อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ (กราบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ฯ (กราบ)
อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ (กราบ ๓ ครั้ง)
การวันทาเสมา คำว่า "เสมา หรือ สีมา" แปลว่า "เขตแดน"
หมายถึงเขตกำหนดที่พระสงฆ์ทำพิธีผูกพัทธสีมา กำหนดไว้เป็นเขตแดนพิเศษ
สำหรับพระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม เปรียบเทียบได้เหมือนเขตบ้านเมือง ซึ่งมีรั้วหรือกำแพงไว้เป็นเขตแดน
การที่นิยมกำหนดให้นาคไปวันทาเสมา ก็เพื่อให้นาคไปทำความเคารพเขตอุโบสถ
อันเป็นเขตแดนพิเศษสำหรับ พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม และเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นกิริยาอาการแสดงความอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อพระรัตนตรัย โดยเริ่มทำความเคารพมาตั้งแต่ถึงเขตที่ประทับของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว ประเพณีนิยมการวันทาเสมานี้ ในส่วนภูมิภาคนิยมปฏิบัติกันทั่วไป ส่วนในเมืองหลวงไม่ค่อยนิยม
เมื่อพิจารณาตามเหตุผลแล้ว จะเห็นว่า "ควรทำดีกว่าไม่ทำ" ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการเข้าไปหาท่านผู้ควรเคารพ พอถึงเขตที่อยู่ของท่าน ก็เริ่มแสดงความเคารพ นอบน้อมต่อท่านผู้เป็นเจ้าของสถานที่ทันที โดยการถอดหมวก ลดร่มเป็นต้น ท่านเจ้าของสถานที่เห็น กิริยาอาการแสดงความเคารพนอบน้อมถ่อมตนอย่างนั้น ย่อมจะเกิดความเมตตาปรานีต่อบุคคลนั้น มากกว่าบุคคลที่ไม่ยอมถอดหมวก แสดงความเคารพฉะนั้น ฯ (ที่มา คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล)
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ (กราบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ฯ (กราบ)
อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ (กราบ ๓ ครั้ง)
การวันทาเสมา คำว่า "เสมา หรือ สีมา" แปลว่า "เขตแดน"
หมายถึงเขตกำหนดที่พระสงฆ์ทำพิธีผูกพัทธสีมา กำหนดไว้เป็นเขตแดนพิเศษ
สำหรับพระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม เปรียบเทียบได้เหมือนเขตบ้านเมือง ซึ่งมีรั้วหรือกำแพงไว้เป็นเขตแดน
การที่นิยมกำหนดให้นาคไปวันทาเสมา ก็เพื่อให้นาคไปทำความเคารพเขตอุโบสถ
อันเป็นเขตแดนพิเศษสำหรับ พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม และเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นกิริยาอาการแสดงความอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อพระรัตนตรัย โดยเริ่มทำความเคารพมาตั้งแต่ถึงเขตที่ประทับของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว ประเพณีนิยมการวันทาเสมานี้ ในส่วนภูมิภาคนิยมปฏิบัติกันทั่วไป ส่วนในเมืองหลวงไม่ค่อยนิยม
เมื่อพิจารณาตามเหตุผลแล้ว จะเห็นว่า "ควรทำดีกว่าไม่ทำ" ถ้าจะเปรียบก็เหมือนการเข้าไปหาท่านผู้ควรเคารพ พอถึงเขตที่อยู่ของท่าน ก็เริ่มแสดงความเคารพ นอบน้อมต่อท่านผู้เป็นเจ้าของสถานที่ทันที โดยการถอดหมวก ลดร่มเป็นต้น ท่านเจ้าของสถานที่เห็น กิริยาอาการแสดงความเคารพนอบน้อมถ่อมตนอย่างนั้น ย่อมจะเกิดความเมตตาปรานีต่อบุคคลนั้น มากกว่าบุคคลที่ไม่ยอมถอดหมวก แสดงความเคารพฉะนั้น ฯ (ที่มา คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น