อายุรเวท (สันสกฤต: आयुर्वेद; อังกฤษ: Ayurveda) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดียมานานกว่า 5,000 เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง ในภาษาสันสกฤต คำว่า อายุรเวท มาจากคำว่า "อายุส" หมายถึง อายุยืนยาว และ "เวท" หมายถึง องค์ความรู้ หรือ ศาสตร์ อายุรเวทมีหลายวิธีการดูแลรักษาบำบัด เช่น โยคะอาสนะ ปราณยาม ปัจกรรม โภชนาการ นอกจากจะเป็นศาสตร์ของการรักษา ยังป้องกันโรครวมทั้งเสริมสุขภาพให้ยืนยาวได้อีกด้วย วิวัฒนาการตลอดประวัติศาสตร์ของระบบการรักษาแบบอายุรเวท ยังคงมีอิทธิพลของการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คัมภีร์ในการระบุการรักษาแบบอายุรเวทปรากฏ ในช่วง ยุคพระเวท
ในอินเดีย Suśruta Saṃhitā และ Charaka Saṃhitā มีผลงานที่มีอิทธิพลต่อการแพทย์แผนในยุคนี้ หลายศตวรรษที่การรักษาแบบอายุรเวทพัฒนา ในวงการแพทย์ของประเทศแถบตะวันตก อายุรเวทถูกจัดเข้าจัดอยู่ในประเภท และการแพทย์ทางเลือกเสริม (CAM) การเรียนรู้เกี่ยวกับอายุรเวท ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานมาจากอภิปรัชญาของ"ปัญจมหาภูต"( เทวนาครี : [महा] पञ्चभूत; ปรฐวี - ธาตุดิน , ชละ - ธาตุน้ำ , เตช - ธาตุไฟ , วายุ - ธาตุลม - อากาส และ อากาศธาตุ ) - ทั้งหมดที่ประกอบเป็น จักรวาล รวมทั้ง ร่างกายมนุษย์ (ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ศาสตร์แห่งอายุรเวท (หลักการหรือทฤษฎีแพทย์แบบชาวตะวันออก แตกต่างจากการแพทย์แบบตะวันตก ทฤษฎีการแพทย์ไทยว่าด้วยเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ชาวจีนใช้หลัก 5 ธาตุ และหลักการสรรพสิ่งมีคู่ตรงข้าม คือ ร้อน-เย็น อ่อน-แข็ง หรือหลักการของหยินหยางนั่นเอง สำหรับอายุรเวทซึ่งยอมรับกันว่ามีอิทธิพลกับการแพทย์แผนไทยอย่างมาก) ธาตุหลักทั้ง 5 จากศาสตร์แห่งอายุรเวทนั้นมีความหมายต่าง ๆ กันดังนี้
ในอินเดีย Suśruta Saṃhitā และ Charaka Saṃhitā มีผลงานที่มีอิทธิพลต่อการแพทย์แผนในยุคนี้ หลายศตวรรษที่การรักษาแบบอายุรเวทพัฒนา ในวงการแพทย์ของประเทศแถบตะวันตก อายุรเวทถูกจัดเข้าจัดอยู่ในประเภท และการแพทย์ทางเลือกเสริม (CAM) การเรียนรู้เกี่ยวกับอายุรเวท ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานมาจากอภิปรัชญาของ"ปัญจมหาภูต"( เทวนาครี : [महा] पञ्चभूत; ปรฐวี - ธาตุดิน , ชละ - ธาตุน้ำ , เตช - ธาตุไฟ , วายุ - ธาตุลม - อากาส และ อากาศธาตุ ) - ทั้งหมดที่ประกอบเป็น จักรวาล รวมทั้ง ร่างกายมนุษย์ (ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ศาสตร์แห่งอายุรเวท (หลักการหรือทฤษฎีแพทย์แบบชาวตะวันออก แตกต่างจากการแพทย์แบบตะวันตก ทฤษฎีการแพทย์ไทยว่าด้วยเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ชาวจีนใช้หลัก 5 ธาตุ และหลักการสรรพสิ่งมีคู่ตรงข้าม คือ ร้อน-เย็น อ่อน-แข็ง หรือหลักการของหยินหยางนั่นเอง สำหรับอายุรเวทซึ่งยอมรับกันว่ามีอิทธิพลกับการแพทย์แผนไทยอย่างมาก) ธาตุหลักทั้ง 5 จากศาสตร์แห่งอายุรเวทนั้นมีความหมายต่าง ๆ กันดังนี้
- ธาตุดิน - เป็นของแข็ง หรือเป็นของที่ยังทรงรูปร่างได้ในยามที่อยู่ในอุณหภูมิปกติ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ เล็ป ฟัน เส้นเอ็น เป็นต้น คุณสมบัติ หนักแน่น มั่นคง สามารถคงรูปร่างได้ มีหน้าที่ ถือเป็นโครงสร้างของสิ่งต่าง ๆ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายคงรูปร่างได้
- ธาตุน้ำ - เป็นของเหลว หรือของที่สามารถไหลเวียนไปมาได้ เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำลาย น้ำมูก น้ำตา เป็นต้น คุณสมบัติ ชื่นฉ่ำ เย็น มีการไหลเวียน เปลี่ยนรูปทรงไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น ๆ มีหน้าที่ ให้ความชุ่มชื้น เป็นตัวนำให้สิ่งที่อยู่ในน้ำไหลไปด้วย เช่น เลือดที่นำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังเป็นสารหล่อลื่นด้วย เช่น น้ำที่หล่อลื่นตามข้อต่อต่าง ๆ
- ธาตุลม - เป็นของที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง แต่สัมผัสได้ เช่น ลมหายใจ ก๊าซที่ปล่อยมาที่ทวารหนัก เป็นต้น คุณสมบัติ เบา แห้ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มีหน้าที่ ทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี
- ธาตุไฟ เป็นพลังงานความร้อน หรือพลังที่สามารถเปลี่ยนสภาพได้ เช่น ความร้อนที่ใช้ในการย่อยอาหาร และเผาผลาญกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น คุณสมบัติ ร้อน อบอุ่น มีหน้าที่ เป็นพลังงานในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ หรือระบบในร่างกาย เช่น ให้ความร้อน แสงสว่าง ทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ช่วยย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายได้พลังงานความร้อนและรู้สึกอบอุ่น
- อากาศธาตุ - เป็นช่องว่าง ที่ธาตุอื่น ๆ ที่เหลือสามารถดำรงอยู่ คุณสมบัติ ไร้รูปร่าง มีหน้าที่ เป็นที่ว่างให้สิ่งต่าง ๆ ดำรงอยู่ได้ เช่น ช่องว่างระหว่างข้อต่อต่าง ๆ ช่องว่างระหว่างเซลล์ เพื่อให้เกิดช่องว่างซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น