ความหมายของชาดก
คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก
ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้น ๆ
ชาดกนิบาต
ชาดกในนิบาต หรือที่เรียกว่า นิบาตชาดก หมายถึงชาดกทั้ง 547 เรื่องที่มีอยู่ในคัมภีร์ขุททกนิกายของพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี นิบาตชาดกแต่งเป็นคาถาคือฉันทลักษณ์ล้วนๆโดยจะมีการแต่งขยายความเป็นร้อยแก้วคือรูปแบบคาถาสุภาษิต เหตุที่เรียกว่า นิบาตชาดก ก็เพราะว่า ชาดกในพระไตรปิฎกนี้จะถูกจัดหมวดหมู่ตามจำนวนคาถา มีทั้งหมด 22 หมวด หรือ 22 นิบาต นิบาตสุดท้ายคือ นิบาตที่ 22 ประกอบด้วย ชาดก 10 เรื่อง หรือที่เรียกว่า "ทศชาติชาดก"
พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ซึ่งเป็น สุตตันตปิฎกเล่มที่ 19 จัดไว้เป็น ขุททกนิกายชาดก ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 นี้นั้น เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทาน ซึ่งถ้าอ่านแล้วจะยังไม่ทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาของคาถาสุภาษิตนั้น ถ้าต้องการทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาโดยละเอียด จะต้องศึกษาในชาตกัฏฐกถาหรืออรรถกถาชาดก คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีความยาวมาก มีถึง 10 เล่ม แต่แม้เช่นนั้นก็มีชาวต่างประเทศแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้เรียบร้อยแล้ว รวม 6 เล่มใหญ่ คือฉบับมหาวิทยาลัย เคม บริดจ์ พิมพ์ครั้ง แรกเมื่อ ค.ศ. 1895 คือ 123 ปีเศษมาแล้ว
อนึ่งเป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี 550 เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า
ในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง ขาดไป 3 เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก
นิบาตชาดก
เป็นเรื่องชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก มีทั้งหมด 547 เรื่อง ปรากฏในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง
คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก
ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้น ๆ
ชาดกนิบาต
ชาดกในนิบาต หรือที่เรียกว่า นิบาตชาดก หมายถึงชาดกทั้ง 547 เรื่องที่มีอยู่ในคัมภีร์ขุททกนิกายของพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี นิบาตชาดกแต่งเป็นคาถาคือฉันทลักษณ์ล้วนๆโดยจะมีการแต่งขยายความเป็นร้อยแก้วคือรูปแบบคาถาสุภาษิต เหตุที่เรียกว่า นิบาตชาดก ก็เพราะว่า ชาดกในพระไตรปิฎกนี้จะถูกจัดหมวดหมู่ตามจำนวนคาถา มีทั้งหมด 22 หมวด หรือ 22 นิบาต นิบาตสุดท้ายคือ นิบาตที่ 22 ประกอบด้วย ชาดก 10 เรื่อง หรือที่เรียกว่า "ทศชาติชาดก"
พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ซึ่งเป็น สุตตันตปิฎกเล่มที่ 19 จัดไว้เป็น ขุททกนิกายชาดก ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 นี้นั้น เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทาน ซึ่งถ้าอ่านแล้วจะยังไม่ทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาของคาถาสุภาษิตนั้น ถ้าต้องการทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาโดยละเอียด จะต้องศึกษาในชาตกัฏฐกถาหรืออรรถกถาชาดก คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีความยาวมาก มีถึง 10 เล่ม แต่แม้เช่นนั้นก็มีชาวต่างประเทศแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้เรียบร้อยแล้ว รวม 6 เล่มใหญ่ คือฉบับมหาวิทยาลัย เคม บริดจ์ พิมพ์ครั้ง แรกเมื่อ ค.ศ. 1895 คือ 123 ปีเศษมาแล้ว
อนึ่งเป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี 550 เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า
ในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง ขาดไป 3 เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก
- พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 อันเป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ 19 จัดไว้เป็นขุททกนิกายชาดก ภาค 1 เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็ก ๆ น้อย ๆ รวมกันถึง 525 เรื่อง
- พระไตรปิฎกเล่มที่ 28 อันเป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ 20 จัดไว้เป็นขุททกนิกายชาดก ภาค 2 ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 28 นี้มีเพียง 22 เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาว ๆ ทั้งนั้น โดย 12 เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน 10 เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ
นิบาตชาดก
เป็นเรื่องชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก มีทั้งหมด 547 เรื่อง ปรากฏในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น