กรด หรือ acid ความหมาย พร้อมประเภทของกรดที่ควรรู้

กรด หรือ acid ความหมาย พร้อมประเภทของกรดที่ควรรู้
  • acid หมายถึง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกรด
  • acidic คือ ซึ่งเป็นกรด, ที่มีคุณสมบัติเป็นกรด
  • acetic acid คือ กรดน้ำส้ม
  • acid rain คือ ฝนกรด, ฝนที่ปนเปื้อนด้วยมลพิษทางเคมี ซึ่งเกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์หรือโรงงาน
  • amino acid คือ กรดอะมิโน
  • citric acid คือ กรดซิทริก
  • fatty acid คือ กรดไขมัน
  • lactic acid คือ กรดแล็กติก, ของเหลวใสที่พบได้ในกระบวนการหมักของการทำนมเปรี้ยว
  • nitric acid คือ กรดไนตริก (สัญลักษณ์ย่อคือ NHO3)
  • nitrous acid คือ กรดไนตรัส เป็นกรดดินประสิว
  • nucleic acid คือ กรดนิวคลีอิก, สารประกอบที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
  • oxalic acid คือ สารมีพิษซึ่งไม่มีสี
  • phosphoric acid คือ กรดฟอสฟอริก
  • picric acid คือ กรดสีเหลือง รสขมและมีพิษใช้ทำวัตถุระเบิด
  • ribonucleic acidคือ สารใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์สิ่งมีชีวิต (คำย่อ RNA)
  • salicylic acidคือ สารที่ใช้ทำยาแอสไพรินและผงกันบูด
  • sulfuric acidคือ กรดซัลฟูริก
  • uric acid คือ กรดยูริก


ประเภทของสารละลายกรด
สารละลายกรด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์ ดังนี้

  • กรดอินทรีย์

เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือได้จากการสังเคราะห์ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เกิดการเปลี่ยนสี ตัวอย่างเช่น

  1. กรดแอซีติก (Acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายที่มี  กรดแอซีติก 5% โดยมวลต่อปริมาตร) 
  2. กรดซิตริก (Citric acid) หรือกรดมะนาว เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น
  3. กรดฟอร์มิก (Formic acid) หรือกรดมด
  4. กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) หรือวิตามินซี


  • กรดอนินทรีย์

เป็นกรดแก่ที่ได้จากแร่ธาตุ จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้ เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลต เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีม่วงเป็นสีเขียว  กรดอนินทรีย์มีความสามารถกัดกร่อนสูงถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน ตัวอย่างเช่น

  1. กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) หรือกรดเกลือ
  2. กรดไนตริก (Nitric acid) หรือดินประสิว
  3. กรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) หรือกรดหินปูน
  4. กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน


  • อินดิเคเตอร์สำหรับกรด - เบส

อินดิเคเตอร์ (Indicator) คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนมีสมบัติเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อนแต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรดอ่อน
   
สมบัติของอินดิเคเตอร์

  1. อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด 
  2. อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ใหสีแตกต่างกัน
  3. สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง

เนื่องจากอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดเปลี่ยนสีในช่วง pH จำกัดทำให้การตรวจหาค่า pH ของสารละลายไม่สะดวก จึงได้มีการนำอินดิเคเตอร์หลายชนิดที่มีช่วง pH ต่อเนื่องมาผสมกันในอัตราส่วนพอเหมาะ โดยสามารถเปลี่ยนสีในช่วง pH ของสารละลายได้กว้าง เรียกว่า ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (Universal indicator)

นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น น้ำคั้นจากกะหล่ำปลีสีม่วง น้ำคั้นจากดอกอัญชัน ดอกกุหลาบ มาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้ เรียกว่า "อินดิเคเตอร์ธรรมชาติ"



ความคิดเห็น