ยาลูกกลอน
ยาลูกกลอนเป็นรูปแบบหนึ่งของยาสมุนไพร มีรูปร่างกลม ทำจากผงยาชนิดเดียวหรือ หลายชนิด ผสมสารที่ทำให้ผงเกาะตัว เช่น น้ำ น้ำแป้ง น้ำผึ้ง เป็นต้น
ยาลูกกลอนอบน้ำผึ้ง เป็นยาลูกกลอนที่ทำจากผงยาและน้ำผึ้งผสมกัน มีลักษณะกลม มีน้ำอยู่น้อยการแตกตัวช้า ออกฤทธิ์ได้นานน้ำผึ้งใช้ผสมช่วยปรับรสและช่วยบำรุงร่างกาย มักใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อรังและโรคที่ต้องทำการบำรุงด้วย แต่มีข้อเสียที่ยาลูกกลอนน้ำผึ้งใช้น้ำผึ้งจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนสูง
วิธีการเตรียมยาลูกกลอนน้ำผึ้ง
มีกรรมวิธีและเทคนิคที่จะทำให้ยาลูกกลอนเป็นเม็ดสวยได้ แบ่งออกเป็นขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนการเคี่ยวน้ำผึ้ง
ขั้นตอนนี้นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก การเคี่ยวน้ำผึ้งมีประโยชน์ที่ช่วยฆ่าเชื้อโรค และไล่น้ำที่อยู่ในน้ำผึ้ง ทำให้ลูกกลอนไม่ขึ้นยา ยาที่ปั้นเม็ด จะเก็บได้นาน หรือเก็บได้ไม่นานขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ ในการเคี่ยวน้ำผึ้งต้องใช้ภาชนะที่แห้งสนิท มีวิธีทำมาแล้ว มีวิธีทำดังนี้
1. เทน้ำผึ้งใส่หม้อขนาดใหญ่ที่เตรียมไว้โดยทั่วไปอัตราส่วนระหว่างผึ้ง ตอยาผงที่ใช้ผสมเป็น 1 ต่อ หนึ่ง (โดยน้ำหนัก) แต่อัตราส่วนนี้มีอัตราการใช้น้ำผึ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะ ของผงยา เช่น ยางผมที่มีส่วนผสมของยาดำ มหาหิงคุ์ ยาพวกนี้ ต้องใช้น้ำผึ้งในการ ผสมน้อย มีพวกแก่นไม้ รากไม้ พวกเกสรดอกไม้ พวกนี้ต้องใช้น้ำผึ้งมาก
2. นำหม้อที่ใส่น้ำผึ้งขึ้นตั้งไฟ ช่วงแรกใช้ไฟแรง คนให้เข้ากัน และเคี่ยวจนน้ำผึ้งเหนียวได้ที่โดยดูจากลักษณะดังนี้ คือ
- ตอนแรกที่น้ำผึ้งเดือดฟองจะใหญ่และผุดสูง เมื่อเคี่ยวได้ที่ฟองจะยุบ และมีขนาดเล็กละเอียด ช่วงเคี่ยวตั้งแต่น้ำผึ้งฟองใหญ่จนฟองเล็ก ใช้เวลา 10 – 15 นาที
- การทดสอบได้อีกวิธีหนึ่ง คือ หยดน้ำผึ้งที่เคี่ยวได้ที่แล้ว ลงในน้ำที่อุณหภูมิห้องปกติสังเกตุดูว่าน้ำผึ้งมีลักษณะอย่างไร ลักษณะน้ำผึ้งที่เคี่ยวได้ที่แล้ว จะมีลักษณะ คือ น้ำผึ้งจะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นกว่าเดิม เป็นก้อนแข็งและรวมตัวกัน แต่ถ้าหยดลงไปในน้ำแล้วน้ำผึ้งยังเหนียว ไม่แข็ง ไม่จับเป็นก้อน ต้องเคี่ยวต่อไปอีก และทดสอบดูอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเคี่ยวน้ำผึ้งจนได้ที่แล้ว เติมน้ำเดือดลงไป 2 กาใหญ่ ขณะที่หม้อตั้งอยู่บนเตา แล้วเคี่ยวต่อไปจนน้ำผึ้งได้ที่ ซึ่งลักษณะความเหนียมจะไม่เหมือนกัน ต้องอาศัยระสบการณ์ และสังเกตุจากลักษณะฟองตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1.1
- เมื่อเคี่ยวน้ำผึ้งได้ที่แล้ว ให้ยกลงจากเตา กรองด้วยผ้าขาวบางและกวนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำผึ้งเริ่มเย็น เมื่อน้ำผึ้งเย็นแล้ว จึงนำไปผสมกับยาผงในขั้นต่อไป
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะยาจะเป็นเม็ดได้หรือไม่เป็นก็ขึ้นอยู่กับการผสมน้ำผึ้งกับยาผง มีรายละเอียดดังนี้
- นำยาที่ชั่งเตรียมไว้ เทใส่กะละมังที่แห้งสะอาด
- ตวงน้ำผึ้งที่เคี่ยวได้ที่แล้ว ค่อยๆเทราดบนยาผงทีละทัพพี พร้อมกับใช้มือคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำผึ้งและเทราดน้ำผึ้งพร้อมกับคลุกเคล้าจนยาได้ที่ซึ้งสังเกตได้โดยหยิบยาที่เคล้าทดลองปั้นด้วยมือดูว่าเม็ดดี หรือยาติดนิ้วหรือไม่ ถ้ายาได้ที่แล้วจะไม่ติดนิ้วมือ แล้วบีบเม็ดยาที่ปั้นดูว่า ยานั้นแตกร่วนหรือไม่ ถ้ายาไม่แตกร่วนยังเป็นเม็ดเกาะกันดีแสดงว่ายาได้ที่แล้ว ถ้าบีบแล้วยาแตกร่วนอยู่ แสดงว่ายังเคล้ายาไม่เข้ากับน้ำผึ้ง
การทำยาเม็ดลูกกลอน
โดยใช้เครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน ซึ่งจะมีขั้นตอนและกรรมวิธีทำดังนี้
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
- เครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน
- เครื่องรีดเส้นยา
- ยาที่คลุกน้ำผึ้งไว้เรียบร้อยแล้ว
- ถาดสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่, ขนาดกลาง
- ผ้าสะอาดผืนเล็ก
- กาต้มน้ำขนาดใหญ่
- แปรงทองเหลือง (สำหรับแปรงยาที่ติดเครื่องรีดเส้นยา)
- โต๊ะเก้าอี้ (สำหรับวางถาดยาที่ออกมาจากเครื่อง)
- ทัพพี
- มีด
- การทำความสะอาดเครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน และเครื่องรีดเส้นยา โดยใช้น้ำเดือดเทราดเครื่องให้น้ำไหลลงกะละมังใหญ่ เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์อีกครั้ง
- นำถาดขนาดกลางที่แห้งสะอาด มารองรับยาจากเครื่องรีดเส้นยาและเครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน
- นำยาซึ่งได้คลุกน้ำผึ้ง (หรือสารยึดเกาะอื่นๆ) ไว้เรียบร้อยแล้ว ใส่เครื่องรีดเส้นยา 1 – 2 ครั้ง เพื่อให้ได้เส้นยากลม แน่น และเรียบ โดยใช้มีดตัดเส้นยาที่ผ่านเครื่องรีดแล้ว ให้มีขนาดเท่ากับความยาวของเครื่องตัดยาเม็ดลูกกลอน
- เปิดเครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน ที่ได้วางตามขวางบนเครื่องทำยานำเส้นยาเม็ดลูกกลอน แล้วยาก็จะถูกตัดออกเป็นเม็ดกลมๆ ลงบนถาดรองรับ
- คัดเลือกเม็ดยาที่ไม่ได้ขนาดออก นำเม็ดยาที่ได้คัดเลือกแล้วใส่ใน ถังเคลือบเม็ดยาในปริมาณที่เหมาะสมกับถังเคลือบเม็ดยาเปิด
- เปิดเครื่องหมุนถังเคลือบยาเม็ด จนได้เม็ดยากลม เรียบ ดีแล้ว จึงนำยาอบที่อุณหภูมิ 50 – 55 องศาเซสเซียส ประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง จนยาแห้งดี ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำยเก็บไว้ในขวดโหลแก้วปิดฝาให้แน่น ป้องกันความชื้น
ซึ่งจะมีขั้นตอนและกรรมวิธีการทำ ดังนี้
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
- รางกลิ้งยา พร้อมฝาประกบ
- กะละมังขนาดใหญ่
- ถาดสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่, ขนาดกลาง
- ชามขนาดกลาง
- ผ้าสะอาดผืนเล็ก
- กาต้มน้ำขนาดใหญ่
- โต๊ะที่ใช้วางยางกลิ้งยา
- น้ำมันพืช หรือน้ำมันที่ไม่มีกลิ่น
- ทำความสะอาดรางกลิ้งยา และฝาประกบ โดยใช้น้ำเดือดเทรารางกลิ้ง พร้อมฝาประกบในกะละมังเช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์อีกครั้ง ทิ้งให้ระเหยแห้งก่อนนำยามากลิ้งบนรางกลิ้งยา
- นำรางกลิ้งยาวางบนโต๊ะสำรับกลิ้งยา
- นำชามขนาดกลางใส่น้ำสุกประมาณครึ่งชาม และเทน้ำมันพืช หรือน้ำมันที่ไม่มีกลิ่นลงในชามใบเดียวกันประมาณ 1 ใน 4 ของน้ำในชาม และนำผ้าสะอาดผืนเล็กชุบน้ำสุกในกะละมังบิดให้แห้ง และนำมาแช่ในชามที่มีน้ำมันกับน้ำผสมกัน ใช้สำหรับเช็ดรางยาในกรณีที่ยาเริ่มจะติดราง
- นำถาดขนาดกลางที่แห้งและสะอาด มารองรับยาด้านหน้ารางกลิ้ง
- หยิบยาเส้นที่รีดไว้แล้วในถาด รีดเส้นยาด้วยเครื่องรีดเส้นยา ซึ่งมีขนาดเส้นกลมโตเท่ากับขนาดรางกลิ้งยา หรืออาจจะใช้มือกลิ้งเส้นยาให้ได้ขนาดเส้นกลมโต เท่ากับขนาดรางกลิ้งยา
- วางไม้ประกบรางกลิ้งลงบนเส้นยา ค่อนๆ กลิ้งยาไปมา พร้อมกับลงน้ำหนักกดลงบนรางทีละน้อยจนกว่าขอบฝาประกบจะชิดกับขอบรางกลิ้ง จึงลงน้ำหนักให้มากขึ้น และกลิ้งไปมาอีก 4 – 5 ครั้ง จนยาเป็นเม็ดดีแล้วจึงดันฝาประกบไปทางด้านหน้า ด้วยความแรงที่พอจะให้ยาเม็ดตกลงในถาดได้
- ถ้ากลิ้งยาไปหลายครั้ง รู้สึกว่ายาจะเริ่มติดราง หรือยาไม่มีเหงา ผิวยาเริ่มจะหยาบ ให้เอาผ้าชุบน้ำมันที่ไม่มีกลิ่นผสมน้ำที่เตรียมไว้ แล้วทราบรางกลิ้งและฝาประกบ ซึ่งการทำน้ำมันต้องระวังไม่ทาจนโชกรางกลิ้งยา ก่อนทาควรบีบเอาน้ำมันและน้ำออกก่อนเล็กน้อยแล้วจึงนำมาทา การทาหรือเช็ดรางกลิ้งยาควรจะทาหรือเช็ดไปทางเดียวกัน ไม่ควรเช็ดกลับไปกลับมา เพราะจะทำให้เหลี่ยมของร่องฉีดเป็นเสี้ยนติดผ้าได้
- เมื่อกลิ้งยาได้จำนวนมากแล้ว ให้นำยาเทรวมกันไว้ถาดใหญ่เพื่อนำเข้าตู้อบ ตู้อบจะเป็นตู้อบที่ใช้ไฟฟ้า หรือใช้เตาก็ได้ อบด้วยอุณหภูมิ 5-55 องศาเซลเซียส ประมาณ 4-6 ชั่วโมง จนยาแห้งดีแล้วจึงนำออกจากตู้อบปล่อยทิ่งไว้ให้เย็น และนำยาเก็บไว้ในภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ เช่น โหลแก้วปิดฝาให้แน่น
- การผสมยาผงกับน้ำผึ้งน้อยเกินไป ทำให้ยาแห้งเกินไปเส้นยาจะแข็งมาก
- การผสมยาผงกับน้ำผึ้งมากเกินไป ทำให้ยานิ่มเกินไป กลิ้งเม็ดยาไม่ได้
- เส้นยาที่รีดเส้นเล็กว่าขนาดมาตรฐาน ทำให้ยาไม่เต็มเม็ด บางครั้งจะทำให้ยามีลักษเป็นร่องตรงกลาง
- การกลิ้งยาครั้งแรกใช้แรงมากเกินไป ทำให้ยาแบนติดราง และยาไม่เป็นเม็ด
- การเช็ดรางกลิ้งยาเช็ดน้ำมันโชกเกินไป ทำให้ผิวของเม็ดยาเปียก และลอกหลุดติดบนรางยาเมื่อกลิ้งเม็ดต่อไปจะทำให้ผิวยาเม็ดอื่นไม่เรียบ
การปั้นเม็ดเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกัน ต้องปั้นให้กลมและขนาดสม่ำเสมอ การปั้นเม็ดทำได้โดยค่อยๆ แบ่งยาที่ผสมไว้แล้วมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร) การปั้นด้วยมือทำได้ช้า ในขณะที่ปั้นน้ำผึ้งที่ผสมในผงยาจะแห้งลงเรื่อยๆ จึงต้องคอยทดสอบดูว่ายาลูกกลอนที่ปั้นได้นั้นบีบแล้วแตกร่วนหรือไม่ ถ้าแตกแสดงว่าน้ำผึ้งน้อยไป ให้เติมน้ำผึ้งลงไปและผสมให้เข้าที่ จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลอนต่อไป น้ำผึ้งที่ใส่ในผงยาจะต้องพอเหมาะ ถ้ามากไปจะเหลาลูกกลอนไม่เกาะตัว ถ้าน้อยไปลูกกลอนจะร่วนและแตกง่าย
นำลูกกลอนหรือเม็ดยาที่ได้วางไว้ในถาด และไม่ให้เม็ดยาซ้อนกัน นำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียสให้แห้งสม่ำเสมอ อย่าอบนานเกินไปจะทำให้เมล็ดยาแข็ง แตกตัวยาก เม็ดยาแห้งดีแล้วเก็บใส่ขวดโหลที่สะอาดและมิดชิด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น