คำศัพท์ภาษาไทย ขึ้นต้นด้วย ร



พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่นกร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).

รก ๑
ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้งกระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารําคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตารกหู รกสมอง.

รกชัฏ
ว. รกยุ่ง, รกอย่างป่าทึบ.

รกร้าง
ว. รกเพราะปล่อยทิ้งไว้ เช่น ที่รกร้าง ที่ดินรกร้างว่างเปล่า.

รกเรี้ยว
ว. รกมาก เช่น ป่ารกเรี้ยว.

รกเรื้อ
ว. รกมาก เช่น สวนรกเรื้อไม่ได้ดูแลเสียนาน.;

รก ๒
น. เครื่องสําหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่นมะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าวเรียกว่า รกมะพร้าว.

รกบิน
น. รกที่ไม่ออกมาตามปรกติภายหลังคลอด แต่กลับตีขึ้นข้างบน.

รกราก
น. ภูมิลําเนาเดิม, บ้านเกิด, หลักแหล่ง, เช่น คุณมีรกรากอยู่ที่ไหน;เชื้อสาย.

รกช้าง
น. หญ้ารกช้าง. [ดู กะทกรก (๒)].

รกฟ้า
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Terminalia alata Heyne ex. Roth ในวงศ์Combretaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง เปลือกให้นํ้าฝาดสีแดงใช้ย้อมสี ใช้ทํายาได้, กอง ก็เรียก.

รง ๑
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia hanburyi Hook.f. ในวงศ์ Guttiferae ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ทุกส่วนมียางสีเหลือง.

รง ๒
น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือมะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยางสีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยาและเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัวหนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.

รงกุ์
น. ชื่อสัตว์ในพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป., ส. รงฺกุ ว่า กวางชนิดหนึ่ง).

รงค–, รงค์
[รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกําหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรํา,โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).

รงค–, รงค์
[รงคะ–, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกําหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรํา,โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).

รงควัตถุ
น. สีต่าง ๆ.

รงรอง
ว. สดใส, งดงาม, รุ่งเรือง, รังรอง ก็ใช้.

รจนา
[รดจะ–] ก. ตกแต่ง, ประพันธ์. (ป., ส.). ว. งาม.

รจเรข, รจเลข
[รดจะเรก, รดจะเลก] น. การขีดเขียน. ว. งาม. ก. แต่ง.

รจเรข, รจเลข
[รดจะเรก, รดจะเลก] น. การขีดเขียน. ว. งาม. ก. แต่ง.

รจิต
[ระจิด] ก. ตกแต่ง, ประดับ, เรียบเรียง. ว. งดงาม. (ป., ส.).

รชกะ
[ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).

รชตะ
[ระชะตะ] น. เงิน. (ป.).

รชนิ, รชนี
[ระชะ–] น. เวลาคํ่า, กลางคืน. (ป., ส.).

รชนิ, รชนี
[ระชะ–] น. เวลาคํ่า, กลางคืน. (ป., ส.).

รชนีกร
[–กอน] น. พระจันทร์. (ส.).

รชนีจร
[–จอน] น. ผู้เที่ยวไปกลางคืน; รากษส. (ส.).

รชะ
[ระชะ] น. ธุลี, ละออง; ความกําหนัด. (ป., ส.).

รณ, รณ–
[รน, รนนะ–] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).

รณ, รณ–
[รน, รนนะ–] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).

รณเกษตร, รณภู, รณภูมิ, รณสถาน
น. สนามรบ. (ส.).

รณเกษตร, รณภู, รณภูมิ, รณสถาน
น. สนามรบ. (ส.).

รณเกษตร, รณภู, รณภูมิ, รณสถาน
น. สนามรบ. (ส.).

รณเกษตร, รณภู, รณภูมิ, รณสถาน
น. สนามรบ. (ส.).

รณรงค์
น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่องโดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).

รด
ก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอนนกขี้รดหลังคา.

รดน้ำ
น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า.ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.

รดี
น. รติ.

รตนะ
[ระตะ–] น. รัตน์. (ป.; ส. รตฺน).

รตะ
[ระตะ] น. ความสุข, ความสนุก. ก. ยินดี, ชอบใจ, สนุก. (ป., ส. รต ว่าผู้ยินดี).

รติ
น. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกําหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดีหรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).

รถ, รถ–
[รด, ระถะ–] น. ยานที่มีล้อสําหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ;(กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกําลังเครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).

รถ, รถ–
[รด, ระถะ–] น. ยานที่มีล้อสําหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ;(กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกําลังเครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).

รถกระบะ
น. รถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทำตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ.

รถกุดัง
น. รถบรรทุกชนิดหนึ่ง เดิมใช้บรรทุกสินค้าจากกุดังเก็บสินค้าที่ท่าเรือปัจจุบันใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้น.

รถเก๋ง
น. รถยนต์ที่มีหลังคาเครื่องบังแดดบังฝน มีทั้งชนิดติดตายตัวและเปิดปิดได้ ปรกตินั่งได้ไม่เกิน ๗ คน.

รถเข็น
น. รถที่ไม่มีเครื่อง ต้องใช้คนเข็นหรือดันไป เช่น รถเข็นคนไข้.

รถแข่ง
น. รถยนต์มีที่นั่งตอนเดียว ติดตั้งเครื่องยนต์กำลังแรงม้าสูงใช้แข่งประลองความเร็ว.

รถคฤห
[รดคฺรึ] น. รถที่มีหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น บางทีก็เป็นจตุรมุข สำหรับชักศพเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าลงมา มีม้าลาก.

รถเครื่อง
(ปาก) น. จักรยานยนต์, รถที่มีล้อ ๒ ล้อเหมือนกับรถจักรยานขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์, มอเตอร์ไซค์ ก็ว่า.

รถจักร
น. รถหัวขบวนรถไฟ มีเครื่องยนต์ใช้ลากจูงรถไฟทั้งขบวน,หัวรถจักร ก็เรียก.

รถจักรยาน
น. รถถีบ; (กฎ) รถที่เดินด้วยกําลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการลากเข็น.

รถจักรยานยนต์
น. รถจักรยานที่มีเครื่องยนต์; (กฎ) รถที่เดินด้วยกําลังเครื่องยนต์กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน ๒ ล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน ๑ ล้อ.

รถจี๊ป
น. รถยนต์แบบหนึ่ง ใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แทบทุกภูมิประเทศมีความคล่องตัวสูง.

รถเจ๊ก
(ปาก) น. รถลากสำหรับให้ผู้โดยสารนั่ง มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ล้อมีคนจีนเป็นผู้ลาก.

รถฉุกเฉิน
(กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.

รถดับเพลิง
น. รถใช้ในการดับไฟที่ไหม้อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เป็นต้นมีอุปกรณ์ในการดับไฟ เช่น ถังน้ำสำรอง สายสูบน้ำ หัวสูบ ระหว่างวิ่งไปเพื่อดับไฟจะเปิดไซเรนขอทางให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.

รถโดยสารประจำทาง
(กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่กําหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง.

รถตีนตะขาบ
น. รถชนิดหนึ่งซึ่งมีสายพานหุ้มล้อ สามารถขับเคลื่อนไปในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนาป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.

รถตุ๊ก ๆ
(ปาก) น. รถสามล้อเครื่องรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร.

รถตู้
น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ด้าน; รถยนต์ขนาดกลาง รูปร่างคล้ายกล่อง มักมีประตูเปิดปิดด้านเดียวบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒–๑๕ คน.

รถไต่ถัง
น. การแสดงผาดโผนชนิดหนึ่งโดยขับขี่รถจักรยานยนต์วนไปรอบ ๆ ภายในถังไม้รูปทรงกระบอกขนาดใหญ่, ที่ใช้จักรยานสองล้อหรือ รถยนต์ ก็มี.

รถถ่อ
น. ยานพาหนะชนิดหนึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้ถ่อค้ำยันให้แล่นไปบนรางรถไฟ.

รถถีบ
(ปาก) น. รถจักรยานสองล้อ.

รถทัวร์
(ปาก) น. รถปรับอากาศขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารเดินทางไปยังต่างจังหวัด.

รถทัศนาจร
น. รถยนต์ขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารไปท่องเที่ยว.

รถทัศนาจร
น. รถยนต์ขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารไปท่องเที่ยว.

รถแท็กซี่
(ปาก) น. รถยนต์รับจ้างสาธารณะ โดยสารได้ไม่เกิน ๗ คน.

รถแทรกเตอร์
น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติดเข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และแบบล้อซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า.

รถนอน
น. ตู้รถไฟที่มีที่นอนให้ผู้โดยสารนอนในเวลาค่ำคืน.

รถนาค
น. รถชลประทานสำหรับสูบน้ำเข้านา.

รถบดถนน
น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้งขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ข้างหลัง.

รถบรรทุก
น. รถที่ใช้บรรทุกสิ่งของ มีหลายขนาด.

รถบ้าน
(ปาก) น. รถส่วนบุคคล.

รถบุปผชาติ
น. รถที่ใช้ดอกไม้สดประดับให้เป็นรูปต่าง ๆ.

รถประจำทาง
น. รถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ.

รถประทุน
น. รถยนต์ที่มีประทุนเปิดปิดได้.

รถปรับอากาศ
น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.

รถพ่วง
น. รถที่พ่วงท้ายให้รถคันหน้าลากไป.

รถพยาบาล
น. รถยนต์ของสถานพยาบาลที่ใช้รับส่งผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินระหว่างวิ่งเพื่อนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลจะเปิดไซเรนขอทางให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้; รถยนต์ขนาดใหญ่ มีแพทย์ พยาบาล และเวชภัณฑ์พร้อมสำหรับไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยในท้องถิ่นต่าง ๆ คล้ายโรงพยาบาลเคลื่อนที่.

รถพระที่นั่ง
น. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง.

รถพระที่นั่งรอง
น. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.

รถพระประเทียบ
น. รถฝ่ายใน, รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช.

รถไฟ
น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาว ขับเคลื่อนโดยมีหัวรถจักรลากให้แล่นไปตามรางเหล็ก.

รถไฟฟ้า
(กฎ) น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาวโดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแล่นไปตามราง.

รถไฟเล็ก
น. รถไฟขนาดเล็กที่จัดวิ่งให้ผู้โดยสารนั่งในระยะใกล้ ๆเพื่อความบันเทิง เช่น ตามสวนสนุกหรือในงานเทศกาล.

รถม้า
น. รถที่ใช้ม้าเทียมลากจูงไป มีทั้งชนิด ๒ ล้อ และ ๔ ล้อ.

รถเมล์
น. ยานพาหนะประจำทางที่ออกตามกำหนดเวลา.

รถยนต์
น. ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติมี ๔ ล้อมีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้เป็นต้นเช่น รถเก๋งรถบรรทุก รถโดยสาร; (กฎ) รถที่มีล้อตั้งแต่ ๓ ล้อ และเดินด้วยกําลังเครื่องยนต์ กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นยกเว้นที่เดินบนราง.

รถยนต์ราง
น. รถยนต์ที่ขับเคลื่อนไปบนราง มีล้อเหล็ก.

รถโยก
น. ยานพาหนะชนิดหนึ่ง สำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้โยกให้แล่นไปบนรางรถไฟ.

รถร่วม
น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับสัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.

รถรับจ้าง
น. รถที่ใช้รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารหรือสินค้าเป็นต้น.

รถราง
น. รถที่แล่นไปบนรางมีสาลี่ติดอยู่บนหลังคา ปลายมีลูกรอกแตะกับสายไฟฟ้าเพื่อนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ขับเคลื่อน.

รถลาก
น. ยานพาหนะชนิดหนึ่ง มี ๒ ล้อ ใช้คนลาก.

รถวิทยุ
น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการทราบเป็นระยะ ๆ.

รถแวน
. รถยนต์ส่วนบุคคล มีที่นั่งมากกว่า ๒ ตอน ตอนท้ายมีประตูข้างหลังสำหรับบรรทุกคนหรือของ.

รถศึก
น. รถเทียมม้าที่ใช้ในการศึกสงครามสมัยโบราณ ปรกติมี ๒ ล้อ.

รถสปอร์ต
น. รถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์มีแรงขับเคลื่อนสูง มักเป็นรถตอนเดียว.

รถส่วนบุคคล
น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.

รถสองแถว
น. รถรับจ้างที่มีที่นั่งไปตามความยาวของรถเป็น ๒ แถว.

รถสองล้อ
(ปาก) น. รถจักรยานสองล้อ.

รถสะเทินน้ำสะเทินบก
น. รถที่ใช้งานได้ทั้งในน้ำและบนบก.

รถสามล้อ
น. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มี ๓ ล้อ เรียกเต็มคำว่าจักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อเครื่อง หรือ จักรยานสามล้อเครื่อง.

รถสิบล้อ
น. รถบรรทุกขนาดใหญ่ข้างหน้ามี ๒ ล้อ ข้างหลังมี ๘ ล้อ.

รถเสบียง
น. ตู้รถไฟที่ใช้ปรุงและจำหน่ายอาหารในขณะเดินทาง,ตู้เสบียง ก็ว่า.

รถหลวง
(ปาก) น. รถของส่วนราชการ.

รถหวอ
(ปาก) น. รถดับเพลิง รถตำรวจ หรือรถพยาบาลเป็นต้นที่ติดตั้งไซเรนเพื่อเตือนให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.

รถานึก
น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนามี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก(กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก(กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป., ส. รถานีก).

รเถสภะ
น. กษัตริย์ผู้องอาจบนรถรบ, จอมพลรถรบ. (ป.).

รถปุงคพ, รถปุงควะ
[ระถะ–] น. หัวหน้านักรบ. (ป., ส.).

รถปุงคพ, รถปุงควะ
[ระถะ–] น. หัวหน้านักรบ. (ป., ส.).

รถยา
[รดถะ–] น. รัถยา.

รถานึก
ดู รถ, รถ–.

รเถสภะ
ดู รถ, รถ–.

รท, รทนะ
[รด, ระทะนะ] น. ฟัน, งา, เช่น ทวิรท = สัตว์ ๒ งา คือ ช้าง. (ป., ส.).

รท, รทนะ
[รด, ระทะนะ] น. ฟัน, งา, เช่น ทวิรท = สัตว์ ๒ งา คือ ช้าง. (ป., ส.).

รน
ก. นิ่งอยู่ไม่ได้, เร่าร้อน, เช่น รนหาที่ตาย รนหาเรื่อง.

รนหาที่
(ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.

ร่น
ก. ขยับถอยให้ชิดเข้ามาหรือออกไป เช่น ร่นแถว, ร่นวันหรือเวลาให้ใกล้เข้ามา เช่น ร่นวันประชุมเข้ามาอีก ๓ วัน.

ร้น
ว. เร่งรุด.

รนด
[ระนด] น. คราด. (เทียบ ข. รฺนาส่).

รบ
ก. สู้กัน, ต่อสู้ในทางศึก, เช่น ไปรบกับข้าศึกที่ชายแดน, สู้ เช่น รบกับหญ้าไม่ชนะ; เร้าจะเอาให้ได้ เช่น ลูกรบแม่ให้ซื้อตุ๊กตา.

รบกวน
ก. ทําให้รําคาญ, ทําให้เดือดร้อน.

รบทัพจับศึก
ก. รบราฆ่าฟันกับข้าศึกศัตรู.

รบรา
ก. ต่อสู้กัน เช่น รบราฆ่าฟันกันเอง.

รบเร้า
ก. เซ้าซี้จะเอาให้ได้.

รบส
[ระบด] ก. เลี้ยง, รักษา.

รบาญ
[ระบาน] ก. รบ, สู้.

รพ, รพะ, รพา
[รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).

รพ, รพะ, รพา
[รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).

รพ, รพะ, รพา
[รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).

รพิ, รพี
น. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).

รพิ, รพี
น. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).

รม
ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อยรมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้นเกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.

รมควันเด็ก
น. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าวแห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.

รมดำ
ก. ใช้น้ำมันกำมะถันเป็นต้น ทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วอบด้วยความร้อนให้ดำ เช่น รมปืน รมพระ รมรูปหล่อโลหะ.

รมยา
ก. ใช้หนังจงโคร่ง เห็ดร่างแห หรือสารบางชนิดเป็นต้น เผาไฟให้ควันลอยไปเพื่อทำให้หลับสนิท.

ร่ม
น. บริเวณที่แดดส่องไม่ถึง เช่น ร่มไม้; สิ่งที่ใช้สำหรับกางกันแดด กันฝนมีด้ามสำหรับถือโดยปริยายหมายถึง ที่พึ่ง, ที่คุ้มครอง, เช่น ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ใต้ร่มกาสาวพัสตร์. ว. ซึ่งมีอะไรบังแดด เช่น ถนนสายนี้ร่มตลอดวัน.

ร่มเกล้า, ร่มเกศ
น. ผู้คุ้มครองป้องกันให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขหมายถึง พระมหากษัตริย์.

ร่มเกล้า, ร่มเกศ
น. ผู้คุ้มครองป้องกันให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขหมายถึง พระมหากษัตริย์.

ร่มชูชีพ
น. เครื่องพยุงตัวเมื่อโดดจากที่สูง ตามปรกติกางแล้วรูปคล้ายร่ม แต่ในปัจจุบันเมื่อกางแล้วมีลักษณะคล้ายกาบกล้วยเป็นลอน ๆตามขวางก็มี.

ร่มธง
น. อำนาจคุ้มครอง เช่น ใต้ร่มธงไตรรงค์ ใต้ร่มธงไทย.

ร่มผ้า
น. ส่วนของร่างกายภายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย.

ร่มโพธิ์ร่มไทร
(สำ) น. ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ,เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก.

ร่มไม้ชายคา
(สํา) น. ที่พึ่งพาอาศัย เช่น ต้องไปพึ่งร่มไม้ชายคาของผู้อื่น.

ร่มเย็น
ว. มีความสุขสบาย, ไม่มีความเดือดร้อน.

ร่มรื่น
ว. มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ๆ ที่ทำให้เกิดความรื่นรมย์ใจ เช่นในสวนนี้ร่มรื่นดี.

รมณี
[รมมะนี] น. นาง, ผู้หญิง. (ป., ส.).

รมณีย–, รมณีย์
[รมมะนียะ–, รมมะนี] ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม. (ป., ส.).

รมณีย–, รมณีย์
[รมมะนียะ–, รมมะนี] ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม. (ป., ส.).

รมณียสถาน
น. สถานที่ให้ความรื่นรมย์, สถานที่ให้ความบันเทิงใจ.

รมเยศ
[รมมะเยด] (กลอน) ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม.

รยะ
ว. เร็ว, พลัน, ไว, ด่วน. (ป., ส.).

รยางค์
น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนหลักของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เช่น หนวดของแมลง ครีบปลา แขน ขา. (อ. appendage).

รวก
น. ชื่อไผ่ชนิด Thyrsostachys siamensis Gamble ในวงศ์ Gramineaeขึ้นเป็นกอ ลําเล็กยาวเรียว ไม่มีหนาม.

รวง ๑
น. ช่อ (ใช้แก่ข้าว); ลักษณนาม เช่น ข้าวรวงหนึ่ง ข้าว ๒ รวง.

รวง ๒
น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็นลวง ก็มี.

ร่วง ๑
ก. หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง, หลุด เช่น ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง.

ร่วงโรย
ก. เสื่อมไป, สิ้นไป, เช่น สังขารร่วงโรย, เซียวไป เช่น อดนอนหน้าตาร่วงโรย.

ร่วง ๒
ว. รุ่ง, เรือง.

ร่วงรุ้ง
ว. พรายแสง (ใช้แก่เพชร).

รวงผึ้ง ๑
น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนามว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.

รวงผึ้ง ๒
น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Schoutenia glomerata King subsp. paregrina(Craib) Roekm. et Martono ในวงศ์ Tiliaceae ใบออกเรียงสลับกัน ด้านล่างสีขาว ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ปลูกเป็นไม้ประดับ,นํ้าผึ้ง หรือ ดอกนํ้าผึ้ง ก็เรียก.

รวงรัง
น. รัง.

รวด
ว. ติดต่อกันหลายครั้ง เช่น ชนะ ๕ ครั้งรวด; เสมอเท่ากันหมดเช่น เก็บค่าดู ๒๐ บาทรวด.

รวดเดียว
น. ครั้งเดียวอย่างรีบเร่ง, ครั้งเดียวโดยไม่หยุดพัก, เช่น พิจารณารวดเดียวจบ นอนหลับรวดเดียวตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง ดื่มรวดเดียวหมด; ครั้งเดียวเช่น เก็บค่าดูรวดเดียวดูได้ตลอด.

รวดเร็ว
ว. เร็วไว เช่น ทำงานรวดเร็ว.

รวน
ก. เอาเนื้อสดหรือปลาสดเป็นต้นที่หั่นเป็นชิ้นแล้วคั่วให้พอสุกเพื่อเก็บเอาไว้แกงเป็นต้น; แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท เช่น เขาถูกรวน, ตีรวนก็ว่า. ว. ไม่ตรง, โย้, เช่น ฟันรวน; เบียดดันกันไปมา เช่น แถวรวน.

รวนเร
ว. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน เช่น จิตใจรวนเร ใจคอรวนเร,เรรวน ก็ว่า.

ร่วน
ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆจากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตกละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.

รวบ
ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่มเป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.

รวบยอด
ก. (บัญชี) รวมยอดเงินครั้งสุดท้าย; (ปาก) รวมหลาย ๆ ครั้งเป็นคราวเดียวในครั้งหลังสุด เช่น กินรวบยอด.

รวบรวม
ก. นําสิ่งต่าง ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น รวบรวมข้าวของรวบรวมเงิน รวบรวมหลักฐาน.

รวบรัด
ก. ทําให้สั้นเข้าให้เร็วเข้า เช่น พูดรวบรัด.

รวบหัวรวบหาง
(สํา) ก. รวบรัดให้สั้น, ทําให้เสร็จโดยเร็ว; ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง.

รวบอำนาจ
ก. รวมอำนาจ เช่น รวบอำนาจมาไว้ส่วนกลาง รวบอำนาจมาไว้ที่คนคนเดียว.

รวม
ก. บวกเข้าด้วยกัน, ผสมเข้าด้วยกัน, เช่น รวมคะแนน รวมเงิน,เข้าร่วมกัน, คละปนกัน, เช่น รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย อยู่รวมกัน,ผนึกเข้าด้วยกัน เช่น รวมนํ้าใจ รวมพลัง.

รวมพล
ก. รวมกำลังพลเข้าด้วยกัน.

รวมพวก
ก. รวมคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน.

รวมหัว
ก. ร่วมกันคิดร่วมกันทํา.

ร่วม
ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่นร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตายร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ,เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม๑,๐๐๐ ปี.

ร่วมใจ
ว. มีความนึกคิดอย่างเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมใจ.

ร่วมชายคา
ก. อยู่บ้านเดียวกัน.

ร่วมชีวิต
ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย.

ร่วมท้อง, ร่วมอุทร
ว. มีแม่เดียวกัน.

ร่วมท้อง, ร่วมอุทร
ว. มีแม่เดียวกัน.

ร่วมประเวณี
ก. เสพสังวาส, เป็นผัวเมียกัน.

ร่วมเพศ
ก. เสพสังวาส.

ร่วมมือ
ก. พร้อมใจช่วยกัน.

ร่วมรัก
(ปาก) ก. เสพสังวาส, ร่วมรส หรือ ร่วมรสรัก ก็ว่า.

ร่วมเรียงเคียงหมอน, ร่วมหอลงโรง
(สํา) ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย,แต่งงานกัน.

ร่วมเรียงเคียงหมอน, ร่วมหอลงโรง
(สํา) ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย,แต่งงานกัน.

ร่วมวง
ก. เข้าร่วมในวงอย่างในวงอาหารในวงไพ่.

ร่วมวงศ์
ก. ร่วมในวงศ์ตระกูลเดียวกัน, ร่วมนามสกุลเดียวกัน.

ร่วมวงศ์ไพบูลย์
ก. ร่วมเป็นพวกเดียวกัน เช่น ร่วมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา; (ปาก) ร่วมทำด้วย.

ร่วมสมัย
ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย;รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.

ร่วมสังฆกรรม
ก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.

ร่วมหัวงาน
ก. เกือบเสร็จงานแล้ว เช่น การซ่อมท่อน้ำประปาร่วมหัวงานแล้ว.

รวย ๑
ก. ได้มาก เช่น วันนี้รวยปลา, มีมาก เช่น รวยทรัพย์ รวยที่ดิน.

รวย ๒, รวย ๆ
ว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น;งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.

รวย ๒, รวย ๆ
ว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น;งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.

รวยริน
ว. เรื่อย ๆ, ชื่น ๆ.

รวยรื่น
ว. ชื่นใจ, สบายใจ.

รวย ๓
น. ตัวไม้ที่ทอดลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว.

รวะ
น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้.(ป., ส.).

รวิ ๑, รวี
น. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รําไพ ก็ได้. (ป., ส.).

รวิ ๑, รวี
น. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รําไพ ก็ได้. (ป., ส.).

รวิวาร
น. วันอาทิตย์. (ป., ส.).

รวิ ๒
(โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).

รศนา
[ระสะนา] น. สายรัดเอว. (ส.).

รส
น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด, โดยปริยายหมายถึงความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส. (ป., ส.).

รสชาติ
[รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย.

รสนิยม
[รดสะนิยม, รดนิยม] น. ความนิยมชมชอบ, ความพอใจ, เช่นเขามีรสนิยมในการแต่งตัวดี.

รสก
[ระสก] น. คนครัว, พ่อครัว. (ป.).

รสนา
[ระสะ–] น. ลิ้น. (ป., ส.).

รสสุคนธ์
น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetracera loureiri Pierre ในวงศ์ Dilleniaceaeดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอม, เสาวคนธ์ ก็เรียก.

รสายนเวท
[ระสายะนะเวด] น. วิชาประสมแร่แปรธาตุ, วิชาเคมียุคเล่นแร่แปรธาตุ. (ส.).

รสิก
น. ผู้รู้จักรส, ผู้รู้จักรสในทางกวีและศิลปะต่าง ๆ. (ป., ส.).

รหัท
น. ห้วงนํ้า, บ่อนํ้า, หนอง, ทะเล. (ป. รหท; ส. หฺรท).

รหัส
[–หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).

รหัสไปรษณีย์
น. รหัสที่กำหนดประจำท้องที่เพื่อประโยชน์ในการไปรษณีย์.

รหิต
ก. ปราศจาก, หายไป. (ป.).

รโห
น. ลับ, สงัด, เงียบ. (ป.).

รโหคต
ว. ผู้ไปในที่ลับ, ผู้อยู่ในที่สงัด. (ป.).

รโหฐาน
น. ที่เฉพาะส่วนตัว. (ป. รโห + ?าน ว่า ที่ลับ, ที่สงัด).

รอ ๑;
น. หลักปักกันกระแสนํ้า เช่น ทำรอกันตลิ่งพัง.

รอ ๒
ก. คอย เช่น รอรถ รอเรือ; ยับยั้ง เช่น รอการพิจารณาไว้ก่อน รอการลงอาญาไว้ก่อน; เกือบจด, จ่อ, เช่น เอายาดมรอจมูก เอามีดรอคอ.

รอหน้า
ก. เข้าหน้า, เผชิญหน้า, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น รอหน้าไม่ติด ไม่อยู่รอหน้า.

ร่อ
(กลอน) ก. จ่อ, จด. ว. ใกล้.

รอก
น. เครื่องผ่อนแรงรูปคล้ายล้อ มีแกนหมุนได้รอบตัว ที่ขอบเป็นร่องสําหรับให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเดินได้สะดวก ใช้สําหรับยก ลากหรือดึงของหนักให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น.

รอง ๑
ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุนให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับเช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดีรองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา,ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.

รองคอ
ก. ถัดคนแรก (ใช้เรียกคนเล่นการพนันอย่างหยอดหลุม).

รองจ่าย
(ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่นนั้นว่า เงินรองจ่าย.

รองท้อง
ก. กินพอกันหิวไปก่อน.

รองทุน
ก. ออกทุนให้ไปก่อน.

รองเท้า
น. เกือก.

รองบ่อน
ว. ประจําบ่อน, ที่ยืนโรงไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด เช่น ไก่รองบ่อน.

รองพื้น ๑;
ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น;อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า,เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้นแป้งรองพื้น.

รองรัง
ว. มีสำรองไว้เผื่อขาดแคลน, มีสำรองไว้ไม่ให้ขาด, เช่น อาหารรองรัง.

รอง ๒
ว. งามสุกใส เช่น รองเรือง.

ร่อง
น. รอยลึกเป็นช่องทางไปตามยาว, สันดินระหว่างท้องร่องสําหรับเพาะปลูก เช่น ร่องผัก ร่องมัน.

ร่องตีนช้าง
น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน.

ร่องน้ำ
น. ทางนํ้าลึกที่เรือเดินได้.

ร่องมด
น. สีขาวหรือดําเป็นขีดยาวตามท้องสัตว์แต่คางตลอดก้น,รอยเป็นทางยาวบนเขาสัตว์จำพวกกวาง.

ร่องรอย
น. เค้าเงื่อนหรือเบาะแสที่ปรากฏเป็นแนวบอกให้รู้.

ร่องส่วย
(ถิ่น–อีสาน) ก. หย่ง.

ร้อง
ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้องจักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คําแวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.

ร้องกระจองอแง
ก. อาการที่เด็กหลาย ๆ คนร้องไห้พร้อม ๆ กัน.

ร้องขอ
ก. ขอเป็นทางการ.

ร้องงอแง
ก. ร้องอ้อน (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ).

ร้องฎีกา
ก. ทูลเกล้าฯ ถวายฎีการ้องทุกข์.

ร้องทุกข์
ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.

ร้องบอก
ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.

ร้องเพลง
ก. ขับลําเป็นทํานองต่าง ๆ, บางทีก็ใช้ว่า ร้อง คําเดียว.

ร้องโยนยาว
ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพายเรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.

ร้องระเบ็งเซ็งแซ่
ก. ร้องดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.

ร้องเรียก
ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.

ร้องเรียกร้องหา
ก. ต้องการตัว.

ร้องเรียน
ก. เสนอเรื่องราว.

ร้องเรือ
(ถิ่น–ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลงกล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.

ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ
ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.

ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ
ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.

ร้องส่ง
ก. ร้องเพลงให้เครื่องดนตรีรับ.

ร้องสด
ก. ร้องโดยไม่มีดนตรีรับ, ร้องโดยคิดกลอนด้นหรือกลอนสด,ร้องออกอากาศทันที.

ร้องสอด
(กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาลด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี.

ร้องห่ม
ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้องไห้ เป็นร้องห่มร้องไห้ หรือ ร้องไห้ร้องห่ม.

ร้องห่มร้องไห้
ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, ร้องไห้ร้องห่ม ก็ว่า.

ร้องไห้
ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่นเจ็บปวด เศร้าโศก ดีใจ,บางทีใช้ว่า ร้อง คําเดียว หรือใช้เข้าคู่กับคำร้องห่ม เป็น ร้องห่มร้องไห้หรือ ร้องไห้ร้องห่ม ก็ได้.

รองเง็ง
น. ศิลปะการแสดงแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการเต้นรําคู่ชายหญิง และร้องเพลงคลอไปด้วย. (เทียบ ม. ronggeng).

รองช้ำ
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มีนํ้าใส ๆ อยู่ระหว่างหนังชั้นนอกกับเนื้อ.

รองทรง
น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทยที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวงฉบับรองทรง.

รองพื้น ๑
ดูใน รอง ๑.

รองพื้น ๒
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่าเท้าทําให้พื้นเท้าเป็นรูพรุน.

ร่องแร่ง
ว. อาการที่ห้อยติดอยู่จวนจะหลุด เช่น เขาถูกฟันแขนห้อยร่องแร่ง แมวคาบหนูห้อยร่องแร่ง, กะร่องกะแร่ง.

รอด ๑
น. ไม้ที่สอดรูเสาทั้งคู่สําหรับรับกระดานพื้นเรือน.

รอด ๒
ก. พ้นไป, ปลอดจาก, เช่น รอดอันตราย, บางทีหมายความว่า ผ่านพ้นภัยอันตรายหรือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนามาได้ เช่น เครื่องบินตกรอดมาได้รอดจากถูกครูตี. ว. ถึงจุดหมายปลายทาง เช่น ไปรอด, ถึง เช่น ตลอดรอดฝั่ง.

รอดชีวิต
ก. เอาชีวิตรอด, ไม่เสียชีวิต, เช่น ไปรบคราวนี้รอดชีวิตมาได้.

รอดตัว
ก. เอาตัวรอด.

รอดตาย
ก. ผ่านพ้นความตายมาได้, เอาชีวิตรอดมาได้.

รอดปากเหยี่ยวปากกา
ก. พ้นอันตรายมาได้อย่างหวุดหวิด.

รอดหูรอดตา
ก. หลงหูหลงตาไป.

รอด ๓
น. ชื่อพระเครื่องชนิดหนึ่งของลําพูน เรียกว่า พระรอด.

รอน
ก. ตัดให้เป็นท่อน ๆ เช่น รอนฟืน; ทำให้ลดลง เช่น รอนกําลัง.

รอน ๆ
ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวันรอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่รอน ๆ.

รอนแรม
ก. เดินทางค้างคืนเป็นระยะ ๆ.

รอนสิทธิ์
ก. ตัดสิทธิ์, (กฎ) รบกวนขัดสิทธิของบุคคลในอันที่จะครองหรือใช้ทรัพย์สินโดยปรกติสุข.

ร่อน
ก. อาการของสิ่งมีลักษณะแบนเลื่อนลอยไปหรือมาในอากาศ, ทำให้สิ่งแบน ๆ เคลื่อนไปในอากาศหรือบนผิวน้ำ เช่น ร่อนรูป ร่อนกระเบื้องไปบนผิวน้ำ; กางปีกแผ่ถาไปมาหรือถาลง เช่น นกร่อน เครื่องบินร่อนลง; แยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ โดยใช้เครื่องแยกมีแร่งเป็นต้นแกว่งยักไปย้ายมา ให้ของที่ละเอียดหลุดลงไป เช่น ร่อนข้าว,แกว่งวนเวียนไปรอบตัว เช่น ร่อนดาบ; เอาคมมีดถูวนเบา ๆ ที่หินในคําว่า ร่อนมีด.

ร่อนร่อน
ว. ง่าย ๆ เช่น หากินร่อนร่อน.

ร่อนรับร่อนเร่
ว. เตร็ดเตร่ไปมา.

ร่อนเร่
ก. เที่ยวเตร่ไปไม่เป็นกําหนดที่ทาง, เร่ร่อน หรือ เร่ร่าย ก็ว่า.

ร้อน
ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น, ตรงข้ามกับ เย็น; กระวนกระวาย เช่น ร้อนใจ; รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้.

ร้อนใจ, ร้อนอกร้อนใจ
ก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.

ร้อนใจ, ร้อนอกร้อนใจ
ก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.

ร้อนตัว
ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว.

ร้อนที่
(ปาก) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทำให้อยู่ติดที่ไม่ได้.

ร้อนผ้าเหลือง
(ปาก) ก. อยากสึก (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).

ร้อนรน
ก. แสดงอาการกระวนกระวาย, ทุรนทุราย.

ร้อนรุ่ม
ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ, รุ่มร้อน ก็ว่า.

ร้อนวิชา
(สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็นปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิดปรกติวิสัย.

ร้อน ๆ หนาว ๆ
ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือหนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.

ร้อนหู
ก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.

ร้อนอาสน์
(สํา) ก. มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทําให้อยู่เฉยไม่ได้.

ร่อนทอง
น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).

รอบ
น. การบรรจบถึงกัน, การเวียนไปบรรจบถึงกัน; ช่วง เช่น ภาพยนตร์รอบเช้า รอบบ่าย, วาระ เช่น รอบสุดท้าย รอบชิงชนะเลิศ; ลักษณนามเรียกลักษณะที่มาบรรจบกันเป็นต้น เช่น รอบหนึ่ง ๒ รอบ. บ. อาการที่เวียนมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์รอบบ้าน เดินรอบตลาด.

รอบคอบ
ว. ทั่ว, ถ้วนถี่, เช่น พิจารณาอย่างรอบคอบ, ระวังเหตุการณ์ข้างหน้าข้างหลังเสมอ, ไม่เผอเรอ, เช่น ดูแลให้รอบคอบ.

รอบจัด
(ปาก) ว. มีเล่ห์เหลี่ยมมาก, มีประสบการณ์มาก, เจนจัด(ใช้ในทางไม่ดี).

รอบเดือน
(ปาก) น. ระดู.

รอบตัว
ว. ทั่ว ๆ ไป เช่น ความรู้รอบตัว.

รอบรู้
ก. รู้หลายอย่าง, รู้กว้างขวาง, เช่น เขารอบรู้ในเรื่องกฎหมาย.

รอม ๑
ว. อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขารอม, ลอม ก็ว่า.

รอม ๒
น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ รูปทรงกระบอก ก้นโปร่ง ใช้นึ่งเปลือกต้นข่อยก่อนนําไปทุบทํากระดาษ.

รอมชอม
ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย,ลอมชอม หรือ ออมชอม ก็ว่า.

รอมร่อ
[รอมมะร่อ] ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จการศึกษาอยู่รอมร่อ จะถึงบ้านอยู่รอมร่อ, รํามะร่อ ก็ว่า.

รอย
น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน;ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย.(กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.

รอยตรา
น. รอยประทับของดวงตรา.

รอยร้าว
น. เค้าหรือท่าทีแห่งการแตกแยก.

ร่อย
ก. ค่อยหมดไป, กร่อนไป, เช่น คมมีดร่อย.

ร่อยหรอ
ก. ค่อยหมดไป, หมดไปสิ้นไปทีละน้อย, เช่น เงินทองร่อยหรอ.

ร้อย ๑
ว. จํานวนนับ ๑๐ สิบหนเป็นหนึ่งร้อย (๑๐๐).

ร้อยชั่ง
น. จํานวนเงิน ๘,๐๐๐ บาท ซึ่งถือว่าเป็นจํานวนมากในสมัยหนึ่ง,โดยปริยายหมายถึงลูกสาวที่พ่อแม่สงวนอย่างมีค่าเท่ากับเงิน ๑๐๐ ชั่ง.

ร้อยทั้งร้อย
(ปาก) ว. หมดทั้งสิ้น, มีเท่าไรก็หมด.

ร้อยแปด
(ปาก) ว. จํานวนมากมายหลายอย่างต่างชนิด, ร้อยแปดพันเก้า ก็ว่า.

ร้อยละ
น. ต่อร้อย, จำนวนส่วนในร้อยส่วน, เช่น ร้อยละ ๑๐ คือ ๑๐ต่อ ๑๐๐ หรือ ๑๐ ส่วนใน ๑๐๐ ส่วน.

ร้อยลิ้น, ร้อยลิ้นกะลาวน
ว. อาการที่พูดกลับกลอกตลบตะแลง.

ร้อยลิ้น, ร้อยลิ้นกะลาวน
ว. อาการที่พูดกลับกลอกตลบตะแลง.

ร้อยสีพันอย่าง, ร้อยสีร้อยอย่าง
(ปาก) ว. โยกโย้ไปต่าง ๆ นานา.

ร้อยสีพันอย่าง, ร้อยสีร้อยอย่าง
(ปาก) ว. โยกโย้ไปต่าง ๆ นานา.

ร้อยเอ็ด
ว. ร้อยกับหนึ่ง (๑๐๑); เป็นจํานวนมากตั้งร้อย เช่น ร้อยเอ็ดพระนคร.

ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง
(ปาก)ว. ทั่วทุกแห่งหน.

ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง
(ปาก)ว. ทั่วทุกแห่งหน.

ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง
(ปาก)ว. ทั่วทุกแห่งหน.

ร้อย ๒
ก. สอด, สอดด้วยด้ายเป็นต้น, เช่น ร้อยดอกไม้ ร้อยพวงมาลัย ร้อยสตางค์แดง ร้อยเชือกผูกรองเท้า.

ร้อยกรอง
ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย;แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.

ร้อยแก้ว
น. ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย.

ร้อยหวาย
น. เอ็นเหนือส้นเท้า.

ร้อย ๓
น. ยศทหารบกหรือตํารวจชั้นสัญญาบัตรชั้นต้น ตํ่ากว่านายพันหรือนายพันตํารวจ เช่น นายร้อย ร้อยตรี ร้อยตํารวจโท.

ร้อยลิ้น ๑
ดูใน ร้อย ๑.

ร้อยลิ้น ๒
น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).

ร้อยหวี
น. ชื่อกล้วยชนิด Musa chiliocarpa Backer ในวงศ์ Musaceae ออกเครือเป็นหวีมาก ปลูกเป็นไม้ประดับ, กล้วยงวงช้าง ก็เรียก.

ร่อแร่
ว. อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่.

ระ
ก. กระทบเรียดไป เช่น เอาไม้ระรั้วสังกะสี.

ระฟ้า
ว. สูงมาก เช่น ตึกระฟ้า.

ระสะเก็ด
ว. เรียกอาการลงโทษเฆี่ยนหลังซํ้าแผลเก่าที่ตกสะเก็ดแล้วว่าเฆี่ยนระสะเก็ด, โดยปริยายหมายความว่า พูดตําหนิซํ้าแล้วซํ้าอีก.

ระกะ
ก. มากเกะกะ, ใช้เข้าคู่กับคํา ระเกะ เป็น ระเกะระกะ.

ระกา
น. ชื่อปีที่ ๑๐ ของรอบปีนักษัตร มีไก่เป็นเครื่องหมาย.

ระกำ ๑
น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm.ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาว ฝักแบนบิดเป็นวง, ระกํานา หรือ ระกําป่าก็เรียก. (๒) ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana C. Martius ในวงศ์ Palmaeขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลออกเป็นกระปุก กินได้.

ระกำ ๒
น. ความลําบาก, ความตรมใจ, ความทุกข์, เช่น ตกระกำลำบาก.

ระกำ ๓
ก. ปักเป็นดอกควบด้วยไหม. (ม.).

ระกำ ๔
น. ชื่อนํ้ามันชนิดหนึ่ง ใช้ทานวดแก้เคล็ดบวม. (ดู นํ้ามันระกํา ที่ นํ้า).

ระกำนา, ระกำป่า
ดู ระกํา ๑ (๑).

ระกำนา, ระกำป่า
ดู ระกํา ๑ (๑).

ระเกะระกะ
ก. มากเกะกะ.

ระคน
ก. ปนหรือผสมให้เข้ากันคละกันเป็นกลุ่มเป็นพวกเป็นต้น เช่น โจทย์ระคน.

ระคาง ๑
น. เม็ดผดที่เกิดขึ้นตามขาด้วยระคายต้นหญ้าหรือขนกระบือ, ตะคาง ก็ว่า.

ระคาง ๒
ก. หมาง, หมองใจ, เคืองใจ.

ระคาย
น. ละอองที่ทําให้คายคัน. ก. ทําให้คายคันเหมือนถูกละออง เช่นระคายตัว, กระทบกระเทือนกายใจให้เกิดรําคาญไม่สุขใจ เช่นระคายหู, (กลอน) ใช้เป็น กระคาย ก็มี.

ระเค็ดระคาย
น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้,ระแคะระคาย ก็ว่า.

ระแคะ
น. เล่ห์, เงื่อนความ.

ระแคะระคาย
น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้,ระเค็ดระคาย ก็ว่า.

ระฆัง
น. เครื่องใช้ตีให้เกิดเสียงเป็นอาณัติสัญญาณ หล่อด้วยทองเหลืองเป็นต้นรูปคล้ายลูกฟักตัด มีหูติดอยู่ตอนบน.

ระงม
ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่นร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.

ระงมไพร
น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง อยู่ตามป่าใหญ่. (พจน. ๒๔๙๓).

ระงับ ๑
ก. ยับยั้งไว้, ทําให้สงบ, เช่น ระงับคดี ระงับเรื่องราว.

ระงับ ๒, ระงับพิษ
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Breynia glauca Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae คล้ายต้นก้างปลา ใช้ทํายาได้.

ระงับ ๒, ระงับพิษ
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Breynia glauca Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae คล้ายต้นก้างปลา ใช้ทํายาได้.

ระงี่
(โบ) ว. ดัง, ระงม, เซ็งแซ่.

ระแง้
น. เรียกแขนงของทะลายหมากหรือแขนงของรวงข้าวว่า ระแง้หมากระแง้ข้าว, ตะแง้ ก็ว่า.

ระโงกหิน
(ถิ่น–อีสาน) น. ชื่อเห็ดชนิด Amanita verna (Bull. ex Fr.) Vitt. ในวงศ์Amanitaceae ลักษณะคล้ายเห็ดฟางแต่ดอกสีขาว ก้านมีวงแหวน โคนก้านโป่งเป็นกระเปาะ กินตาย.

ระชวย
ก. ชวย, พัดอ่อน ๆ, พัดเรื่อย ๆ, (ใช้แก่ลม).

ระดม
ก. ทำพร้อม ๆ กัน เช่น ระดมยิง; รวบรวม, รวมเข้าด้วยกัน, เช่น ระดมทุนระดมคนช่วยกันทำงาน.

ระดมพล
ก. เกณฑ์ทหารเข้าประจำกองทัพอย่างรีบด่วน.

ระดะ, ระดา
ว. เกลื่อนกล่น.

ระดะ, ระดา
ว. เกลื่อนกล่น.

ระดับ
น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกันโดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความเสมอของพื้นผิวว่าเครื่องวัดระดับ. ก. ปูลาด, แต่งตั้ง.

ระดับทะเล
น. ความสูงของพื้นนํ้าทะเลในขณะใดขณะหนึ่ง. (อ. sea level).

ระดับทะเลปานกลาง
น. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล ซึ่งคํานวณจากผลการตรวจระดับนํ้าทะเลขึ้นลงในที่ใดที่หนึ่งที่ได้บันทึกติดต่อกันไว้เป็นระยะเวลานาน, ใช้ย่อว่า ร.ท.ก. (อ. mean sea level).

ระด่าว
ว. อาการที่ดิ้นสั่นรัวไปทั้งตัว, เร่าร้อน.

ระดู
น. เลือดประจําเดือนที่ถูกขับถ่ายจากมดลูกออกมาทางช่องคลอด.

ระดูขาว
น. สิ่งที่ถูกขับถ่ายออกมาทางช่องคลอด ลักษณะข้นหรือค่อนข้างข้น สีขาวหรือสีเหลืองปนเขียว มีกลิ่นเหม็น เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อพยาธิชนิด Trichomonasvaginalis เนื้องอก, ตกขาวหรือมุตกิด ก็เรียก.

ระดูทับไข้
น. การมีระดูออกมาระหว่างเป็นไข้.

ระเด่น
น. โอรสหรือธิดาของกษัตริย์เมืองใหญ่. (ช.).

ระเดียง
น. เรียกสายสําหรับตากผ้าสบงจีวรเป็นต้นของพระภิกษุสามเณรว่าสายระเดียง.

ระแด
น. คนชาติข่าพวกหนึ่ง ในตระกูลชวา-มลายู อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง.

ระตู
น. เจ้าเมืองน้อย. (ช.).

ระทก
ว. หนาวใจ.

ระทด
ก. สลดใจ, มีจิตใจหวั่นไหวเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่นเช่น ระทดท้อ ระทดใจ.

ระทดระทวย
ว. อ่อนอกอ่อนใจ เช่น เขาเสียการพนันจนหมดตัวเดินระทดระทวยออกมา.

ระทม
ก. เจ็บชํ้าระกําใจ.

ระทวย ๑
ว. อ่อนช้อย, อ่อนใจ.

ระทวย ๒
ก. ระทด, มักใช้เข้าคู่กับคํา ระทด เป็น ระทดระทวย.

ระทอด
ก. ทิ้ง, ทอด.

ระทา
น. หอสูงรูปสี่เหลี่ยมหลังคาทรงยอดเกี้ยว ประดับดอกไม้ไฟนานาชนิดเช่น พลุ ตะไล จรวดใช้จุดในงานพระราชพิธี.(รูปภาพ ระทา)

ระทึก
ก. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.

ระทึง
ว. เสียงหึ่ง ๆ อย่างเสียงผึ้ง.

ระแทะ
น. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, กระแทะ หรือรันแทะ ก็ว่า.

ระนัม
น. ป่ารกฉําแฉะ, ระนาม ก็ว่า.

ระนาด ๑
น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัวท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้นยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่งเรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.

ระนาดแก้ว
น. ระนาดที่ลูกทําด้วยแก้ววางเรียงบนรางระนาดซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกับพื้น มีไม้ประกับหัวท้าย มีทั้งระนาดแก้วทุ้มและระนาดแก้วเอก ระนาดแก้วทุ้มไม้ตีใช้ไม้นวม ระนาดแก้วเอกใช้ไม้ตีที่มีลูกทำด้วยหนัง.

ระนาดทุ้ม
น. ระนาดที่มีเสียงต่ำกว่าและมีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอกลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอกแต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวนด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้นมีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว.

ระนาดเอก
น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลางโดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัดมีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล.

ระนาด ๒
น. ไม้ไผ่ที่ถักอย่างเรือกสําหรับรองท้องเรือ.

ระนาด ๓
ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เรียงกันเป็นแถว, มักใช้เข้าคู่กับคำระเนและ ระเนน เป็น ระเนระนาด และ ระเนนระนาด.

ระนาบ
(กลอน) ว. ราบ; ที่แบนเรียบ (ใช้แก่ผิว). น. พื้นที่ที่แบนเรียบ; (คณิต)เซตของบรรดาจุดที่เรียงต่อเนื่องกันเป็นพื้นราบสมํ่าเสมอ. (อ. plane).

ระนาบเอียง
น. สิ่งที่มีพื้นแบนเรียบเอียงทํามุมแหลมกับพื้นระดับใช้ประโยชน์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายสําหรับเลื่อนเทหวัตถุหนักไปสู่ระดับที่ต้องการโดยที่สามารถพักเทหวัตถุนั้นได้เป็นระยะ ๆ.

ระนาม
น. ป่ารกฉําแฉะ เรียกว่า ป่าระนาม, ระนัม ก็ว่า.

ระนาว
ว. มากมาย (ใช้แก่สิ่งที่อยู่ในลักษณะที่ห้อยแขวนเป็นสาย เป็นแถวเป็นแนว เป็นต้น) เช่น แขวนธงเป็นระนาว สอบตกเป็นระนาว.

ระเนน
ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เอนราบทับกัน.

ระเนนระนาด, ระเนระนาด
ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่สิ่งที่อยู่ในลักษณะที่ล้มทับกันอยู่เรี่ยรายมากมาย).

ระเนนระนาด, ระเนระนาด
ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่สิ่งที่อยู่ในลักษณะที่ล้มทับกันอยู่เรี่ยรายมากมาย).

ระเนียด
น. รั้วที่ปักเสารายตลอดไป, เสาค่าย.

ระแนง
น. ไม้สี่เหลี่ยมขนาดยาว หน้า ๑' x ๑' ใช้ตีทับบนกลอนหรือจันทันสําหรับมุงกระเบื้องหรือตีทับคร่าวเพื่อทํารั้ว หรือทําแผงพรางแดดสําหรับเรือนกล้วยไม้. ก. เรียง; ร่อน เช่น เอาแป้งมาระแนงให้เป็นผง.(ขุนช้างขุนแผน). (ข. แรง ว่า ร่อน).

ระแนะ
น. เครื่องสําหรับรองรากตึกและเสาเรือน, แระ ก็เรียก; ท้องเรือ.

ระบบ
น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาลระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ.

ระบบสุริยะ
น. ระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแรงดึงดูด รวมทั้งดาวเคราะห์ใหญ่น้อยและบริวารของดาวเคราะห์ ดาวเหล่านี้หมุนอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรอยู่ในแนวระนาบใกล้เคียงกัน.

ระบม
ก. อาการเจ็บร้าวที่เกิดจากความเมื่อยขัดหรือบอบชํ้าเป็นต้น เช่น ฝีระบมจนเป็นไข้ ถูกตีระบมไปทั้งตัว, ชอกช้ำ เช่น อกระบม ระบมใจ.

ระบมบาตร
ก. รมบาตรให้ดําเป็นมันเพื่อกันสนิมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆเช่น เอากํามะถันและนํ้ามันทาบาตรแล้วรมไฟให้ร้อน.

ระบอบ
น. แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำถูกระบอบ; ระเบียบการปกครอง เช่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์.

ระบัด
ก. ลัด, ผลิ, แตกใบอ่อน, เช่น ไม้ระบัดใบ. ว. เพิ่งลัด, เพิ่งผลิ, อ่อน,เช่น หญ้าระบัด.

ระบับ
น. แบบ, ฉบับ.

ระบาญ
ก. รบ, สู้รบ.

ระบาด
ว. แพร่ไปอย่างรวดเร็ว, แพร่ไปอย่างกว้างขวาง, แพร่ไปทั่ว, เช่น ข่าวลือระบาด, ลักษณะของโรคติดต่อที่แพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางเป็นคราว ๆ ไป, เรียกโรคที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า โรคระบาด เช่น อหิวาตกโรคเป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง.

ระบานี, ระบานี้
ว. นัก, ทีเดียว, เช่นนี้, ดังนี้.

ระบานี, ระบานี้
ว. นัก, ทีเดียว, เช่นนี้, ดังนี้.

ระบาย ๑
น. ผ้าที่ห้อยจากขอบ.

ระบาย ๒
ก. ผ่อนออกไป เช่น ระบายสินค้า ระบายนํ้า ระบายความทุกข์, ถ่ายออกเช่น ระบายท้อง ระบายอากาศ.

ระบายสี
ก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ;เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง.ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.

ระบำ
น. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอยระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.

ระบำปลายเท้า
น. การเต้นรำแบบหนึ่งของชาวตะวันตก แสดงเป็นเรื่องราวหรือแสดงเดี่ยวก็ได้, บัลเลต์ ก็ว่า. (อ. ballet).

ระบิ, ระบิล
น. เรื่อง, ความ, ฉบับ, อย่าง.

ระบิ, ระบิล
น. เรื่อง, ความ, ฉบับ, อย่าง.

ระบิลเมือง
น. กฎหมายและประเพณีของบ้านเมือง.

ระบือ
ว. เล่าลือ เช่น ข่าวระบือ, เลื่องลือ, แพร่หลายรู้กันทั่ว, เช่น ชื่อเสียงระบือไปไกล.

ระบุ
ก. เจาะจง เช่น ระบุชื่อผู้รับ ระบุตัวบุคคล, บ่งชื่อ, ออกชื่อเฉพาะ, เช่นระบุชื่อพยาน; มีออกมามาก ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น ทุเรียนระบุ เห็ดระบุส่าไข้ระบุ.

ระเบง
ก. ตี เช่น ระเบงฆ้องกลอง.

ระเบ็ง ๑
น. การมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง ที่แสดงในงานพระราชพิธีสมโภชเช่น พระราชพิธีโสกันต์.

ระเบ็ง ๒
ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, มักใช้เข้าคู่กับคํา เซ็งแซ่ เป็น ระเบ็งเซ็งแซ่,ละเบ็ง ก็ว่า.

ระเบิด
ก. ปะทุแตกออกไป เช่น คลังกระสุนระเบิด, ทําให้ปะทุแตกออกไปเช่น ระเบิดหิน. น. ลูกระเบิด เช่น ทิ้งระเบิด.

ระเบิดขวด
น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารเคมีบางอย่างในขวดแก้วหนา เมื่อถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจะระเบิด.

ระเบิดทำลาย
น. ลูกระเบิดซึ่งบรรจุดินระเบิดอย่างแรง มักมีขนาดใหญ่มีอํานาจทําลายสูง.

ระเบิดน้ำตา
น. ลูกระเบิดซึ่งบรรจุสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่เยื่อตา ทําให้นํ้าตาไหล ลืมตาไม่ขึ้นอยู่ชั่วขณะ.

ระเบิดปรมาณู
น. ลูกระเบิดที่ให้อํานาจระเบิดได้ด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดที่ทําให้นิวเคลียสของอะตอมของธาตุยูเรเนียมหรือธาตุพลูโทเนียมแตกสลาย ระเบิดชนิดนี้มีอํานาจทําลายมากยิ่งกว่าระเบิดธรรมดาที่ใช้ดินระเบิด.

ระเบิดเพลิง
น. ลูกระเบิดซึ่งบรรจุสารเคมีที่ติดไฟทันทีเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นแล้ว.

ระเบิดมือ
น. ลูกระเบิดขนาดเล็กที่บรรจุดินระเบิดอย่างแรง ใช้ขว้างให้เกิดการระเบิด.

ระเบิดเวลา
น. ลูกระเบิดที่มีอุปกรณ์ตั้งกําหนดเวลาให้ระเบิด.

ระเบิดไอพิษ
น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารพิษซึ่งเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นแล้วจะกลายเป็นไอหรือควันที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้.

ระเบิดไฮโดรเจน
น. ลูกระเบิดที่ให้อํานาจระเบิดได้ด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดที่ทําให้นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจนหลอมรวมตัวเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมซึ่งหนักกว่า ระเบิดชนิดนี้มีอํานาจทําลายยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูมาก. (อ. H—bomb).

ระเบียง
น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบอุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง,เคียง, ราย.

ระเบียน
น. ทะเบียน, แบบ, เช่น ระเบียนประจำตัวนักเรียน.

ระเบียบ
น. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัยระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ. ว. ถูกลําดับ, ถูกที่เป็นแถวเป็นแนว, มีลักษณะเรียบร้อย, เช่น เขาทำงานอย่างมีระเบียบ.

ระเบียบการ
น. ข้อกําหนดหรือข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นเป็นแนวปฏิบัติเช่น ระเบียบการของโรงเรียน.

ระเบียบจัด
ว. เจ้าระเบียบ, ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด.

ระเบียบวาระ
น. ลําดับรายการที่กําหนดไว้ในการประชุมแต่ละครั้ง.

ระแบบ
(กลอน) น. แบบ.

ระใบ
(โบ) น. ระบาย เช่นพระกลดใหญ่มีระใบถึงสามชั้น. (ปกีรณําพจนาดถ์).

ระมัดระวัง
ก. ดูแลให้ปลอดภัย, ดูแลอย่างรอบคอบไม่ให้พลั้งพลาด, เช่น ระมัดระวังให้ดีเวลาข้ามถนน ระมัดระวังเรื่องสายไฟฟ้ารั่วให้มาก. ว. ประหยัด,ไม่สุรุ่ยสุร่าย, เช่นใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง.

ระมา
น. เหลือบ. (ช.).

ระมาด
น. แรด. (ข. รมาส).

ระเมียร
ก. ดู, น่าดู. (ข. รมึล ว่า ดู).

ระย่อ
ก. ขยาด, ครั่นคร้าม, ไม่กล้าสู้, ไม่มีกำลังใจจะสู้.

ระย่อม
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz ในวงศ์Apocynaceae ทุกส่วนมียางขาว ดอกเล็กสีชมพู ออกเป็นช่อตามยอดรากใช้ทํายาได้, กระย่อม ก็เรียก.

ระยะ
น. ช่วง, ตอน, เช่น ระยะเวลา ระยะทาง ระยะนี้ฝนตกชุก.

ระยะ ๆ
ว. เป็นช่วง ๆ, เป็นตอน ๆ, เช่น เดินทางหยุดพักเป็นระยะ ๆปักเสาโทรเลขเป็นระยะ ๆ.

ระยัง
(กลอน) ก. ยัง, อยู่; ยั้ง.

ระยั้ง
(กลอน) ก. หยุด, ยั้ง.

ระยัด
(กลอน) ก. ยัด.

ระยับ
ว. พราวแพรว, วับวาบ, (ใช้แก่แสงหรือรัศมี) เช่น ผ้ามันระยับ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ระยิบ เป็น ระยิบระยับ เช่น ดาวส่องแสงระยิบระยับ.

ระย้า
น. เครื่องห้อยย้อยเป็นพวงเป็นพู่. ว. ที่ห้อยย้อยลงมา เช่น ตุ้มหูระย้าโคมระย้า.

ระยาน
ก. ยาน, หย่อนลง, ห้อยลง.

ระยาบ
ว. แสงวาบ ๆ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ระยับ เป็น ระยาบระยับ.

ระยำ
ว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ;(ถิ่น–ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).

ระยำตำบอน
(ปาก) ว. เลวทราม, ชั่วช้า, เหลวไหล.

ระยำยับ
ว. แหลกยับเยิน, แตกย่อยยับ.

ระยิบระยับ
ว. ยิบ ๆ ยับ ๆ เช่น แสงดาวระยิบระยับ.

ระโยง
น. สายโยงเสากระโดงเรือ.

ระโยงระยาง
น. สายที่โยงหรือผูกไว้ระเกะระกะ เช่น สายไฟระโยงระยางเต็มไปหมดน่ากลัวอันตราย.

ระรวย
ว. รวย ๆ, แผ่ว ๆ, เบา ๆ, เช่น หายใจระรวย ลมพัดมาระรวย; ส่งกลิ่นหอมน้อย ๆ เช่น หอมระรวย.

ระรอง
(กลอน) ว. สุกใส, งาม.

ระร่อน
(กลอน) ก. ร่อน, ร่อนไปมา.

ระรัว
ว. รัว ๆ, สั่นถี่ ๆ, สั่นสะท้าน, เช่น กลัวจนตัวสั่นระรัว เสียงสั่นระรัว.

ระราน
ก. ประพฤติเป็นพาลเกเร ทำให้เดือดร้อน เช่น เขาเที่ยวระรานชาวบ้าน,มักใช้เข้าคู่กับคำ เกะกะ เป็น เกะกะระราน.

ระร่าย
ก. เดินได้จังหวะ.

ระราว
น. ราว.

ระริก
ก. ไหวถี่ ๆ, สั่นเร็ว ๆ, เช่น ใจสั่นระริก ตัวสั่นระริก; อาการที่หัวเราะกระซิกกระซี้ เช่น หัวเราะระริก.

ระรี่
ว. หัวเราะร่วน.

ระรึง
ก. ผูกแน่น.

ระรื่น, ระรื้น
ว. ชื่นบาน, เบิกบานใจ, เช่น ยิ้มระรื่น, เอิบอาบใจ, ซาบซ่านใจ, เช่นหอมระรื่น.

ระรื่น, ระรื้น
ว. ชื่นบาน, เบิกบานใจ, เช่น ยิ้มระรื่น, เอิบอาบใจ, ซาบซ่านใจ, เช่นหอมระรื่น.

ระเร, ระเร่
ก. เที่ยวเตร่ไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่กําหนด, ไถล.

ระเร, ระเร่
ก. เที่ยวเตร่ไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่กําหนด, ไถล.

ระเร้ง
ก. เร่งรัด, รีบเร็ว.

ระเร็ว
ก. ว่องไว. ว. เร็ว ๆ.

ระเริง
ก. ร่าเริงบันเทิงใจ, สนุกสนานเบิกบานเต็มที่, เช่น แมวไม่อยู่หนูระเริงอย่าระเริงจนเกินไป.

ระเรียง
(กลอน) ก. เรียง.

ระเรียม
(กลอน) น. เรียม.

ระเรื่อย
ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย, เสมอ, ไม่ขาด, ไม่หยุด,ไม่พัก.

ระแร่
ว. แร่เข้าไป, วิ่งเข้าไป.

ระแรง
ว. แรง.

ระลง
(กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.

ระลวง
ก. ระลุง, ใจห่วงถึง, เป็นทุกข์ถึง.

ระลอก ๑
น. คลื่นขนาดเล็ก. (ข. รลก).

ระลอก ๒
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง พองเป็นหัวเล็ก ๆ คล้ายฝี.

ระลอง
ก. เอ็นดู. (อนันตวิภาค).

ระลัด
ก. ลัด.

ระลัดได
ก. ลัดนิ้วมือ.

ระลึก
ก. คิดถึงหรือนึกถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตได้ เช่น ระลึกถึงความหลัง, รำลึก ก็ว่า.

ระลึกชาติ
ก. ระลึกถึงความเป็นไปในชาติก่อน.

ระลุก
ว. คับ.

ระลุง
ก. ใจห่วงถึง, เป็นทุกข์ถึง, ระลวง ก็ใช้.

ระเลิง
ก. โค่น. (ข. รํเลิง).

ระเลียด
ว. ทีละน้อย ๆ.

ระวัง
ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี; เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิดภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้ายระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.

ระวังไพร, ระวังวัน
น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลงตามพื้นดินและพุ่มไม้ มีหลายชนิด เช่น ระวังไพรปากเหลือง(Pomatorhinus schisticeps) ระวังไพรปากยาว (P. hypoleucos),ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.

ระวังไพร, ระวังวัน
น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลงตามพื้นดินและพุ่มไม้ มีหลายชนิด เช่น ระวังไพรปากเหลือง(Pomatorhinus schisticeps) ระวังไพรปากยาว (P. hypoleucos),ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.

ระวาง
น. ทำเนียบ เช่น ม้าขึ้นระวาง เรือขึ้นระวาง; ที่ว่างสำหรับบรรทุกของในเรือเป็นต้น เช่น เสียค่าระวาง.

ระวาดระไว
ว. กระวีกระวาด, คล่องแคล่ว, รีบเร่ง.

ระวาม
ว. วู่วาม.

ระวาย
น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๓.

ระวิง ๑
น. เครื่องสําหรับเอาเข็ดด้ายหรือไหมสวม เพื่อกระจายเส้นด้ายออกจากกัน เมื่อเวลาสาวเส้นด้ายจะได้ออกเป็นเส้น ๆ ไม่ขาด ไม่ยุ่ง.(รูปภาพ ระวิง)

ระวิง ๒
น. เครื่องคล้องโคนหางช้าง ทำด้วยโลหะรูปโค้ง ปลายทั้ง ๒ ข้างงอเป็นขอและติดห่วงไว้สำหรับคล้องกระวินต่อกับปลายสายสำอาง.

ระแวง
ก. แคลงใจ, ชักจะสงสัย.

ระแวดระวัง
ก. คอยดูแลให้รอบคอบ.

ระไว
ก. คอยระวัง เช่น อยู่ระไวต่างองค์ ดํารงรั้งรักษา. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคําระวัง เป็น ระวังระไว.

ระสาย
ว. เป็นสาย, เป็นเส้น.

ระส่ำระสาย
ก. กระจัดพลัดพราย, เสียกระบวน, เช่น กองทัพแตกระส่ำระสาย;วุ่นวาย, เกิดความไม่สงบ, เช่น บ้านเมืองระส่ำระสาย.

ระสี
น. ไม้ไผ่. (ข.).

ระเสิดระสัง
ว. ซัดเซไป, โซเซไป, หนีซุกซ่อนไป.

ระหกระเหิน
ก. ด้นดั้นไปด้วยความลําบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลําบากยากเย็น,เช่น ชีวิตของเขาต้องระหกระเหินอยู่ตลอดเวลา, ระเหินระหก ก็ใช้.

ระหง
ว. สูงโปร่ง เช่น ป่าระหง, สูงสะโอดสะอง เช่น รูปร่างระหง คอระหง.

ระหวย
ก. ระโหย.

ระหว่าง
น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะเวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียนหนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนักระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือสถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย กกับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.

ระหองระแหง
ก. บาดหมางกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ปรองดองกัน, เช่น ผัวเมียระหองระแหงกันอยู่เสมอ. ว. ผิดใจกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใคร่ถูกกัน, เช่น เขามีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เรื่อย.

ระหอบ
ก. ห้อม, ล้อม.

ระหัด
น. เครื่องวิดนํ้าอย่างหนึ่งเป็นราง ใช้ถีบด้วยเท้าหรือฉุดด้วยเครื่องจักรเป็นต้น.

ระหาย
ก. อยากนํ้า, หิวนํ้า.

ระหุย
ก. ร่วงพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นจํานวนมาก.

ระเห็จ
ก. ไปอยู่ในที่ที่ไม่สมควร เช่น ระเห็จขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.

ระเหย
ก. อาการที่ของเหลวกลายเป็นไอ.

ระเหระหน, ระเหหน
ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่,เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.

ระเหระหน, ระเหหน
ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่,เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.

ระเหหัน
ว. ซวดเซเหหันไปมา, วนเวียนไปมา.

ระเหิด
ก. พ้น เช่น ระเหิดจากบาป; (วิทยา) อาการที่ของแข็งกลายเป็นไอ เช่นการบูรระเหิด ลูกเหม็นระเหิด. ว. สูงตระหง่าน, ระเหิดระหง ก็ว่า.

ระเหินระหก
ก. ด้นดั้นไปด้วยความลำบาก, เร่ร่อนไปด้วยความลำบากยากเย็น,ระหกระเหิน ก็ใช้.

ระแหก
(กลอน) ก. แตก, แยก.

ระแหง
น. รอยแยกขนาดแคบ ๆ ของแผ่นดินเป็นต้นที่แยกออกจากกัน เช่นดินเป็นระแหง แตกระแหง.

ระโหย
ก. อิดโรยเพราะหิวหรืออดนอนเป็นต้น.

ระอมระอา
(กลอน) ก. เบื่อหน่ายเต็มที.

ระอา
ก. เบื่อหน่ายหรือหมดกําลังใจเพราะถูกรบกวน, ทําให้เกิดรําคาญหรือมีเหตุติดขัดบ่อย ๆ, ระอิดระอา ก็ว่า.

ระอิดระอา
ก. ระอา.

ระอุ
ว. ร้อนมาก ในความว่า อากาศร้อนระอุ แผ่นดินร้อนระอุ; สุกทั่ว เช่นข้าวระอุ.

รัก ๑
น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Calotropis gigantea (L.) Aiton f. ในวงศ์Asclepiadaceae ดอกใช้ร้อยกรอง มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกลา และพันธุ์ดอกซ้อน ยางเป็นพิษ. (เทียบ ส. อรฺก; ป. อกฺก). (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Gluta usitata (Wallich) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยางเป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก. (เทียบ ส. ลากฺษ).

รักแก้ว
น. น้ำรักผสมสมุกและขี้ผึ้ง เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อนเพื่อนำไปปั้นหรือกดลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.

รักเช็ด
น. น้ำรักที่เคี่ยวให้งวดและเหนียว ใช้ทาสำหรับปิดทองคำเปลว.

รักตีลาย
น. น้ำรักผสมสมุก เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อน เพื่อนำไปกดลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.

รักยม
น. ของขลังอย่างหนึ่ง เป็นรูปตุ๊กตาเด็กเล็ก ๒ ตัว ทําด้วยไม้รักดอกและไม้มะยมเชื่อว่าทําให้เกิดเมตตามหานิยม.

รักร้อย
น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ผูกเป็นลายกระจังตาอ้อยเรียงซ้อนเนื่องกันไปเป็นแถวยาว, เรียกสร้อยอ่อนประดับข้อมือ ทําด้วยทองลงยา มักผูกเป็นลายกระจังตาอ้อย บางทีก็ประดับพลอยด้วย ว่า สร้อยรักร้อย.

รักสมุก
น. น้ำรักผสมเถ้าถ่านของใบตองแห้งหรือหญ้าคา บดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้ทารองพื้น.

รักหมู
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Holigarna kurzii King ในวงศ์ Anacardiaceaeขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบด้านล่างขาว, กุกขี้หมู ก็เรียก.

รัก ๒
ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง,มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง,ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.

รักใคร่
ก. รัก เช่น พี่น้องคู่นี้รักใคร่กันดี.

รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
(สํา) ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก.

รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
(สํา) ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก.

รักพี่เสียดายน้อง
(สํา) ก. ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี.รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้,ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า.

รักสามเส้า
น. ความรักที่ชาย ๒ คนรักหญิงคนเดียวกัน หรือหญิง ๒ คนรักชายคนเดียวกัน.

รักข์, รักขา
ก. รักษ์, รักษา. (ป.; ส. รกฺษ).

รักข์, รักขา
ก. รักษ์, รักษา. (ป.; ส. รกฺษ).

รักขสะ
[–ขะ–] น. รากษส. (ป.; ส. รากฺษส).

รักขิต
ก. ระวัง, ดูแล, รักษา, (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส) เช่น พุทธรักขิตญาณรักขิต. (ป.).

รักดป
[–ดบ] น. ปลิง (สัตว์). (ส. รกฺตป; ป. รตฺตป).

รักดะ, รักตะ
ว. แดง; มีความกําหนัด, มีความรักใคร่. (ส. รกฺต; ป. รตฺต).

รักดะ, รักตะ
ว. แดง; มีความกําหนัด, มีความรักใคร่. (ส. รกฺต; ป. รตฺต).

รักบี้
น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คนก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้ามแล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะกลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).

รักเร่
น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Dahlia indica Cad. ในวงศ์ Compositaeดอกใหญ่ มีสีต่าง ๆ.

รักแร้
น. ส่วนร่างกายที่อยู่ใต้โคนแขนเหนือสีข้างขึ้นไป; เรียกส่วนของสิ่งก่อสร้างตอนที่ผนังกับผนังจดกันเป็นมุมฉากทั้งด้านในและด้านนอกเช่น รักแร้ปราสาท รักแร้กําแพงแก้ว รักแร้โบสถ์.

รักษ์, รักษา
ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่นรักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยาเช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).

รักษ์, รักษา
ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่นรักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยาเช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).

รักษาการ
ก. ปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว เช่น รองอธิบดีรักษาการแทนอธิบดี.

รักษาการณ์
ก. เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา.ว. ที่เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ทหารรักษาการณ์ ยามรักษาการณ์.

รักษาคำพูด
ก. ทำตามถ้อยคำที่พูดให้สัญญาไว้.

รักษาตัว
ก. ระวังตัวไม่ให้เป็นอันตราย, รักษาเนื้อรักษาตัว ก็ว่า.

รักษาประตู
ก. คุมอยู่หน้าประตูในการเล่นฟุตบอลคอยป้องกันไม่ให้ลูกฟุตบอลเข้าไป.

รักษายี่ห้อ
(ปาก) ก. ระวังไม่ให้เสียชื่อเสียง.

รักษาศีล
ก. ระวังรักษาตนไม่ให้ประพฤติผิดศีล.

รักษาสถานการณ์
ก. ควบคุมและดูแลให้อยู่ในภาวะปรกติ.

รักษาหน้า
ก. ระวังไม่ยอมให้ต้องอับอายขายหน้า.

รักษาเหลี่ยม
ก. ระวังไม่ให้เสียชั้นเชิง, ระวังไม่ให้ถูกลบเหลี่ยม.

รัง ๑
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea siamensis Miq. ในวงศ์Dipterocarpaceae เนื้อไม้แข็ง ใช้ในการก่อสร้าง.

รัง ๒
น. สิ่งซึ่งสัตว์พวกนก หนู และแมลงเป็นต้นทําขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยกําบังและฟักไข่เลี้ยงลูก,โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รังโจร รังรัก.

รังกล้วยไม้
น. ที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนมาก.

รังกา
น. ที่สําหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์บนยอดเสากระโดงเรือมักทําเป็นแป้นกลมมีรั้วล้อมรอบ.

รังไข่
น. อวัยวะภายในร่างกายของผู้หญิงและสัตว์ตัวเมีย เป็นที่เกิดไข่.

รังงอบ
น. ส่วนของงอบตรงที่สวมหัว สานเป็นตาโปร่ง ๆ ด้วยไม้ไผ่ที่ซอยเป็นเส้นกลมเล็ก ๆ.

รังดุม
น. ช่องที่เจาะสําหรับขัดลูกดุม.

รังแตน ๑
น. ลายที่มีรูปลักษณะคล้ายดาวจงกลหรือดอกบัวแย้ม เรียกว่าลายดาวรังแตน ใช้ประดับเพดานหรือประตู; เรียกแหวนที่หัวมีทรงคล้ายรูปดอกบัวแย้มว่า แหวนรังแตน.

รังแตน ๒
น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายนางเล็ดแต่ไม่โรยนํ้าตาลเคี่ยวทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง ทอดนํ้ามันให้พองมีรสเค็ม ๆ หวาน ๆ, ข้าวแตน ก็เรียก.

รังนก ๑
น. รังของนกอีแอ่นชนิดหนึ่ง เมื่อแช่นํ้ามีลักษณะคล้ายวุ้น กินได้.

รังนก ๒
น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้มันเทศหรือเผือกหั่นเป็นเส้นฝอย ๆทอดสุกแล้วคลุกนํ้าตาลเคี่ยว จัดเป็นกอง ๆ ให้คล้ายรังนก.

รังบวบ
น. ส่วนในของบวบที่แก่จนแห้ง.

รังปืนกล
น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป.

รังผึ้ง
น. รังที่ผึ้งทําสําหรับอยู่อาศัยและทํานํ้าผึ้ง, รังที่คนทําให้ผึ้งอาศัยทํารวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสําหรับระบายความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น,ตะกรับ ก็ว่า.

รังเพลิง
น. ส่วนท้ายของลํากล้องปืนเป็นที่บรรจุลูกปืนในตําแหน่งพร้อมที่จะจุดชนวน.

รังมด
น. เรียกผ้าขาวที่หุ้มซี่คํ้าฉัตรโดยรอบ รูปทรงกรวย (ใช้เฉพาะนพปฎลเศวตฉัตร).

รัง ๓
ก. แต่ง, สร้าง, ตั้ง.

รังรักษ์
ก. สร้าง; คุ้มครอง.

รังเรข
[–เรก] ว. มีลวดลาย, งดงาม.

รังแรก
ว. แรกตั้ง, ก่อน, แรกเริ่ม, เป็นเอก.

รังสรรค์
ก. สร้าง, แต่งตั้ง.

รังสรัง
[–สัง] ก. ตั้งหน้าวิ่ง, ออกวิ่ง.

รังสฤษฏ์
[–สะหฺริด] ก. สร้าง, แต่งตั้ง.

รั้ง
ก. หน่วงเหนี่ยวไว้ เช่น รั้งตัวไว้ก่อน, เหนี่ยว เช่น แขนเสื้อรั้ง, ชักมา,ใช้กําลังเต็มที่เพื่อให้สิ่งที่มีแรงต้านทานเคลื่อนเข้ามาหรือหยุดอยู่ เช่นรั้งวัวรั้งควาย; ระวัง, เฝ้า, รักษา, ครอง เช่น รั้งเมือง.

รั้งรอ
ก. รอคอย, หยุดคอย, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น โดยไม่รั้งรอ.

รังกับ
ดู ฉก ๒.

รังเกียจ
ก. เกลียดเพราะรู้สึกขยะแขยงหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.

รังเกียจเดียดฉันท์
ก. ลำเอียงด้วยความรังเกียจ.

รังเกียจรังงอน
> ก. ตั้งแง่ตั้งงอนทำเป็นรังเกียจเพราะไม่ชอบใจ.

รังแก
ก. แกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่นผู้ใหญ่รังแกเด็ก.

รังไก่
ดู ฉก ๒.

รังค์
น. รงค์. (ป., ส.).

รังควาน
ก. รบกวนทําให้รําคาญหรือเดือดร้อน เช่น คนพาลชอบรังควานคนอื่น.น. ผีที่ประจําช้างป่า, ผีตายร้ายที่สิงอยู่ในกายคนได้.

รังคัดรังแค, รังแครังคัด
ก. ตั้งข้อรังเกียจ เช่น ต่างฝ่ายต่างก็คอยแต่จะรังคัดรังแคกัน ลูกคนละแม่มักจะรังแครังคัดกัน.

รังคัดรังแค, รังแครังคัด
ก. ตั้งข้อรังเกียจ เช่น ต่างฝ่ายต่างก็คอยแต่จะรังคัดรังแคกัน ลูกคนละแม่มักจะรังแครังคัดกัน.

รังแค
น. ขุยหนังหัว มีลักษณะเป็นผง ๆ สีขาว, ขี้รังแค หรือ ขี้ลม ก็ว่า.

รังแต่
สัน. มีแต่, ล้วนแต่, เป็นที่, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น รังแต่คนจะนินทารังแต่เขาจะหัวเราะเยาะ.

รังนาน
น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, รางนาน ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).

รังรอง
ว. สุกใส, งดงาม, รุ่งเรือง, รงรอง ก็ว่า.

รังวัด
ก. สํารวจพื้นที่กว้างยาว, วัดที่ดิน; (กฎ) วัดปักเขตและทําเขต จดหรือคํานวณเนื้อที่เพื่อให้ทราบที่ตั้งแนวเขตที่ดิน หรือทราบที่ตั้งและเนื้อที่ของที่ดิน.

รังสิ, รังสี
น. แสง, แสงสว่าง. (ป. รํสิ; ส. รศฺมี).

รังสิ, รังสี
น. แสง, แสงสว่าง. (ป. รํสิ; ส. รศฺมี).

รังสีแกมมา
ดู แกมมา.

รังสีความร้อน
น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสีอินฟราเรด ก็เรียก.

รังสีคอสมิก
น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงยิ่ง มีช่วงคลื่นสั้นยิ่งกว่ารังสีแกมมามากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตอนประมาณร้อยละ ๙๐ และพบอิเล็กตรอน อนุภาคแอลฟาด้วยเกิดมาจากอวกาศนอกโลกพุ่งมาสู่โลก ยังไม่ทราบแหล่งกําเนิดแน่นอน. (อ. cosmic rays).

รังสีบีตา
ดู บีตา.

รังสีแพทย์
น. แพทย์ที่วิเคราะห์และรักษาโรคโดยใช้ความรู้ทางรังสีวิทยา.

รังสีเรินต์เกน
ดู รังสีเอกซ์.

รังสีวิทยา
น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยรังสีเอกซ์และกัมมันตภาพรังสีรวมทั้งการใช้รังสีวิเคราะห์และรักษาโรค. (อ. radiology).

รังสีเหนือม่วง
น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐–๙ เมตร แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗–ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล(7–dehydro–choles–terol) ในผิวหนังมนุษย์ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสีอัลตราไวโอเลต ก็เรียก.

รังสีเอกซ์
น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นอยู่ประมาณระหว่าง ๕ x ๑๐–๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐–๑๒ เมตร ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ เอกซเรย์ ก็เรียก;เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้รังสีเอกซ์ว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์,เรียกการรักษาโรคมะเร็งและโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้รังสีเอกซ์ที่มีช่วงคลื่นสั้นกว่าที่ใช้ถ่ายภาพว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง.

รังสีแอลฟา
ดู แอลฟา.

รังสิมันตุ์
(แบบ) น. 'ผู้มีแสงสว่าง' คือพระอาทิตย์, ใช้ รังสิมา ก็ได้. (ป. รํสิมนฺตุ;ส. รศฺมิมตฺ).

รังสิมา
(แบบ) น. รังสิมันตุ์. (ป. รํสิมา; ส. รศฺมิมตฺ).

รังหยาว
ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนังทํารังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.

รัจฉา
น. ทางเดิน. (ป.; ส. รถฺยา).

รัช ๑
น. ธุลี, ฝุ่น, ผง, ละออง. (ป. รช).

รัช ๒, รัช–
[รัดชะ–] น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).

รัช ๒, รัช–
[รัดชะ–] น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).

รัชกาล
น. เวลาที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ๆ,โดยอนุโลมใช้หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลนั้น ๆ เช่นรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น.

รัชชูปการ
น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.

รัชทายาท
น. ผู้จะสืบราชสมบัติ.

รัชมังคลาภิเษก
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ.

รัชกะ
น. รชกะ, คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).

รัชชุ
[รัด–] น. สาย, เชือก. (ป., ส.).

รัชชูปการ
[–ปะ–] ดู รัช ๒, รัช–.

รัชฎาภิเษก
[รัดชะ–] (โบ) น. รัชดาภิเษก.

รัชด–, รัชต–
[รัดชะ–] น. รชตะ, เงิน. (ส., ป. รชต).

รัชด–, รัชต–
[รัดชะ–] น. รชตะ, เงิน. (ส., ป. รชต).

รัชดาภิเษก
น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชสมบัติได้ ๒๕ พรรษา.

รัชดาภิเษก
ดู รัชด–, รัชต–.

รัชนะ
[รัดชะ–] น. การย้อม. (ป., ส. รชน).

รัชนี
[รัดชะ–] น. กลางคืน, เวลามืด. (ป., ส. รชนี).

รัชนีกร
น. พระจันทร์. (ป., ส.).

รัญจวน
ก. ปั่นป่วนใจ เช่น กลิ่นหอมรัญจวนใจ, สะเทือนใจด้วยความกระสันถึง.(เทียบ ข. รํชวล).

รัฏฐาภิปาลโนบาย
น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.

รัฐ, รัฐ–
[รัด, รัดถะ–] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร).

รัฐ, รัฐ–
[รัด, รัดถะ–] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร).

รัฐทูต
[รัดถะทูด] น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจําสํานักประมุขของอีกรัฐหนึ่งเพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูตมีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต.

รัฐธรรมนูญ
[รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐเดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กรการใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).

รัฐบาล
[รัดถะบาน] น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อํานาจบริหารในการปกครองประเทศ.

รัฐบุรุษ
[รัดถะบุหฺรุด] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง.

รัฐประศาสน์
[รัดถะปฺระสาด] น. การปกครองบ้านเมือง.

รัฐประศาสนนัย, รัฐประศาสโนบาย
[รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระสาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.

รัฐประศาสนนัย, รัฐประศาสโนบาย
[รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระสาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.

รัฐประศาสนศาสตร์
[รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหารและการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด.

รัฐประหาร
[รัดถะปฺระหาน, รัดปฺระหาน] น. การใช้กําลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน, (กฎ) การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล.

รัฐพิธี
น. งานที่จัดขึ้นโดยรัฐเป็นธรรมเนียม เช่น รัฐพิธีพืชมงคล.

รัฐมนตรี
[รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการและรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.

รัฐวิสาหกิจ
[รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนหรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.

รัฐศาสตร์
[รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.

รัฐสภา
[รัดถะสะพา] น. องค์กรนิติบัญญัติ ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร.

รัด
ก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ,ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทําให้ฝีรัด.

รัดกุม
ว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สํานวนรัดกุม.

รัดเกล้า
น. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสํานักแต่โบราณและประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สําหรับกษัตรีและรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลวสําหรับพระสนม.

รัดเข็มขัด
(ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนต้องรัดเข็มขัด.

รัดเครื่อง
ก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.

รัดช้อง
น. เครื่องประดับสําหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอยใช้ประกอบกับรัดเกล้า.

รัดตัว
ก. ทําให้ไม่คล่องตัว, ทําให้กระดิกกระเดี้ยไปไหนแทบไม่ได้,เช่น การเงินรัดตัว งานรัดตัว.

รัดทึบ
น. สายผูกอานล่ามรอบอกม้า มักทําด้วยผ้า.

รัดประคด
น. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสําหรับรัดเอวของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก,ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.

รัดประคน
น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัวถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กูบมิให้โยกเลื่อน.

รัดพัสตร์
น. ผ้าคาด, เข็มขัด.

รัดรึง
ก. กอดแน่น, ผูกแน่น, เช่น ความรักรัดรึงใจ.

รัดรูป
ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป;เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทําให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป,คู่กับ ขวดส่งรูปซึ่งทําให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.

รัต ๑
ก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า.(ป., ส. รต).

รัต ๒, รัต–
น. ราตรี, กลางคืน, มักใช้ประกอบท้ายคํา เช่น ทีฆรัต ว่า ราตรียาว คือเวลานาน. ว. ย้อมสี, มีสีแดง; กําหนัด, รักใคร่. (ป. รตฺต; ส. รกฺต).

รัต ๒, รัต–
น. ราตรี, กลางคืน, มักใช้ประกอบท้ายคํา เช่น ทีฆรัต ว่า ราตรียาว คือเวลานาน. ว. ย้อมสี, มีสีแดง; กําหนัด, รักใคร่. (ป. รตฺต; ส. รกฺต).

รัตกัมพล
น. ผ้าส่านแดง. (ป. รตฺตกมฺพล; ส. รกฺตกมฺพล).

รัตมณี
น. ทับทิม. (ป. รตฺตมณิ).

รัตคน
[รัดตะ–] น. รัดประคน.

รัตจันทน์
[รัดตะจัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์Leguminosae แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทํายา. (ป. รตฺตจนฺทน).

รัตตัญญู
[รัดตันยู] น. ผู้รู้กาลนาน, ผู้มีอายุมาก จํากิจการต่าง ๆ ได้มาก. (ป.).

รัตติ
น. กลางคืน. (ป.; ส. ราตฺริ).

รัตติกาล
น. เวลากลางคืน. (ป.).

รัตน–, รัตน์, รัตนะ
[รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือนางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ–จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ–มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗.ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่นรัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆเช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

รัตน–, รัตน์, รัตนะ
[รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือนางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ–จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ–มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗.ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่นรัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆเช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

รัตน–, รัตน์, รัตนะ
[รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือนางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ–จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ–มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗.ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่นรัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆเช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

รัตนโกสินทร์
น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่ากรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึงกรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.

รัตนโกสินทรศก
[รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับรัตนโกสินทรศก).

รัตนชาติ
น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต,หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทนหายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.

รัตนตรัย
น. แก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน คือ พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์. (ส.).

รัตนบัลลังก์
น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ก็ว่า.

รัตนวราภรณ์
น. ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์.

รัตนสิงหาสน์
น. ที่ตรงพระบัญชรหรือมุขเด็จซึ่งเสด็จออก.

รัตนา
[รัดตะนา] (กลอน) น. แก้ว.

รัตนากร
น. คลังเงินทอง; ทะเล. (ส.).

รัตนาภรณ์
น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณมี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.

รัตนาวลี
น. สร้อยคอที่ทําด้วยเพชรพลอย. (ส.).

รัตนา
ดู รัตน–, รัตน์, รัตนะ.

รัตนากร
ดู รัตน–, รัตน์, รัตนะ.

รัตนาภรณ์
ดู รัตน–, รัตน์, รัตนะ.

รัตนาวลี
ดู รัตน–, รัตน์, รัตนะ.

รัตมา
[รัดตะ–] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Parkinsonia aculeata L. ในวงศ์Leguminosae กิ่งห้อยย้อยมีหนามแหลม ใบเล็กมาก ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ.

รัถ
น. รถ.

รัถยา
[รัดถะยา] น. ทางเดิน. (ส. รถฺยา; ป. รจฺฉา).

รัทเทอร์ฟอร์เดียม
น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหภาพโซเวียตเรียกชื่อธาตุนี้ว่าเคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku. (อ. rutherfordium).

รัน
ก. ตี เช่น อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้, มักใช้ว่า ตีรันฟันแทง.

รั้น
ก. ร่นเข้าไป, ท้นเข้าไป, เช่น จมูกรั้น. ว. ดื้อดันทุรัง เช่น เด็กคนนี้รั้นจริง.

รันชนรันแชง
(กลอน) ก. กระทบกระทั่งเกิดปั่นป่วนอย่างคลื่นซัดหรือลมพัด.(ข. ร?ฺชํร?ฺแชง).

รันทด
ก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.

รันทวย
ก. ระทวย.

รันทำ
ก. ยํ่ายี, เบียดเบียน.

รันแทะ
น. ระแทะ, กระแทะ ก็เรียก.

รันธะ
(แบบ) น. ช่อง, ปล่อง; ความผิด, ความบกพร่อง. (ป.; ส. รนฺธฺร).

รับ
ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตามเช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม,เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.

รับกินรับใช้
ก. ทำหน้าที่รับว่าจะจ่ายเงินและกินเงินของผู้เล่นการพนันแทนเจ้ามือ.

รับขวัญ
ก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรีผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.

รับแขก
ก. ต้อนรับผู้มาหา, โดยปริยายเรียกบุคคลที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ว่า หน้าตารับแขก.

รับคำ
ก. ให้สัญญา, ไม่ปฏิเสธ, ตอบตกลง, เช่น ลูกจ้างรับคำนายจ้าง,บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำรับปาก เป็น รับปากรับคำ.

รับคืน
ก. รับเอาสิ่งของที่ซื้อไปคืน โดยคืนเงินให้หรือแลกเปลี่ยนกับของอื่นในราคาตามแต่จะตกลงกัน.

รับเคราะห์
ก. รับเอาเคราะห์ร้ายของผู้อื่นมาเป็นของตนจะโดยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ลูกน้องรับเคราะห์แทนเจ้านาย.

รับงาน
ก. รับจ้างทำงานต่าง ๆ เช่น รับงานก่อสร้าง, รับจ้างแสดงการละเล่น เช่น รับงานแสดงดนตรี.

รับจ้าง
ก. รับทำงานเพื่อค่าจ้าง เช่น รับจ้างทำงานบ้าน. ว. ที่รับทำงานเพื่อค่าจ้าง เช่น ทหารรับจ้าง มือปืนรับจ้าง.

รับช่วง
ก. รับทอดต่อเนื่องกันไป เช่น รับช่วงงานที่คนเก่าทำค้างไว้น้องรับช่วงหนังสือเรียนจากพี่.

รับใช้
ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วยความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายหรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.

รับใช้ชาติ, รับใช้ประเทศชาติ
ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ.

รับใช้ชาติ, รับใช้ประเทศชาติ
ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ.

รับซื้อ
ก. ตกลงซื้อ เช่น รัฐบาลรับซื้อข้าวจากชาวนา.

รับซื้อของโจร
ก. ซื้อสิ่งของที่ถูกโจรกรรมมา.

รับเซ้ง
(ปาก) ก. รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน.

รับทราบ
ก. รับว่ารู้แล้ว.

รับทุน
ก. รับเงินอุดหนุน เช่น รับทุนการศึกษา.

รับโทรศัพท์
ก. รับการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์.

รับบาป
ก. รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น, รับความผิดหรือโทษทัณฑ์แทนผู้ที่ทำความผิด.

รับประกัน
ก. ยืนยัน เช่น รับประกันว่าเขาเป็นคนซื่อ, รับรอง, รับใช้ค่าเสียหาย, เช่น รับประกันคุณภาพ รับประกันซ่อมฟรี; (กฎ) รับรองว่าจะรับผิดแทนลูกหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา.

รับประทาน
ก. กิน เช่น รับประทานอาหาร; (ราชา) รับของจากเจ้านาย เช่นรับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระสังฆราช รับประทานประกาศนียบัตรจากพระองค์เจ้า.

รับปาก
ก. รับคำ เช่น เขารับปากว่าจะมารับ แต่ก็ไม่มา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับคำ เป็น รับปากรับคำ.

รับผิด
ก. ยอมรับว่าทำผิด; (กฎ) มีหน้าที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชําระหนี้หรือกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.

รับผิดชอบ
ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน,รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง.

รับพระเคราะห์
(โหร) ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์.

รับฟ้อง
ก. รับว่ามีหลักฐานฟ้องได้ (ใช้แก่ศาล) เช่น ศาลประทับรับฟ้อง.

รับฟัง
ก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา.

รับฟังได้
ก. รับว่ามีเหตุผลน่าเชื่อถือ, รับว่ามีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้,เช่น เหตุผลที่อ้างมานั้นรับฟังได้.

รับมือ
ก. ต่อต้าน, กําราบ, เช่น ส่งกองทหารไปรับมือข้าศึกที่ชายแดน.

รับรอง
ก. รับประกัน เช่น รับรองว่าเป็นของแท้; ต้อนรับ เช่น รับรองแขกเมือง.

รับรัก
ก. ตอบรับความรัก, ไม่ปฏิเสธความรัก.

รับราชการ
ก. เข้าทำงานของรัฐบาลหรือของพระเจ้าแผ่นดิน.

รับรู้
ก. ยืนยันว่ารู้, รับว่ารู้; รับผิดชอบ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ลูกไปทำผิด พ่อแม่จะไม่รับรู้ได้อย่างไร.

รับเวร
ก. เข้ารอบผลัดกันรับหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.

รับศีล
ก. ถือศีล, สมาทานศีล.

รับสนองพระบรมราชโองการ
ก. ลงนามที่จะปฏิบัติตามพระบรมราชโองการเพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ.

รับสมอ้าง
ก. รับแทนผู้อื่น เช่น เขารับสมอ้างว่าเป็นเจ้าของบ่อน.

รับสมัคร
ก. รับผู้ที่มาสมัครเข้าเรียน เข้าสอบ หรือเข้าทำงาน เป็นต้น.

รับสั่ง
(ราชา) น. คําสั่ง (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า. ก. พูด,บอก, (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น ท่านรับสั่งให้หา.

รับสัมผัส
ก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.

รับเสด็จพระราชดำเนิน
(ราชา) ก. รับการเสด็จพระราชดำเนิน, ในการเขียนใช้ รับเสด็จพระราชดำเนิน หรือ รับเสด็จฯ ก็ได้.

รับหน้า
ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.

รับหน้าเสื่อ
ก. ทำหน้าที่เป็นหัวเบี้ย เช่นในการเล่นถั่วโปซึ่งสมัยก่อนมักปูเสื่อลำแพนเล่นกัน.

รับหมั้น
ก. รับสิ่งของที่ฝ่ายชายนำมามอบให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.

รับเหมา
ก. รับจ้างทำกิจการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนสำเร็จตามข้อตกลงเช่น รับเหมาก่อสร้างรับเหมาทาสี, โดยปริยายหมายความว่า รับทำงานหลายรายการหรือรายการเดียวแต่มีจำนวนมากเพียงผู้เดียว เช่น เขารับเหมางานพิสูจน์อักษรทั้งหมด.

รับไหว้
ก. ไหว้ตอบ, รับความเคารพคู่บ่าวสาวด้วยการให้ของตอบแทนหรือให้ศีลให้พร.

รัมก–
[รํามะกะ–] น. เดือน ๕. (ป. รมฺมก; ส. รมฺยก).

รัมณีย–
[รํามะนียะ–] ว. รมณีย์. (ป. รมณีย).

รัมภา
น. นางฟ้า; กล้วย. (ป., ส.).

รัมมี่
น. การเล่นไพ่อย่างหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก ผู้เล่นต้องพยายามผสมไพ่ในมือเป็นชุด ๆ ชุดละ ๓ ใบขึ้นไป แต่ละชุดจะจัดเรียงแบบตองหรือตามหมายเลขก็ได้ ผู้จัดชุดได้หมดทั้งมือก่อนเป็นผู้ชนะในรอบนั้น.(อ. rummy).

รัมย์
ว. รมย์. (ส.; ป. รมฺม).

รัย
ว. รยะ, เร็ว, ไว. (ป., ส. รย).

รัว ๑
น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ใช้ในโอกาสเช่นร่ายเวทมนตร์คาถาแปลงกายหรือเนรมิตตัว.

รัว ๒, รัว ๆ
ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลองรัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว.ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพรัว ๆ เห็นรัว ๆ.

รัว ๒, รัว ๆ
ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลองรัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว.ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพรัว ๆ เห็นรัว ๆ.

รั่ว ๑
ก. อาการที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นไหลเข้าหรือออกทางรอยแตกหรือรูที่เกิดจากความชํารุด เช่น นํ้ารั่ว ฝนรั่ว. ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่งเกิดจากความชํารุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่วท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้นเช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.

รั่วไหล
ก. แพร่งพรายออกไป เช่น ความลับรั่วไหล; ถูกเบียดบังเอาไปเช่น การเงินของบริษัทรั่วไหล.

รั่ว ๒
ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.

รั้ว
น. เครื่องล้อมกันเป็นเขตของบ้านเป็นต้น มักทำด้วยเรียวไผ่ ต้นไม้ขนาดเล็กหรือสังกะสี เช่น รั้วมะขามเทศ รั้วสังกะสี, โดยปริยายเรียกทหารซึ่งทำหน้าที่เป็นกำลังป้องกันชาติว่า รั้วของชาติ.

รั้วไก่
น. แผงราชวัติที่เป็นตาสี่เหลี่ยมสําหรับกันโรงพิธี, รั้วก่าย ก็ว่า.

รัศมิมัต
ว. มีรัศมี, ใช้ รัศมิมาน ก็ได้. (ส.; ป. รํสิมนฺตุ, รํสิมา).

รัศมิมาน
ว. มีรัศมี. (ส.).

รัศมี
น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง; เส้นที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปถึงเส้นรอบวง. (ส.; ป. รํสิ).

รัษฎากร
[รัดสะ–] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความว่า อากรของประเทศ).

รัส–, รัสสะ
[รัดสะ–] ว. สั้น. (ป.).

รัส–, รัสสะ
[รัดสะ–] ว. สั้น. (ป.).

รัสสระ
[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ,ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะแอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).

รัสเซีย
น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย.

รา ๑
น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่างรอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่าราคอเสา.

รา ๒
น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริงส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ร่วมกับพืชอื่นก็มี.

รา ๓
ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง.(กลอน) ว. คําชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทําตาม เช่น ไปเถิดรา.

ราข้อ
ก. เลิกกันไปเอง เช่น ชกกันเหนื่อยก็ราข้อไปเอง.

ราแจว, ราพาย
ก. เอาแจวหรือพายแตะน้ำเรียด ๆ เพื่อชะลอเรือไว้.

ราแจว, ราพาย
ก. เอาแจวหรือพายแตะน้ำเรียด ๆ เพื่อชะลอเรือไว้.

ราน้ำ
ก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.

ราปีก
ก. หยุดขยับปีกร่อนไป (ใช้แก่นก).

ราไฟ
ก. ทำให้ไฟอ่อนลงโดยคีบถ่านหรือชักฟืนออกเสียบ้าง, ราฟืนราไฟ ก็ว่า.

รามือ
ก. ทำงานน้อยลง.

ราเริด
ก. เลิกร้างไป.

ราแรม
ก. แรมร้างไป.

รา ๔
(กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้างขุนแผน).

ร่า
ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิดเต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่าหน้าต่างเปิดร่า.

ร่าเริง
ว. สนุกสนาน, เบิกบานใจ, ยิ้มแย้มแจ่มใส.

ร้า ๑
น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง รูปคล้ายนกยาง, มักเรียกกันว่า อีร้า. (พจน. ๒๔๙๓).

ร้า ๒
น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งทําด้วยปลาหมักเกลือ เรียกว่า ปลาร้า; เรียกหญิงที่จัดจ้านว่า แม่ร้า.

ร้า ๓
(กลอน) ก. รา, วางมือ, เช่น ใช่จักร้าโดยง่าย. (นิทราชาคริต).

ร้า ๔
(กลอน) ก. ร่า, ร่าเริง, เช่น ชาวที่ร้าเปิดทวาร. (นิทราชาคริต).

ร้า ๕
(กลอน) ก. ดึง, ทึ้ง, เช่น เขาก็ร้าตัวเข้ากรง. (นิทราชาคริต); รบ.

ราก ๑
น. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น,โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากผม รากฟัน;เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก;ต้นเดิม, เค้าเดิม, เช่น รากศัพท์.

รากแก้ว
น. รากเดิม, รากที่เป็นหลักหยั่งลึกลงไปในดินของต้นไม้บางชนิด.

รากขวัญ
(ราชา) น. ไหปลาร้า เรียกว่า พระรากขวัญ.

รากแขวน
น. รากที่แตกออกจากโคนต้นมะพร้าวหรือตาลเป็นต้นเฉพาะรากที่ปลายยังไม่ถึงดิน.

รากค้ำ
น. รากของพืชบางชนิด เช่น โกงกาง ข้าวโพด เตย ที่งอกออกมาเพื่อค้ำพยุงลำต้น.

รากฐาน
น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับสำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็นรากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.

รากดิน
น. ไส้เดือน.

รากฝอย
น. รากที่เป็นเส้นเล็ก ๆ แตกออกจากรากแก้ว.

รากฟัน
น. ส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกที่เป็นเบ้าของฟัน.

รากศัพท์
น. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้นเรียกว่า ธาตุเช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.

รากเหง้า
น. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง; เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า.

รากอากาศ
น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่นกล้วยไม้ ไทร.

ราก ๒
ก. อาเจียน, อ้วก, สํารอกออกทางปาก. น. อาการที่สํารอกออกมาทางปาก.

รากเลือด
ก. อาเจียนเป็นเลือด.

รากกล้วย
น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennockiในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่งใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดีไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธารบนภูเขาและที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร,ผึ้ง น้ำผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.

รากษส
[รากสด] น. ยักษ์ร้าย, ผีเสื้อนํ้า, ชื่อพวกอสูรชั้นต่ำ มีนิสัยดุร้าย ในคัมภีร์โลกทีปกสารว่า เป็นบริวารของพญายม, ในคัมภีร์โลกบัญญัติว่า เป็นบริวารของพระวรุณ, ใช้ รากโษส ก็มี. (ส.; ป. รกฺขส).

รากโษส
น. รากษส.

รากสาด
น. กลุ่มโรคที่มีอาการไข้สูงนานเป็นสัปดาห์ มีผื่นขึ้น แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดใหญ่.

รากสาดน้อย
น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูงปวดศีรษะ ซึมและทําให้ลําไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลําไส้จะทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ,เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกันแต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิดจากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.แต่มักจะรุนแรงกว่ามีหลายชนิด ชนิดที่เป็นโรคระบาดเกิดจากเชื้อRickettsia prowaseki, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่าไข้รากสาดใหญ่.

รากสาดใหญ่
น. โรคติดเชื้อ Rickettsia มีอาการคล้ายไข้รากสาดน้อย

รากสามสิบ
น. ชื่อไม้เถาชนิด Asparagus racemosus Willd. ในวงศ์ Asparagaceaeเถามีหนาม ใบลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งเรียวรูปเข็ม รากอวบใช้ทํายาและแช่อิ่มได้, พายัพเรียก จ๋วงเครือ หรือ จั่นดิน.

ราค–, ราคะ
น. ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).

ราค–, ราคะ
น. ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).

ราคจริต
น. แนวโน้มไปในทางกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ, ความมีใจเอนเอียงไปในทางรักสวยรักงาม.

ราคา
น. มูลค่าของสิ่งของที่คิดเป็นเงินตรา; จํานวนเงินซึ่งได้มีการชําระหรือตกลงจะชําระในการซื้อขายทรัพย์สิน, โดยปริยายหมายความว่า ค่า,คุณค่า, มักใช้ในความปฏิเสธเช่น เขาทำตัวเป็นคนไม่มีราคา.

ราคาตลาด
(กฎ) น. ราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งและในขณะใดขณะหนึ่ง, ราคาท้องตลาด ก็เรียก.

ราคิน
น. ราคี. (ส.).

ราคี ๑
น. ผู้มีความกําหนัด. (ป., ส.).

ราคี ๒
น. ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).

ราง ๑
น. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่นรางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐เหรียญหรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.

รางบดยา
น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่างคล้ายรางระนาดแต่ก้นสอบ มีลูกบด.

รางบรรทัด
น. เครื่องตีเส้นบรรทัดบนใบลาน.

รางปืน
น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภทประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณเป็นต้น.

ราง ๒
ก. คั่วข้าวเม่าให้กรอบ, เรียกข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบว่า ข้าวเม่าราง.

ราง ๓, ราง ๆ
ว. ไม่กระจ่าง, ไม่ชัดเจน, เช่น เห็นราง ๆ ภาพราง ๆ.

ราง ๓, ราง ๆ
ว. ไม่กระจ่าง, ไม่ชัดเจน, เช่น เห็นราง ๆ ภาพราง ๆ.

ร่าง
น. รูปทรง, โครง, ตัว, เช่น เอวบางร่างน้อย ร่างเล็ก ร่างล่ำสัน. ก. ทํารูปโครงขึ้นเพื่อลอก คัด หรือแต่งเป็นต้นในภายหลัง เช่น ร่างพระราชบัญญัติร่างภาพ. ว. ที่ทำรูปโครงขึ้นเพื่อลอก คัด หรือแต่งเป็นต้นในภายหลังเช่น ฉบับร่าง ต้นร่าง ภาพร่าง โครงร่าง.

ร่างกาย
น. ตัวตน.

ร่างร้าน
น. โครงร่างที่ทําด้วยไม้หรือโลหะ สําหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, นั่งร้าน ก็ว่า.

ร่างแห
น. สิ่งที่ถักด้วยด้ายเป็นต้น เป็นตาข่ายสําหรับจับปลา, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร่างแหคลุมผม กระเป๋าร่างแห.

ร้าง
ก. จากไปชั่วคราว เช่น นิราศร้างห่างเหเสน่หา, แยกกันอยู่แต่ยังไม่หย่าขาดจากกัน เช่น ผัวเมียร้างกัน. ว. ที่ถูกทอดทิ้ง เช่น พ่อร้าง แม่ร้าง,ว่างเปล่า, ปราศจากผู้คน, เช่น บ้านร้าง เมืองร้าง.

ร้างรา
ก. ค่อย ๆ เลิกร้างกันไปเอง เช่น ผัวเมียร้างรากัน.

รางจืด
น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia laurifolia Lindl. ในวงศ์ Acanthaceaeดอกสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อห้อย ใช้ทํายาได้, ยาเขียว ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้พุ่มชนิด Crotalariabracteata Roxb.,ไม้ล้มลุกชนิด C. shanica Lace และไม้เถาชนิดMillettia kityana Craib.

รางชาง
ว. งาม, สวย, เด่น.

รางดำ
น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).

รางแดง
น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Ventilago denticulata Willd. ในวงศ์Rhamnaceae ใช้ทํายาได้, เถาวัลย์เหล็ก ก็เรียก.

รางนาน
น. นกรังนาน.

รางวัล
น. สิ่งของหรือเงินที่ได้มาเพราะความดีความชอบหรือความสามารถ เช่นรางวัลผู้มีมารยาทงามรางวัลสังข์เงิน รางวัลตุ๊กตาทอง หรือเพราะชนะในการแข่งขันเช่น รางวัลชนะเลิศในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กรางวัลชนะเลิศฟุตบอล หรือเพราะโชค เช่นถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑; (กฎ) เงินตราที่จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทําความผิด;ค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้ซึ่งกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จตามที่บ่งไว้.ก. ให้สิ่งของโดยความชอบหรือเพื่อเป็นสินนํ้าใจเป็นต้น.

ร่างแห ๑
ดูใน ร่าง.

ร่างแห ๒
น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Dictyophora วงศ์ Phallaceae ชอบขึ้นบนพื้นดินเป็นดอกเดี่ยว ลําต้นเป็นรูพรุนคล้ายฟองนํ้าและมีร่างแหคลุมก้านดอก โคนมีกระเปาะหุ้ม เช่น เห็ดร่างแหยาวสีขาว [D. indusiata(Pers.) Fisch.] มีกลิ่นเหม็น.

ราช ๑, ราช–
[ราด, ราดชะ–] น. พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือพญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา. (ป., ส.).

ราช ๑, ราช–
[ราด, ราดชะ–] น. พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือพญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา. (ป., ส.).

ราชกรณียกิจ
น. หน้าที่ที่พระราชาพึงกระทำ ใช้ว่า พระราชกรณียกิจ.

ราชการ
น. การงานของรัฐบาลหรือของพระเจ้าแผ่นดิน.

ราชกิจ
น. ธุระของพระราชา ใช้ว่า พระราชกิจ.

ราชกิจจานุเบกษา
น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท.

ราชครู
น. พราหมณ์ผู้รับราชการเป็นหัวหน้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ เรียกว่าพระราชครู เช่น พระราชครูวามเทพมุนี. (ส. ราชคุรุ).

ราชฐาน
น. ที่อยู่ประจำของพระเจ้าแผ่นดิน ใช้ว่า พระราชฐาน เช่นเขตพระราชฐาน แปรพระราชฐาน.

ราชทัณฑ์
น. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์,เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุมอบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติและขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษเป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).

ราชทินนาม
[ราดชะทินนะนาม] น. ชื่อบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน.

ราชทูต
น. ผู้นําพระราชสาส์นไปประเทศอื่น, ผู้แทนชาติในประเทศอื่น,ตําแหน่งผู้แทนรัฐถัดจากอัครราชทูต. (ป.).

ราชโทรหะ
[–โทฺร–] น. การทรยศต่อแผ่นดิน. (ส.).

ราชธรรม
น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ–การบริจาค,ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน๖. ตปะ–ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

ราชธานี
น. เมืองหลวง.

ราชนาวี
[ราดชะนาวี] น. กองทัพเรือของประเทศที่มีพระราชาหรือพระราชินีเป็นประมุข เช่น ราชนาวีไทย ราชนาวีอังกฤษ.

ราชนิกุล
น. ตระกูลฝ่ายพระมหากษัตริย์.

ราชนีติ
น. หลักการปกครองของพระราชา, หลักการปกครองบ้านเมือง.(ป.; ส.).

ราชบัณฑิต
[–บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี;สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัลลังก์
น. บัลลังก์ของพระมหากษัตริย์; ความเป็นพระมหากษัตริย์เช่น สละราชบัลลังก์.

ราชบาตร
น. คําสั่งหลวง.

ราชบุตร
น. ตําแหน่งเจ้านายฝ่ายเหนือ เรียกว่า เจ้าราชบุตร.

ราชบุรุษ
น. คนของพระราชา; (โบ) ตําแหน่งราชการชั้นต้นตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร.

ราชปะแตน
[ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัดตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตนมาจากคําบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).

ราชภัฏ
น. ข้าราชการ.

ราชมัล
น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทําโทษคน. (ป., ส. ราช + มลฺล).

ราชยาน
[ราดชะยาน] น. ยานชนิดคานหามของหลวง, เรียกว่า พระยานก็มี เช่น พระยานมาศ, เรียกว่า พระราชยาน ก็มี เช่น พระราชยานกงพระราชยานถม, เรียกว่า พระที่นั่งราชยาน ก็มี เช่น พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง, หรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็มีคือ พระที่นั่งราเชนทรยาน. (ส.).

ราชโยค
น. ดวงชาตาเวลาเกิดของคนที่ชี้ว่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

ราชรถ
[ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คันคือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ.

ราชรถมาเกย
(สํา) น. โชค ลาภ หรือยศ ตําแหน่ง มาถึงโดยไม่รู้ตัวหรือคาดฝันมาก่อน.

ราชลัญจกร
[ราดชะลันจะกอน] น. ตราของพระมหากษัตริย์(สำหรับใช้ตีหรือประทับ) เรียกว่า พระราชลัญจกร.

ราชเลขาธิการ
น. ตำแหน่งเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

ราชเลขานุการ
น. ตำแหน่งเลขานุการในสมเด็จพระบรมราชินี.

ราชวงศ์
. ตระกูลของพระราชา เช่น ราชวงศ์พระร่วง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง; ตําแหน่งเจ้านายในเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ เรียกว่าเจ้าราชวงศ์. (ส.).

ราชวรมหาวิหาร
[ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพนวัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุดว่า ชั้นโทชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม.

ราชวรวิหาร
[ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่งซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่าชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่นวัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.

ราชวโรงการ
[–วะโรงกาน] น. คําสั่งของพระราชา. (ป. ราช + วร +ข. โองฺการ).

ราชวัติ
น. รั้วที่ทําเป็นแผงปักเป็นระยะ ๆ มีฉัตรปักหัวท้ายแผง.

ราชศาสตร์
(โบ) น. กฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินบัญญัติตามหลักธรรมศาสตร์.

ราชสกุล
น. ตระกูลฝ่ายพระราชา.

ราชสมบัติ
น. สมบัติของพระมหากษัตริย์; ความเป็นพระมหากษัตริย์เช่น ขึ้นครองราชสมบัติ.

ราชสันตติวงศ์
(กฎ) น. ลําดับชั้นพระบรมราชวงศ์ในการสืบราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์.

ราชสาส์น
[ราดชะสาน] น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เรียกว่า พระราชสาส์น.

ราชสูยะ
น. พิธีราชาภิเษกของอินเดียโบราณ. (ส.).

ราชหัตถเลขา
[ราดชะหัดถะเลขา] (ราชา) น. จดหมาย (ใช้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง)ใช้ว่า พระราชหัตถเลขา. (ป.).

ราชองครักษ์
[ราดชะองคะรัก] น. นายทหารชั้นสัญญาบัตรรักษาพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นต้น มี ๓ พวก คือ ราชองครักษ์ประจำ ราชองครักษ์เวรราชองครักษ์พิเศษ.

ราชโองการ, ราชโยงการ
[ราดชะโองกาน, ราดชะโยงกาน] น. คําสั่งราชการของพระราชาเรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ.(ดู โองการ).

ราชโองการ, ราชโยงการ
[ราดชะโองกาน, ราดชะโยงกาน] น. คําสั่งราชการของพระราชาเรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ.(ดู โองการ).

ราชาธิปไตย
น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีพระราชาเป็นใหญ่.(ป. ราช + อธิปเตยฺย). (อ. monarchy).

ราชาธิราช
น. พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่น ๆ. (ส.).

ราชาภิเษก
น. พระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ใช้ว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (ส.).

ราชูปถัมภ์, ราโชปถัมภ์
[ราชูปะถำ, ราโชปะถำ] น. ความอุปถัมภ์ของพระราชา ใช้ว่า พระบรมราชูปถัมภ์. (ป.).

ราชูปถัมภ์, ราโชปถัมภ์
[ราชูปะถำ, ราโชปะถำ] น. ความอุปถัมภ์ของพระราชา ใช้ว่า พระบรมราชูปถัมภ์. (ป.).

ราชูปโภค, ราโชปโภค
[ราชูปะโพก, ราโชปะโพก] น. เครื่องใช้สอยของพระราชา. (ป.).

ราชูปโภค, ราโชปโภค
[ราชูปะโพก, ราโชปะโพก] น. เครื่องใช้สอยของพระราชา. (ป.).

ราเชนทร์
[ราเชน] น. พระราชาผู้เป็นใหญ่. (ส.).

ราโชงการ
[ราโชงกาน] น. ราชโองการ.

ราโชวาท
น. คําสั่งสอนของพระราชา ใช้ว่า พระบรมราโชวาท. (ป.).

ราไชศวรรย์
[ราไชสะหฺวัน] น. ราชสมบัติ. (ส.).

ราช ๒
น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นสามัญตํ่ากว่าชั้นเทพ เรียกว่าชั้นราช เช่น พระราชสุธี พระราชโมลี.

ราชญี
[ราดยี] (แบบ) น. ราชินี. (ส.).

ราชดัด
[ราดชะ–] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Brucea amarissima (Lour.) Gomes ในวงศ์Simaroubaceae เมล็ดใช้ทํายาได้, กาจับหลัก หรือ พญาดาบหัก ก็เรียก,ปักษ์ใต้เรียก กะดัด.

ราชพฤกษ์
[ราดชะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia fistula L. ในวงศ์ Leguminosaeดอกสีเหลือง ฝักสีดํา เกลี้ยง ใช้ทํายาได้, คูน หรือ ลมแล้ง ก็เรียก.

ราชมาณพ
[ราดชะมานบ] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).

ราชมาษ, ราชมาส
[ราดชะมาด] น. ชื่อถั่วชนิด Phaseolus lunatus L. ในวงศ์ Leguminosaeดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อไม่แตกแขนง, มาส ก็เรียก.

ราชมาษ, ราชมาส
[ราดชะมาด] น. ชื่อถั่วชนิด Phaseolus lunatus L. ในวงศ์ Leguminosaeดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อไม่แตกแขนง, มาส ก็เรียก.

ราชย์
น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์.(ส.; ป. รชฺช).

ราชสีห์
น. พญาสิงโต, สิงหราช หรือ สีหราช ก็เรียก; สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกําลังมาก, สิงห์ ก็เรียก. (ป. ราช + สีห; ส. ราช + สึห).

ราชสีห์ตัวผู้
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพอาษาฒ มี ๓ ดวง, ดาวสัปคับช้างดาวปุรพษาฒ หรือ ดาวบุพพาสาฬหะ ก็เรียก.

ราชสีห์ตัวเมีย
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตราษาฒ มี ๕ ดวง, ดาวแตรงอนดาวอุตตรอาษาฒ หรือ ดาวอุตตราสาฬหะ ก็เรียก.

ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
(สํา) น. คนที่มีอํานาจหรืออิทธิพลพอ ๆกันอยู่รวมกันไม่ได้, เสือสองตัวอยู่ถํ้าเดียวกันไม่ได้ หรือ จระเข้สองตัวอยู่ถํ้าเดียวกันไม่ได้ ก็ว่า.

ราชะ
น. ยันต์ เช่น ฉลองพระองค์ลงราชะ. (ม.).

ราชัน
น. พระราชา. (ส.).

ราชันย์
น. เชื้อกษัตริย์. (ส.).

ราชัย
น. ราชย์.

ราชา ๑
น. พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์. (ป., ส.).

ราชาคณะ
น. สมณศักดิ์ชั้นสูงกว่าพระครูสัญญาบัตรขึ้นไป ใช้ว่าพระราชาคณะ.

ราชาโชค
(โหร) น. ชื่อตําแหน่งดาว ถือว่าให้คุณสูงในทางเกียรติยศชื่อเสียงการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทำให้ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.

ราชาฤกษ์
(โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียงและผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของขุนนางเจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.

ราชาวลี
น. เชื้อสายของพระราชา. (ส.).

ราชาศัพท์
น. คําเฉพาะใช้สําหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย,ต่อมาหมายรวมถึงคําที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.

ราชา ๒
ว. ตรง เช่น แผ่กิ่งก้านราชา. (ป. อุชุ; ส. ฤชุ).

ราชาธิปไตย
ดู ราช ๑, ราช–.

ราชาธิราช
ดู ราช ๑, ราช–.

ราชาภิเษก
ดู ราช ๑, ราช–.

ราชายตนะ
น. ไม้เกด. (ป., ส.).

ราชาวดี ๑
น. เรียกการลงยาชนิดหนึ่งสําหรับเคลือบทองให้เป็นสีต่าง ๆ เช่นเขียว แดง ฟ้า ว่า ลงยาราชาวดี. (เปอร์เซีย).

ราชาวดี ๒
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Buddleja paniculata Wall. ในวงศ์ Buddlejaceaeดอกสีขาวออกเป็นช่อยาว กลิ่นหอม.

ราชิ, ราชี
น. ทาง, สาย, แถว, เช่น รุกขราชี. (ป., ส.).

ราชิ, ราชี
น. ทาง, สาย, แถว, เช่น รุกขราชี. (ป., ส.).

ราชินิกุล, ราชินีกุล
น. ตระกูลฝ่ายพระราชินี.

ราชินิกุล, ราชินีกุล
น. ตระกูลฝ่ายพระราชินี.

ราชินี ๑
น. พระมเหสี, ใช้ว่า ราชญี ก็ได้. (ป.).

ราชินีนาถ
น. พระราชินีที่ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สําเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ และทรงได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ,พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้หญิง เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย.

ราชินูปถัมภ์
น. ความอุปถัมภ์ของพระราชินี ใช้ว่า พระบรมราชินูปถัมภ์.

ราชินี ๒
น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaiphusa sirikit วงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงอมน้ำเงินขอบกระดองและขาก้ามสีขาว ขาสีแดง อาศัยอยู่ตามลำห้วยพบที่อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี, ปูสามสี หรือปูไตรรงค์ ก็เรียก.

ราชินูปถัมภ์
ดู ราชินี ๑.

ราชูปถัมภ์, ราโชปถัมภ์
ดู ราช ๑, ราช–.

ราชูปถัมภ์, ราโชปถัมภ์
ดู ราช ๑, ราช–.

ราชูปโภค, ราโชปโภค
ดู ราช ๑, ราช–.

ราชูปโภค, ราโชปโภค
ดู ราช ๑, ราช–.

ราเชน
น. ไม้หอมชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).

ราเชนทร์
ดู ราช ๑, ราช–.

ราเชนทรยาน
[ราเชนทฺระยาน] น. ยานชนิดคานหามที่มีบุษบกของพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

ราโชงการ
ดู ราช ๑, ราช–.

ราโชวาท
ดู ราช ๑, ราช–.

ราไชศวรรย์
ดู ราช ๑, ราช–.

ราญ, ราญรอน
ก. รบ เช่น นักเลงเขาไม่หาญราญนักเลง.

ราญ, ราญรอน
ก. รบ เช่น นักเลงเขาไม่หาญราญนักเลง.

ราด
ก. เทของเหลว ๆ เช่นนํ้าให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่ว เช่นราดนํ้า ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวราดแกง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวราด ขี้ราด.

ราต
ก. ให้มาแล้ว เช่น ธรรมราต ว่า พระธรรมให้มา. (ส.).

ราตร
[ราด] น. กลางคืน, เวลามืด, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส. (ส.; ป. รตฺต).

ราตรี ๑
[–ตฺรี] น. กลางคืน, เวลามืดคํ่า. (ส. ราตฺริ; ป. รตฺติ).

ราตรี ๒
[–ตฺรี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cestrum nocturnum L. ในวงศ์ Solanaceaeดอกเล็ก สีขาวปนเขียว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมแรงเฉพาะเวลากลางคืน.

ราตรีประดับดาว
[–ตฺรี–] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

ราโท
น. ไม้กระดานเรียบที่ประกบบนกราบเรือบางชนิด เช่น เรือเอี้ยมจุ๊นเรือโป๊ะจ้าย เรือกลไฟ สําหรับกันนํ้าเข้าเรือหรือเดินเลียบข้างเรือ.

ราน
ก. ตัดหรือฟันกิ่งไม้ออก ในคําว่า รานกิ่ง. ว. มีรอยปริตื้น ๆ ทั่วไปบนพื้นผิวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หม้อราน ผนังราน กระเบื้องราน, แตกลายงาก็ว่า.

ร่าน ๑
ดู บุ้ง ๑.

ร่าน ๒
ก. อยาก, ใคร่, (มักใช้ในทางกามารมณ์); รีบ, ด่วน.

ร้าน
น. ที่ที่ปลูกยกพื้นขึ้นสําหรับนั่งหรือขายของเป็นต้น, สถานที่ขายของ,เรียกสิ่งที่ปักเสามีไม้พาดข้างบนให้ต้นไม้เลื้อยว่า ร้าน เช่น ร้านบวบร้านองุ่น.

ร้านชำ
น. ร้านขายของแห้งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องอาหารเป็นต้น.

ร้านม้า
น. ร้านไม้ยกพื้น มี ๖ เสา สําหรับวางหีบศพเพื่อจะเผา.(รูปภาพ ร้านม้า)

ร้านรวง
น. ร้านขายของที่ตั้งอยู่ติด ๆ กันหรือใกล้ ๆ กันหลาย ๆ ร้าน.

ราบ
ว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง,โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ;ล้มระเนระนาด เช่น พายุพัดป่าราบ; เรียกทหารเดินเท้าว่า ทหารราบ,เรียกชายฉกรรจ์ที่อายุครบเข้าประจําการทหาร.

ราบคาบ
ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ;เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.

ราบเป็นหน้ากลอง
(สํา) ว. ราบเรียบ, หมดเสี้ยนหนาม.

ราบรื่น
ว. เรียบร้อย, ปราศจากอุปสรรคใด ๆ, เช่น งานสําเร็จลงอย่างราบรื่นชีวิตสมรสราบรื่น.

ราบเรียบ
ว. ราบเสมอกัน เช่น ที่ราบเรียบ พื้นนํ้าราบเรียบ.

ราพณ์
[ราบ] น. ชื่อเรียกทศกัณฐ์; ยักษ์. (ส. ราวณ).

ราพณาสูร ๑
[ราบพะนาสูน] (กลอน) น. ยักษ์. (ส. ราวณ + อสุร).

ราพณาสูร ๒
[ราบพะนาสูน] (ปาก) ว. สูญเรียบ, สูญเสียจนหมดเกลี้ยง.

ราม ๑
ว. งาม เช่น นงราม; ปานกลาง, พอดีพองาม, เช่น มีพิหารอันรามมีพระพุทธรูปอันราม. (จารึกสยาม).

ราม ๒
น. ชื่อตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์.

รามเกียรติ์
[รามมะเกียน] น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทําศึกกับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา.

รามสูร
[รามมะสูน] น. ชื่อยักษ์ตนหนึ่งตามเทพนิยายของอินเดีย เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องเป็นเสียงรามสูรขว้างขวาน.

รามัญ
น. มอญ.

รามัญนิกาย
น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่งซึ่งสืบสายมาจากพระสงฆ์มอญ.

รามา
(ปาก) ก. ข่มเหง, รบกวน, เช่น พอเมาเหล้าก็ชอบรามาชาวบ้าน.

ราย
น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณาเป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนามใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย.ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวันนิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.

รายการ
น. บัญชีแจ้งชื่อและจํานวนเป็นต้นของสิ่งต่าง ๆ เช่น รายการอาหารรายการแสดง.

รายงาน
น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ.

รายงานการประชุม
น. รายละเอียดหรือสาระของการประชุมที่จดไว้เป็นทางการ.

รายงานตัว
ก. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามแบบพิธี โดยบอกชื่อนามสกุล ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ.

รายจ่าย
น. รายการจ่าย เช่น เดือนนี้รายจ่ายสูงกว่าเดือนที่แล้ว, คู่กับรายรับ.

รายได้
น. เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เดือนนี้รายได้ดี.

รายได้สุทธิ
น. รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว (ใช้แก่บุคคล).

รายตีนตอง
น. เรียกพนักงานชายที่เดินขนาบพระราชยานในกระบวนแห่ว่าพนักงานรายตีนตอง.

รายทาง
ว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง.

รายรับ
น. รายการรับ เช่น เขามีรายรับเพิ่มขึ้น, คู่กับ รายจ่าย; (กฎ)เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ.

รายล้อม
ก. เรียงรายโดยรอบ.

รายละเอียด
น. ส่วนย่อยต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ เช่นชี้แจงรายละเอียดของโครงการ.

รายวิชา
น. หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา มีทั้งที่บังคับและให้เลือก. (อ. course).

ร่าย ๑
น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพร่ายดั้น ร่ายโบราณ;ทํานองร้องอย่างหนึ่งของละครรํา เรียกว่า ร้องร่าย.

ร่ายดั้น
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕–๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.

ร่ายโบราณ
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง นิยมใช้ในวรรณคดีโบราณ ไม่นิยมเอกโท ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่มักใช้วรรคละ ๕ คำและใช้คำเท่ากันทุกวรรค.

ร่ายไม้
ก. เร่เตร่ไปเป็นจังหวะตามกิ่งไม้ เช่น นกร่ายไม้ กระแตร่ายไม้.

ร่ายยาว
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรคถัดไปที่คำใดก็ได้สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ.

ร่ายรำ
ก. เดินหรือจับระบำไปตามจังหวะดนตรีของละครรำ.

ร่ายสุภาพ
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไปและจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.

ร่าย ๒
ก. บริกรรมเวทมนตร์คาถาเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายเวท ร่ายมนตร์ร่ายคาถา.

ร้าย
ว. ดุ เช่น ใจร้าย, ชั่ว เช่น ปากร้าย คนร้าย, ไม่ดี เช่น เคราะห์ร้าย โชคร้ายชะตาร้าย;ที่เป็นอันตราย เช่น พิษร้าย เนื้อร้าย โรคร้าย. น. ความไม่ดี เช่นใส่ร้าย ป้ายร้าย ให้ร้าย.

ร้ายกาจ
ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ.

ร้ายแรง
ว. รุนแรง เช่น น้ำท่วมทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง, ร้ายมาก เช่น ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง.

ร่ายรัง
(กลอน) ว. พรายแสง.

ราว ๑
น. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสําหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้นเช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึงสำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้าหรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆเช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน,ไม้หรือโลหะเป็นต้นสำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.

ราวกะ, ราวกับ
ว. เช่นกับ, พอกับ, เช่น สวยราวกับนางฟ้า.

ราวกะ, ราวกับ
ว. เช่นกับ, พอกับ, เช่น สวยราวกับนางฟ้า.

ราวข่าว
(โบ) น. การส่งข่าวด้วยวิธีรับช่วงกันต่อไป.

ราวความ
น. เนื้อความที่ต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้ยังต้องไปสืบสาวราวความให้ละเอียด.

ราวเทียน
น. เครื่องประกอบการบูชา ลักษณะเป็นคานโลหะแบนทอดขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานติดบัวจงกลหรือลูกถ้วยรายเป็นระยะห่างกันพองามสำหรับปักเทียน.

ราวนม
น. บริเวณนม เช่น เขาถูกยิงเหนือราวนม.

ราวป่า
น. แนวป่า, ชายป่า, ขอบป่า.

ราวพระแสง
น. เครื่องสอดเก็บอาวุธอย่างหอก ลักษณะเป็นคานไม้แบนทอดขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานเจาะรูกลม ๆรายเป็นระยะห่างกันพอควรสำหรับสอดด้ามหอก ง้าว ทวน ให้ตั้งเรียงเป็นแถว.

ราวเรื่อง
น. เรื่องที่ต่อเนื่องกันยืดยาว.

ราว ๒, ราว ๆ
ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราวธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆเที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.

ราว ๒, ราว ๆ
ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราวธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆเที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.

ร้าว
ว. มีรอยแตกลึกเป็นทางลงไปในเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น แก้วร้าวจานร้าว ผนังร้าว.

ร้าวฉาน
ว. แตกร้าว, แตกร้าวกัน, โกรธเคืองกัน, เช่น การทะเลาะเบาะแว้งทำให้เกิดร้าวฉานกัน.

ร้าวระทม
ก. ตรอมใจ.

ร้าวระบม
ก. ปวดร้าวเพราะความบอบช้ำ.

ร้าวราน
ก. แตกสามัคคีกัน เช่น การดูหมิ่นกันทำให้เกิดร้าวรานในหมู่เพื่อนฝูง.

ร้าวรานใจ
ก. ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เช่น ถ้อยคำเสียดแทงทำให้ผู้ฟังร้าวรานใจ.

ราวี
ก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กําลังรังแกเป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน,เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.

ราศี ๑
น. กอง, หมู่, เช่น บุญราศี ว่า กองบุญ; ชื่อมาตราวัดจักรราศี คือ ๓๐องศา เป็น ๑ ราศี,ถ้ากลุ่มดาวใดอยู่ในช่วงจักรราศีนั้น ก็เรียกชื่อราศีตามกลุ่มดาวนั้น เช่น ราศีเมษ ราศีกรกฎ, อาทิตย์โคจรรอบจักรวาลผ่านหมู่ดาว ๑๒ หมู่ และดาวหมู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ราศี ๑. (ส. ราศิ; ป. ราสิ).

ราศี ๒
น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยายหมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น;สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอกเวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.

ราษฎร, ราษฎร์ ๑
[ราดสะดอน, ราด] น. พลเมืองของประเทศ. (ส.).

ราษฎร, ราษฎร์ ๑
[ราดสะดอน, ราด] น. พลเมืองของประเทศ. (ส.).

ราษฎร์ ๒
น. แว่นแคว้น, บ้านเมือง. (ส.; ป. รฏฺ?).

ราษตรี
[ราดสะตฺรี] น. ราตรี.

ราษราตริน, ราษราตรี
[ราดสะราตฺริน, –ตฺรี] (กลอน) น. ราตรี.

ราษราตริน, ราษราตรี
[ราดสะราตฺริน, –ตฺรี] (กลอน) น. ราตรี.

ราสี
น. ราศี. (ป. ราสิ).

ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑
น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร)ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ.(ป., ส. ราหุ).

ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑
น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร)ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ.(ป., ส. ราหุ).

ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑
น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร)ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ.(ป., ส. ราหุ).

ราหู ๒
น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลายสุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิดM. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้านซ้ายของส่วนหัว.

รำ ๑
น. ผงเยื่อหรือละอองเมล็ดข้าวสาร.

รำ ๒
ก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือเช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง,อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.

รำเขนง
[–ขะเหฺนง] น. พิธีพราหมณ์มีการถือเขนงนํ้ามนตร์รําถวายพระอิศวรแล้วประนํ้ามนตร์.

รำโคม
น. การรําแบบหนึ่ง ผู้เล่นถือโคมรําเป็นท่าต่าง ๆ, เดิมเล่นเฉพาะในงานหลวง.

รำชั่วโทษพากย์
(สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น,รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า.

รำเท้า
ก. เต้นหมุนเวียนวนไปด้วยเท้าอย่างเต้นรําของฝรั่ง, เต้นรํา ก็ว่า.

รำผี
น. การรําในการทรงเจ้าเข้าผี.

รำพัด
(ปาก) ก. เล่นไพ่ไทย.

รำพัดชา
น. ท่ารําชนิดหนึ่งในพิธีคชกรรม.

รำแพน
ก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการพระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้งสวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
(สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า.

รำรงค์
ก. ออกสนาม.

รำลาวแพน
น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.

รำวง
น. การรําโดยมีผู้เล่นจับคู่รําตามกันไปเป็นวง, แต่เดิมใช้โทนและร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ เรียกว่า รําโทน ต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรีประกอบด้วย.

ร่ำ ๑
ก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสั่ง ร่ำสอน; ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.

ร่ำไป
ว. พรํ่าเพรื่อไป, บ่อย ๆ, เช่น เขาไปดูภาพยนตร์บ่อย ทำให้เสียเงินร่ำไป.

ร่ำร้อง
ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.

ร่ำรี้ร่ำไร
ก. ซํ้า ๆ ซาก ๆ อยู่นั่นเอง เช่น มัวแต่พูดร่ำรี้ร่ำไรอยู่นั่นแหละเดี๋ยวงานก็ไม่เสร็จ.

ร่ำเรียน
ก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.

ร่ำไร
ก. อ้อยอิ่ง เช่น มัวแต่ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวจะไม่ทันรถไฟ.

ร่ำลา
ก. อำลา, ลา, ล่ำลา ก็ว่า.

ร่ำสุรา
(ปาก) ก. ดื่มสุราแล้วดื่มสุราเล่า.

ร่ำไห้
ก. ร้องไห้เป็นเวลานาน, ร้องไห้ไม่หยุดหย่อน.

ร่ำ ๒
ก. อบ, ปรุง, เช่น ร่ำแป้ง ร่ำผ้า.

รำคาญ
ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่นทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกันทำให้รำคาญ.

รำคาญใจ
ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.

รำงับ
ก. ระงับ.

รำจวน
ก. รัญจวน.

รำซุย
น. ท่าละครท่าหนึ่ง.

รำบาญ
ก. รบศึก, รบ. (แผลงมาจาก ราญ).

รำพัน
ก. พรํ่าพรรณนาตามอารมณ์ เช่น เขารำพันถึงความทุกข์ของตน แม่รำพันแต่ความดีของลูก.

รำพาย
ก. พัด, กระพือ.

รำพึง
ก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ.น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายเป็นกิริยารำพึง.

รำพึงรำพัน
ก. พูดอย่างที่คิดคำนึงอยู่ เช่น เขารำพึงรำพันว่า โลกนี้น่าอยู่จริงหนอ.

รำเพย ๑
ก. พัดอ่อน ๆ เรื่อย ๆ มักพากลิ่นหอมของดอกไม้มาด้วย (ใช้แก่ลม).

รำเพย ๒
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Thevetia peruviana Schum. ในวงศ์ Apocynaceaeมียางขาว ใบคล้ายยี่โถ ดอกสีเหลือง รูปกระบอกปากบาน ผลมีพิษถิ่นเดิมอยู่ในอเมริกาแถบร้อนชื้น,ดอกกระบอก หรือ ยี่โถฝรั่ง ก็เรียก.

รำไพ ๑
ดู รวิ.

รำไพ ๒
ว. งามผุดผ่อง เช่น รําไพพรรณ.

รำมะแข
ดู ลําแข.

รำมะนา
น. กลองขึงหนังหน้าเดียว รูปกลมแป้น มี ๒ ชนิด ชนิดที่ใช้กับวงลําตัดมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้กับวงมโหรี.

รำมะนาด
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดตามรากฟัน ทําให้เหงือกบวมเป็นหนอง.

รำมะร่อ
ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จการศึกษาอยู่รำมะร่อ จะถึงบ้านอยู่รำมะร่อ, รอมร่อ ก็ว่า.

รำยวน
ก. ห้อยย้อย.

รำย้อย
ก. ห้อยย้อย.

รำแย้
น. ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เช่น กระเทียมหอมรําแย้ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).

ร่ำรวย
ว. รวยมาก, มั่งคั่ง.

รำราญ
ก. รบ. (แผลงมาจาก ราญ).

รำรำ, ร่ำร่ำ
ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน,เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.

รำรำ, ร่ำร่ำ
ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน,เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.

รำเร
น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เช่น ทั้งขนมรําเรเร่ฉํ่า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

รำไร
ว. เล็กน้อย เช่น แสงสว่างรำไร แสงแดดรำไร; อาการที่เห็นไม่ชัดเต็มที่เพราะอยู่ในระยะไกลหรือมีอะไรบังเป็นต้น เช่น เห็นกระท่อมรำไรอยู่ในหมู่ไม้.

รำลึก
ก. ระลึก.

รำหัด
ก. โรย (ใช้สําหรับเอาพิมเสนแทรกยา); ใส่, แทรก. ว. อ่อน.

รำหัส
น. รหัส.

ริ
ก. เริ่มคิดหรือทําแปลกจากปรกติ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ริสูบบุหรี่ริเที่ยวกลางคืน, ริอ่าน ก็ว่า.

ริปอง
ก. คิดหมาย, คิดอ่าน.

ริเริ่ม
ก. เริ่มคิดเริ่มทําเป็นคนแรก (มักใช้ในทางดี) เช่น นายเลื่อนพงษ์โสภณริเริ่มทำรถจักรยานสามล้อ.

ริอ่าน
ก. ริ เช่น ริอ่านเป็นขโมย.

ริก, ริก ๆ
ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นริก ใจสั่นริก ๆ.

ริก, ริก ๆ
ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นริก ใจสั่นริก ๆ.

ริดสีดวง
น. ชื่อโรคพวกหนึ่งมีหลายชนิด เกิดในช่องตา จมูก ทวารหนัก เป็นต้น.

ริน, ริน ๆ
ก. เทให้ไหลออกเรื่อย ๆ ทีละน้อย เช่น รินนํ้าใส่ถ้วย. ว. เรื่อย ๆ, น้อย ๆ,เช่น นํ้าไหลริน ลมพัดริน ๆ. น. ทองคําที่มีเนื้อหย่อนกว่าเนื้อ ๔ เรียกว่าทองริน.

ริน, ริน ๆ
ก. เทให้ไหลออกเรื่อย ๆ ทีละน้อย เช่น รินนํ้าใส่ถ้วย. ว. เรื่อย ๆ, น้อย ๆ,เช่น นํ้าไหลริน ลมพัดริน ๆ. น. ทองคําที่มีเนื้อหย่อนกว่าเนื้อ ๔ เรียกว่าทองริน.

ริ้น
น. ชื่อแมลงพวกตัวบึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงหวี่ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุลCulicoides และ Leptoconops วงศ์ Ceratopogonidae เช่น ชนิด C. orientalis,L. spinosifrons.

ริบ ๑
ก. รวบเอายึดเอาโดยพลการหรือโดยอํานาจกฎหมายเป็นต้น.

ริบทรัพย์
ก. ยึดเอาทรัพย์มาเป็นของแผ่นดิน เช่น ถูกริบทรัพย์โดยคำสั่งศาล.

ริบทรัพย์สิน
(กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่ริบตกเป็นของแผ่นดิน.

ริบราชบาตร
[–ราดชะบาด] ก. รวบเอาทรัพย์สินของคนที่ต้องพระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง.

ริบ ๒
ว. คม.

ริบบิ้น
น. แถบแพร ไหม ไนลอน เป็นต้น ใช้สําหรับผูกหรือประดับ มีหลายสีหลายขนาด. (อ. ribbon).

ริบรี่, ริบหรี่
ว. เกือบดับ, สว่างน้อย ๆ, เช่น แสงริบหรี่.

ริบรี่, ริบหรี่
ว. เกือบดับ, สว่างน้อย ๆ, เช่น แสงริบหรี่.

ริปุ, ริปู
น. ข้าศึก, ปรปักษ์, คนโกง. (ป., ส.).

ริปุ, ริปู
น. ข้าศึก, ปรปักษ์, คนโกง. (ป., ส.).

ริม
น. ชาย, ขอบ, เช่น ริมคลอง ริมผ้า ริมโต๊ะ. บ. ใกล้, ชิด, เช่น นั่งริมหน้าต่าง. ว. ด้านนอก เช่น น้องนอนกลาง พี่นอนริม; (ปาก) เกือบ,จวน, เช่น ริมตาย.

ริมฝีปาก
น. เนื้อส่วนที่เป็นขอบรอบปาก ส่วนบนเรียกว่าริมฝีปากบน ส่วนล่างเรียกว่า ริมฝีปากล่างมีเส้นขอบรอบที่เรียกว่า เส้นขอบริมฝีปาก.

ริ้ว
น. เส้นลายหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นรอย เป็นทาง ๆ เป็นแถวหรือเป็นแนวยาวไป เช่น ผ้าขาดเป็นริ้ว ริ้วขบวน ริ้วปลาแห้ง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เรียกปลาแห้งที่ผ่าเป็น ๕ ริ้ว ว่า ปลา ๕ ริ้วหรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาห้า.

ริ้วรอย
น. ลักษณะที่เป็นแนวเป็นทาง เช่น ถูกหนามเกี่ยวเป็นริ้วรอยถูกแมวข่วนเป็นริ้วรอย,โดยปริยายหมายความว่า ร่องรอย เช่น หน้าตามีริ้วรอยแห่งความทุกข์.

ริษยา
[ริดสะหฺยา] ก. อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีแล้วทนนิ่งอยู่ไม่ได้. (ส. อีรฺษฺยา; ป. อิสฺสา).

รี
ว. เรียว, ถ้ากลมเรียวอย่างรูปไข่ เรียกว่า กลมรี, ถ้ายาวเรียวและมีหัวท้ายอย่างเมล็ดข้าวสารเรียกว่า ยาวรี, ไม่กลม เช่น วงรี, ยาว เช่น หันรีหันขวางหอรีหอขวาง.

รี่ ๑
ก. เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ เช่น รี่เข้าใส่. ว. อาการที่เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ เช่น เดินรี่เข้ามา.

รี่ ๒
ดู ลี่ ๑.

รี้
(โบ) น. พล, พลรบ, กองทัพ, กองทหาร. ก. ยกไป, เดินไป.

รี้พล
น. กระบวนทหาร, กองทหาร.

รี ๆ ขวาง ๆ
ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆก็ว่า. ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้างเช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้ามมัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ.

รีด
ก. บีบ รูด หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แผ่ กว้าง ยาว หรือเรียบ เป็นต้น ตามที่ต้องการ, กดแรง ๆและไถเพื่อทำให้เรียบ เช่น รีดผ้า รีดใบตอง รีดกลีบบัว, บีบทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นยาวเช่น รีดทอง รีดยาง, บีบรูดด้วยอาการเค้นเพื่อให้สิ่งที่อยู่ภายในออกมา เช่น รีดนมวัว รีดไส้หมู รีดหนอง;(ปาก) ใช้กำลังหรืออิทธิพลบังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น รีดเอาเงินรีดเอาทรัพย์, ใช้ว่า รีดไถ ก็มี.

รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น
ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว;เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็กให้ทำงานหนัก.

รีดนาทาเน้น, รีดนาทาเร้น
ก. ขูดรีดเอาทรัพย์สินจนแทบหมดเนื้อหมดตัว;เคี่ยวเข็ญให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกินกำลังความสามารถ เช่น รีดนาทาเน้นเด็กให้ทำงานหนัก.

รีดลูก
ก. ทําให้แท้งลูก.

รีดเลือดกับปู
(สำ) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้,หาเลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.

รีดักชัน
(เคมี) น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้สารได้รับธาตุไฮโดรเจนมารวมตัวด้วย,ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้สารสูญเสียธาตุออกซิเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้อะตอมของธาตุได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น. (อ. reduction).

รีต
น. เยี่ยงอย่าง, แบบแผน, ประเพณี, เช่น นอกรีต. (เทียบ ป. จาริตฺต;ส. จาริตฺร).

รีเนียม
น. ธาตุลําดับที่ ๗๕ สัญลักษณ์ Re เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเทาหลอมละลายที่ ๓๑๘๐?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ทําอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นองค์ประกอบของโลหะทนไฟในจรวด. (อ. rhenium).

รีบ, รีบ ๆ
ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว เช่น รีบเสียจนมือสั่น รีบไปรีบมา รีบทำ รีบนอน รีบ ๆ หน่อย. ว. รวดเร็ว, ไม่รอช้า, เช่น เดินรีบ ๆ หน่อยเดี๋ยวฝนจะตก กินรีบ ๆ จะติดคอ.

รีบ, รีบ ๆ
ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างรวดเร็ว เช่น รีบเสียจนมือสั่น รีบไปรีบมา รีบทำ รีบนอน รีบ ๆ หน่อย. ว. รวดเร็ว, ไม่รอช้า, เช่น เดินรีบ ๆ หน่อยเดี๋ยวฝนจะตก กินรีบ ๆ จะติดคอ.

รีบร้อน
ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืมกระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.

รีบรุด
ก. ไปหรือมาอย่างรีบด่วน เช่น เขารีบรุดไปพบหมอ ตำรวจรีบรุดมาที่เกิดเหตุ. ว. ด่วน, ทันที, เช่น เขาเดินอย่างรีบรุด.

รีบเร่ง
ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ครูรีบเร่งตรวจข้อสอบให้เสร็จ. ว. เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาทำงานอย่างรีบเร่งเพื่อให้ได้งานมากขึ้น.

รีม
น. หน่วยนับจํานวนแผ่นกระดาษ กําหนดว่า กระดาษ ๕๑๖ แผ่น เป็น๑ รีมแต่โดยทั่ว ๆ ไปถือว่า กระดาษ ๔๘๐ หรือ ๕๐๐ แผ่น เป็น ๑ รีม.(อ. ream).

รีรอ
ก. ชักช้า, ลังเลใจ, เช่น มัวรีรออยู่ทำไม กินโดยไม่รีรอ.

รี ๆ, รอ ๆ
ว. แสดงอาการลังเลใจ, ไม่แน่ใจที่จะทําลงไป, เช่น มัวรี ๆ รอ ๆอยู่นั่นแหละ เมื่อไรจะตัดสินใจเสียที.

รี ๆ, รอ ๆ
ว. แสดงอาการลังเลใจ, ไม่แน่ใจที่จะทําลงไป, เช่น มัวรี ๆ รอ ๆอยู่นั่นแหละ เมื่อไรจะตัดสินใจเสียที.

รี้ริก
ว. เสียงหัวเราะเมื่อถูกหยอก.

รึกต์
ว. ว่าง, เปล่า. (ส. ริกฺต; ป. ริตฺต).

รึง
ว. ร้อน, ระอุ เช่น เถ้ารึง. ก. รัด.

รึ้ง
ก. ดึง, ฉุด, รั้ง, ลาก.

รื่น
ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.

รื่นรมย์
ว. สบายใจ, บันเทิง, เช่น สวนสาธารณะปลูกต้นไม้ไว้สวยงามน่ารื่นรมย์.

รื่นเริง
ก. สนุกสนานเบิกบานใจ, เพลิน, เช่น ทุกคนรื่นเริงในวันปีใหม่โทรทัศน์บางรายการทำให้ผู้ดูรื่นเริง.

รื้น
(กลอน) ก. รื่น. ว. อาการที่น้ำตาเอ่อขึ้นมาในดวงตา เช่น น้ำตารื้นขอบตา.

รื้อ
ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็นกลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย;เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิมขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.

รื้อไข้
ก. หายไข้ใหม่ ๆ.

รื้อแต่หลังคาเขา หลังคาเราไม่รื้อ
(สํา) ก. คิดแต่จะเอาของผู้อื่นมาใช้ของของตัวเก็บไว้, คิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้.

รื้อถอน
ก. รื้อและถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโยกย้ายไป เช่น รื้อถอนบ้านเรือน; (กฎ) รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน ตงออกไปให้หมด เช่น รื้อถอนบ้านเรือน.

รื้อฟื้น
ก. เอาขึ้นมาทําใหม่ เช่น รื้อฟื้นคดีมาพิจารณาใหม่.

รื้อร่าย
น. ชื่อทำนองเพลงร้องอย่างลำนำ.

รุ
ก. ระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป เช่น บริษัทรุคนงานเก่าออก พี่รุเสื้อผ้าให้น้อง.

รุข้าว
ก. เอาฟางออกจากเมล็ดข้าวที่นวดแล้ว.

รุสต๊อก
ก. จำหน่ายสินค้าโดยการลดราคาเพื่อระบายสินค้าให้หมด.

รุก ๑
ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวงห้าม, โดยปริยายหมายถึงคุกคามให้ถอยร่นหรือต้อนให้จนมุม เช่น เขาถูกนายรุกเสียจนตั้งตัวไม่ติด; เดินตัวหมากรุกเข้าไปกระทบตาขุนของอีกฝ่ายหนึ่ง.

รุกฆาต
ก. เดินหมากรุกเข้าไปจะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็เตรียมจะกินหมากอีกตัวหนึ่งด้วย ถ้าฝ่ายนั้นถอยขุนหนีก็จะกินหมากตัวที่เหลือ เช่น รุกฆาตขุนฆาตเรือ ถ้าถอยขุนหนีก็จะกินเรือ, (ใช้ในการเล่นหมากรุก).

รุกร้น
ก. เร่งเข้าไป, รีบเร่ง.

รุกราน
ก. ล่วงลํ้าเข้าไปก้าวร้าวระราน เช่น ถูกข้าศึกรุกราน.

รุกล้ำ
ก. รุกล่วงล้ำเข้าไป เช่น รุกล้ำอธิปไตย รุกล้ำดินแดน.

รุกไล่
ก. ไล่โจมตีให้หนีไป เช่น รุกไล่ข้าศึก.

รุก ๒
ก. ทำเส้นให้เล็ก (ใช้แก่แกะตรา) เช่น รุกลายเส้นในตราให้ชัด.

รุกข–, รุกข์
[รุกขะ–, รุก] น. ต้นไม้. (ป.; ส. วฺฤกฺษ).

รุกข–, รุกข์
[รุกขะ–, รุก] น. ต้นไม้. (ป.; ส. วฺฤกฺษ).

รุกขชาติ
น. ต้นไม้, หมู่ไม้.

รุกขเทวดา
น. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้.

รุกขมูล
น. โคนต้นไม้, เรียกพระที่ถือธุดงค์อยู่โคนไม้ว่า พระรุกขมูล.

รุกขมูลิกธุดงค์
[–มูลิกะ–] น. ธุดงค์อย่าง ๑ ใน ๑๓ อย่าง ที่ภิกษุจะต้องสมาทานว่าจะอยู่โคนต้นไม้เป็นประจํา. (ป. รุกฺขมูลิกธูตงฺค).

รุกขกะ
[–ขะกะ] น. ต้นไม้เล็ก. (ป.).

รุกขา
(กลอน) น. ต้นไม้.

รุกรุย
[รุกฺ–] ว. รุงรัง, กระจุยกระจาย, ไม่น่าดู, เช่น บ้านช่องรุกรุย เสื้อผ้ารุกรุย;ตํ่าช้า เช่น คนรุกรุย.

รุกษะ
[รุกฺ–] (โบ) น. รุกข์, ต้นไม้.

รุ่ง
น. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง,เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง. ว. สว่าง เช่น ฟ้ารุ่ง, อรุณรุ่ง.

รุ่งขึ้น
น. วันใหม่, วันพรุ่งนี้.

รุ่งแจ้ง
น. เวลาพระอาทิตย์ขึ้นสว่างแล้ว แต่ยังไม่มีแสงแดด.

รุ่งเช้า
น. เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาระหว่างรุ่งสว่างถึงเช้า, เช้าวันรุ่งขึ้น.

รุ่งราง
น. เวลาจวนสว่างพอมองเห็นราง ๆ ยังไม่กระจ่างชัด.

รุ่งเรือง
ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใสเช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์,เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรืองในพระศาสนา.

รุ่งโรจน์
ว. กระจ่างแจ้ง, โชติช่วง, เช่น แสงไฟรุ่งโรจน์, เจริญรุ่งเรืองเช่น ชีวิตรุ่งโรจน์.

รุ่งสว่าง
น. เวลาจวนสว่าง ยังแลเห็นอะไรไม่ชัด.

รุ่งสาง
น. เวลาจวนสว่าง ยังแลเห็นอะไรไม่ชัด.

รุ่งอรุณ
น. เวลาเช้าตรู่ที่เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.

รุ้ง ๑
น. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง ครามนํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง,โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.

รุ้งพราย
น. สีรุ้งที่กลอกอยู่พราวพรายในเพชรหรือเปลือกหอยบางชนิดเช่นหอยมุก.

รุ้งร่วง
น. นํ้าเพชรที่ส่งแววออกเมื่อกระทบแสงสว่าง.

รุ้ง ๒
น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Spilornis cheela ในวงศ์ Accipitridae ตัวสีนํ้าตาลเข้ม มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง หางสีนํ้าตาลพาดขาว มีพู่ขนตรงต้นคอซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเวลาโกรธหรือต่อสู้กัน, อีรุ้ง ก็เรียก.

รุงรัง
ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผมเผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะหรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง;พะรุงพะรัง เช่น หอบของมารุงรัง, นุงนัง เช่น หนี้สินรุงรัง.

รุ่งริ่ง
ว. ขาดออกเป็นริ้ว ๆ, ขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, เช่น เสื้อขาดรุ่งริ่ง,กะรุ่งกะริ่ง ก็ว่า.

รุจ, รุจา
ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจ).

รุจ, รุจา
ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป., ส. รุจ).

รุจนะ
[รุดจะนะ] น. ความชอบใจ, ความพอใจ. (ป.).

รุจิ, รุจี
น. แสง, ความรุ่งเรือง; ความงาม; ความชอบใจ. ว. รุ่งเรือง, สว่าง.(ป., ส. รุจิ).

รุจิ, รุจี
น. แสง, ความรุ่งเรือง; ความงาม; ความชอบใจ. ว. รุ่งเรือง, สว่าง.(ป., ส. รุจิ).

รุจิเรข
[รุจิเรก] ว. มีลายงาม, มีลายสุกใส.

รุจิระ, รุจิรา
ว. งาม, สว่าง, รุ่งเรือง, สวย; กะทัดรัด. (ป., ส.).

รุจิระ, รุจิรา
ว. งาม, สว่าง, รุ่งเรือง, สวย; กะทัดรัด. (ป., ส.).

รุชา
น. ความไม่สบาย, ความเสียดแทง; โรค. (ป., ส.).

รุด
ว. ด่วนไปทันที, ใช้ควบกับคํา รีบ เป็น รีบรุด ก็ได้ เช่น ทำงานอย่างรีบรุด.

รุดหน้า
ก. ก้าวหน้าไปมาก, ลุล่วงไปเร็ว, เช่น ในระยะ ๑๐ ปีประเทศไทยเจริญรุดหน้าไปมาก งานรุดหน้าไปมากแล้ว.

รุต
น. เสียง, เสียงร้อง, เสียงสัตว์. (ป., ส.).

รุทธ์
ก. ห้าม, กีด, กั้น, ดับ. (ป., ส.).

รุทระ
[รุดทฺระ] ว. น่ากลัวยิ่งนัก. น. เทวดาหมู่หนึ่งมี ๑๑ องค์ รวมเรียกว่าเอกาทศรุทร, ชื่อเทพสําคัญองค์หนึ่งในพระเวท ซึ่งพวกฮินดูถือว่าเป็นองค์เดียวกับพระศิวะ. (ส.; ป. รุทฺท).

รุธิระ
น. เลือด. ว. สีแดง. (ป., ส.).

รุเธียร
[รุเทียน] น. เลือด. ว. สีแดง. (แผลงมาจาก รุธิร).

รุน
ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบายท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตามชายเฟือย.

รุนแรง
ว. หนักมาก, แรงมาก, เกินปรกติ, เช่น ดุว่าอย่างรุนแรง คัดค้านอย่างรุนแรง ความคิดเห็นรุนแรง.

รุ่น
น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาวรุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษาน้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวยรุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็นระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว,เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.

รุ่น ๆ
ว. กำลังอยู่ในวัยแตกเนื้อหนุ่มแตกเนื้อสาว เช่น เด็กรุ่น ๆ; มีวัยใกล้เคียงกัน, ที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เช่น คนรุ่น ๆ คุณพ่อ คนรุ่น ๆ กัน.

รุ่นกระเตาะ
ว. เริ่มแตกเนื้อสาว.

รุ่นกระทง
ว. เพิ่งสอนขัน (ใช้แก่ไก่) ในคำว่า ไก่รุ่นกระทง, กำลังแตกเนื้อหนุ่ม.

รุ่นตะกอ
ว. เริ่มแตกเนื้อหนุ่ม.

รุ่นราวคราวกัน, รุ่นราวคราวเดียวกัน
ว. มีอายุไล่เลี่ยกัน.

รุ่นราวคราวกัน, รุ่นราวคราวเดียวกัน
ว. มีอายุไล่เลี่ยกัน.

รุบรู่
ว. มีแสงมัวจนมองอะไรไม่เห็นถนัดชัดเจน เช่น แสงเดือนรุบรู่,รุบหรู่ หรุบรู่ หรือ หรุบหรู่ ก็ว่า.

รุบาการ
(กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธานไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).

รุม ๑
ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทําอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอมเมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ,ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.

รุม ๒, รุม ๆ
ว. อาการที่คนเริ่มจะเป็นไข้ หรือจวนจะหายแต่ยังไม่หายดี ตัวยังร้อนอยู่บ้างนิดหน่อย เรียกว่าตัวรุม หรือ ตัวรุม ๆ, (ไฟ) อ่อน ๆ เช่น ย่างบนไฟรุม ๆ เคี่ยวบนไฟรุม ๆ.

รุม ๒, รุม ๆ
ว. อาการที่คนเริ่มจะเป็นไข้ หรือจวนจะหายแต่ยังไม่หายดี ตัวยังร้อนอยู่บ้างนิดหน่อย เรียกว่าตัวรุม หรือ ตัวรุม ๆ, (ไฟ) อ่อน ๆ เช่น ย่างบนไฟรุม ๆ เคี่ยวบนไฟรุม ๆ.

รุมไข้
ก. เอายาให้คนไข้กินเพื่อไม่ให้ตัวร้อนจัดหรือเย็นจัด.

รุมไฟ
ก. เอาฟืนดุ้นใหญ่ ๆ วางทับลงบนกองไฟเพื่อให้ไฟติดกรุ่นอยู่เสมอ, สุมไฟ ก็ว่า.

รุมเร้า
ก. ประดังเข้ามา เช่น มีเรื่องร้าย ๆ เข้ามารุมเร้าอยู่เสมอ.

รุมล้อม
ก. ออเข้ามา, รุมเข้ามาห้อมล้อม, เช่น นักข่าวรุมล้อมนายกรัฐมนตรี.

รุ่ม
ว. ร้อนผ่าว ๆ; (ปาก) เรื่อย, บ่อย, เช่น เรียกใช้เสียรุ่ม, มาก เช่น รวยรุ่ม.

รุ่มรวย
ว. รวยมาก, รวยรุ่ม หรือ รํ่ารวย ก็ว่า.

รุ่มร้อน
ก. กลัดกลุ้มด้วยร้อนใจ, ร้อนรุ่ม ก็ว่า.

รุ่มร่าม
ก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม,เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม.

รุย
น. แมลงวัน. (ข.).

รุ่ย ๑
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bruguiera cylindrica (L.) Blume ในวงศ์ Rhizophoraceaeขึ้นตามป่าชายเลน โคนต้นมีรากหายใจโค้งคล้ายรูปหัวเข่า ผลยาวเหมือนฝักถั่ว, ถั่วขาว ก็เรียก.

รุ่ย ๒
ว. หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้นสองเส้น.

รุ่ยร่าย
ว. ตก ๆ หล่น ๆ เช่น หอบของมารุ่ยร่าย, เก็บไม่เรียบร้อยเช่น ผมมวยเก็บไม่หมดดูรุ่ยร่าย.

รุรุ
น. สัตว์จําพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป.).

รุษฏ์
ก. แค้นเคือง, โกรธ. (ส. รุษฺฏ; ป. รุฏฺ?).

รุหะ, รูหะ
ก. งอก, งาม, เจริญ. (ป., ส.).

รุหะ, รูหะ
ก. งอก, งาม, เจริญ. (ป., ส.).

รุหาญ
ว. เปรียบ, ดุจ. (เทียบ ข. รุหาน).

รู
น. ช่อง เช่น รูเข็ม ผ้าขาดเป็นรู, ช่องที่ลึกเข้าไปในสิ่งต่าง ๆ เช่นรูหู รูจมูก รูปู รูงู.

รู่
ก. ครูด, ถู, สี, เช่น อย่าเอาทองไปรู่กระเบื้อง.

รู้
ก. แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ.

รู้กัน
ก. รู้เป็นนัยกันเฉพาะในกลุ่มของตน เช่น เรื่องนี้เขารู้กัน.

รู้กันอยู่ในที
ก. รู้เรื่องดีอยู่แล้วระหว่างกันโดยไม่ต้องพูดออกมา เช่นเขารู้กันอยู่ในทีแล้วว่าจะยกมรดกให้แก่ผู้ใด.

รู้การรู้งาน
ก. ทำงานเก่ง เช่น คนรู้การรู้งาน ทำงานอะไร ๆ ก็เรียบร้อย.

รู้แกว
ก. รู้เบาะแส, รู้ระแคะระคาย, เช่น รู้แกวว่าจะมายืมเงินเลยหลบหน้าไปก่อน.

รู้เขารู้เรา
ก. รู้จักขอบเขตความสามารถของตนเองและผู้อื่น.

รู้ความ
ก. เข้าใจภาษา (ใช้แก่เด็ก).

รู้คิด, รู้คิดรู้อ่าน
ก. เข้าใจคิดตริตรอง เช่น เด็กบางคนรู้คิดรู้อ่านดีกว่าผู้ใหญ่.

รู้คิด, รู้คิดรู้อ่าน
ก. เข้าใจคิดตริตรอง เช่น เด็กบางคนรู้คิดรู้อ่านดีกว่าผู้ใหญ่.

รู้คุณ
ก. ระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำให้แก่ตน เช่น ลูกศิษย์รู้คุณอาจารย์ลูกรู้คุณพ่อแม่.

รู้เค้า
ก. รู้ร่องรอย เช่น รู้เค้าว่าใครเป็นฆาตกร เก็บเงินไว้ให้ดีอย่าให้ใครรู้เค้า.

รู้งาน
ก. ทำงานเป็น, เข้าใจลักษณะงาน, เช่น แม้ว่าเขาจะเข้าใหม่ แต่ก็รู้งานดี.

รู้งู ๆ ปลา ๆ
(สํา) ก. รู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, รู้ไม่จริง.

รู้จัก
ก. เคยพบเคยเห็นและจําได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดีแม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว; คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า; รู้ เช่น รู้จักคิด รู้จักทำ.

รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
(สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา.

รู้จักเก็บรู้จักงำ
(สํา) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ.

รู้จักที่ต่ำที่สูง
ก. รู้จักเคารพบุคคลและสถานที่ตามควรแก่ฐานะเช่น เด็กพวกนั้นไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไปนั่งในที่ที่จัดไว้สำหรับผู้ใหญ่.

รู้จักมักคุ้น, รู้จักมักจี่
ก. คุ้นเคยกัน เช่น เขารู้จักมักคุ้นกับน้องฉันมานานแล้ว.

รู้จักมักคุ้น, รู้จักมักจี่
ก. คุ้นเคยกัน เช่น เขารู้จักมักคุ้นกับน้องฉันมานานแล้ว.

รู้จำ
ก. รู้แล้วจำได้, รู้จักจำ.

รู้แจ้ง
ก. เข้าใจตลอด, รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน, รู้แจ้งแทงตลอด ก็ว่า.

รู้ใจ
ก. รู้อัธยาศัยใจคอว่าเป็นอย่างไร หรือชอบอะไร ไม่ชอบอะไรเช่น ลูกน้องรู้ใจนาย, รู้เส้น ก็ว่า.

รู้ฉลาด
ก. เอารัดเอาเปรียบ เช่น เขารู้ฉลาดกินแต่ของเพื่อน ของตัวเก็บไว้.

รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง
ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.

รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง
ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.

รู้เช่นเห็นชาติ
(สํา) ก. รู้กําพืด, รู้นิสัยสันดาน, เช่น เขาชอบหักหลังคนอื่นเพื่อน ๆ รู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว.

รู้เชิง
ก. รู้กระบวนท่า, รู้ท่าที, รู้กลเม็ด, เช่น มวยคู่นี้ต่างก็รู้เชิงกัน.

รู้ดี
ก. อวดรู้, สู่รู้, เช่น อย่ารู้ดีไปหน่อยเลย.

รู้ดีรู้ชั่ว
ก. รู้ผลขั้นสุดท้าย, รู้ผลขั้นแตกหัก, เช่น หลังการชกพรุ่งนี้ก็จะรู้ดีรู้ชั่วว่าใครจะชนะ.

รู้ตัว
ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับแต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัวเช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.

รู้ตื้นลึกหนาบาง
ก. รู้ความเป็นไปของผู้อื่นอย่างละเอียด.

รู้เต็มอก
ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่เต็มอก ก็ว่า.

รู้ไต๋
ก. รู้ความลับ, รู้ความในใจ, เช่น พอเขามาตีสนิทก็รู้ไต๋แล้วว่าต้องการอะไร.

รู้ถึงหู
ก. รู้เพราะมีคนบอก เช่น เรื่องนี้อย่าให้รู้ถึงหูเขานะ.

รู้ทัน
ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสียเปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิดของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.

รู้ท่า
ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้องก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.

รู้ที
ก. รู้ชั้นเชิง, รู้เล่ห์เลี่ยม, เช่น มาบ่อย ๆ รู้ทีว่าคงจะประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง.

รู้เท่า
ก. รู้สึกสภาพที่เป็นจริง, รู้ตามความเป็นจริง, เช่น รู้เท่าสังขาร;รู้ทัน เช่น รู้เท่าความคิดของผู้อื่น, รู้เท่าทัน ก็ว่า.

รู้เท่าไม่ถึงการ
ก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.

รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ก. เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝากของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.

รู้น้อยพลอยรำคาญ
(สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ,มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.

รู้เนื้อรู้ตัว
ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัวเสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว.

รู้มลัก, รู้มลาก
[–มะ–] ก. รู้มากอย่าง, เข้าใจมาก.

รู้มลัก, รู้มลาก
[–มะ–] ก. รู้มากอย่าง, เข้าใจมาก.

รู้มาก
ก. เอาเปรียบ.

รู้มากยากนาน
(สํา) ก. รู้มากเกินไปจนทําให้ยุ่งยากใจ, มักพูดเข้าคู่กับรู้น้อยพลอยรําคาญ เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.

รู้ไม่จริง
ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของเพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.

รู้ไม่ถึง
ก. รู้ไม่ลึกซึ้งพอ เช่น หลักธรรมะขั้นสูงเช่นนี้ ฉันยังรู้ไม่ถึง.

รู้ยาวรู้สั้น
(สํา) ก. รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว.

รู้รส
ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสียบ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.

รู้เรื่อง
ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง.

รู้แล้วรู้รอด
ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที.

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
(สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร.

รู้สำนึก
ก. รู้สึกตัวว่าผิด เช่น ถูกลงโทษอย่างหนักแล้วยังไม่รู้สำนึก.

รู้สึก
ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุกเท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึกเช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึกสนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่าจะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้องยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.

รู้เส้น
ก. รู้ใจ เช่น เขารู้เส้นนายดี ลูกเขยรู้เส้นพ่อตาว่าชอบกินเหล้า.

รู้ไส้
ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยวกับฐานะการเงิน).

รู้หนเหนือหนใต้
ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ)เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้,โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือหนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.

รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
(สํา) ก. รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์.

รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
(สํา) ก. รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์.

รู้หาญรู้ขลาด
(สํา) ก. กล้าในที่ควรกล้า กลัวในที่ควรกลัว.

รู้เห็น
ก. รู้และเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น เขาเป็นพยานที่รู้เห็น.

รู้เห็นเป็นใจ
ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่นเขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.

รู้เหนือรู้ใต้
ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่นเดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยายหมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือหนใต้ ก็ว่า.

รู้อย่างเป็ด
(สํา) ก. รู้ไม่จริงสักอย่างเดียว.

รู้อยู่
ว. เลี้ยงง่าย, ไม่อ้อน, ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ว่า เด็กรู้อยู่; (ปาก) โดยปริยายหมายความถึงคนหรือสัตว์เลี้ยงบางชนิดที่ไม่ชอบเที่ยวเตร่.

รู้อยู่แก่ใจ
ก. รู้ซึ้งอยู่ในใจของตน เช่น รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนเป็นคนโกงแล้วยังคบกันอยู่ได้.

รู้เองเป็นเอง
ก. ว่าแต่ผู้อื่น ตัวเองก็ทําเช่นนั้น, ทํานองเดียวกับ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง.

รูจี
น. รุจี.

รูด
ก. กิริยาที่เอามือกําหรือจับสิ่งซึ่งมีลักษณะยาว ๆ ให้เลื่อนไปตามยาวเช่น รูดชะอม รูดใบมะยม รูดราวบันได เอาใบข่อยรูดปลาไหล.

รูดซิป
ก. ดึงซิปให้ติดกันหรือให้แยกออก; โดยปริยายหมายความว่าไม่ยอมเปิดปากพูดในเรื่องที่เป็นความลับ.

รูดทรัพย์
(ปาก) ก. ยึดเอาสิ่งมีค่า เช่น แหวน นาฬิกา สายสร้อยออกจากตัวโดยเจ้าของไม่รู้ตัว หรือโดยถูกขู่บังคับ.

รูดม่าน
ก. ดึงม่านหรือม่านบังตาให้เลื่อนไปตามราวเพื่อปิดหรือเปิด;โดยปริยายหมายความว่า สิ้นสุด, จบ, เช่น รูดม่านชีวิต.

รูทีเนียม
น. ธาตุลําดับที่ ๔๔ สัญลักษณ์ Ru เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๒๓๑๐?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. ruthenium).

รูบิเดียม
น. ธาตุลําดับที่ ๓๗ สัญลักษณ์ Rb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน สีขาว ไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างยิ่ง หลอมละลายที่ ๓๘.๙?ซ.(อ. rubidium).

รูป, รูป–
[รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคนรูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่;ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป.ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).

รูป, รูป–
[รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคนรูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่;ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป.ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).

รูปการณ์
น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูปการณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.

รูปไข่
น. มีรูปกลมรีอย่างไข่เป็ดไข่ไก่.

รูปเงา
(ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบเช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูปที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.

รูปโฉม
น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เช่น นางมีรูปโฉมงดงาม.

รูปโฉมโนมพรรณ
น. รูปร่างและผิวพรรณ เช่น นางในวรรณคดีมักมีรูปโฉมโนมพรรณงดงามยิ่ง.

รูปชี
(โบ) น. นักบวชหญิง.

รูปฌาน
[รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌานทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.

รูปถ่าย
น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบนแผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อให้รูปปรากฏ.

รูปทรง
น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึกและสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อนหรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึกและสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.

รูปธรรม
[รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูปเสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่นต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

รูปธรรมนามธรรม
น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ(ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็นเรื่องของรูปธรรมนามธรรม.

รูปแบบ
น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆอย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ดรูปแบบวัด.

รูปพยัญชนะ
น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, พยัญชนะก็เรียก.

รูปพรรณ
[รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัวรูปพรรณควาย; เงินทองที่ทําเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณทองรูปพรรณ.

รูปพรรณสัณฐาน
น. รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสันฐานอย่างไรสูงหรือต่ำ ดำหรือขาว.

รูปพรหม
น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกมีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม–).

รูปภพ
[รูบปะพบ] น. ภพของผู้ที่ได้รูปฌาน ๔, รูปภูมิ ก็ว่า.

รูปภาพ
น. รูปที่วาดหรือเขียนขึ้นเป็นต้น เช่น เขาเปิดร้านขายรูปภาพมีทั้งภาพสีน้ำมันและสีน้ำ; (ศิลปะ) สิ่งที่ปรากฏบนพื้น กระดาษ ผนังผ้าใบ เป็นต้น เกิดขึ้นจากการวาดหรือระบายสีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น.

รูปร่าง
น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง,เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอกเป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐานได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.

รูปลอก
น. ภาพบนแผ่นกระดาษเป็นต้น เมื่อนํามาปิดบนพื้นแล้วลอกกระดาษออก จะทําให้ภาพติดอยู่บนพื้นนั้น ๆ

รูปสมบัติ
[รูบปะสมบัด, รูบสมบัด] น. รูปงาม เช่น เขามีทั้งรูปสมบัติคุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ.

รูปสระ
น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.

รูปหล่อ
ว. มีรูปงาม (มักใช้แก่ผู้ชาย).

รูปเหลี่ยม
น. รูปที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรงอย่างน้อย ๓ เส้น ปลายเส้นจดกัน.

รูปิยะ
น. เงินตรา. (ป.).

รูปี
น. ชื่อหน่วยเงินตราอินเดีย.

รูเล็ตต์
น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือใช้ลูกงากลมใส่ในวงล้อที่หมุนอย่างเร็ววงล้อนั้นแบ่งเป็นช่อง ๆ สีแดงสลับดํา มีเลขกํากับทุกช่อง ผู้เล่นจะต้องแทงว่าลูกกลมนั้นจะตกที่ช่องใด โดยจะแทงแต่ละหมายเลขหรือจะแทงเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มเลข คู่–คี่ กลุ่มเลข สูง–ตํ่า หรือจะแทงสีก็ได้. (อ. roulette).


ความคิดเห็น