก 325-400 กรัม
3.3 การแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีลูกบอลที่ถูกต้องตามกติกาจำนวน 2 ลูก
3.4 เมื่อการแข่งขันได้เริ่มขึ้น จะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้ นอกจากจะมีเหตุผลอันสมควรเท่านั้น
3.5 ลูกบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติต้องมีเครื่องหมายของสหพันธ์เท่านั้นจึงจะสามารถใช้แข่งขันในระดับนานาชาติได้
กติกาข้อ 4 ทีม (The Team)
4.1 ทีมหนึ่งประกอบด้วนผู้เล่น 12 คน ผู้เล่นทุกคนจะต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึกและมีผู้รักษาประตู 1 คน ตลอดเวลาการแข่งขันต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 7 คน (ผู้เล่นในสนาม 6 คน และ ผู้รักษาประตู 1 คน) อยู่ในสนามแข่งขัน ส่วนผู้เล่นที่เหลือ คือ ผู้เล่นสำรอง
เฉพาะผู้เล่นสำรอง ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักและเจ้าหน้าที่ประจำทีม 4 คนเท่านั้นที่อนุญาตให้อยู่ในบริเวณผู้เล่นสำรองได้ เจ้าหน้าที่ประจำทีมทุกคนต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึกและจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ตลอดเวลาการแข่งขัน โดยมีหนึ่งคนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อทีมและเฉพาะเจ้าหน้าที่คนนี้เท่านั้นที่สามารถติดต่อกับผู้จับเวลา ผู้บันทึก และผู้ตัดสินได้
4.2 ขณะเริ่มต้นการแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน ที่พร้อมอยู่ในสนามขณะนั้น
จำนวนผู้เล่นของทีมสามารถเพิ่มได้จนถึง 12 คน ตลอดเวลาการแข่งขัน รวมทั้งเวลาเพิ่มพิเศษด้วย
การแข่งขันจะดำเนินต่อไปถึงแม้ว่าจะมีผู้เล่นในสนามเหลือน้อยกว่า 5 คน
4.3 ผู้เล่นมีสิทธิ์เข้าเล่นได้ ถ้าเขามาปรากฏตัวในขณะเริ่มการแข่งขันและมีชื่อในใบบันทึก
ผู้เล่นที่มีสิทธิ์สามารถเข้าเล่นในสนามได้ทุกเวลาในบริเวณเขตเปลี่ยนเขตเปลี่ยนตัวของทีมตัวเอง
ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของทีมซึ่งมาหลังจากการแข่งขันได้เริ่มไปแล้ว จะต้องได้รับอนุญาตให้เข้ามาร่วมการแข่งขันจากผู้จับเวลาหรือผู้บันทึก
ผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันเข้าไปในสนาม จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน และฝ่ายตรงกันข้ามจะได้ส่งลูกกินเปล่า
4.4 ผู้เล่นสำรองสามารถเข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนตัวเข้าซ้ำได้อีกโดยไม่ต้องแจ้งต่อผู้บันทึก/ผู้จับเวลา ผู้เล่นในสนามต้องออกจากสนามให้เรียบร้อยก่อน ในกรณีนี้จะใช้รวมถึงการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูด้วย ผู้เล่นทุกคนจะสามารถเข้าหรือออกจากสนามเฉพาะในส่วนบริเวณเขตเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น
ในระหว่างการขอเวลานอก อนุญาตให้ผู้เล่นเข้าสนามที่บริเวณเขตเปลี่ยนตัว (ซึ่งจะใช้เมื่อ)
การเปลี่ยนตัวตามปกติ
เมื่อได้รับการเรียกให้เข้าสนามจากผู้ตัดสิน (สัญญาณมือที่ 18)
ข้อสังเกต ผู้เล่นคนใดที่ออกหรือเข้าสนามโดยไม่ถูกต้อง จะถูกทำโทษในการเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ ยกเว้น ในกรณีที่บางคนออกจากสนามโดยไม่ตั้งใจ
4.5 การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกาจะถูกทำโทษโดยให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้ส่งลูกกินหรือเปล่า ณ จุดที่ผู้เล่นได้ผ่านเส้นข้าง และถ้าเป็นการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้องขณะหยุดการแข่งขันผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และจะเริ่มเล่นใหม่ ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลงตามความเหมาะสม
4.6 ถ้ามีผู้เล่นเข้าไปในสนามเกินจำนวน โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนตัวผิดระเบียบผู้เล่นนั้นจะต้องสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นคนอื่น 1 คน จะต้องออกจากสนามเพื่อให้ทีมนั้นเล่น โดยมีผู้เล่นน้อยลงอีก 2 คน
ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพักเข้าไปในสนามในขณะช่วงเวลาสั่งพักเขาจะต้องออกจากสนามและถูกสั่งพักในระหว่างช่วงเวลาการสั่งพักช่วงที่ 1 และ 2 ด้วย
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบของทีมจะต้องเป็นผู้กำหนดว่าผู้เล่นคนใดที่จะออกจากสนาม มิฉะนั้น ผู้ตัดสินจะเป็นผู้กำหนดว่าใครจะต้องออกจากสนาม
ข้อสังเกต ผู้เล่นที่ถูกออกจากสนามจากการสั่งพัก หรือยังคงถูกสั่งพักต่อนั้น จะเข้าเล่นในสนามอีกให้ปฏิบัติเหมือนการเปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรอง
เฉพาะผู้เล่นที่ทำความผิดจะถูกสั่งพักเท่านั้นที่จะถูกบันทึกลงในใบบันทึก
4.7 ผู้เล่นแต่ละทีมอยู่ในสนามทุกคนจะต้องสวมเสื้อเป็นสีเดียวกันและทั้งสองทีมต้องสวมเสื้อที่มีแตกต่างจากกันอย่างชัดเจนผู้เล่นที่เป็นผู้รักษาประตูจะต้องสวมเสื้อที่มีสีต่างจากสีเสื้อของ ผู้เล่นในสนามทั้งสองทีม รวมทั้งสีเสื้อของผู้รักษาประตูฝ่ายตรงข้ามด้วย
ผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อที่มีหมายเลขด้านหลังระหว่าง 1 -20 หมายเลข มีขนาดความสูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร และที่ด้านหน้ามีขนาดความสูงอย่างน้อย 10 เซนติเมตร
สีของหมายเลขจะต้องมีสีที่ตัดกับเสื้ออย่างชัดเจน ผู้เล่นทุกคนจะต้องสวมรองเท้ากีฬา
ไม่อนุญาตให้สวมใส่สิ่งใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นอื่น ๆ เช่น เครื่องป้องกันศีรษะหรือหน้า กำไล นาฬิกา แหวน สร้อยคอ สายสร้อย ต่างหู แว่นตาที่ไม่มีกรอบนอก หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่น
ผู้เล่นที่ไม่สามารถถอดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว จะไม่อนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขัน จนกว่าจะได้ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน
หัวหน้าทีมของแต่ละทีม จะต้องสวมปลอกแขนที่มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตรที่แขนท่อนบน และสีของปลอกแขนจะต้องแตกต่างจากสีเสื้อด้วย
กติกาข้อ 5 ผู้รักษาประตู (The Goalkeeper)
5.1 ผู้เล่นที่เล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตู สามารถเข้าเล่นเป็นผู้เล่นในสนามได้ทุกเวลา ผู้เล่นในสนามสามารถเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ทุกเวลา แต่ต้องเปลี่ยนเสื้อก่อน
ผู้รักษาประตูสำรองจะต้องอยู่ในบริเวณเขตกาเปลี่ยนตัวตลอดเวลา
อนุญาตให้ผู้รักษาประตูกระทำดังนี้
5.2 ถูกลูกบอลด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทุกส่วนในขณะที่อยู่ในลักษณะการป้องกันภายในเขตประตู
5.3 เคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอลภายในเขตประตูโดยปราศจากข้อจำกัด
5.4 ออกจากเขตประตู โดยมิได้นำเอาลูกบอลออกมา และสามารถเข้าร่วมเล่นในสนามบริเวณเขตสนามเล่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกติกาเช่นเดียวกับผู้เล่นในสนามคนอื่น ๆ
การจะพิจารณาว่าผู้รักษาประตูได้ออกจากเขตประตูเมื่อทันทีที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ถูกพื้นสนามนอกเส้นเขตประตู
5.5 ออกจากเขตประตูและเล่นลูกบอลอีกภายในเขตสนามเล่นโดยมิได้ออกมาโดยการครอบครองลูก (เป็นการป้องกันลูกและไม่สามารถครอบครองลูกได้)
ห้ามผู้รักษาประตูกระทำดังต่อไปนี้
5.6 ทำการป้องกันในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้
5.7 เจตนาทำให้ลูกบอลข้ามออกนอกเส้นประตูลักษณะที่ไม่สามารถครอบครองลูกบอลนั้นได้
5.8 ออกจากเขตประตูพร้อมกับลูกบอล
5.9 ถูกลูกบอลนอกเขตประตู ภายหลังจากได้ส่งลูกบอลจากประตูไปแล้ว นอกจากลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นอื่น ๆ ก่อน (กติกาข้อ 13.1 ข)
5.10 นำลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่นอกเส้นเขตประตูเข้าไปในขณะที่ตัวอยู่ในเขตประตู
(กติกาข้อ 13.1 ข)
5.11 นำลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่นอกเส้นเขตประตูเข้าไปในเขตประตู (กติกาข้อ 13.1 ข)
5.12 กลับเข้าไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอล (กติกาข้อ 13.1 ข)
5.13 ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาในขณะที่ลูกบอลกำลังเคลื่อนที่ไปในสนาม หรือในขณะที่ลูกบอลวางอยู่ในเขตประตู (กติกาข้อ 13.1)
5.14 ข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกบอลจะออกจากมือผู้ยิงโทษ ในขณะที่มีการยิงโทษ (กติกาข้อ 14.1)
ข้อสังเกต ในขณะที่ผู้รักษาประตูยืนที่พื้นด้วยเท้าหนึ่งหลังเส้นเขตประตู (เส้น 4 เมตร) เขาสามารถที่จะเคลื่อนเท้าอื่น ๆ หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายล้ำเหนือเส้นได้
กติกาข้อ 6 เขตประตู (The Goal Area)
6.1 ผู้รักษาประตูเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอนุญาตได้ (กติกาข้อ 6.3)
6.2 ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตู จะถูกพิจารณาตัดสินดังนี้
ก. ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตูขณะที่กำลังครอบครอง ลูกบอลอยู่ (กติกาข้อ 13.1ค)
ข. ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นในสนามที่ไม่ได้ครอบครองลูกบอลเข้าไปในเขตประตูและทำให้เกิดการได้เปรียบ (กติกาข้อ 6.1ค และ 13.1ค)
ค. ยิงลูกโทษ ถ้าผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตูและได้เปรียบฝ่ายรุก ทำให้ได้ครอบครองลูกบอล (กติกาข้อ 14.1 ค.)
6.3 ผู้เล่นในสนามที่เข้าไปในเขตประตูจะยังไม่ถูกทำโทษ
ก. ถ้าเข้าไปในเขตประตูภายหลังจากการเล่นลูกบอลและไม่ทำให้คู่ต่อสู้เกิดการเสียเปรียบ
ข. ถ้าเข้าไปในเขตประตูโดยไม่มีลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบ
ค. ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปในประตูโดยไม่มีลูกบอล ในระหว่าง หรือภายหลังจากการพยายามป้องกันโดยไม่เกิดการได้เปรียบกับคู่ต่อสู้
6.4 ลูกบอลที่อยู่ในเขตประตูเป็นของผู้รักษาประตู ห้ามผู้เล่นในสนามคนอื่นๆ ถูกลูกบอลในขณะที่ลูกบอลวางหรือกลิ้งอยู่บนพื้นสนามในเขตประตู หรือในขณะที่ผู้รักษาครอบครองลูกบอลอยู่ (กติกาข้อ 13.1 ค.) แต่จะอนุญาตให้เล่นลูกบอลในขณะที่ลูกบอลอยู่ในอากาศเหนือเขตประตูได้
6.5 ลูกบอลที่อยู่ในเขตประตู ผู้รักษาประตูจะต้องส่งกลับออกมาเข้าสู่การเล่น
6.6 การเล่นจะคงดำเนินต่อไป ถ้าเป็นลักษณะการป้องกันของฝ่ายรับ โดยลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายป้องกันและหลังจากนั้นผู้รักษาประตูได้รับลูกนั้นหรือลูกหยุดในเขตประตู
6.7 ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกกลับเข้าไปในเขตประตูของตนเอง ผู้ตัดสินจะพิจารณาตัดสินดังนี้
ก. ได้ประตู ถ้าลูกบอลเข้าประตู
ข. ส่งลูกกินเปล่า ถ้าลูกบอลหยุดนิ่งอยู่ในเขตผู้รักษาประตู หรือถูกผู้รักษาประตู และลูกบอลไม่เข้าประตู
ค. ส่งลูกเข้าเล่น ถ้าลูกบอลออกนอกเส้นประตู
ง. การเล่นจะดำเนินต่อไป ถ้าลูกบอลได้กระดอนกลับออกมาในสนามอีกโดยไม่ได้ถูกผู้รักษาประตู
6.8 ลูกบอลที่กลับออกมาจากเขตประตูเข้าสู่เขตการเล่นจะถือว่าอยู่ในการเล่นต่อไป
กติกาข้อ 7 การเล่นลูกบอล (Playing The Ball)
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
7.1 ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมือทั้งสอง (แบมือหรือกำมือ) แขนศีรษะ ลำตัว ต้นขา และเข่า
7.2 จับลูกบอลไว้ได้ไม่เกิน 3 วินาที ในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้น
7.3 ถือลูกบอลและก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าว หนึ่งก้าวให้พิจารณาการกระทำดังนี้
ก. ยกเท้าหนึ่งและวางลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ข. ถ้าผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงเท้าเดียวจับลูกบอล และใช้เท้าอีกเท้าหนึ่งสัมผัสพื้น
ค. ถ้าผู้เล่น หลังจากกระโดดและสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น
ง. ถ้าผู้เล่น หลังจากกระโดดและสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมกันและยกเท้าหนึ่งและวางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ข้อสังเกต
ถ้าเท้าหนึ่งเคลื่อนที่จากหนึ่งไปยังที่อื่น อนุญาตให้ลากเท้าอีกเท้าหนึ่งได้
7.4 ในขณะยืนหรือวิ่ง
ก. กระดอนลูกบอลครั้งหนึ่งและจับมือด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ข. กระดอนลูกบอลซ้ำด้วยมือเดียว (การเลี้ยงลูกบอล) หรือกลิ้งลูกบอลไปบนพื้นสนามด้วยมือเดียว แล้วจับหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาอีกด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ในขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือนั้นจะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าว
การเลี้ยงหรือกระดอนนั้น ผู้เล่นสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถูกลูกบอลและเลี้ยงลูกไปบนพื้น
เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นอื่นหรือประตู ผู้เล่นมีสิทธิ์ที่จะแตะหรือกระแทกลูกบอลและจับได้อีกครั้ง
7.5 เคลื่อนย้ายลูกบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง
7.6 เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้น
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
7.7 ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากจะได้ถูกพื้น ผู้เล่นอื่น ๆ หรือประตู (กติกาข้อ 13.1 ง.)
การจับลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกทำโทษ
ข้อสังเกต Fumbling หมายถึง ผู้เล่นพลาดจากการครอบครองลูกบอลในขณะที่พยายามจะจับหรือหยุดลูก
7.8 ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไป ยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ขว้างลูกบอลมาถูกผู้ล่น (กติกาข้อ 13.1 ง.) แต่อย่างไรก็ตาม การทำผิดอย่างนี้ไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้เล่นหรือเพื่อนร่วมทีม
7.9 ทิ้งตัวลงเล่นลูกบอล ในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ (กติกาข้อ 13.1 ง.)
กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำมาใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตู
7.10 เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู (กติกาข้อ 13.1 ง.)
กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำมาใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูและเสียการครอบครองลูกบอลและลูกบอลได้ออกไปนอกเส้นประตู (ผู้รักษาประตูส่ง)
7.11 พยายามครอบครองลูกบอลไว้ในทีมของตน โดยไม่พยายามที่จะรุก หรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษด้วยการส่งลูกกินเปล่า ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง (กติกาข้อ 13.1 ฉ.)
7.12 การเล่นจะดำเนินต่อไป ถ้าลูกบอลถูกผู้ตัดสินในสนาม
กติกาข้อ 8 การเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม (The Approach To The Opponent)
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.1 ใช้มือและแขนเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล
8.2 แบมือเล่นลูกบอลได้ทุกทิศทาง
8.3 ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ในขณะที่คู่ต่อสู้ไม่ได้เป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.4 กีดกันหรือดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขนหรือขา
8.5 ผลักคู่ต่อสู้ให้เข้าไปในเขตประตู
8.6 ดึงหรือตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือให้ออกจากมือคู่ต่อสู้
8.7 ใช้กำปั้นทุกบลูกบอลให้ออกจากคู่ต่อสู้
8.8 ใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือแกล้งใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย
8.9 ทำให้ผู้รักษาประตูเกิดอันตราย
8.10 ดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือผลักคู่ต่อสู้
8.11 วิ่งเข้าหา กระโดดเข้าหา ทำให้ล้ม ตีหรือขู่คู่ต่อสู้ในทุก ๆ ทาง
8.12 ทำผิดกติกาเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม จะถูกทำโทษโดยส่งลูกกินเปล่าหรือให้ยิงโทษ
8.13 ทำผิดกติกาเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม โดยที่การกระทำนั้นมุ่งที่ตัวบุคคลมากกว่าลูกบอล การกระทำดังกล่าวนี้จะถูกลงโทษที่รุนแรง การลงโทษที่รุนแรงจะนำมาใช้ในกรณีการกระทำที่ไม่น้ำใจนักกีฬา
8.14 การทำผิดอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้ามหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างรุนแรง จะต้องถูกลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ผู้เล่นที่ผิดนั้น
8.15 ผู้เล่นที่ทำผิดการทำร้ายร่างกายจะถูกไล่ออกจากการแข่งขัน
กติกาข้อ 9 การได้ประตู (Scoring)
9.1 จะนับว่าได้ประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูก ได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตู (รูปที่ 4) โดยผู้ทำประตู หรือเพื่อนร่วมทีมไม่ได้ทำผิดกติกาก่อนหรือขณะทำการยิงประตู
ถ้าผู้เล่นฝ่ายรับพยายามป้องกันอย่างผิดกติกาหรือและลูกบอลได้ผ่านเข้าประตู ให้ถือว่าได้ประตู
ถ้าผู้ตัดสินหรือผู้จับเวลาให้สัญญาณหยุดเวลาก่อนที่ลูกบอลจะผ่านเข้าไปในประตู ถือว่าไม่ได้ประตู
ถ้าผู้รักษาประตูเล่นบอลในเขตประตูและลูกบอลได้หลุดเข้าประตูตนเองให้ถือว่าเป็นประตูของฝ่ายตรงกันข้าม นอกจากลูกบอลจะได้ออกนอกเส้นเขตประตูก่อนแล้ว
หมายเหตุ ถ้าลูกบอลถูกป้องกันไม่ให้เข้าประตูโดยบุคคลอื่นหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในสนาม (เช่นผู้ชม) และผู้ตัดสินได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นลูกบอลจะต้องเข้าประตูอย่างแน่นอน ให้ถือว่าได้ประตู
9.2 ถ้าผู้ตัดสินได้เป่านกหวีดเพื่อให้ส่งเริ่มเล่นต่อไปแล้วประตูทีได้จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการได้ประตูอย่างชัดเจน ถ้าสัญญาณการหมดเวลาแต่ละครึ่งดังขึ้นทันทีหลังจากได้ประตูจะต้องนับเป็นประตู
ข้อสังเกต จะต้องแจ้งการได้ประตูบนป้ายคะแนนทันทีที่ผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณการได้ประตู
9.3 ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าอีกทีมหนึ่งคือผู้ชนะการแข่งขัน
9.4 ถ้าทั้งสองทีมทำประตูได้เท่ากันหรือไม่ได้ประตูเหมือนกันให้ถือว่าเสมอกัน
กติกาข้อ 10 การส่งเริ่มเล่น (The Throw-Off)
10.1 การส่งเริ่มเล่น จะเริ่มโดยที่ชนะการเสี่ยงและเลือกเล่นโดยเป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล ฝ่ายตรงกันข้ามจะเลือกแดนถ้าฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเลือกแดน ฝ่ายตรงกันข้ามได้เป็นผู้ส่งเริ่มเล่น
การส่งเริ่มในครึ่งเวลาหลังจะส่งโดยทีมที่มิได้เป็นฝ่ายส่งในการเริ่มครึ่งเวลาแรก เมื่อมีเวลาเพิ่มพิเศษให้ทำการเสี่ยงใหม่
10.2 หลังจากมีการได้ประตู ทีมที่เสียประตูจะต้องเป็นผู้ส่งเริ่มเล่นใหม่ (กติกาข้อ 9.2)
10.3 การส่งเริ่มเล่น จะทำที่จุดกึ่งกลางสนามทิศทางใด ๆ ก็ได้หลังจากที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีด การส่งเริ่มจะต้องทำภายในเวลา 3 วินาที (กติกาข้อ 13.1 ซ.)
10.4 ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนครึ่งสนามของตนเองในขณะที่มีการส่งเริ่มและผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร
กติกาข้อ 11 การส่งลูกเข้าเล่น (The Throw-In)
11.1 จะตัดสินใจส่งลูกเข้าเล่น ถ้าลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านความกว้างของเส้นข้าง หรือลูกบอลได้ถูกผู้เล่นในสนามของฝ่ายรับเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ลูกนั้นจะออกข้ามเส้นประตูไป
11.2 การส่งลูกเข้าเล่นจะส่งโดยผู้เล่นฝ่ายที่มิได้ถูกลูกบอลเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ลูกบอลจะข้ามเส้นข้างหรือเส้นประตู โดยผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด
11.3 การส่งลูกเข้าเล่น ให้ส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลได้ข้ามเส้นข้างหรือที่บริเวณปลายเส้นข้างด้านที่ลูกบอลได้ออกนอกเส้นประตู
11.4 ผู้เล่นที่ส่งลูกเข้าเล่น ให้ส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลได้ข้ามเส้นหรือที่บริเวณปลายเส้นข้างด้านที่ลูกบอลได้ออกนอกเส้นประตู
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นวางลูกบอลลงบนพื้นและเก็บขึ้นมาอีกด้วยตนเอง หรือกระดอนแล้วจับลูกบอลอีก
11.5 ขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่น ผู้เล่นฝ่ายตรงกันจะต้องยืนอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกเข้าเล่นอย่างน้อย 3 เมตร แต่ผู้เล่นสามารถยืนใกล้เส้นประตูด้านนอกได้ ถึงแม้ว่าระยะทางระหว่างผู้ส่งลูกเข้าเล่นกับผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามน้อยกว่า 3 เมตรก็ตาม
กติกาข้อ 12 ผู้รักษาประตูส่ง (The Goalkeeper Throw)
12.1 ผู้รักษาประตูจะส่งเมื่อลูกบอลได้ข้ามออกนอกเส้นประตู (กติกาข้อ 5,7 7.12)
12.2 ผู้รักษาประตูจะส่งโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน จากภายในเขตประตูให้ออกจากเส้นเขตประตู
จะพิจารณาว่าเป็นการส่งโดยสมบูรณ์เมื่อ ลูกบอลได้ส่งโดยผู้รักษาประตูและข้ามเส้นเขตประตู
12.3 ถ้าลูกบอลอยู่ในประตู ผู้รักษาประตูจะต้องนำมาลูกนั้นกลับเข้าสู่การเล่น (กติกาข้อ 6.7 ค.)
12.4 ผู้รักษาประตูจะต้องไม่ถูกลูกบอลนั้นอีก หลังจากได้ส่งลูกบอลเข้าไปแล่นจนกว่าลูกนั้นจะได้สัมผัสผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน (กติกาข้อ 5.9, 13.1 ญ)
กติกาข้อ 13 การส่งลูกกินเปล่า (The Free-Throw)
13.1 การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำดังนี้
ก. การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู่สนามผิดกติกา (กติกาข้อ 4.4 -6)
ข. ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา (กติกาข้อ 5.7- 10, 5.13)
ค. ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู (กติกาข้อ 6.2 ก – ข., 6.4)
ง. เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 7.2 -4,7 -9)
จ. เจตนาทำให้ลูกบอลออกเส้นประตูหรือเส้นข้าง (กติกาข้อ 7.10)
ฉ. ถ่วงเวลาการเล่น (กติกาข้อ 7.11)
ช. การฟาล์วเนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้ (กติกาข้อ 8.12)
ซ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น (กติกาข้อ 10.3)
ฌ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น (กติกาข้อ 11.4)
ญ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากเขตประตู (กติกาข้อ 12.4)
ฎ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า (กติกาข้อ 13.3)
ฏ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงลูกโทษ (กติกาข้อ 14.2-4)
ฐ. การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกโดยผู้ตัดสิน (กติกาข้อ 15.4.)
ฑ. การทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่งตามปกติ
ฒ. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (กติกาข้อ 16.12.)
ณ. การรุกราน (กติกาข้อ 8.5)
13.2 การส่งลูกกินเปล่า จะส่ง ณ จุดที่มีการทำผิดกติกา โดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน
ถ้าจุดส่งกินเปล่าอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) ของฝ่ายที่ทำผิด การส่งลูกกินเปล่าจะต้องกระทำ ณ บริเวณที่ใกล้ที่สุดอยู่นอกเส้น 9 เมตร
13.3 ในขณะที่ฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งที่จะส่ง ต้องมีลูกบอลอยู่ในมือ เขาจะวางลูกลงบอลบนพื้นและเก็บขึ้นมาอีกหรือกระดอนลูกและจับอีกไม่ได้ (กติกาข้อ 13.1 ฎ.)
13.4 ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่สัมผัสหรือข้ามเส้น 9 เมตรของฝ่ายตรงกันข้ามก่อนที่การส่งลูกบอลกินเปล่าจะเริ่มขึ้น
ผู้ตัดสินจะต้องดูตำแหน่งของผู้เล่นในขณะที่มีการส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องจะมีผลกระทบต่อการเล่น
การส่งลูกกินเปล่าในกรณีนี้จะต้องส่งหลังสัญญาณนกหวีด
13.5 ในขณะที่มีการส่งลูกกินเปล่า ผู้ฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม จะอนุญาตให้ผู้เล่นอื่นยืนใกล้เส้นเขตประตูด้านนอกสนามได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าลูกนั้นส่ง ณ บริเวณเส้น 9 เมตร
13.6 ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในการทำผิดของฝ่ายรับ ถ้าการทำผิดนั้นจะมีผลทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ
จะต้องให้การส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อย ถ้าการทำผิดกติกานั้นทำให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล
จะต้องไม่ให้ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นยังครอบครองลูกและทรงตัวได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีการทำผิดกติกาของฝ่ายรับ
13.7 ถ้าการแข่งขันต้องหยุดลง โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดกติกา ทีมที่ได้ครอบครองลูกบอลอยู่ยังคงได้ครอบครองลูกบอลต่อโดยการได้ส่งลูกกินเปล่า ณ บริเวณที่ลูกบอลอยู่ในขณะที่เวลาได้หยุดลง การส่งจะต้องได้รับสัญญาณนกหวีดก่อน
13.8 ถ้ามีการตัดสินที่เป็นความผิดของฝ่ายรุก ผู้เล่นที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกนั้นลงบนพื้นทันที
กติกาข้อ 14 การยิงลูกโทษ (The 7-Meter Throw)
14.1 การยิงลูกโทษ จะกระทำเมื่อ
ก. มีการทำให้เสียโอกาสอย่างชัดแจ้งในการได้ประตูในทุก ๆ ส่วนของสนามโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมของฝ่ายตรงข้าม
ข. มีสัญญาณนกหวีดที่ไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่มีโอกาสได้ประตูอย่างชัดเจน
ค. มีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในเกมเข้าไปในสนามทำให้เสียโอกาสในการได้ประตูอย่างชัดเจน
14.2 ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกสนามควบคุมบอลและร่างกายได้อย่างสมบูรณ์หลังจากถูกกระทำผิด โดยผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม (ในขณะที่มีโอกาสจะได้ประตู) จะต้องไม่ให้เป็นลูกโทษ ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายรุกส้มหรือเสียโอกาสที่จะได้ประตู จะต้องตัดสินให้เป็นลูกโทษ
14.3 หลังจากผู้ตัดสินเป่าสัญญาณให้เป็นลูกโทษแล้ว ผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณหยุดเวลาทุกครั้ง
14.4 ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ และผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิงลูกโทษ ไม่สามารถเล่นบอลได้ จนกว่าลูกบอลจะสัมผัสฝ่ายตรงกันข้ามหรือประตู
14.5 ผู้ยิงลูกโทษ ไม่สามารถสัมผัสหรือข้ามเส้น 7 เมตร ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือ
14.6 ผู้ที่ยิงลูกโทษ และผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิงลูกโทษ ไม่สามารถเล่นบอลได้ จนกว่า ลูกบอลสัมผัสกับฝ่ายตรงข้ามหรือประตู
14.7 ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ ผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิงลูกโทษ ต้องอยู่นอกเขตส่งลูกกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) จนกว่าลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้ยิงประตูไปแล้ว ถ้ามีการทำผิดกติกาให้เปลี่ยนเป็นลูกส่งกินเปล่าแก่ฝ่ายตรงข้าม
14.8 ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่นอกเขตส่งลูกกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) และห่างจากผู้ยิงลูกโทษออกไป 3 เมตร ถ้ามีการทำผิดกติกาให้ยิงลูกโทษอีกครั้ง ถ้าลูกนั้นไม่เข้าประตู
14.9 ให้มีการยิงลูกโทษใหม่อีกครั้งถ้าลูกไม่เข้าประตู เนื่องจากผู้รักษาประตูข้ามเส้น 4 เมตร ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้ยิงลูกโทษ
14.10 ไม่อนุญาตให้มีการถ่วงเวลาในการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตู ในขณะที่ทำการยิงลูกโทษ พร้อมที่จะทำการยิง ถ้าเกิดการทำผิดในกรณีให้ลงโทษโดยใช้ข้อไม่มีน้ำใจนักกีฬา
กติกาข้อ 15 การปฏิบัติในการส่ง (ส่งลูกริเริ่มเล่นส่งลูกเข้าเล่น การส่งจากผู้รักษาประตูส่งกินเปล่า ลูก 7 เมตร)
15.1 ลูกบอลจะต้องอยู่ในมือผู้ส่งก่อนที่ทำการส่ง ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในตำแหน่งตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการส่ง และผู้เล่นต้องอยู่ในตำแหน่งนั้นจนกว่าบอลจะหลุดออกจากมือของผู้ส่ง
15.2 ยกเว้นการส่งจากผู้รักษาประตู ให้สามารถใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าสัมผัสกับพื้น และเมื่อส่งลูกให้ยกเท้าอื่น และวางลงได้อีกครั้ง
15.3 ผู้ตัดสินจะต้องเป่านกหวีดเมื่อเริ่ม
ก. ทุกกรณีของการส่งลูก (กติกาข้อ 10.3) และยิงลูกโทษ
ข. ในกรณีของการส่งลูกเข้าเล่น การส่งลูกของผู้รักษาประตูหรือส่งลูกกินเปล่า
: เมื่อเริ่มเล่นหลังจากขอเวลานอก
: เมื่อเริ่มส่งลูกกินเปล่า กรณีที่เกิดการเปลี่ยนตัวผิดกติกา
: เมื่อเริ่มเล่นหลังจากลงโทษผู้เล่นโดยการให้บัตรเหลือง สั่งพัก 2 นาที ตัดสิทธิ์
: เมื่อหลังจากการแก้ไขตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง
: หลังจากมีการเตือนหรือลงโทษ
หลังจากสัญญาณของผู้ตัดสิน ผู้เล่นจะต้องส่งลูกบอลภายใน 3 วินาที
15.4 การส่งจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อลูกบอลได้หลุดออกจากมือจะต้องไม่ใช้วิธีการยื่นลูกบอลหรือแตะโดยเพื่อนร่วมทีม
15.5 ผู้ส่งลูกจะต้องไม่ถูกบอลอีกจนกว่าลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูก่อน
15.6 การส่งลูกทุกชนิด ถ้าลูกเข้าประตูโดยตรงถือว่าเข้าประตู
15.7 ในขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่นหรือส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามยืนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง และฝ่ายส่งบอลได้ทำการส่งบอลเพื่อเล่นเร็วและกำลังได้เปรียบ ผู้ตัดสินอาจไม่เข้าใจตำแหน่ง แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าฝ่ายรุกไม่ได้เปรียบจึงให้แก้ไขตำแหน่งของฝ่ายรับให้ถูกต้อง
ถ้าผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีดเพื่อให้เริ่มส่ง แม้ว่าผู้เล่นฝ่ายรับจะมีตำแหน่งไม่ถูกต้องก็ตาม กรณีเช่นนี้ฝ่ายรับมีสิทธิ์เข้าเล่นได้
ผู้เล่นจะถูกเตือนถ้าทำการถ่วงเวลาหรือกีดขวางการส่งของคู่ต่อสู้โดยการยืนชิดหรือทำผิดอย่างอื่น จะต้องถูกสั่งพัก 2 นาที ถ้าทำซ้ำอีกหลังจากได้ทำการเตือนแล้ว
กติกาข้อ 16 การลงโทษ (The Punishments)
16.1 การเตือนจะทำเมื่อ
ก. การทำผิดเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม (กติกาข้อ 5.6, 8.4-11)
ข. การทำผิดเกี่ยวกับการเข้าเล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องถูกลงโทษ (กติกาข้อ 8.13)
ค. การทำผิดในขณะที่ฝ่ายตรงกันข้ามกำลังทำการส่ง (กติกาข้อ 16.7)
ง. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม
16.2 ในขณะที่มีการเตือน ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการทำผิดนั้น ๆ ของผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ และแสดงให้ผู้จับเวลาและผู้บันทึกทราบโดยการใช้บัตรสีเหลือง
ข้อสังเกต บัตรสีเหลืองควรมีขนาด 9 × 12 เซนติเมตร นักกีฬาแต่ละคนไม่ควรได้รับการเตือนเกินกว่า 1 ครั้ง และทีมหนึ่งไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาที ไม่ควรมีการเตือนอีก และทีมเจ้าหน้าที่ไม่ควรถูกเตือนเกินกว่า 1 ครั้ง
16.3 การสั่งพัก 2 นาที จะทำเมื่อ
ก. มีการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือการเข้าสู่สนามที่ผิดกติกา (กติกาข้อ 4.4-6)
ข. การทำผิดกติกาซ้ำเนื่องจากการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม จะถูกลงโทษ ลักษณะการเล่นที่รุนแรง (กติกาข้อ 8.13)
ค. การทำผิดซ้ำเกี่ยวกับการไม่มีน้ำใจนักกีฬาของผู้เล่นในสนาม
ง. ไม่วางลูกบอลลงอย่างทันทีในขณะที่มีการตัดสินให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้เล่น(กติกาข้อ 13.8)
จ. ทำผิดกติกาซ้ำ ๆ ในขณะที่คู่ต่อสู้กำลังส่งลูก
ฉ. ผลที่เกิดจากการตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม
ข้อยกเว้น การสั่งพักสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีการเตือนมาก่อน
16.4 ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการสั่งพักผู้เล่นที่ทำผิดให้ชัดเจนและแจ้งให้ผู้จับเวลา ผู้บันทึกด้วยการใช้สัญญาณมือ ในลักษณะยกมือเหยียดแขนขึ้นข้างเดียวและชูนิ้วสองนิ้ว
การสั่งพักโดยปกติจะให้หยุดพัก 2 นาที แต่ถ้าเป็นผู้เล่นคนถูกสั่งพักครั้งที่ 3 ผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักจะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในขณะที่ถูกสั่งพัก และจะไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นอื่นเข้าแทนได้
ช่วงเวลาการสั่งพักจะเริ่มเมื่อการเล่นได้เริ่มขึ้นใหม่ด้วยสัญญาณนกหวีด การสั่งพัก 2 นาทีจะมีต่อไปจนถึงครึ่งเวลาหลังถ้าเลาสั่งพักนั้นยังไม่หมด และได้หมดเวลาของครึ่งแรกก่อน และให้รวมถึงเวลาเพิ่มเติมพิเศษด้วย
16.5 การตัดสิทธิ์จะทำเมื่อ
ก. ถ้าผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันเข้าไปในสนามกติกาข้อ 4.3)
ข. ทำผิดอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกัน (กติกาข้อ 8.14)
ค. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา โดยนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่อยู่นอกสนาม
ง. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างรุนแรง โดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม
จ. ผู้เล่นคนเดิมถูกสั่งพักครั้งที่ 3
ฉ. การรุกรานโดยเจ้าหน้าที่ประจำทีม
การตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าประทีมในขณะเวลาแข่งขัน จะต้องทำคู่ไปกับการสั่งพัก 2 นาทีด้วย โดยผู้เล่นในสนามจะต้องลดลง 1 คน
16.6 ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำผิดต่อผู้จับเวลา ผู้บันทึกโดยการชูบัตรสีแดง
การตัดสินผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมจะทำในเวลาการเล่นผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่จะต้องออกจากสนามและบริเวณเขตการเปลี่ยนตัวทันที
การตัดสินสิทธิ์จะต้องลดจำนวนผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่จากที่มีอยู่ (ยกเว้นกติกาข้อ 16.12 ข.) แต่อย่างไรก็ตาม จะอนุญาตให้เพิ่มจำนวนผู้เล่นในสนามได้เมื่อหมดเวลาสั่งพัก 2 นาที (ข้อสังเกตกติกา ข้อ 4.6)
ข้อสังเกต บัตรสีแดงมีขนาด 9 × 12 เซนติเมตร
การบังคับให้ออกจากบริเวณเขตเปลี่ยนตัว หมายถึง ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ต้องออกจากตำแหน่งที่เขาจะสวมมีผลต่อทีมได้
16.7 การให้ออกจะทำเมื่อ
ในกรณีที่มีการทำร้ายในขณะแข่งขัน รวมถึงนอกสนามแข่งขันด้วย (กติกาข้อ 8.15, 17.8-9)
ข้อสังเกต การทำร้าย หมายถึง การกระทำโดยเจตนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการทำร้ายต่อผู้อื่น (กติกาข้อ 8.15) เช่น ผู้เล่น ผู้ตัดสิน ผู้จับเวลา ผู้บันทึก เจ้าหน้าที่ หรือผู้ชม
16.8 ผู้ตัดสินควรจะขอเวลานอกและแจ้งให้ผู้เล่นที่ทำผิดทราบและแจ้งต่อผู้จับเวลาและผู้บันทึกโดยตรง โดยการแสดงสัญญาณมือต่อหน้าผู้เล่น ด้วยการยกมือทั้งสองไขว้ที่ระดับใบหน้า
การให้ออกจะทำในเวลาเล่นและทีมนั้นจะเล่นต่อโดยมีผู้เล่นในสนามน้อยลงไป 1 คน ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากสนามทันที (รวมทั้งบริเวณเขตเปลี่ยนตัว)
16.9 ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาทีทำการละเมิดกติกาก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันใหม่ ให้พิจารณาแยกการลงโทษแต่ละอย่างไป
16.10 ถ้าผู้รักษาประตูถูกสั่งพัก ตัดสิทธิ์ หรือให้ออก ผู้เล่นคนอื่น ๆ 1 คนจะต้องเข้าแทนตำแหน่งผู้รักษาประตู (กติกาข้อ 4.1)
16.11 ผู้ตัดสินจะทำการเตือนผู้เล่นที่ทำผิดเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นการกระทำในหรือนอกสนาม (กติกาข้อ 16.1 ง.)
ถ้าเป็นการทำซ้ำโดยผู้เล่นคนนั้นและอยู่ในสนามเขาจะถูกสั่งพัก (กติกาข้อ 16.3 ค.) ถ้าผู้เล่นคนนั้นอยู่นอกสนาม (ผู้เล่นสำรองหรือผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก) จะถูกตัดสิทธิ์ (กติกาข้อ 16.5 ค. , 16.6)
เจ้าหน้าที่ประจำทีมที่ทำการไม่มีน้ำใจนักกีฬาจะต้องถูกเตือน (กติกาข้อ 16.1 ง.) และถ้ายังทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ (กติกาข้อ 16.5 ค. , 16.6)
ถ้าการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา หรือการทำร้ายเกิดขึ้นในขณะที่การแข่งขันหยุดลง เมื่อเริ่มการแข่งขันใหม่จะต้องเริ่มโดยให้การกระทำนั้นตรงกับเหตุที่หยุดการแข่งขันลง
ข้อสังเกต การแสดงออกด้วยวาจาหรือท่าทางซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นนักกีฬาที่ดี ให้ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา
ให้พิจารณาลงโทษการไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรง ถ้าเจ้าหน้าที่ประจำทีมเข้าสู่สนามโดยไม่ได้รับอนุญาต (กติกา ข้อ 4.4 )
ถ้าผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมทำผิดหลาย ๆ ครั้ง (การละเมิดกติกาการกระทำที่ไม่มีน้ำใจกีฬา การรุกราน) ในเวลาเดียวกันหรือคนละช่วงเวลา ซึ่งแต่ละอย่างเป็นโทษที่รุนแรงให้พิจารณาลงโทษที่หนักเพียงอันเดียว
16.12 การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือการก้าวร้าว จะพิจารณาลงโทษดังนี้
ก่อนการแข่งขัน
ก. เตือน ในกรณีที่กระทำไม่มีน้ำใจนักกีฬา (กติกาข้อ 16.1 ง.)
ข. ตัดสิทธิ์ ในกรณีที่กระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างรุนแรง (กติกาข้อ 16.5 ง. และ ฉ.) แต่อนุญาตให้ทีมนั้นเริ่มเล่นด้วยผู้เล่นใน 12 คน
ระหว่างเวลาพัก
ค. เตือน ในกรณีที่กระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (กติกาข้อ 16.1 ง.)
ง. ตัดสิทธิในกรณีที่กระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำหรือรุนแรง หรือในกรณีที่เกิดการรุกราน (กติกาข้อ 16.5 ค., ง. และ ฉ.)
ภายหลังการแข่งขัน
จ. เขียนรายงาน
กติกาข้อ 17 ผู้ตัดสิน (The Referees)
17.1 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่เท่ากัน โดยมีผู้ช่วย คือผู้บันทึกและผู้จับเวลา
17.2 ผู้ตัดสินมีอำนาจกว่ากล่าวการกระทำของผู้เล่นตั้งแต่เริ่มเข้าสนาม จนถึงออกจากสนามแข่งขัน
17.3 ผู้ตัดสินมีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจสนามแข่งขันประตู และลูกบอลก่อนเริ่มการแข่งขัน (กติกาข้อ 3.1) และจะเป็นผู้พิจารณาว่าลูกบอลลูกใดที่จะใช้ในการแข่งขันได้ ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จะพิจารณาใช้ข้อเสนอของผู้ตัดสินที่มีชื่อแรก
ผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบเครื่องแต่งกายของทั้งสองทีมให้ถูกต้อง ตรวจสอบใบบันทึกและอุปกรณ์ของผู้เล่น และต้องแน่ใจว่าจำนวนผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเขตเปลี่ยนตัวนั้นเป็นไปตามกำหนดและจะต้องทราบเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของทีมที่แน่นอนของแต่ละทีมหากมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้แก้ไข (กติกาข้อ 10.1)
17.4 ผู้ตัดสินที่มีชื่อแรกจะเป็นผู้เสี่ยงต่อหน้าผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งและหัวหน้าทีมทั้งสองทีม (กติกาข้อ 10.1)
17.5 การเริ่มการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียงเป็นลำดับที่สองจะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในสนามต่ออยู่ด้านหลังของทีมที่จะส่งลูกเริ่มเล่น (Court Referee)
ผู้ตัดสินในสนามจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีดให้ส่งลูกเริ่มเล่น (กติกาข้อ 10.3) ต่อมา ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอลผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นลำดับที่ 2 จะไปทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินที่เส้นประตูด้านที่เป็นฝ่ายรับ ผู้ตัดสินที่เริ่มอยู่ที่เส้นประตูอีกด้านหนึ่ง จะกลับมาเป็นผู้ตัดสินในสนามแทน เมื่อทีมนั้นสูญเสียการครอบครองลูกบอลผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนแดนกันตลอดเวลาการแข่งขัน
17.6 โดยหลักการ ตลอดการแข่งขันควรจะควบคุมโดยผู้ตัดสินชุดเดิม มีหน้าที่รับผิดชอบให้การแข่งขันเป็นไปตามกติกาและจะต้องทำโทษกระทำผิดทุกชนิด (กติกาข้อ 13.6, 14.9)
ถ้าผู้ตัดสินคนใดไม่สามารถทำหน้าที่ที่ได้จนจบการแข่งขัน ผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจะต้องทำหน้าที่ต่อโดยลำพัง
17.7 ในหลักการ ผู้ตัดสินในสนามจะเป่านกหวีดเมื่อ
ก. การส่งทุกชนิดที่เป็นไปตามกติกาข้อ 16.3 ก. –ฉ. และภายหลังการขอเวลานอก (กติกาข้อ 2.4)
ข. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ถ้าสัญญาณอัตโนมัติไม่ทำงาน หรือผู้จับเวลาไม่ให้สัญญาณหมดเวลา
ค. เมื่อมีการได้ประตู
17.8 ถ้าผู้ตัดสินทั้งสองคนให้สัญญาณนกหวีดเกี่ยวกับการละเมิดกติกา และได้พิจารณาลงโทษ แต่ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของการลงโทษต่างกัน ให้พิจารณาลงโทษที่รุนแรงกว่าเป็นหลัก
17.9 ถ้าผู้ตัดสินทั้งสองคนให้สัญญาณนกหวีดเกี่ยวกับการละเมิดกติกา แต่มีความคิดเห็นทีแตกต่างกันว่าทีมใดควรจะได้รับการลงโทษ ให้ยึดผู้ตัดสินในสนามเป็นหลัก
การแข่งขันจะเริ่มต่อไปเมื่อผู้ตัดสินในสนามได้ให้สัญญาณมืออย่างชัดเจนพร้อมสัญญาณนกหวีด
17.10 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมคะแนน และจะต้องควบคุมการบันทึกเกี่ยวกับการเตือน การสั่งพัก การตัดสิทธิ์ และการให้ออก
17.11 ผู้ตัดสินทั้งสองมีหน้าที่ในการควบคุมเวลาการแข่งขันหากเกิดการสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของการควบคุมเวลา ผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นชื่อแรกจะเป็นผู้พิจารณาตัดสิน
17.12 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับใบบันทึก โดยไม่ต้องแน่ใจว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์
17.13 การตัดสินของผู้ตัดสินให้พิจารณาจากพื้นฐานของความจริงและถือเป็นสิ้นสุด การอุทธรณ์ คำตัดสินที่ไม่เป็นไปตามกติกา หัวหน้าทีมมีสิทธิ์ที่แจ้งต่อผู้ตัดสินได้
17.14 ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีอำนาจที่จะหยุดการแข่งขันชั่วขณะหนึ่ง หรือยุติการแข่งขันได้ต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะให้การแข่งขันดำเนินต่อไปก่อนที่จะมีการตัดสินให้ยุติการแข่งขัน
17.15 ผู้ตัดสินจะต้องใส่ชุดสีดำเป็นหลักหรือสีอื่นที่แตกต่างจากผู้เล่นทั้งสองทีมอย่างชัดเจน
กติกาข้อ 18 ผู้บันทึกและผู้จับเวลา (The Scorekeeper and The Timekeeper)
18.1 ผู้บันทึกต้องตรวจสอบรายชื่อของทีม เฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเท่านั้นมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันได้ ผู้บันทึกกับผู้จับเวลาจะต้องช่วยกันตรวจสอบการลงสนามของผู้เล่นที่มาถึงสนาม หลังจากการแข่งขันได้เริ่มไปแล้ว หรือเข้าสู่สนามอีกภายหลังจากถูกสั่งพัก
ผู้บันทึกมีหน้าที่ควบคุมและทำเครื่องหมายต่าง ๆ ที่จำเป็นลงในใบบันทึก (การได้ประตู การเตือน การสั่งพัก การตัดสิทธิ์ และการให้ออก)
18.2 ผู้จับเวลามีหน้าที่ควบคุม
ก. เวลาการแข่งขัน (กติกาข้อ 2.1, 2.4, 2.7) การหยุดและเริ่มเวลาเมื่อผู้ตัดสินสั่ง
ข. จำนวนผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ในเขตเปลี่ยนตัว (กติกาข้อ 4.1)
ค. ร่วมกับผู้บันทึก เกี่ยวกับผู้เล่นที่มาถึงภายหลังจากที่การแข่งขันได้เริ่มไปแล้ว (กติกาข้อ 4.3)
ง. การออกและเข้าสนามของการเปลี่ยนตัวผู้เล่น (กติกาข้อ 4.4 , 4.5)
จ. ผู้เล่นที่เข้าสนามโดยไม่สิทธิ์ (กติกาข้อ 4.6)
ฉ. เวลาสั่งพักสำหรับผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก
ถ้าไม่มีนาฬิกาที่สามารถแจ้งเวลาสิ้นสุดการแข่งขันแบบอัตโนมัติ ผู้จับเวลาจะต้องให้สัญญาณหยุดการแข่งขันในแต่ละครึ่งอย่างชัดเจน
18.3 เมื่อมีการหยุดเวลาการแข่งขัน (ขอเวลานอก) ผู้จับเวลาจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำทีมของแต่ละทีมได้ทราบว่า เวลาแข่งขันหมดไปเท่าไร (ยกเว้นในกรณีที่มีนาฬิกาที่สามารถแจ้งเวลาให้สาธารณชนทราบ)
18.4 ผู้จับเวลาจะต้องแจ้งให้ผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก หรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่รับผิดชอบได้ทราบว่าเมื่อไรจะหมดเวลาสั่งพัก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น