คำศัพท์ภาษาไทย ขึ้นต้นด้วย ห



พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็นอักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.

หก ๑
ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดยปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.

หกคว่ำ
ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำคะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับล้มคว่ำคะมำหงาย.

หกคะเมน
ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.

หกล้ม
ก. ล้มลง, ทรุดตัวลงเพราะเสียการทรงตัว.

หกโล่
[หกกะโล่] ก. หกกลิ้ง. (ต. โล่ ว่า กลิ้ง).

หกหัน
ก. หันกลับ, หมุนกลับ.

หกเหียน
น. เรียกไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา ว่าไม้หกเหียน.

หก ๒
น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Psittacidae หัวโต ปากหนาใหญ่ ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทํารังในโพรงไม้ มักเกาะห้อยหัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่(Psittinus cyanurus) หกเล็กปากแดง (Loriculus vernalis) และหกเล็กปากดํา (L. galgulus).

หก ๓
น. จํานวนห้าบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม.

หกบท
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

หง
ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสมสีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.

หงก ๆ
ว. อาการที่หัวหงุบลงแล้วเผยอขึ้นเร็ว ๆ, อาการที่เดินโดยทําหัวเช่นนั้นเรียกว่า เดินหงก ๆ.

หงส-, หงส์ ๑
[หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์. (ป., ส. หํส).

หงส-, หงส์ ๑
[หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์. (ป., ส. หํส).

หงสคติ
[หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่า.

หงสบาท
[หงสะบาด] ว. มีสีคล้ายเท้าหงส์ คือ สีแดงปนเหลือง, สีแดงเรื่อหรือ สีแสด ก็ว่า. (ป.).

หงสโปดก
[หงสะโปดก] (วรรณ) น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มีเช่น ดุจหงษโปฎกกระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย. (ม. คำหลวง มัทรี).

หงสรถ
[หงสะรด] น. พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม.

หงส์ร่อนมังกรรำ
น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทําเพื่อให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว.

หงสราช
[หงสะราด] น. พญาหงส์.

หงสลีลา, หงส์ลีลา ๑
[หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.

หงสลีลา, หงส์ลีลา ๑
[หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.

หงส์ลีลา ๒
[หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหางกวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).

หงส์แล่น
น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูนไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.

หงส์ ๒
[หง] น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิดเช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดํา (C. atratus).

หงส์ทอง
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

หงส์หยก
น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด Melopsittacus undulatus ในวงศ์ Psittacidaeตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว ปากสีนํ้าตาล กินเมล็ดพืช มีถิ่นกําเนิดในประเทศออสเตรเลีย.

หงอ
ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่ากลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.

หงอก
[หฺงอก] ว. ขาว (ใช้แก่ผมหรือหนวดเคราเป็นต้นที่เปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว).

หง่อง ๆ
ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึงเดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.

หงองแหงง
[หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.

หงอด, หงอด ๆ
[หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่นด้วยความไม่พอใจ.

หงอด, หงอด ๆ
[หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่นด้วยความไม่พอใจ.

หงอน
[หฺงอน] น. ขนหรือเนื้อที่งอกขึ้นบนหัวไก่และนกบางชนิด, โดยปริยายใช้เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ค้อนหงอน ขวานหงอน.

หงอนไก่
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Celosia argentea L. var. cristata Kuntze ในวงศ์Amaranthaceae ดอกสีแดงลักษณะคล้ายหงอนไก่. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิดHeritiera littoralis Ait. ในวงศ์ Sterculiaceae ผลเป็นสัน. (๓) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Cnestis palala Merr. ในวงศ์ Connaraceae ดอกสีแดงลักษณะคล้ายหงอนไก่, หงอนไก่ป่า ก็เรียก.

หงอนไก่ป่า
ดู หงอนไก่ (๓).

หง่อม
[หฺง่อม] ว. แก่มาก ในคำว่า แก่หง่อม.

หงอย
[หฺงอย] ว. ซึมเซา, ไม่ชุ่มชื่น, ไม่กระปรี้กระเปร่า, ไม่ร่าเริง.

หงอยก๋อย
ว. ซบเซา, จับเจ่า, เซื่องซึม, ง่วงเหงา.

หงอยเหงา
[หฺงอยเหฺงา] ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, เหงาหงอย ก็ว่า.

หง่อย
ว. เชื่องช้า, ไม่ฉับไว, เงื่อง.

หงัก
ว. มาก เช่น แก่หงัก, งั่ก ก็ว่า.

หงัก ๆ
ว. อาการที่สั่นสะท้าน; อาการที่เดินสั่น ๆ มา, งั่ก ๆ ก็ว่า.

หงับ ๆ
ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.

หง่าง
ว. เสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.

หงาย
ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.

หงายท้อง, หงายหลัง
(สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเองก็หงายท้องกลับมา.

หงายท้อง, หงายหลัง
(สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเองก็หงายท้องกลับมา.

หงายบาตร
(สำ) น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม.

หง่าว
ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่าโดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียกว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.

หงำ
[หฺงํา] ว. มากจนเลอะเทอะ เช่น เมาหงํา แก่หงํา.

หงำเหงอะ, หงำเหงือก
[หฺงําเหฺงอะ, หฺงำเหฺงือก] ว. หลงจนจำอะไรไม่ได้(ใช้แก่คนที่แก่มาก).

หงำเหงอะ, หงำเหงือก
[หฺงําเหฺงอะ, หฺงำเหฺงือก] ว. หลงจนจำอะไรไม่ได้(ใช้แก่คนที่แก่มาก).

หงิก
ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.

หงิกงอ, หงิก ๆ งอ ๆ
ว. คดงอไปมา เช่น ใบพริกถูกมดคันไฟขึ้นเลยหงิกงอใบโกรต๋นบางชนิดหงิก ๆ งอ ๆ ตามธรรมชาติ.

หงิกงอ, หงิก ๆ งอ ๆ
ว. คดงอไปมา เช่น ใบพริกถูกมดคันไฟขึ้นเลยหงิกงอใบโกรต๋นบางชนิดหงิก ๆ งอ ๆ ตามธรรมชาติ.

หงิง ๆ
ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.

หงิม, หงิม ๆ
ว. อาการที่แสดงท่าทางเฉย ๆ ไม่ค่อยพูด.

หงิม, หงิม ๆ
ว. อาการที่แสดงท่าทางเฉย ๆ ไม่ค่อยพูด.

หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน
(สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.

หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน
(สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.

หงึก ๆ
ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, งึก ๆ ก็ว่า.

หงึกหงัก
ว. ติด ๆ ขัด ๆ เช่น วันนี้สมองตื้อ จะเขียนอะไรก็ติดหงึกหงักไปหมด.

หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ
ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆหงิง ๆ.

หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ
ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆหงิง ๆ.

หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ
ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆหงิง ๆ.

หงุดหงิด
ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย, มีอารมณ์เสียเพราะไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามกำหนดเป็นต้น.

หงุบ, หงุบ ๆ
ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.

หงุบ, หงุบ ๆ
ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.

หงุบหงับ
ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยวอาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.

หงุ่ย
ว. อาการที่ทําสิ่งใดก็ทําเรื่อยไปแต่สิ่งนั้น, เพลินในการทําการงาน, ขลุกขลุ่ย.

หญ้า ๑
น. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา(Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.)หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิดที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.

หญ้า ๒
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาขี้ยอก. (ดู ขี้ยอก).

หญ้ากระจาม
ดู กระต่ายจาม (๑).

หญ้าเกล็ดหอย
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hydrocotyle sibthorpioides Lam. ในวงศ์ Umbelliferaeใบกลม ๆ คล้ายเกล็ดหอย.

หญ้าขัด
น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Sida วงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง เช่นชนิด S. rhombifolia L. ใช้ทํายาได้, ขัดมอน คัดมอน หรือ ยุงปัดแม่ม่ายก็เรียก.

หญ้าขัดใบยาว
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sida acuta Burm.f. ในวงศ์ Malvaceae,ข้าวต้ม ยุงกวาด หรือ ยุงปัด ก็เรียก.

หญ้าขัดหลวง
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sida subcordata Span. ในวงศ์ Malvaceae,ขัดมอนหลวง หรือ ขัดมอนตัวผู้ ก็เรียก.

หญ้างวงช้าง
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Heliotropium indicum R. Br. ในวงศ์ Boraginaceaeดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นช่อลักษณะคล้ายงวงช้าง, แพว ก็เรียก.

หญ้าจาม
ดู กระต่ายจาม (๑).

หญ้าใต้ใบ
น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิดP. amarus Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิดP. urinaria L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทํายาได้.

หญ้าถอดปล้อง
น. ชื่อเฟินชนิด Equisetum debile Roxb. ex Vauch. ในวงศ์ Equisetaceaeลําต้นเป็นปล้อง ๆ มักขึ้นตามรอยแตกของกําแพง ใช้ทํายาได้.

หญ้าน้ำดับไฟ
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lindenbergiaphilippensis (Cham.) Benth. ในวงศ์Scrophulariaceae ต้นและใบมีขน ใบออกตรงข้ามกัน ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อยาว ชอบขึ้นในที่ที่เป็นหินปูน.

หญ้าบัว
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xyris indica L. ในวงศ์ Xyridaceae ขึ้นตามทุ่งนาและที่ลุ่ม ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.

หญ้าปากคอก ๑
(สำ) ว. สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก, เช่น นี่เป็นเรื่องหญ้าปากคอก.

หญ้าปากคอก ๒
ดู ตีนกา ๓.

หญ้าปีนตอ
ดู ปิ่นตอ.

หญ้าฝรั่น
[-ฝะหฺรั่น] น. ชื่อเรียกยอดเกสรเพศเมียแห้งของไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Crocussativus L. ในวงศ์ Iridaceae ใช้ทํายาและเครื่องหอม. (อาหรับ za faran;อ. saffron).

หญ้าพันงู
น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Amaranthaceae ดอกมีกลีบรองแข็งคล้ายหนาม ใช้ทํายาได้ คือ หญ้าพันงูขาว (Achyranthes aspera L.)ลําต้นตั้ง ใบสีเขียว และ หญ้าพันงูแดง [Cyathula prostrata (L.)Blume] กิ่งทอดราบไปตามพื้นดิน ใบสีแดง ๆ.

หญ้าเพ็ก
ดู เพ็ก.

หญ้าแพรก
[-แพฺรก] น. ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineaeใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้; (สํา) สามัญชน ในความว่า ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ.

หญ้ายองไฟ
น. เขม่าไฟที่ติดหยากไย่ เป็นเส้นห้อยอยู่ตามหลังคาครัวไฟ.

หญ้ายายเภา
ดู ลิเภา.

หญ้ารกช้าง
ดู กะทกรก (๒).

หญ้ารากขาว
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Knoxia brachycarpa R. Br. ในวงศ์ Rubiaceae ดอกเล็กสีชมพู ใช้ทํายาได้.

หญ้าลิเภา
ดู ลิเภา.

หญ้าหนวดแมว
ดู พยับเมฆ ๒.

หญ้าแห้วหมู
ดู แห้วหมู ที่ แห้ว.

หญิง
น. คนที่มีมดลูก, ผู้หญิง ก็ว่า.

หญิงงามเมือง
น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือหญิงหากิน ก็ว่า.

หญิงสามผัว
(สำ) น. ผู้หญิงที่มีสามีถึง ๓ คน, ใช้พูดตำหนิเหยียดหยามว่าเป็นหญิงไม่ดี.

หญิงโสด
น. หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, สาวโสด ก็ว่า.

หญิงหากิน
น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณีนครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.

หญิบ
[หฺยิบ] ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร. (ม. คําหลวง ทศพร).

หด
ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับเช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นกลัวจนหัวหด.

หดหัว
ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอมโผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.

หดหาย
ก. น้อยลง, หมดไป, เช่น ยิ่งค้าขายนานวันเข้า ทุนรอนก็ยิ่งหดหายไป.

หดหู่
ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรมแล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.

หตะ
[หะ-] ก. ตี, ฆ่า, ทําลาย. (ป., ส.).

หทัย
[หะไท] น. หัวใจ, ใจ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระหทัย. (ป.; ส. หฺฤทย).

หน
น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่,เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด.(นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

หนทาง
น. ทาง, ช่องทาง, เช่น เวลานี้เขาหมดหนทางทำมาหากินแล้ว.

หนนะ
[หะนะนะ] น. การฆ่า, การตี, การกําจัด. (ป., ส.).

หนวก
[หฺนวก] ว. อาการที่หูขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง.

หนวกหู
ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียวหนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกันเสียงหนวกหูจริง.

หน่วง
[หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วงเวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามีประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.

หน่วงเหนี่ยว
[หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.

หนวด
[หฺนวด] น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึกหนวดแมว.

หนวดนาคราช
[หฺนวดนากคะราด] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).

หนวดพราหมณ์ ๑
[หฺนวดพฺราม] น. (๑) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม.(พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Seidenfadenia mitrata Garayในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีม่วงแดง กลิ่นหอม, เอื้องหนวดพราหมณ์ก็เรียก.

หนวดพราหมณ์ ๒
[หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็กสากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลายที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างในนํ้ากร่อยหรือทะเล.

หนวดพราหมณ์ ๓
[หฺนวดพฺราม] น. เชือกหลาย ๆ เส้นที่ผูกโยงปลายเสาหรือที่โยงเอาของขึ้นไปในที่สูง.

หนวดพราหมณ์ ๔
[หฺนวดพฺราม] น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้าที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่งเรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.

หนวดแมว
[หฺนวด-] น. หญ้าหนวดแมว. (ดู พยับเมฆ ๒).

หน่วย
[หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลักหน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็นหนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตาล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่วและโป).

หน่วยก้าน
น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไปได้ไกล.

หน่วยกิต
[-กิด] น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึงได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกําหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, เครดิตก็เรียก.

หน่วยคำ
น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).

หน่วยดาราศาสตร์
น. หน่วยที่ใช้วัดระยะทางในระบบสุริยะ ๑ หน่วยดาราศาสตร์ มีค่าเท่ากับ ระยะทางเฉลี่ยระหว่างจุดศูนย์กลางของโลกกับจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ คือ ประมาณ ๑๔๙.๖ x ๑๐๙ เมตรหรือประมาณ ๙๒.๙ ล้านไมล์. (อ. astronomical unit; อักษรย่อ A.U.).

หนอ
[หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอน่าอนาถจริงหนอ.

หน่อ
น. พืชที่งอกจากกอหรือเหง้าของต้นใหญ่, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เกิดเช่นนั้น;ลูก, ลูกชาย, เชื้อสาย; แผลเรื้อรังที่เกิดจากคุดทะราด เป็นตามฝ่าเท้า.

หน่อเนื้อเชื้อไข
น. ลูกหลานเหลนเป็นต้นที่สืบสายโลหิต, ผู้สืบสายโลหิตเช่น เขาเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของฉันเอง.

หน่อไม้
น. หน่อของต้นไผ่.

หนอก ๑
[หฺนอก] น. ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, ก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมาที่ต้นคอของคนบางคน เช่น เธออ้วนจนคอเป็นหนอก, เนื้อใต้ท้องน้อยเช่น นุ่งผ้าขัดหนอก.

หนอก ๒
[หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)].

หนอกช้าง
[หฺนอก-] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ผักชีล้อม. (ดู ชีล้อม ที่ ชี ๒).

หนอง ๑
[หฺนอง] น. แอ่งนํ้า.

หนอง ๒
[หฺนอง] น. นํ้าเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี,น้ำหนอง ก็ว่า.

หนองใน
น. ชื่อกามโรคชนิดหนึ่ง เกิดหนองมีเชื้อในช่องปัสสาวะ.

หนองแซง
[หฺนอง-] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. รสมันมีถิ่นกําเนิดจากอําเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี.

หน็องแหน็ง
ว. กะหน็องกะแหน็ง.

หนอน ๑
[หฺนอน] น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิดเมื่อฟักออกจากไข่ มีรูปร่างทรงกระบอกหรือรูปกรวย ลําตัวอ่อนนุ่มเป็นปล้อง เคลื่อนที่โดยการคืบคลานไป.

หนอนกระทู้
ดู กระทู้ ๓.

หนอนกระสือ
ดู กระสือ ๓.

หนอนกอ
น. ชื่อหนอนของผีเสื้อซึ่งเจาะกินเข้าไปในลําต้นข้าว ทําให้ข้าวไม่ออกรวง หรือออกรวงแต่เมล็ดลีบเป็นสีขาว ซึ่งเรียกว่า ข้าวหัวหงอกส่วนใหญ่เป็นหนอนของผีเสื้อชีปะขาว.

หนอนบ่อนไส้
(สํา) น. ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย.

หนอนม้วนใบข้าว
ดู ขยอก ๑.

หนอนหนังสือ
(สํา) น. คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ.

หนอน ๒
[หฺนอน] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลําตัวยาวอ่อนนุ่ม ไม่มีรยางค์.

หนอนด้น
ดู ตัวจี๊ด.

หนอนพยาธิ
[หฺนอนพะยาด] (ปาก) น. พยาธิตัวกลม.

หนอนตายหยาก
น. (๑) ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae ชนิดS. collinsae Craib เป็นไม้เถาล้มลุก, กะเพียดช้าง หรือ ปงช้าง ก็เรียก;ชนิด S. tuberosa Lour. เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ขึ้นเป็นกอเตี้ย, กะเพียดหรือ กะเพียดหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากอวบคล้ายรากกระชาย ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและทํายาพอกแผลกําจัดหนอน. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิดClitoria macrophylla Wall. ในวงศ์ Leguminosae รากคล้าย ๒ ชนิดแรกแต่โตกว่า ดอกสีขาว, อัญชันป่า ก็เรียก.

หน่อไม้น้ำ
น. ชื่อหญ้าชนิด Zizania latifolia (Griseb.) Turcz. ในวงศ์ Gramineaeใบแบนยาว หน่ออ่อนที่เชื้อราลงจะพองออก กินได้.

หน่อไม้ฝรั่ง
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Asparagus officinalis L. ในวงศ์ Asparagaceaeหน่ออ่อนกินได้.

หน่อย
ว. นิดหนึ่ง, น้อยหนึ่ง, ไม่มาก, เช่น ขอหน่อย เดินอีกหน่อยก็ถึง; ประเดี๋ยว,ไม่ช้า, ไม่นาน, เช่น รอหน่อย กินเหล้ามาก ๆ อีกหน่อยก็ตาย.

หน็อยแน่
ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อไม่พอใจหรือผิดหวัง เช่น หน็อยแน่ ! ทําผิดแล้วยังจะอวดดีอีก.

หนัก
ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่นรบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติเช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.

หนักกบาล, หนักกบาลหัว
(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่นถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัวหนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.

หนักกบาล, หนักกบาลหัว
(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่นถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัวหนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.

หนักกะลาหัว
(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำอย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัวหรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.

หนักข้อ
ก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าวอย่างไรก็ไม่ฟัง. ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.

หนักใจ
ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่นเขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำหนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.

หนักท้อง
ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.

หนักนิดเบาหน่อย
ว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่นเป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน.

หนักแน่น
ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่นไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.

หนักปาก
ว. ไม่ทันได้พูด เช่น คุยกันอยู่ตั้งนาน หนักปากไปหน่อยเลยไม่ได้ถามว่าชื่ออะไร.

หนักแผ่นดิน
(สํา) ว. ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมืองของตน, เสนียดสังคม.

หนักมือ
ว. มากไป เช่น แกงหม้อนี้ใส่เกลือหนักมือไปหน่อย, แรงไปเช่น เด็กเล่นตุ๊กตาหนักมือไปหน่อย แขนตุ๊กตาเลยหลุด; กําเริบ เช่นโจรผู้ร้ายหนักมือขึ้นทุกวัน.

หนักไม่เอา เบาไม่สู้
(สํา) ว. ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน.

หนักสมอง
ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.

หนักหน่วง
ว. จริงจัง, มาก, ยิ่ง, เช่น เขาพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อส่งเสียให้ลูกเรียน.

หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์
ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิดครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.

หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์
ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิดครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.

หนักหน้า
ก. มีภาระต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น เรื่องนี้หัวหน้าคณะหนักหน้าอยู่คนเดียว.

หนักหัว
ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว,หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้วก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัวหรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.

หนักหัวกบาล
(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหนก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัวหรือ หนักหัว ก็ว่า.

หนักอก
ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก.ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็นหนักอกหนักใจ.

หนัง ๑
น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือเป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่นหนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนังฉายหนัง เล่นหนัง.

หนังกลับ
น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่าสุนัขหนังกลับ.

หนังกลางวัน ๑
น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้ายหนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.

หนังกำพร้า
น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, ผิวหนัง ก็เรียก.

หนังไก่
น. ชื่อแพรหรือกระดาษพิมพ์ที่มีเนื้อย่นคล้ายหนังไก่.

หนังง่า
น. ตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ (ลัทธิ).

หนังเงียบ
(ปาก) น. ภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม.

หนังตะลุง
น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็กคีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง 'และฆ้องคู่บรรเลงประกอบผู้เชิดเป็นผู้พากย์.

หนังเรียด
น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดยสอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพนเปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลองถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.

หนังโลม
น. ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยวนางเบญกาย, โลม ก็ว่า.

หนังสด
น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่าผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.

หนังสติ๊ก
น. เครื่องยิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยแถบยางผูกติดกับสิ่งที่เป็นง่ามซึ่งมักเป็นไม้ ยิงด้วยลูกกระสุนที่ตามปรกติเป็นลูกดินปั้นกลม ๆ.

หนังหน้าไฟ
(สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิดมา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.

หนังหุ้มกระดูก
(สำ) น. เรียกลักษณะของคนหรือสัตว์ที่ผอมมากจนมองเห็นแนวโครงกระดูกว่า ผอมจนหนังหุ้มกระดูก.

หนังเหนียว
ว. อยู่ยงคงกระพัน เช่น ลือกันว่าโจรคนนี้หนังเหนียว ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า, โดยปริยายหมายความว่า มีประสบการณ์มากรู้เท่าทันไปทุกสิ่งทุกอย่าง.

หนังใหญ่
น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอและหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคนกัน.

หนัง ๒
น. เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว ว่า ขนุนหนัง.(ดู ขนุน ๑). (เทียบ ม. nanga).

หนังกลางวัน ๑
ดูใน หนัง ๑.

หนังกลางวัน ๒
น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ๆ.

หนังสือ
น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.

หนังสือเดินทาง
น. หนังสือสําคัญประจําตัวซึ่งทางราชการของประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการเดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.

หนังสือบริคณห์สนธิ
(กฎ) ดู บริคณห์สนธิ.

หนังสือพิมพ์
น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตามปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตามมีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.

หนังสือรับรองการทำประโยชน์
(กฎ) น. หนังสือคํารับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดงว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.

หนังสือราชการ
น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ.

หนังสือเวียน
น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง,ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.

หนังสือสัญญา
(กฎ) น. ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทําขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร.

หนั่น
ว. แน่น, แน่นหนา, เช่น เนื้อหนั่น. (โบ) ก. หนุน.

หนับ
ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อยเช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.

หนา ๑
น. ส่วนสูงมากจากผิวพื้น. ว. มีส่วนสูงมากจากผิวพื้น; แน่นทึบ, มาก,ตรงข้ามกับ บาง.

หนาตา
ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหูเป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.

หนาแน่น
ว. คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.

หนาหู
ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหูว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็นคำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.หนาหูหนาตา ดู หนาตา และ หนาหู.

หนา ๒
คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่นอยู่เถิดหนา.

หน้า
น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยาหน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่นกระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนังเช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคนเช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้าไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับหลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

หน้ากระฉีก
น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนมเช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.

หน้ากระดาน
ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกันเช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงายหรือใต้บัวคว่ำ.

หน้ากระดูก
น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.

หน้ากร้าน
น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.

หน้ากล้อ
น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.

หน้ากาก
น. เครื่องบังใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน.

หน้ากาฬ
น. เกียรติมุข.

หน้าเก้อ
ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไปเช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.

หน้าเก่า
ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดาราหน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.

หน้าแก่
ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมากที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.

หน้าขบ
ดู หน้าร่าหุ์, หน้าราหู.

หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง
น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.

หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง
น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.

หน้าขา
น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า.

หน้าข้าวตัง
น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอดก็ว่า.

หน้าขึงตาขึง
น. หน้าซึ่งแสดงว่าโกรธหรือไม่พอใจอย่างมาก.

หน้าขึ้นนวล
น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคนโบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามักจะขึ้นนวล.

หน้าเข้ม
ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าตึง ก็ว่า.

หน้าเข้มคม
น. ใบหน้าหล่อมีเสน่ห์ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้ชายผิวคล้ำหรือดำแดง).

หน้าเขียง
น. แม่ครัวประจำเขียง.

หน้าเขียว
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว;หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.

หน้าแข้ง
น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.

หน้าคมขำ
น. ใบหน้าสวยซึ้งชวนพิศ คิ้วดกดำ ตาคม '(ใช้แก่ผู้หญิงผิวคล้ำหรือดำแดง).

หน้าคว่ำ
ว. ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก
ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.

หน้างอก
น. หน้าผากกว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติ.

หน้างัว
ดู หน้าวัว ๑ ใน หน้า.

หน้าแง
น. ส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้ว เช่น นักมวยถูกชกหน้าแง.

หน้าจ๋อย
ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะถูกครูตำหนิ.

หน้าจั่ว
น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและแดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้านคู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.

หน้าจืด
ว. มีสีหน้าซีดหรือไม่เข้มคม.

หน้าเจี๋ยมเจี้ยม
ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.

หน้าเจื่อน
ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น.

หน้าฉาก
(สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับหลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับหลังฉาก.

หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง
น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินีเช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.

หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง
น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินีเช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.

หน้าเฉย
ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่งหรือเหตุการณ์ใด ๆ.

หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย
ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนาเช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.

หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย
ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนาเช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.

หน้าโฉนด
[-ฉะโหฺนด] (ปาก) น. หนังสือสำคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.

หน้าชา
ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.

หน้าชื่นตาบาน
ว. มีสีหน้าเบิกบานแจ่มใส.

หน้าชื่นอกตรม
ว. ที่ทำเป็นร่าเริงแต่ในใจมีทุกข์, หน้าชื่นอกกรม ก็ว่า.

หน้าเชิด
น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่งหรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.

หน้าซีก
น. หน้าด้านข้าง (เห็นตาและหูข้างเดียว).

หน้าซีด
ว. มีสีหน้าไม่สดใสหรือไม่มีสีเลือดเพราะอดนอน ตกใจ หรือถูกจับได้ว่าทำผิดเป็นต้น.

หน้าซื่อใจคด
(สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.

หน้าเซ่อ
ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ.

หน้าเซียว
ว. มีสีหน้าแสดงความอิดโรยไม่สดใสเพราะอดนอนมากเป็นต้น.

หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา
ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา
ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา
ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.

หน้าดำ
น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงานกลางแจ้งเป็นต้น.

หน้าดำคล้ำเครียด
น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.

หน้าดำหน้าแดง
ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.

หน้าเดิม
ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มีแต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.

หน้าแดง
น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธเป็นต้น.

หน้าตัก
น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิโดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่นพระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก

หน้าตั้ง ๑
น. ของว่างซึ่งทําด้วยหมู กุ้ง และกะทิ สําหรับกินกับข้าวตังทอด.

หน้าตั้ง ๒
ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง), หน้าเริด ก็ว่า.

หน้าตัวเมีย
น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย).

หน้าตา
น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่นนักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศของตน.

หน้าตาขึงขัง
ว. สีหน้าที่แสดงว่าเอาจริงเอาจัง ดูน่ากลัว.

หน้าตาตื่น, หน้าตื่น
ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟหน้าตาตื่นมา.

หน้าตาตื่น, หน้าตื่น
ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟหน้าตาตื่นมา.

หน้าต่าง
น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสงสว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.

หน้าตาย
น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย.ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.

หน้าตึง
ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าเข้ม ก็ว่า; มีสีหน้าแดงหรือเข้มขึ้นเพราะเริ่มเมา.

หน้าตูม
ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูมเชียว.

หน้าเตา
น. แม่ครัวประจําเตา.

หน้าถอดสี
ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าเผือดหรือ หน้าเผือดสี ก็ว่า.

หน้าถัง
น. หน้าร้านหรือโรงที่เปิดปิดด้วยกระดานเป็นแผ่น ๆ สอดเรียงเลื่อนไปตามรางที่ทำไว้.

หน้าท้อง
น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้องที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.

หน้าทับ
น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขกซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอกสัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.

หน้าทะเล้น
ว. อาการที่ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลหรือโอกาส.

หน้าที่
น. กิจที่จะต้องทําด้วยความรับผิดชอบ.

หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน
น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินีเช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.

หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน
น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินีเช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.

หน้านวล ๑
น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้ง ไข่ขาว น้ำตาลทราย ใส่พิมพ์รูปคล้ายเรือแล้วอบ.

หน้านวล ๒
ว. มีสีหน้าผุดผ่องเป็นน้ำเป็นนวล, คนโบราณเชื่อว่า หญิงที่มีครรภ์ถ้ามีหน้านวลอยู่เสมอ แสดงว่า บุตรในครรภ์จะเป็นเพศหญิง.

หน้านิ่วคิ้วขมวด
ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น.

หน้าเนื้อใจเสือ
(สํา) ว. มีหน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจเหี้ยมโหด.

หน้าบอกบุญไม่รับ
ว. มีสีหน้าบึ้งตึง เช่น เขาผิดหวังอะไรมา ทำหน้าบอกบุญไม่รับ.

หน้าบัน
น. จั่ว (ใช้แก่ปราสาท โบสถ์ วิหาร เป็นต้น).

หน้าบาง
ว. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย.

หน้าบาน
ว. ทําหน้าแสดงอาการดีใจ เช่น เขาหน้าบานเพราะสอบได้ที่ ๑.

หน้าบูด
ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูดเพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูดก็ว่า.

หน้าเบ้
น. หน้าที่แสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือ เจ็บปวดเป็นต้น.

หน้าปลาจวด
น. หน้าแหลมอย่างหัวปลาจวด.

หน้าป๋อหลอ
ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.

หน้าปัด
น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้นเช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า.

หน้าปูเลี่ยน ๆ
ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า.

หน้าเป็น
ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ.

หน้าเปิด
น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.

หน้าผา
น. ด้านภูเขาที่มีแผ่นหินตั้งชัน.

หน้าผาก
น. ส่วนเบื้องบนของใบหน้าอยู่เหนือคิ้วขึ้นไป.

หน้าผี
น. หน้าตาอัปลักษณ์น่าเกลียดน่ากลัว.

หน้าเผือด, หน้าเผือดสี
น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า.

หน้าเผือด, หน้าเผือดสี
น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า.

หน้าพาทย์
น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษีหรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆเช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมารสําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์.ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.

หน้าพาทย์แผลง
[-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อเดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่นเพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึงเพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.

หน้าไฟ
น. เวลาที่จุดไฟเผาศพ เช่น พระสวดหน้าไฟ.

หน้ามอด
น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตังก็ว่า.

หน้าม่อย
ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีดเสื้อตัวสวยไหม้.

หน้าม้า
น. ผู้ที่ทําเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนันเป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย,โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.

หน้าม้าน
ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน.

หน้ามืด
ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.

หน้ามุข
น. ส่วนของอาคารที่ยื่นเด่นออกมาทางหน้า.

หน้าไม่รับแขก
น. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใครอาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้.

หน้าไม่อาย
ว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ.

หน้าไม้
น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้.

หน้ายิ้ม ๆ
ว. อาการยิ้มน้อย ๆ อย่างมีเลศนัย.

หน้ายุ่ง
ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น.

หน้าระรื่น
น. หน้ายิ้มอยู่เสมอ.

หน้ารับแขก
น. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำ.

หน้าร่าหุ์, หน้าราหู
น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.

หน้าร่าหุ์, หน้าราหู
น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.

หน้าเริด
ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มาแต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา,หน้าตั้ง ก็ว่า.

หน้าเลือด
ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.

หน้าวอก
น. หน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป.

หน้าวัว ๑
น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยม ทําด้วยดินเผา เรียกว่า กระเบื้องหน้าวัว; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ เรียกว่า กระเบื้องหน้าวัว กระเบื้องว่าว หรือกระเบื้องขนมเปียกปูน.

หน้าแว่น
น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียกขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็นแผ่นบาง ๆ.

หน้าสว่าง
น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า.

หน้าสลด
น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ.

หน้าสิ่วหน้าขวาน
(สำ) ว. อยู่ในระยะอันตรายเพราะอีกฝ่ายหนึ่งกําลังโกรธหรือมีเหตุการณ์วิกฤตเป็นต้น.

หน้าเสีย
ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขาหน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.

หน้าเสี้ยว
น. หน้าด้านข้าง (เห็นตา ๒ ข้างและหูข้างเดียว).

หน้าหงาย
ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไปขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้องหน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.

หน้าหัก
น. หน้าซึ่งมีสันจมูกคล้ายหักเข้าไป.

หน้าเหี่ยว
น. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนาเช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.

หน้าแหก
(ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.

หน้าแหง
[-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา.

หน้าแห้ง
ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง.

หน้าใหญ่ใจโต
ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขาชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย.

หน้าใหม่
ว. ที่เพิ่งเคยเห็นหรือรู้จักกัน เช่น นักร้องหน้าใหม่.

หน้าไหว้หลังหลอก
(สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.

หน้าอก
น. ส่วนภายนอกของอก, นมของผู้หญิง, อก ก็ว่า.

หน้าอ่อน
ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้วแต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.

หน้าอัด
น. หน้าตรง, หน้าเต็ม, หน้าตรงแบน, (ใช้แก่รูปวาด รูปถ่ายหรือเหรียญ).

หน้าอินทร์หน้าพรหม
น. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.

หนากาสรี
[หฺนากาสะหฺรี] น. ดอกชบา. (ช.).

หน่าง
(ถิ่น-พายัพ) น. อวน, ข่าย; รั้ว, คู.

หนาด
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Blumea balsamifera (L.) DC. ในวงศ์ Compositaeใบใหญ่มีขน กลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้ เชื่อกันว่าผีกลัว.

หนาน
(ถิ่น-พายัพ) น. เรียกคนที่สึกจากเพศภิกษุว่า หนานนั่น หนานนี่.

หน้านวล ๑
ดูใน หน้า.

หน้านวล ๒
ดูใน หน้า.

หน้านวล ๓
ดู กระดูกอึ่ง.

หน้านวล ๔
ดู หมอช้างเหยียบ.

หนาม ๑
น. ส่วนแหลม ๆ ที่งอกออกจากต้นหรือกิ่งของไม้บางชนิดเป็นต้น เช่นหนามงิ้ว หนามพุทรา.

หนามเตย
น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลังจระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวนเป็นต้น.

หนามยอกอก
(สํา) น. คนหรือเหตุการณ์ที่ทําให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา.

หนามยอกเอาหนามบ่ง
(สํา) ก. ตอบโต้หรือแก้ด้วยวิธีการทํานองเดียวกัน.

หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม
(สํา) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.

หนาม ๒
น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Murex วงศ์ Muricidae เปลือกมีหนามสั้นหรือยาวโดยรอบ เช่น ชนิด M. trapa.

หนามขี้แรด
น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Acacia pennata Willd. ในวงศ์ Leguminosaeต้นมีหนาม เปลือกใช้ย้อมแหอวนและใช้ทํายาได้.

หนามเขียะ
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระบองเพชร. (ดู กระบองเพชร ๒).

หนามควายนอน
ดู การเวก ๓.

หนามจี้
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคนทา. (ดู คนทา).

หนามแดง
น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดงคล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.

หนามพรม
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa cochinchinensis Pierre ในวงศ์ Apocynaceaeต้นมีหนามแข็ง, พรม ก็เรียก.

หนามพุงดอ, หนามรอบตัว, หนามเหม็น
ดู พุงดอ.

หนามพุงดอ, หนามรอบตัว, หนามเหม็น
ดู พุงดอ.

หนามพุงดอ, หนามรอบตัว, หนามเหม็น
ดู พุงดอ.

หนามหลัง
ดู ตามิน.

หนามใหญ่
ดู หัวโขน ๓.

หน่าย
ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำเบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.

หน่ายหนี
ก. จากไปเพราะเบื่อหรือทนไม่ไหวเป็นต้น.

หน่ายแหนง
[หฺน่ายแหฺนง] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น,แหนงหน่าย ก็ว่า.

หนาว
ว. เย็นจัด, อาการที่รู้สึกเย็นจัด.

หนาวใจ
ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.

หนาวดอกงิ้ว
น. ระยะเวลาที่ต้นงิ้วออกดอก ประมาณเดือนยี่ อากาศเย็นกว่าธรรมดา เช่น น้ำค้างพรมลงเฉื่อยเรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้วงิ้วออกดอกไสว. (นิ. ประธม).

หนาว ๆ ร้อน ๆ
ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาวก็ว่า.

หนาวสะท้าน
ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึกครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.

หนาวสันหลัง
ว. รู้สึกหวาดกลัว, เสียวสันหลัง ก็ว่า.

หนาวเหน็บ
ว. หนาวมากจนรู้สึกชาคล้ายเป็นเหน็บ.

หนาวอารมณ์
ว. รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ.

หน้าวัว ๑
ดูใน หน้า.

หน้าวัว ๒
น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Anthurium วงศ์ Araceae ดอกและใบประดับมีสีต่าง ๆ.

หนำ
ว. มากพอกับความต้องการ เช่น อิ่มหนำสำราญ.

หนำใจ
ว. สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น กินให้หนำใจ เที่ยวเสียหนำใจ.

หนำเลี้ยบ
น. ชื่อผลของไม้ต้นชนิด Canarium pimela Leenh. ในวงศ์ Burseraceaeผลสุกสีม่วงดำ นำมาดองเค็มใช้เป็นอาหาร. (จ.).

หนี
ก. ไปเสียให้พ้น, หลีกไปให้พ้น, เช่น หนีภัย หนีทุกข์; หลีกเลี่ยง เช่นหนีภาษี หนีโรงเรียน.

หนีร้อนมาพึ่งเย็น
(สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่มีความสงบสุข.

หนีเสือปะจระเข้
(สํา) ก. หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง.

หนีหน้า
ก. หลบไม่ยอมให้พบหน้า.

หนี้
น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ)นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึงการที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.

หนี้เกลื่อนกลืนกัน
(กฎ) น. หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุที่สิทธิและความรับผิดในหนี้นั้นตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน.

หนี้สิน
น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง.

หนี้สูญ
น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ได้.

หนีบ
ก. คีบหรือบีบให้แรงให้แน่นด้วยของที่เป็นง่ามเช่นง่ามนิ้วมือหรือตะไกรเป็นต้น.

หนีเสือ
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

หนึก
[หฺนึก] ว. หนึบ.

หนึ่ง
น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่นหนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็นหนึ่งในรุ่น.หนึ่งไม่มีสอง ว. เป็นเลิศอยู่คนเดียว.

หนึบ
ว. ลักษณะของสิ่งของที่เหนียวและมีเนื้อแน่นด้วย เรียกว่า เหนียวหนึบ.

หนืด
ว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด,โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืดใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).

หนุ
[หะนุ] น. คาง. (ป., ส.).

หนุน
ก. รองให้สูงขึ้น เช่น เสื้อหนุนไหล่, ดันให้สูงขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน;ส่งเสริม เช่น หนุนให้สอบชิงทุนรัฐบาล, เพิ่มเติม เช่น หนุนทัพ; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองหัว เช่น หนุนหมอน หนุนตัก หนุนขอนไม้. ว. ที่เพิ่มเติม เช่น ทัพหนุน.

หนุนเนื่อง
ก. เพิ่มเติมเข้ามาไม่ขาดสาย เช่น กองทัพข้าศึกหนุนเนื่องเข้ามา.

หนุนหลัง
ก. ดันให้หลังแอ่น; สนับสนุนอยู่ข้างหลัง.

หนุบ, หนุบ ๆ
ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ;อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.

หนุบ, หนุบ ๆ
ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ;อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.

หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ
ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของเป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.

หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ
ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของเป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.

หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ
ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของเป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.

หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ
ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของเป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.

หนุ่ม
น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชายที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.

หนุ่มทั้งแท่ง
น. หนุ่มบริสุทธิ์.

หนุ่มทั้งแท่งมากินแตงเถาตาย
(สำ) น. หนุ่มบริสุทธิ์ได้แม่ม่ายอายุมากเป็นภรรยา.

หนุ่มน้อย
น. ชายที่อยู่ในวัยรุ่น.

หนุ่มแน่น
ว. หนุ่มเต็มที่.

หนุ่มเหน้า
[-เน่า] (โบ) ว. กําลังสาว, กําลังหนุ่ม.

หนุ่มใหญ่
น. ชายที่อยู่ในวัยกลางคน.

หนุ่ย
ว. ทุย, โน.

หนู ๑
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่(Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะนําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของบางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.

หนูตกถังข้าวสาร
(สํา) น. ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงที่รุ่มรวย, ตกถังข้าวสาร ก็ว่า.

หนูติดจั่น
(สํา) ว. จนปัญญา, หาทางออกไม่ได้.

หนู ๒
(ปาก) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คําสําหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดูเช่น หนูแดง หนูน้อย.

หนูผี
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Soricidae รูปร่างคล้ายหนูแต่ตัวเล็กมาก ขาสั้น มีนิ้วตีนข้างละ ๕ นิ้ว หางยาว ขนนุ่มสั้น ใบหูเล็กจมูกยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัด ตาหยีเล็ก มุดหาแมลงกินตามกองไม้และใบไม้ที่กองทับถมกันนาน ๆ มีหลายชนิด เช่น หนูผีนา (Crocidurafuliginosa) หนูผีบ้าน (C. murina) หนูผีจิ๋ว (C. etrusca).

ห่ม ๑
ก. ขย่ม เช่น เด็กห่มกิ่งพุทรา ห่มเสาเข็ม.

ห่ม ๒
ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่นห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.

ห่มครุย, ห่มเสื้อครุย
ก. สวมเสื้อครุยโดยสวมเฉพาะแขนซ้าย เอาแขนเสื้อข้างขวาโอบหลังไปสอดรักแร้ขวาแล้วตวัดพาดบนไหล่ซ้าย.

ห่มครุย, ห่มเสื้อครุย
ก. สวมเสื้อครุยโดยสวมเฉพาะแขนซ้าย เอาแขนเสื้อข้างขวาโอบหลังไปสอดรักแร้ขวาแล้วตวัดพาดบนไหล่ซ้าย.

ห่มคลุม
น.เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดไหล่ทั้ง๒ ข้าง.

ห่มดอง
น. เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าและมีผ้ารัดอก.

หมก ๑
ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัวอยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหารบางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.

หมกมุ่น
ก. ฝังใจมุ่งไปทางเดียว เช่น เขาหมกมุ่นอยู่กับงาน.

หมกไหม้
ว. ร้อนระอุ เช่น ตกนรกหมกไหม้, มีความทุกข์มาก เช่นหัวอกหมกไหม้.

หมก ๒
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก ๒).

หมด
ก. สิ้น เช่น หมดลม หมดกิเลส หมดปัญญา, ไม่มี เช่น เงินหมด ฝนหมด,จบ เช่น หมดรายการ. ว. ไม่มีอะไรเหลือ เช่น กินหมด ใช้หมด.หมดกรรม, หมดกรรมหมดเวร, หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือสิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก
(ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่นเขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.

หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก
(ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่นเขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.

หมดกระเป๋า, หมดตูด, หมดพก
(ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, เช่นเขาเสียการพนันจนหมดกระเป๋า.

หมดกัน
คําออกเสียงแสดงความเสียดายหรือผิดหวังเป็นต้น.

หมดกันที
ก. สิ้นสุดกันที.

หมดเกลี้ยง
ว. ไม่มีเหลือ เช่น เด็กกินขนมจนหมดเกลี้ยง.

หมดเขต
ก. หมดระยะเวลาที่กําหนดไว้ เช่น สิ้นเดือนนี้หมดเขตส่งภาพเข้าประกวด.

หมดเขี้ยวหมดงา, หมดเขี้ยวหมดเล็บ
(สํา) ก. หมดอํานาจวาสนา, สิ้นฤทธิ์, สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ก็ว่า.

หมดเขี้ยวหมดงา, หมดเขี้ยวหมดเล็บ
(สํา) ก. หมดอํานาจวาสนา, สิ้นฤทธิ์, สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ก็ว่า.

หมดเคราะห์
ก. สิ้นเคราะห์กรรมที่เลวร้าย.

หมดจด
ว. สะอาด, ผ่องใส, เช่น เขาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสะอาดหมดจด;ไม่มีตําหนิ, ไม่ด่างพร้อย, เช่น เขามีความประพฤติหมดจด.

หมดตัว, หมดเนื้อหมดตัว
ว. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น เขาถูกโกงจนหมดเนื้อหมดตัว.

หมดตัว, หมดเนื้อหมดตัว
ว. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น เขาถูกโกงจนหมดเนื้อหมดตัว.

หมดตำรา
(สํา) ว. จนปัญญา, หมดทาง, หมดฝีมือ, สิ้นตํารา ก็ว่า.

หมดตูด
(ปาก) ว. หมดเงิน, ไม่มีเงินเหลือ, หมดกระเป๋า หรือ หมดพกก็ว่า.

หมดท่า
ว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดินหกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.

หมดบุญ
ก. สิ้นอำนาจวาสนา, หมดอำนาจ หรือ หมดวาสนาบารมี ก็ว่า;(ปาก) ตาย.

หมดประตู
ก. ไม่มีทาง, หมดหนทาง, หมดทางสู้.

หมดเปลือก
ว. แจ่มแจ้ง, ไม่มีอะไรเคลือบแฝง, เช่น เขาอธิบายจนหมดเปลือก เขาพรรณนาเรื่องราวอย่างละเอียดจนหมดเปลือก.

หมดฝีมือ
ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือเลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.

หมดพุง, หมดไส้หมดพุง
ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง;อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง,สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

หมดพุง, หมดไส้หมดพุง
ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง;อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง,สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

หมดราคี
ว. ไม่มีมลทิน, ไม่มัวหมอง.

หมดราคีคาว
ว. ไม่มีความมัวหมองทางชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).

หมดราศี
ว. มีหน้าตาหมองคล้ำ เช่น พอหมดอำนาจก็หมดราศี.

หมดรูป
ว. อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช, หมดท่า ก็ว่า.

หมดลม
ก. ตาย, ขาดใจ สิ้นใจ สิ้นลม หรือ หมดอายุ ก็ว่า.

หมดวาสนาบารมี
ก. หมดอำนาจ.

หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม
ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป,หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือสิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม
ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป,หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือสิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

หมดสติ
ก. สิ้นสติ, ไม่มีความรู้สึก, สลบ.

หมดไส้หมดพุง
ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.

หมดหวัง
ก. ไม่มีความหวังเหลืออยู่เลย, สิ้นหวัง ก็ว่า.

หมดอายุ
ก. ตาย, ขาดใจ, สิ้นใจ สิ้นลม หรือ หมดลม ก็ว่า.

หมดอาลัย
ก. ไม่มีใจผูกพัน; ไม่มีความหวังเช่น หมดอาลัยในชีวิต.

หมดอาลัยตายอยาก
ก. ทอดอาลัยเพราะไม่มีความหวังใด ๆ เหลืออยู่.

หมดอาลัยไยดี
ก. ไม่มีเยื่อใยหลงเหลืออยู่เลย.

หมดอำนาจ, หมดวาสนาบารมี
ก. สิ้นอำนาจวาสนา, หมดบุญ ก็ว่า.

หมดอำนาจ, หมดวาสนาบารมี
ก. สิ้นอำนาจวาสนา, หมดบุญ ก็ว่า.

หม่น
ว. มีลักษณะมัว ๆ หรือคล้ำ ๆ (ใช้แก่สี) เช่น สีฟ้าหม่น สีเขียวหม่น.

หม่นหมอง
ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, เช่น หน้าตาหม่นหมอง จิตใจหม่นหมอง, หมองหม่น ก็ว่า.

หม่นไหม้
ว. มีทุกข์ร้อนตรมตรอมใจ.

หมวก
[หฺมวก] น. เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดดกันฝนเป็นต้น.

หมวกกะโล่
น. หมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้วหุ้มผ้า หรือทําด้วยใบลาน.

หมวกกะหลาป๋า
น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.

หมวกกันน็อก
น. (ปาก) หมวกนิรภัย.

หมวกแก๊ป
น. หมวกทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้นที่มีกะบังหน้า.

หมวกแจว
น. ไม้ที่สวมหัวแจวสําหรับจับ.

หมวกทรงหม้อตาล
น. หมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวกที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวม.(รูปภาพ หมวกทรงหม้อตาล)

หมวกนิรภัย
น. หมวกสำหรับสวมป้องกันหรือลดอันตรายเมื่อศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนเป็นต้น, (ปาก) หมวกกันน็อก.

หมวกหนีบ
น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาด รูปทรงคล้ายซองจดหมายอย่างยาว.

หมวกหู
น. ขอบหูตอนบน.

หมวกหูกระต่าย
น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทําด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง.(รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)

หมวกเห็ด
น. ส่วนที่เป็นดอกของเห็ด.

หมวกเหล็ก
น. หมวกสำหรับทหารหรือตำรวจสวมเพื่อป้องกันอันตรายจากอาวุธเป็นต้น.

หมวด
[หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็นจุกเดียวกัน.

หมวน
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. ขุ่น.

หมอ ๑
น. ผู้รู้, ผู้ชํานาญ, เช่น หมองู หมอนวด; ผู้ตรวจรักษาโรค เช่น หมอฟันหมอเด็ก.

หมอขวัญ
น. ผู้รู้พิธีทําขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.

หมอความ
(ปาก) น. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี, ทนาย หรือ ทนายความ ก็เรียก.

หมอแคน
น. ผู้มีความชำนาญในการเป่าแคน, อีสานเรียก ช่างแคน.

หมองู
น. ผู้มีความชำนาญในการจับงูเห่ามาเลี้ยงเพื่อนำไปแสดง.

หมองูตายเพราะงู
น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.

หมอเฒ่า
น. ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง,หมอขวัญ ก็เรียก.

หมอดู
น. ผู้ทํานายโชคชะตาราศี.

หมอตำแย
น. หญิงที่มีอาชีพทําคลอดตามแผนโบราณ.

หมอทำขวัญ
น. ผู้รู้พิธีทำขวัญ, หมอขวัญ ก็เรียก.

หมอนวด
น. ผู้มีความชำนาญในการนวดเพื่อให้คลายจากความเจ็บปวดหรือเมื่อยขบ.

หมอน้อย ๑
น. อุปกรณ์ที่ใช้ในการนวดเช่นนมไม้; เรียกตัวปลิงที่ใช้กอกเลือดว่า หมอน้อย.

หมอน้ำมัน
น. ผู้ชํานาญในการขี่ช้างตกมัน.

หมอผี
น. ผู้ที่เชื่อกันว่ามีอำนาจเลี้ยง ควบคุม ใช้งานและปราบผีเป็นต้นได้.

หมอพัดโตนด
[-ตะโหฺนด] น. หมอรักษาโรคช้างในทางยา.

หมอยา
(ปาก) น. ผู้มีความรู้ในการใช้ยารักษาโรค.

หมอลำ
น. ผู้ชํานาญในการขับร้องแบบอีสาน.

หมอเสน่ห์
น. ผู้ที่เชื่อกันว่ารู้วิชาอาคมทำให้คนรักกันหรือชังกัน.

หมอ ๒
(ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่นหมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น,(ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้ายหมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.

หมอ ๓
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อมแบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้างและเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจักคล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดีขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ดก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.

หมอตาล
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Helostoma temminckii ในวงศ์ Anabantidaeลําตัวแบนข้างและกว้างมากกว่าปลาหมอ ปากยืดหดได้ และมีนิสัยเอาปากชนกับตัวอื่น จึงเรียกกันว่า ปลาจูบ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนหรือขาวนวล พบในเขตที่ลุ่ม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ใบตาล อีตาลอีโก๊ะ หรือ วี ก็เรียก.

หม่อ
น. เรียกลูกวัวหรือควายเล็ก ๆ ว่า ลูกหม่อ.

หม้อ
น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง,เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียกตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.

หม้อกระดี่
น. หม้อแกงขนาดใหญ่ปากกว้าง ทำด้วยดิน มีขีดเป็นรอยโดยรอบ.

หม้อเกลือ
น. หม้อตาลใส่เกลือเม็ด ใช้สำหรับตั้งไฟให้ร้อน นำมาห่อหรือพันด้วยใบพลับพลึง ใช้นาบท้องและตามตัวหญิงแรกคลอดบุตร เพื่อคลายความเมื่อยตึงตัวเป็นต้น.

หม้อแกง
น. ชื่อขนมหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยกะทิ ไข่ น้ำตาล ใส่ถาดผิงไฟสุกแล้วมักโรยหอมเจียว เรียกว่า ขนมหม้อแกง.

หม้อขาง
(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. กระทะที่ทำด้วยเหล็กขาง.

หม้อตาล ๑
น. ภาชนะดินเผามีรูปร่างคล้ายหม้อทรงเตี้ยสําหรับใส่นํ้าตาลโตนด, เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวกที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวม ว่าหมวกทรงหม้อตาล.(รูปภาพ หม้อตาล)

หม้อตาล ๒
น. ชื่อขนมหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีเป็นรูปทรงหม้อตาลขนาดเล็กแล้วหยอดน้ำตาล มีสีต่าง ๆ.

หม้อทะนน
น. หม้อดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีขีดเป็นรอยโดยรอบสําหรับใส่นํ้า นํ้าตาลโตนด เป็นต้น, (ปาก) หม้อคะนน.

หม้อน้ำ
น. หม้อโลหะขนาดใหญ่ ใช้ต้มนํ้าทําให้เกิดไอนํ้าเดือดที่มีแรงดันสูงเพื่อหมุนเครื่องจักรเป็นต้น; อุปกรณ์ของเครื่องยนต์บางชนิด สําหรับบรรจุนํ้าเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์.

หม้อแปลง, หม้อแปลงไฟ
น. อุปกรณ์ไฟฟ้าสําหรับแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือตํ่าลง ชนิดแรกเรียกว่า หม้อแปลงขึ้น ชนิดหลังเรียกว่าหม้อแปลงลง.

หม้อแปลง, หม้อแปลงไฟ
น. อุปกรณ์ไฟฟ้าสําหรับแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือตํ่าลง ชนิดแรกเรียกว่า หม้อแปลงขึ้น ชนิดหลังเรียกว่าหม้อแปลงลง.

หม้อไฟ
น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายชาม ก้นหม้อมีเชิง ตรงกลางมีกระบอกสูงขึ้นมาจากใต้ก้นหม้อสำหรับใส่ถ่านติดไฟปากหม้อมีฝาปิด ใช้สำหรับใส่เกาเหลา แกงจืด เป็นต้น, หม้อหยวนโล้ก็เรียก.

หม้อหนู
น. หม้อดินขนาดเล็กสำหรับต้มน้ำกระสายยาเป็นต้น.

หม้อหยวนโล้
ดู หม้อไฟ.

หม้ออวย
น. หม้อดินหรือหม้อเคลือบที่มีด้ามหรือหูสำหรับจับหรือหิ้ว.

หมอก
[หฺมอก] น. ละอองน้ำขนาดเล็กมากที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากการกลั่นตัวของไอนํ้า ลอยอยู่ในอากาศ. ว. สีเทาแก่อย่างสีเมฆ, เป็นฝ้ามัวเช่น ตาหมอก.

หม้อแกงค่าง
ดู หม้อแกงลิง.

หม้อแกงลิง
น. ชื่อไม้เถาชนิด Nepenthes ampullaria Jack ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นในป่าพรุทางภาคใต้ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปกระเปาะมีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ หม้อแกงค่าง ก็เรียก.

หม้อข้าวหม้อแกงลิง
ดู หม้อแกงลิง.

หมอง
[หฺมอง] ว. ขุ่น, มัว, เช่น เครื่องแก้วหมอง เครื่องเงินหมอง, ไม่ผ่องใส,ไม่แจ่มใส, เช่น หน้าหมอง.

หมองใจ
ก. ขุ่นใจ, มีใจไม่ผ่องใส; ขัดเคืองกัน.

หมองมัว
ว. ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน.

หมองหม่น
ว. ไม่ผ่องใส, ไม่สบายใจ, ไม่เบิกบาน, หม่นหมอง ก็ว่า.

หมองหมาง
ว. ไม่ผ่องใสเพราะมีความขุ่นเคืองใจ.

หม่อง
น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่งใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.

หมอช้างเหยียบ
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pristolepis fasciatus ในวงศ์ Nandidae พบทั่วไปรูปร่างคล้ายปลาหมอ หรือ ปลาเสือ แต่แบนข้างและกว้างกว่า ข้างตัวมีลายคลํ้าหลายลายพาดขวาง ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ช้างเหยียบกระตรับ ตะกรับหน้านวล ก๋า หรือ อีก๋า ก็เรียก.

หมอไทย
ดู หมอ ๓.

หมอน
[หฺมอน] น. เครื่องสําหรับหนุนศีรษะหรือหนุนสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกตามรูปทรงก็มี เช่น หมอนขวาน หมอนตะพาบ หมอนหน้าอิฐ, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หมอนหนุนศีรษะ หมอนหนุนเท้า หมอนหนุนรางรถไฟ, เรียกตามวัตถุที่ใช้ทำก็มี เช่น หมอนไม้ หมอนอิฐ; เครื่องสําหรับอัดดินปืนในลํากล้องให้แน่น.

หมอนขวาน
น. หมอนที่ทําหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง.

หมอนข้าง
น. หมอนที่มีลักษณะกลมยาวเกินกึ่งกาย นิยมวางข้าง ๆ ยาวไปตามที่นอน.

หม่อน
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Morus alba L. ในวงศ์ Moraceae ใช้ใบสําหรับเลี้ยงตัวไหม ผลสุกกินได้.

หมอนทอง
น. (๑) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. (๒) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.

หมอน้อย ๑
ดูใน หมอ ๑.

หมอน้อย ๒
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Murraya koenigii (L.) Spreng. ในวงศ์ Rutaceae ใบมีขนนุ่ม ใช้ทํายาได้.

หมอบ
[หฺมอบ] ก. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น,ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; (ปาก) สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น,เช่น ถูกตีเสียหมอบ เป็นไข้เสียหมอบ.

หมอบกระแต
(สํา) ก. หมอบนิ่งไม่มีทางสู้.

หมอบกราบ
ก. หมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น.

หมอบราบคาบแก้ว
(สํา) ก. ยอมตามโดยไม่ขัดขืน, ยอมแพ้โดยดี.

หม่อม
น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตรชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุลราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาคทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมีตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่าหม่อมบุนนาค.

หม่อมเจ้า
น. คํานําหน้านามโอรสธิดาในพระองค์เจ้าชั้นพระบรมวงศ์.

หม่อมฉัน
ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือสําหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

หม่อมราชวงศ์
น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมเจ้า.

หม่อมหลวง
น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมราชวงศ์.

หม่อมห้าม
น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่าหม่อม.

หมอย
[หฺมอย] น. ขนที่ของลับ; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นฝอยที่ปลายฝักข้าวโพดว่า หมอยข้าวโพด. (ถิ่น-พายัพ) เรียกหนวดว่า หมอยปาก เคราว่าหมอยคาง ขนรักแร้ว่า หมอยแร้.

หม้อห้อม
(ถิ่น-พายัพ) น. เรียกเสื้อคอกลม แขนสั้นผ่าอกตลอด มักย้อมสีนํ้าเงินเข้มหรือดํา ว่า เสื้อหม้อห้อม, เขียนเป็น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม ก็มี.

หมัก
ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด)เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.

หมักหมม
ก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.

หมัด ๑
น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในอันดับ Siphonaptera ตัวยาวประมาณ๕ มิลลิเมตรไม่มีปีก ลําตัวแบนข้าง มีขนเรียงเป็นแถวข้างลําตัวบริเวณปล้องแต่ละปล้อง หัวและอกเล็กกว่าท้อง ขายาว กระโดดได้เก่งปากเป็นชนิดเจาะดูด ดูดเลือดคนและสัตว์กินเป็นอาหาร เช่น หมัดคน (Pulexirritans)หมัดหมา (Ctenocephalides canis) หมัดหนู (Xenopsyllacheopsis)ในวงศ์ Pulicidae.

หมัด ๒
น. กําปั้น, มือที่กําแน่นสําหรับชกหรือทุบเป็นต้น.

หมัน ๑
น. ด้ายดิบเป็นต้นที่ใช้คลุกกับชัน นํ้ามันยาง สําหรับยัดแนวเรือ.

หมัน ๒
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cordia cochinchinensis Pierre ในวงศ์ Ehretiaceaeเปลือกใช้ทําปอได้.

หมัน ๓
ว. ไม่สามารถมีบุตรได้; ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น งานนี้ทำไปก็เป็นหมัน.

หมั่น
ก. ขยัน, ทําหรือประพฤติบ่อย ๆ อย่างเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, เช่น หมั่นทำการบ้าน หมั่นมาหา.

หมั้น
ก. มอบสิ่งของให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.น. (กฎ) การที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง; เรียกของที่มอบให้นั้นว่า ของหมั้น, ถ้าเป็นทองเรียกว่า ทองหมั้น, ถ้าเป็นแหวน เรียกว่า แหวนหมั้น, ผู้ที่หมั้นกันแล้วเรียกว่า คู่หมั้น.

หมั่นไส้
ก. ชังนํ้าหน้า, รู้สึกขวางหูขวางตา; (ปาก) ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก),เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า.

หมับ
ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้าหมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า.

หมับ ๆ
ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, มับ ๆ ก็ว่า.

หมา ๑
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ลําตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว ๒ คู่ ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน ๑ ชิ้น ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่นหมาใน (Cuon alpinus) ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris.หมากลางถนน น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแลเช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.

หมากัดไม่เห่า
(สำ) น. คนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า.

หมากัดอย่ากัดตอบ
(สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.

หมาขี้ไม่มีใครยกหาง
(สํา) น. คนที่ชอบยกตัวเอง, คนโอ้อวด.

หมาขี้เรื้อน
(สำ) น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าวถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม).

หมาจนตรอก
(สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ในสำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.

หมาจิ้งจอก
น. ชื่อหมาชนิด Canis aureus ในวงศ์ Canidae ขนตามลําตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์.

หมาถูกน้ำร้อน
(สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่านไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่านไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.

หมาใน
น. ชื่อหมาชนิด Cuon alpinus ในวงศ์ Canidae ขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา หางสีคลํ้ายาวเป็นพวง อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ออกหากินเป็นฝูงเวลาเช้ามืดและพลบคํ่า ล่าสัตว์อื่นกิน เช่น เก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เล็ก ๆ.

หมาในรางหญ้า
(สำ) น. คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาหวงราง ก็ว่า.

หมาบ้าพาลกระแชง
(สำ) น. คนที่อาละวาดพาลหาเรื่องทำให้วุ่นวายทั่วไปหมด.

หมาป่า
น. ชื่อหมาหลายชนิดในวงศ์ Canidae มีถิ่นกําเนิดเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก ขนลําตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและเขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิดCanis vulpes พบในทวีปอเมริกาเหนือ, ชนิด Chrysocyon brachyurusพบในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus พบในทวีปยุโรป, ชนิดFennecus zerda พบในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureus)และหมาใน (Cuon alpinus) พบในทวีปเอเชีย.

หมาลอบกัด
(สำ) น. คนที่ลอบทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง.

หมาไล่เนื้อ
(สำ) น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็นนายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อเมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดูอีกต่อไป.

หมาสองราง
(สํา) น. คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่าย.

หมาหมู่
(ปาก) น. กลุ่มคนที่กลุ้มรุมทําร้ายคนคนเดียว.

หมาหยอกไก่
(สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาวเป็นทีเล่นทีจริง.

หมาหวงก้าง
(สํา) น. คนที่หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนได้ใช้ประโยชน์แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้.

หมาหวงราง
(สำ) น. คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาในรางหญ้า ก็ว่า.

หมาหัวเน่า
(สํา) น. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเข้ากับใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา.

หมาหางด้วน
(สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้วชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง.

หมาเห็นข้าวเปลือก
(สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวยความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวยประโยชน์ให้แก่ตนได้.

หมาเห่าใบตองแห้ง
(สํา) น. คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง.

หมาเห่าไม่กัด
(สำ) น. คนที่ดีแต่ส่งเสียงเอะอะอวดเก่ง แต่ไม่ยอมต่อสู้หรือตอบโต้.

หมา ๒
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะสำหรับตักน้ำขึ้นจากบ่อ ทำด้วยกาบปูเลเป็นต้น,ตีหมา ก็เรียก. (ม. timba).

หม่า
(ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็นระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว,เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.

หม้า
(โบ; กลอน) ว. งาม, งามมาก. ก. เล่นรื่นเริง.

หมาก ๑
น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิดAreca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่ากินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะเรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียกหมากยับ.

หมากกรอก
น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่าเนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้กิน,หมากเม็ด ก็เรียก.

หมากกระเตอะ, หมากหน้ากระเตอะ
น. ผลหมากที่มีหน้าจวนแก่.

หมากกระเตอะ, หมากหน้ากระเตอะ
น. ผลหมากที่มีหน้าจวนแก่.

หมากกั๊ก
น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ผ่าตามยาวออกเป็น ๔ ซีก แล้วนำไปตากแดดให้แห้งจนเปลือกล่อนหลุดออก เพื่อเก็บเนื้อ'ไว้กินได้นาน ๆ.

หมากเขียว
น. ชื่อปาล์มชนิด Ptychosperma macarthurii Nichols.ในวงศ์ Palmae ก้านและใบเขียว.

หมากคัน
ดู เต่าร้าง.

หมากจุก
น. เนื้อหมากดิบสดที่นำมาเจียนอย่างหมากเจียน แล้วจึงซอยตามยาวออกเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.

หมากเจียน
น. ผลหมากดิบสดที่ผ่าตามยาวออกเป็นซีก ๆ นำมาเจียนใช้กินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.

หมากซอย
น. เนื้อหมากดิบสดที่ผ่าออกเป็น ๔ ซีก รูปคล้ายกลีบส้มนำมาซอยขวางเป็นชิ้นรูปสามเหลี่ยมบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.

หมากดิบ
น. หมากที่ยังไม่แก่.

หมากแดง
น. ชื่อปาล์มชนิด Cyrtostachys renda Blume ในวงศ์ Palmaeกาบและก้านแดง.

หมากป่น
น. เศษเนื้อหมากที่เหลือจากการทำหมากซอย หมากหน้าแว่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมกันเข้า ตากแดดให้แห้ง.

หมากแปะ
น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลมบาง ๆตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากอีแปะ หรือ หมากหน้าแว่น ก็เรียก.

หมากฝรั่ง
น. ของเคี้ยวเล่นอย่างหนึ่ง ทําจากสารคล้ายยางไม้ มักหุ้มด้วยสารหวาน แล้วปรุงให้มีกลิ่นและรสต่าง ๆ เมื่อเคี้ยวจะยืดหยุ่นคล้ายยาง.

หมากเม็ด
น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่าเนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้กิน, หมากกรอก ก็เรียก.

หมากยับ
น. หมากที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินได้นาน ๆ.

หมากลิง
น. ชื่อปาล์มชนิด Areca triandra Roxb. ในวงศ์ Palmae.

หมากสง
น. หมากที่แก่จัด.

หมากสมัด
[หฺมากสะหฺมัด] น. ผลหมาก พลูจีบ และยาเส้น จัดเป็นชุดสำหรับขาย. (ข. สฺลาถฺมาต่).

หมากสุก
น. ผลหมากแก่จัด เปลือกสีส้มอมแดง เมื่อผ่าจะเห็นเนื้อในแข็งมาก. ว. เรียกสีส้มอมแดงอย่างสีเปลือกหมากสุก ว่า สีหมากสุก.

หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด
น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็นว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้มเป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.

หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด
น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็นว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้มเป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.

หมากหน้าแว่น
น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลมบาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากแปะ หรือ หมากอีแปะ ก็เรียก.

หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน
น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่าเนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้นในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.

หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน
น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่าเนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้นในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.

หมากหลุม
น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกทั้งเปลือกบรรจุลงในหลุมที่ลึกประมาณ ๑ ศอก ราดน้ำพอชุ่มแล้วปิดคลุมปากหลุมให้มิดชิดทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.

หมากหอม
น. หมากแห้งที่ป่นเป็นผง ผสมกับเครื่องเทศบางอย่างที่มีกลิ่นหอม ใช้กินควบกับหมากและพลูที่บ้ายปูน หรืออมดับกลิ่นปาก.

หมากเหลือง
น. ชื่อปาล์มชนิด Chrysalidocarpus lutescens Wendl.ในวงศ์ Palmae กาบเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ.

หมากแห้ง
น. หมากที่ตากแห้งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ.

หมากไห
น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกมาลอกผิวนอกออก บรรจุลงในไหให้เต็ม เติมน้ำสะอาดพอท่วม ปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้จนเปลือกเน่าเพื่อเก็บไว้กินแรมปี.

หมากอีแปะ
น. หมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ.

หมาก ๒
น. ผลไม้ เช่น หมากขาม แต่เสียงมักกร่อนเป็น มะ เช่น มะขาม.

หมาก ๓
น. เรียกสิ่งของที่เป็นหน่วยเป็นลูกว่า หมาก เช่น หมากเก็บ หมากรุก;(โบ) ลักษณนามเรียกของที่เป็นเม็ดเป็นลูกว่า หมาก เช่น แสงสิบหมากว่า พลอยสิบเม็ด.

หมากเก็บ
น. การเล่นของเด็กใช้เม็ดกรวดหรือลูกไม้โยนแล้วเก็บ มีวิธีการเล่นและกติกาต่าง ๆ.

หมากไข่หำ
(ถิ่น-อีสาน, พายัพ) น. ลูกอัณฑะ, หำ หรือ ไข่หำ ก็เรียก.

หมากแยก
น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันอย่างกระดานหมากรุก.

หมากรุก
น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากซึ่งมีรูปและชื่อต่างกันได้แก่ขุน เรือ ม้า โคน เม็ด และเบี้ย เดินบนกระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งเป็น๖๔ ตาเท่า ๆ กันเรียกว่า กระดานหมากรุก.

หมากฮอส
น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันเหมือนกระดานหมากรุก แต่ระบายสี๒ สีสลับกันทุกตา เดินหมากตามตาทแยง.

หมากข่วง
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกําจัด. (ดู กําจัด ๑).

หมากแข้ง
(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นมะเขือพวง, ต้นมะแว้ง. (ดู มะเขือพวง ที่ มะเขือ และมะแว้ง).

หมากทัน
(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).

หมากผาง
ดู มงโกรย (๒).

หมากผู้หมากเมีย
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cordyline fruticosa (L.) Goeppert ในวงศ์ Agavaceaeใช้ทํายาได้, พันธุ์ใบแคบเรียก หมากผู้, พันธุ์ใบกว้างเรียก หมากเมีย.

หมากม่วน
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นท้อ. (ดู ท้อ ๒).

หมากมาศ
ดู มะแข่น.

หมากเม่า, หมากเม่าควาย
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Antidesma velutinosum Blume ในวงศ์ Stilaginaceae.

หมากเม่า, หมากเม่าควาย
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Antidesma velutinosum Blume ในวงศ์ Stilaginaceae.

หมากหนาม
ดู เล็บเหยี่ยว.

หมากหอมควาย
น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).

หมาง
ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดากหน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่นคนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.

หมางใจ
ก. ผิดใจ, ขุ่นเคืองใจ.

หมางเมิน
ก. ห่างเหินเพราะขุ่นเคืองใจจนไม่อยากเห็นหน้า.

หมาด
ว. แห้งไม่สนิท, เกือบแห้ง, เช่น ผ้านี้ยังหมาดอยู่.

หมาด ๆ
(ปาก) ว. ที่เพิ่งได้หรือเสร็จเป็นต้นมาใหม่ ๆ เช่น เขาเพิ่งได้เลื่อนตำแหน่งมาหมาด ๆ.

หมามุ่ย, หมามุ้ย
น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Mucuna วงศ์ Leguminosae ฝักมีขนคันมาก เช่น ชนิด M. gigantea DC. ฝักแบนใหญ่, ชนิด M. pruriens DC.ฝักกลม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก.

หมามุ่ย, หมามุ้ย
น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Mucuna วงศ์ Leguminosae ฝักมีขนคันมาก เช่น ชนิด M. gigantea DC. ฝักแบนใหญ่, ชนิด M. pruriens DC.ฝักกลม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก.

หมาไม้
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula ในวงศ์ Mustelidaeหัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลําตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน หางยาวขนที่คาง ลําคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดํา เล็บแหลมคม กินผลไม้และเนื้อสัตว์ ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่.

หมาย
น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่นหมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

หมายกำหนดการ
น. เอกสารแจ้งกําหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า 'นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า'เสมอไป.

หมายเกณฑ์
(กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเกณฑ์.

หมายขัง
(กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.

หมายค้น
(กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของหรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.

หมายความ
ก. มุ่งจะกล่าวถึง.

หมายความว่า
ก. ตีความว่า, แปลความว่า.

หมายจับ
(กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลย.

หมายจำคุก
(กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้จําคุกผู้ต้องคําพิพากษาให้จําคุกหรือประหารชีวิต.

หมายใจ
ก. ปองไว้, มุ่งหวังไว้, คาดไว้.

หมายตัว
ก. กําหนดตัวไว้.

หมายตา
ก. มองไว้ด้วยความมั่นหมาย, มั่นหมายใจไว้.

หมายน้ำบ่อหน้า
(สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.

หมายบังคับคดี
(กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.

หมายปล่อย
(กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ต้องขังหรือจําคุกตามหมายศาล.

หมายมั่น
ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่, มั่นหมาย ก็ว่า.

หมายมั่นปั้นมือ
(สำ) ก. มุ่งมั่นจะเอาหรือจะเป็นให้ได้.

หมายยา
น. ฉลากยา.

หมายรับสั่ง
น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า'ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ'.

หมายเรียก
(กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐานให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.

หมายเลข
น. เลขลําดับ เช่น หมายเลขโทรศัพท์, ลําดับที่ เช่น ผู้ประกวดหมายเลข ๑.

หมายหน้า
ก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.

หมายหัว
ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัวไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่นเด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ.

หมายเหตุ
น. คำอธิบาย ข้อความ หรือข้อมูลเพิ่มเติม.

หมายอาญา
(กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับแล้วด้วย.

หม้าย ๑
ว. ม่าย.

หม้าย ๒
ดู กระดูกค่าง.

หมาร่า
น. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือเล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือเหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenespetiolata.

หม่ำ
(ปาก) ก. กิน (มักใช้แก่เด็กทารก).

หม้ำ, หม้ำตับ
(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียดคลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับก็เรียก.

หม้ำ, หม้ำตับ
(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียดคลุกข้าวสุก เกลือและเครื่องหอมขยําให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับก็เรียก.

หมิ่น ๑
ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก็ว่า.

หมิ่นประมาท
ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
[หฺมิ่นพฺระบอรมมะเดชานุพาบ] ก. กระทําการอันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์.

หมิ่น ๒
ว. ในที่เกือบตก เกือบพลาดตก.

หมิ่นเหม่
ว. อาการที่เข้าไปหรืออยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ใกล้อันตรายหรือเสียหายเป็นต้น, ล่อแหลม.

หมี
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ชนิด คือ หมีควาย (Selenarctos thibetanus) ตัวใหญ่ ขนยาวดํา อกมีขนสีขาว รูปง่าม และ หมีหมา หรือ หมีคน (Helarctos malayanus) ตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดํา ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.

หมี่ ๑
น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้งว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบหมี่กะทิ. (จ.).

หมี่ ๒
น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลายแล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, ผ้ามัดหมี่ ก็เรียก.

หมีเหม็น
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litsea glutinosa (Lour.) C.B. Rob. ในวงศ์ Lauraceaeใบรูปรี มีขนนุ่ม ดอกสีเหลืองอ่อน.

หมึก ๑
น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่าดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียนหรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ลายมือ.

หมึกจีน
น. แท่งหมึกสีดำ ก่อนใช้ต้องฝนกับน้ำ แล้วใช้พู่กันป้ายเขียน.

หมึก ๒
ดู ปลาหมึก.

หมืน
(ถิ่น-พายัพ) ก. เป็นผื่นขึ้นมาก ๆ ตามผิวเนื้อ.

หมื่น ๑
ว. จํานวนนับเท่ากับ ๑๐ พัน.

หมื่น ๒
(โบ) น. ชื่อบรรดาศักดิ์ในราชการ เหนือพันขึ้นไป.

หมื่น ๓
(ปาก) ว. ทะลึ่ง, ทะเล้น.

หมุด
น. เครื่องสําหรับตรึงหรืออุดรู; เรียกเข็มที่หัวเป็นปุ่ม ใช้กลัดกระดาษหรือผ้าเป็นต้น ว่า เข็มหมุด; ผ้ากอซที่ใช้สอดเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับของเหลวภายใน.

หมุน
ก. หันเวียนไปในแนวโค้ง เช่น โลกหมุน, ทําให้หันเวียนไปในแนวโค้งเช่น หมุนเข็มนาฬิกา, (ปาก) นำสิ่งของไปจำนำหรือขายเพื่อเอาเงินมาใช้.

หมุนเงิน
ก. ทําให้เงินเปลี่ยนมือโดยวิธีให้กู้หรือลงทุนเป็นต้นเพื่อมุ่งผลประโยชน์.

หมุนเวียน
ก. เวียนไป, เปลี่ยนมือไป.

หมุบ, หมุบ ๆ
[หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.

หมุบ, หมุบ ๆ
[หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.

หมุบหมับ
ว. อาการที่หยิบฉวยหรือกินโดยเร็ว เช่น แย่งกันกินหมุบหมับ,บางทีก็ใช้แยกกัน เช่น คว้าคนละหมุบคนละหมับ.

หมุบหมิบ
ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ,ขมุบขมิบ ก็ว่า.

หมุ่ย
ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, มุย ก็ว่า.

หมุยขาว
ดู กระเบียน (๒).

หมู ๑
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วนจมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดุด; (ปาก) บุคคลที่อาจหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย เช่น นักมวยต่างประเทศคนนี้อย่าไปคิดว่าหมูนะ.

หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด
(สํา) น. คนที่เข้าไปขัดขวางขณะที่ผู้อื่นทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งกําลังจะสําเร็จ.

หมูเขี้ยวตัน
(ปาก) น. บุคคลที่คิดว่าจะหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่กลับปรากฏว่าตรงกันข้ามเช่น นักมวยที่สั่งมาชกโดยคิดว่าจะเป็นหมูกลับกลายเป็นหมูเขี้ยวตันไป.

หมูแดง
น. เนื้อหมูคลุกนํ้าซีอิ๊วหรือเต้าหู้ยี้เป็นต้นแล้วย่างให้สุกระอุ.

หมูตั้ง
น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่นเป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.

หมูเทโพ
น. ชื่อแกงคั่วส้มชนิดหนึ่ง ใช้หมูแทนปลาแกงกับผักบุ้งเป็นต้น.

หมูแนม
น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม)หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือโขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลกหรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตองมัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้มหรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วยข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.

หมูในเล้า
(สํา) น. สิ่งที่อยู่ในเงื้อมมือ.

หมูในอวย
(สํา) น. สิ่งที่อยู่ในกํามือ.

หมูป่า
น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมูบ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมีขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปากกินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทยเป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.

หมูไปไก่มา
(สํา) ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นต้น.

หมูแผ่น
น. ของกินทําด้วยเนื้อหมูแล่เป็นแผ่นบาง ๆ ปรุงรส ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วปิ้งให้สุก.

หมูยอ
น. ของกินทําด้วยเนื้อหมูผสมเครื่องปรุงบดแล้วอัดเป็นแท่งและนึ่งให้สุก.

หมูสามชั้น
น. เนื้อหมูส่วนท้องที่ชําแหละให้ติดทั้งหนัง มันและเนื้อ.

หมูหย็อง
น. ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวดนำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย.

หมูหัน
น. ลูกหมูผ่าเอาเครื่องในออก เสียบเหล็กหมุนย่างจนหนังสุกกรอบ.

หมูแฮม
น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า.

หมู ๒, หมู ๆ
(ปาก) ว. ง่าย, สะดวก, เช่น วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก เขาเลือกทำแต่งานหมู ๆ.

หมู ๒, หมู ๆ
(ปาก) ว. ง่าย, สะดวก, เช่น วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก เขาเลือกทำแต่งานหมู ๆ.

หมูสนาม
น. บุคคลหรือคณะบุคคลที่ด้อยฝีมือหรือมีเล่ห์เหลี่ยมไหวพริบไม่ทันผู้อื่น.

หมู ๓
น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้างคอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย(B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย (๑).

หมู ๔
(ปาก) น. ใบพลูสดหั่นผสมฝิ่นแล้วนํามาสูบ.

หมู ๕
น. เรียกเรือขุดชนิดเล็ก ลักษณะคล้ายเรือพายม้า แต่หัวจะเรียวเล็กกว่าเรือพายม้ามาก ว่า เรือหมู.

หมู ๖
น. ชื่อขวานชนิดหนึ่ง ด้ามสั้น สันหนา ใช้ตัด ถาก และฟัน.

หมู่ ๑
น. กลุ่มชนิดเดียวกัน เช่น หมู่ดาว หมู่เมฆ, พวกชนิดเดียวกัน เช่น หมู่มนุษย์หมู่โจร; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวน ไม่เกิน ๑๐ คนมีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นจ่า.

หมู่บ้าน
(กฎ) น. ท้องที่ที่รวมบ้านหลายบ้านให้อยู่ในความปกครองอันเดียวกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าปกครอง.

หมู่ ๒
น. ระยะเวลา เช่น หมู่นี้สุขภาพไม่ค่อยดี หมู่นั้นไม่ว่าง.

หมู่ ๓
ดู คอแดง.

หมูน้ำ
ดู พะยูน.

หมูสี ๑
น. ชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Cocos nucifera L. มี ๒ พันธุ์ย่อย คือหมูสีหม้อ ต้นขนาดกลาง และหมูสีเล็ก ต้นขนาดเล็ก.

หมูสี ๒
น. เรียกตาไม้เสาเรือนที่สูงจากพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง ถือว่าเป็นเสามีลักษณะไม่ดี; เรียกจอมปลวกขนาดย่อมที่ขึ้นใต้ถุนบ้านว่า ปลวกหมูสี.

หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Arctonyx collaris ในวงศ์ Mustelidaeขนบนลําตัวมีแถบขาวพาดจากจมูกไปถึงบนหัว จมูกคล้ายหมู หางสั้นขนใต้คอขาว เล็บยาวและคมมากใช้ขุดดินเพื่อหาอาหาร กินพืช ผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ.

หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Arctonyx collaris ในวงศ์ Mustelidaeขนบนลําตัวมีแถบขาวพาดจากจมูกไปถึงบนหัว จมูกคล้ายหมู หางสั้นขนใต้คอขาว เล็บยาวและคมมากใช้ขุดดินเพื่อหาอาหาร กินพืช ผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ.

หย-, หัย
[หะยะ-] น. ม้า. (ป., ส.).

หย-, หัย
[หะยะ-] น. ม้า. (ป., ส.).

หโยดม
น. ม้าอย่างดี. (ป. หย + อุตฺตม).

หยก ๑
น. หินแก้วมีลักษณะแข็งเป็นสีต่าง ๆ ใช้ทําเครื่องประดับและเครื่องใช้เป็นต้น ถือว่าเป็นของมีราคา.

หยก ๒
ก. ยกขึ้นลงค่อย ๆ ในคําว่า หยกเบ็ด.

หยก ๆ
ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลยมาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.

หย่ง ๑
ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.

หย่ง ๒, หย่ง ๆ
ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือนั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

หย่ง ๒, หย่ง ๆ
ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้นหรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือนั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.

หยด
ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาดของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.

หยดย้อย
ว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่นงามหยดย้อย.

หยวก ๑
น. ลําต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวกกล้วยเช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของกล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่าแทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมากตัดกิ่งไม้ได้ง่ายเหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.

หยวก ๒
น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด Capsicum annuum L. วงศ์ Solanaceaeผลใหญ่ป้อม เมื่ออ่อนสีเหลืองอมเขียว.

หยวบ, หยวบ ๆ
ว. ยวบ, ยวบ ๆ.

หยวบ, หยวบ ๆ
ว. ยวบ, ยวบ ๆ.

หยอก
ก. เล่นหรือล้อไม่จริงจัง. ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่ามากเช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก.

หยอกเย้า
ก. สัพยอก, กระเซ้าเย้าแหย่, เย้าหยอก ก็ว่า.

หยอกเอิน
ก. หยอกในทำนองชู้สาว.

หย็อกหย็อย
ว. มีลักษณะเป็นเส้นหยิก ๆ งอ ๆ อย่างผมเด็กเล็ก ๆ.

หย็อง ๑
ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการหวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.

หย็อง ๒
ก. ทําให้เป็นฝอยฟู ๆ เช่น เอาเนื้อหมูไปหย็อง, เรียกเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ที่ทําให้เป็นฝอยฟู ๆ ว่า หมูหย็อง ไก่หย็อง.

หย่อง
น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วยทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลินใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือนั่งยอง ๆ.

หย่อง ๆ
ว. เหย่า ๆ (ใช้แก่กิริยาวิ่ง).

หย็องกรอด
[หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.

หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ
ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็งกระโดดหย็องแหย็ง ๆ.

หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ
ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็งกระโดดหย็องแหย็ง ๆ.

หยอด
ก. ใส่ลงหรือเทลงคราวละน้อย ๆ; แถมคําชมหรือคําพูดคมคาย.

หยอดหลุม
น. การเล่นชนิดหนึ่ง โดยวิธีโยนสิ่งของเช่นสตางค์เป็นต้นลงหลุม.

หยอน
ก. หวาดเสียว.

หย่อน
ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง,คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่นกิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.

หย่อนใจ, หย่อนอารมณ์
ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.

หย่อนใจ, หย่อนอารมณ์
ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.

หย่อม, หย่อม ๆ
น. หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ, เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ.

หย่อม, หย่อม ๆ
น. หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ, เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ.

หย็อมแหย็ม
ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม,กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า.

หย็อย, หย็อย ๆ
ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวน้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.

หย็อย, หย็อย ๆ
ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวน้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.

หย่อย, หย่อย ๆ
ว. เรื่อย ๆ, บ่อย ๆ, เช่น มากันหย่อย ๆ ไม่ขาดสาย, น้อย ๆ เช่น ให้เงินทีละหย่อย.

หย่อย, หย่อย ๆ
ว. เรื่อย ๆ, บ่อย ๆ, เช่น มากันหย่อย ๆ ไม่ขาดสาย, น้อย ๆ เช่น ให้เงินทีละหย่อย.

หยัก, หยัก ๆ
ก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทําให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. ว. คด ๆ งอ ๆ เช่น เขียนเส้นหยัก ๆ.

หยัก, หยัก ๆ
ก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทําให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. ว. คด ๆ งอ ๆ เช่น เขียนเส้นหยัก ๆ.

หยักรั้ง
ว. อาการนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโสร่งรั้งผ้าทางด้านข้างมาเหน็บเอวทั้ง ๒ ข้างให้ชายผ้าร่นสูงขึ้น.

หยักศก
ว. ที่หยิกน้อย ๆ (ใช้แก่ผม).

หยักไย่
น. หยากไย่.

หยักเหยา
[หฺยักเหฺยา] ก. จู้จี้, รบกวน.

หยัง
(ถิ่น-อีสาน) ว. อะไร, ทําไม.

หยั่ง
ก. วัดดูเพื่อให้รู้ตื้นลึก เช่น เอาถ่อหยั่งน้ำ, คาดคะเนดู เช่น หยั่งใจ.

หยั่งทราบ, หยั่งรู้
ก. เล็งรู้ความจริง, ค้นหาเพื่อให้รู้ความจริง.

หยั่งทราบ, หยั่งรู้
ก. เล็งรู้ความจริง, ค้นหาเพื่อให้รู้ความจริง.

หยั่งเสียง
ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.

หยังหยัง
ว. งาม. (ช.).

หยัด
ก. ยืดเหยียดออก เช่น หยัดกาย; หยดลง, ตกลง, (ใช้แก่นํ้า).

หยัน
ก. เยาะ, เย้ย.

หยับ, หยับ ๆ
ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆเช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.

หยับ, หยับ ๆ
ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆเช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.

หยั่วเมือง
(โบ) ว. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณว่า แม่หยั่วเมือง, เขียนว่า อยั่วเมืองหรือ ยั่วเมือง ก็มี.

หย่า
ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านมหย่าศึก.

หย่ากัน
ก. ไม่กินกัน (ใช้แก่คู่ขาการพนันบางชนิด) เช่น ในการเล่นไพ่๒ คนนั้นเขาหย่ากัน.

หย่านม
ก. เลิกกินนมแม่ (ใช้แก่เด็กและลูกสัตว์), อดนม ก็ว่า.

หยากเยื่อ
น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, มูลฝอย.

หยากไย่
น. ใยแมงมุมที่ติดค้างอยู่ในที่ต่าง ๆ, หยักไย่ ก็ว่า.

หยาด
ก. หยดลง. น. เม็ดฝนหรือนํ้าค้างเป็นต้นที่ไหลยืดหยดลง เช่น หยาดฝนหยาดน้ำค้าง หยาดเหงื่อ.

หยาดน้ำค้าง
น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ?, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก.(ดู นิคหิต); ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก.

หยาดน้ำฟ้า
น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้าหรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.

หยาบ, หยาบ ๆ
ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบพูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่นฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.

หยาบ, หยาบ ๆ
ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบพูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่นฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.

หยาบคาย
ว. ไม่สุภาพ เช่น พูดจาหยาบคาย กิริยาหยาบคาย.

หยาบช้า
ว. ตํ่าช้า, เลวทราม, เช่น จิตใจหยาบช้า.

หยาบโลน
ว. ที่ไม่สุภาพและลามก เช่น พูดจาหยาบโลน แสดงกิริยาหยาบโลน.

หยาบหยาม
ก. กล่าวคําหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพและเป็นการดูถูก.

หยาม
ก. ดูหมิ่น, ดูถูก.

หยามน้ำหน้า
ก. ดูหมิ่นเกียรติ, ดูหมิ่นศักดิ์ศรี.

หยาว
ก. ยั่วให้รําคาญ, ยั่วให้โกรธ.

หย้าว
น. เหย้า.

หยำเป
(ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคนหยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยําเป.

หยำเหยอะ, หยำแหยะ
[หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูดซ้ำซากน่าเบื่อ.

หยำเหยอะ, หยำแหยะ
[หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูดซ้ำซากน่าเบื่อ.

หยิก
ก. ใช้เล็บ ๒ เล็บตามปรกติเป็นเล็บนิ้วหัวแม่มือกับเล็บนิ้วชี้จิกลงไปที่เนื้อแล้วบิด,ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หนีบเนื้อแล้วบิด. ว. งอ, หงิก, ยู่ยี่,(ใช้แก่ผม ขน หรือใบไม้).

หยิกแกมหยอก
(สำ) ก. เหน็บแนมทีเล่นทีจริง.

หยิกเล็บ
ก. ใช้เล็บหัวแม่มือกดลงบนดินเหนียวหรือขี้ผึ้งเป็นต้นเพื่อทำเครื่องหมายไว้.

หยิกเล็บเจ็บเนื้อ
(สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้องกันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.

หยิกหย็อง
ก. หยิกเป็นฝอย เช่น ผมหยิกหย็อง.

หยิ่ง
ว. จองหอง, อวดดี, ลําพอง, ถือตัว.

หยิบ
ก. เอานิ้วมือจับขึ้น. น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบมือ ก็เรียก.

หยิบผิด
(โบ) ก. สรรหาเอาผิดจนได้, จับผิด.

หยิบมือ
น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง,หยิบ ก็เรียก.

หยิบมือเดียว
(สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไปรบกับใครเขาได้.

หยิบยก
ก. ยกขึ้นอ้าง เช่น หยิบยกเรื่องอดีตขึ้นมาพูด, (กลอน) ยกหยิบ.

หยิบยืม
ก. ยืมสิ่งของบางอย่างที่พอหยิบได้.

หยิบหย่ง, หยิบโหย่ง
ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน,ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.

หยิบหย่ง, หยิบโหย่ง
ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน,ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.

หยิม ๆ
ว. อาการที่ฝนตกพรําประปราย.

หยี ๑
ก. หรี่ (ใช้แก่ตา) ในคำว่า หยีตา. ว. หรี่, ที่แคบเรียวเล็ก, ในคำว่า ตาหยี.

หยี ๒
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมีเมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวานคือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้,หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L.ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.

หยี่
[หฺยี่] (โบ) น. ผ้าพื้นขาวปักด้วยด้ายเป็นดอกดวงต่าง ๆ.

หยุ
[หฺยุ] (โบ) ว. น่วม, อาการที่อ่อนจนกดบู้ลงได้.

หยุกหยิก
ก. ขยุกขยิก.

หยุด
ก. ชะงัก เช่น งูเลื้อยตัดหน้าเขาจึงหยุด, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่, เช่น รถหยุด;พัก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง, ไม่กระทำต่อ เช่น หยุดกิจการ, เลิก เช่นเขาพูดไม่หยุด.

หยุดหย่อน
ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทํางานไม่หยุดหย่อน คือ ทํางานไม่เว้นระยะ.

หยุ่น
ว. ยุบลงไปแล้วคืนตัวได้.

หยุบ ๆ
ว. อาการที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นกเด้าลมทำหางหยุบ ๆ.

หยุมหยิม
ว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆว่าเป็นเรื่องสําคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.

หยูกยา
(ปาก) น. ยารักษาโรค.

หโยดม
ดู หย-, หัย.

หรคุณ
[หอระคุน] น. จํานวนวันตั้งแต่แรกตั้งศักราชมา; เรียกชาดสีแดงเสนว่าชาดหรคุณ.

หรณะ
[หะระนะ] น. การนําไป. (ป., ส.).

หรดาล
[หอระดาน] น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกํามะถัน มีปรากฏในธรรมชาติ ๒ ชนิด คือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง มักจะปรากฏอยู่ปนกัน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ทั้ง ๒ ชนิด.(ป.; ส. หริตาล).

หรดาลกลีบทอง
น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ดเป็นแผ่นอัดแน่น หรือเป็นผง อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๔๙สีเหลือง เป็นมัน มีสูตรเคมี As2S3 ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลืองใช้เขียนลายรดนํ้า สมุดดํา เป็นต้น. (อ. orpiment).

หรดาลแดง
น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือเป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้มเป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทําให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทํากระสุนปืนส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).

หรดี
[หอระดี] น. ทิศตะวันตกเฉียงใต้. (ป.; ส. ไนรฺฤติ).

หรบ ๆ
ว. หรับ ๆ.

หรรษ-, หรรษา
[หันสะ-, หันสา] น. ความรื่นเริง, ความยินดี. (ส. หรฺษ).

หรรษ-, หรรษา
[หันสะ-, หันสา] น. ความรื่นเริง, ความยินดี. (ส. หรฺษ).

หรอ
[หฺรอ] ก. สึกเข้าไป, กร่อนเข้าไป, ในคําว่า สึกหรอ ร่อยหรอ.

หรอก
[หฺรอก] (ปาก) ว. ดอก เช่น ไม่เป็นไรหรอก.

หร็อมแหร็ม
ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ต้นไม้ขึ้นหร็อมแหร็ม,กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หย็อมแหย็ม ก็ว่า.

หรอย ๆ
ว. ต้อย ๆ, หย็อย ๆ, (ใช้แก่กิริยาที่เด็กวิ่ง).

หระ
[หะระ] น. ชื่อพระอิศวร. (ป., ส. หร ว่า นําไป).

หรับ ๆ
ว. เร่า ๆ, สั่นรัว, (ใช้แก่กิริยาดิ้นเป็นต้น), หรบ ๆ ก็ว่า.

หรัสว-
[หะรัดสะวะ-] ว. สั้น; เล็ก, น้อย; ตํ่า, เตี้ย. (ส.; ป. รสฺส).

หรัสวมูรดี
[หะรัดสะวะมูระดี] ว. มีร่างเล็ก, เตี้ย. (ส.).

หรัสวางค์
[หะรัดสะวาง] น. คนเตี้ย. ว. มีร่างเตี้ย. (ส.).

หรัสวางค์
ดู หรัสว-.

หรา
[หฺรา] ว. ก๋า, ร่า, เช่น เต้นหรา.

หริ
[หะริ] น. ชื่อพระนารายณ์. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. (ป., ส.).

หริคันธ์, หริจันทน์
[หะริคัน, หะริจัน] น. จันทน์แดง. (ป., ส.).

หริคันธ์, หริจันทน์
[หะริคัน, หะริจัน] น. จันทน์แดง. (ป., ส.).

หริรักษ์
[หะริรัก] น. พระนารายณ์.

หริวงศ์
[หะริวง] น. วงศ์หรือเชื้อพระนารายณ์คือพระรามเป็นต้น (ส.).';.

หริ่ง
น. ชื่อหนูขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน(Musmusculus) หนูหริ่งไม้หางพู่ (Chiropodomys gliroides).

หริ่ง ๆ
ว. เสียงร้องของเรไร.

หริณะ
[หะรินะ] น. กวาง, เนื้อชนิดหนึ่ง, กระต่าย. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง,สีเขียว. (ป., ส.).

หริต
[หะริด] น. ของเขียว; ผัก, หญ้า. ว. เขียว; สีนํ้าตาล, สีเหลือง, สีเหลืองอ่อน.(ป., ส.).

หริตกี, หรีตกี
[หะริตะกี, หะรีตะกี] น. ต้นสมอไทย. (ป., ส.).

หริตกี, หรีตกี
[หะริตะกี, หะรีตะกี] น. ต้นสมอไทย. (ป., ส.).

หรี่
[หฺรี่] ก. ลดให้น้อยลงหรือเบาลง เช่น หรี่ไฟ หรี่วิทยุ. ว. แคบ ในคำว่าตาหรี่.

หรี่ตา
ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติสัญญาณบางอย่าง.

หรีด
น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับใช้เคารพศพ, พวงหรีดก็เรียก. (อ. wreath).

หรือ
สัน. คําบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง;คําประกอบกับประโยคคําถาม เช่น ไปหรือ.

หรุบ ๆ
ว. อาการของสิ่งที่ร่วงลงมาพรู เรียกว่า ร่วงหรุบ ๆ.

หรุบรู่, หรุบหรู่
ว. มีแสงมัวจนมองอะไรไม่เห็นถนัดชัดเจน เช่น แสงเดือนหรุบรู่, รุบรู่หรือ รุบหรู่ ก็ว่า.

หรุบรู่, หรุบหรู่
ว. มีแสงมัวจนมองอะไรไม่เห็นถนัดชัดเจน เช่น แสงเดือนหรุบรู่, รุบรู่หรือ รุบหรู่ ก็ว่า.

หรุ่ม ๑
น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสงหัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.

หรุ่ม ๒
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

หรู, หรูหรา
ว. สวยงามด้วยการรู้จักประดับตกแต่งเกินกว่าปรกติธรรมดา เช่น แต่งตัวสวยหรู จัดห้องเสียหรูหรา.

หรู, หรูหรา
ว. สวยงามด้วยการรู้จักประดับตกแต่งเกินกว่าปรกติธรรมดา เช่น แต่งตัวสวยหรู จัดห้องเสียหรูหรา.

หฤทัย, หฤทัย-
[หะรึไท, หะรึไทยะ-] น. หัวใจ, ใจ. (ส. หฺฤทย; ป. หทย).

หฤทัย, หฤทัย-
[หะรึไท, หะรึไทยะ-] น. หัวใจ, ใจ. (ส. หฺฤทย; ป. หทย).

หฤทย์
[หะรึด] ว. เกี่ยวแก่ใจ; ภายใน; น่ารัก. (ส.).

หฤทัยกลม
น. คนมีใจอ่อน. (ส. หฺฤทยกลฺม).

หฤทัยกัปน์, หฤทัยกัมป์
น. อาการเต้นแห่งใจ. (ส.).

หฤทัยกัปน์, หฤทัยกัมป์
น. อาการเต้นแห่งใจ. (ส.).

หฤทัยปรีย์
ว. น่ารัก, ชื่นใจ. (ส. หฺฤทยปฺรีย).

หฤทัยพันธน์
ว. ผูกใจ, ชวนใจ, จับใจ. (ส.).

หฤษฎ์
[หะริด] ว. น่าชื่นชม, ยินดี; สนุก, สบาย, ดีใจ. (ส. หฺฤษฺฏ; ป. หฏ?ฺ).

หฤษฎี
[หะริดสะดี] น. ความยินดี, ความปลาบปลื้ม. (ส. หฺฤษฺฏี).

หฤหรรษ์
[หะรึหัน] ว. ยินดี, ชื่นชม, ร่าเริง.

หฤโหด
[หะรึโหด] ว. ชั่วร้าย, เลวทราม, ใจร้าย.

หลง
[หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุขหลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออกไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝนหลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว;เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.

หลงกล
ก. แพ้รู้ในกลอุบาย.

หลงตา, หลงหูหลงตา
ว. ตกค้างอยู่โดยไม่เห็น, ปล่อยให้ผ่านสายตาไปโดยไม่ทันได้สังเกตเห็น.

หลงตา, หลงหูหลงตา
ว. ตกค้างอยู่โดยไม่เห็น, ปล่อยให้ผ่านสายตาไปโดยไม่ทันได้สังเกตเห็น.

หลงผิด
ก. สำคัญผิด, เข้าใจไม่ถูกต้อง; หลงประพฤติไปในทางที่ผิด.

หลงลม, หลงลมปาก
(ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคนชวนไปหาลาภทางไกล.

หลงลม, หลงลมปาก
(ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคนชวนไปหาลาภทางไกล.

หลงละเมอ
ก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลงละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.

หลงลืม
ก. มีความจำเลอะเลือน, มีความจำเสื่อมจึงทำให้ลืม, มีสติเฟือนไป.

หลง ๆ ลืม ๆ
ว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.

หลงเหลือ
ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมีเศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.

หลงใหล
ก. คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง; เลอะเลือน,มีสติเฟือน,เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน.

หลงใหลได้ปลื้ม
(สำ) ก. ตื่นเต้นยินดีเมื่อตนเองหรือผู้อื่นได้ดิบได้ดีเป็นต้นเช่น อย่ามัวหลงใหลได้ปลื้มกับรางวัลจนลืมหน้าที่การงานของตน.

หลงจู๊
น. ผู้จัดการ. (จ.).

หลด
[หฺลด] น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาวแบนข้าง ปลายจะงอยปากบนเรียวยาว เช่น ชนิด Macrognathus aculeatus,Mastacembelus circumcinctus. (๒) ดู มังกร ๒.

หลน
[หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้นเพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยกะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวานเช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับผักสด.

หล่น
ก. ตกลงมา, ร่วงลง.

หลบ
[หฺลบ] ก. หลีก, เลี่ยงไม่ให้พบ, เลี่ยงไม่ให้ถูก เช่น หลบลูกปืน; แอบ เช่นหลบเข้าหลังตู้; กลับเข้าใน เช่น ไข้หลบ; ปกคลุมหลุบลงมา (ใช้เฉพาะการมุงหลังคาตรงอกไก่).

หลบฉาก
ก. หลบอย่างมีชั้นเชิง (ใช้ในกีฬามวย), โดยปริยายหมายความว่าหลีกหนีไม่ให้พบหน้า.

หลบตา
ก. หลีกไม่จับตา, ไม่กล้าสบตา, ไม่สู้สายตา.

หลบฝาก
(โบ) น. ประเพณีที่ชายเข้าไปอาศัยรับใช้การงานให้กับหญิง.

หลบมุม
(ปาก) ก. หลีกเลี่ยง.

หลบลี้หนีหน้า
ก. หลีกหนีไปไม่ยอมให้พบหน้า.

หลบหน้า, หลบหน้าหลบตา
ก. หลบไปไม่เผชิญหน้า.

หลบหน้า, หลบหน้าหลบตา
ก. หลบไปไม่เผชิญหน้า.

หลบหนี้
ก. หลบไม่ยอมพบเจ้าหนี้.

หลบหลังคา
ก. ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้. น. เครื่องมุงที่ใช้ปิดสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้; วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง.

หล่ม
[หฺล่ม] น. ที่มีโคลนลึก, ที่ลุ่มด้วยโคลนลึก. ว. มีโคลนลึก, ลุ่มด้วยโคลนลึก.

หลวง
ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่นภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ;(ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า,คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.

หลวงจีน
น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่นหลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.

หลวงพ่อ
(ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรืออยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.

หลวม
ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลืออยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยังหลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.

หลวมตัว
ก. เผลอไผลหรือถลำตัวเข้าไปโดยเข้าใจผิดหรือเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นต้น เช่น เขาหลวมตัวเล่นการพนันจนหมดตัว.

หลอ
ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟันเป็นต้น ว่า ฟันหลอ.

หล่อ
ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็นรูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อพระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอาน้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.

หล่อดอก
ก. เอายางรถยนต์ที่สึกแล้วไปเสริมดอกยางเพื่อให้มีสภาพดีขึ้น.

หล่อน้ำ
ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่นหล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้นวางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนมไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ในพระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.

หล่อน้ำมัน
ก. เอาไส้ตะเกียงแช่ในตะเกียงหรือภาชนะที่ขังน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันมะพร้าวไว้เพื่อจุดให้ไส้ติดไฟอยู่ตลอดเวลาเป็นต้น.

หล่อลื่น
ก. เอาน้ำมันเป็นต้นใส่หรือทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เคลื่อนไหวคล่อง. ว. เรียกนํ้ามันที่ทําให้เครื่องจักรเดินคล่องว่า นํ้ามันหล่อลื่น.

หล่อเลี้ยง
ก. ยังชีพไว้.

หล่อหลอม
ก. อบรมบ่มนิสัยให้จิตใจโน้มน้าวไปในทางใดทางหนึ่ง เช่นหล่อหลอมจิตใจให้เป็นคนดี, หลอม ก็ว่า.

หล่อเหลา
(ปาก) ว. งามสมส่วน.

หลอก ๑
[หฺลอก] ก. ทําให้เข้าใจผิดสําคัญผิด เช่น หลอกขายของปลอม, ทําให้ตกใจ เช่น ผีหลอก, ล้อ เช่น แลบลิ้นหลอก; ขัดกัน เช่น สีหลอกกัน.หลอกตา ก. ทำให้เห็นขนาด ระยะทาง เป็นต้น ผิดไปจากความเป็นจริงเช่น ที่แปลงนี้หลอกตา ดูเล็กนิดเดียวแต่มีเนื้อที่หลายไร่. ว. ที่ทำให้เห็นขนาดหรือรูปร่างผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เสื้อตัวนี้หลอกตา ใส่แล้วดูผอม กระจกหลอกตา.

หลอกลวง
ก. ใช้อุบายทุจริตลวงให้เข้าใจผิด, (กฎ) แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด.

หลอกล่อ
ก. หลอกให้เชื่อโดยมีเครื่องจูงใจ, ล่อหลอก ก็ว่า.

หลอกหลอน
ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอกหลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมาคอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.

หลอก ๒, หลอก ๆ
ว. ไม่จริง เช่น เผาหลอก, เล่น ๆ เช่น ทําหลอก ๆ ชกกันหลอก ๆ.

หลอก ๒, หลอก ๆ
ว. ไม่จริง เช่น เผาหลอก, เล่น ๆ เช่น ทําหลอก ๆ ชกกันหลอก ๆ.

หลอกล้อ
ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น, ล้อหลอก ก็ว่า.

หลอกเล่น
ก. แสดงกิริยาหรือวาจาเพื่อความสนุก, ล้อเล่น ก็ว่า.

หลอด ๑
[หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว,โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอดตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกนที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พันหลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่นยาฉีด ๓ หลอด.

หลอดลม
น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่าง อยู่ระหว่างท่อลมส่วนอกกับถุงลมปอด. (อ. bronchus, lower airways).

หลอดลมฝอย
น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างในปอด ขนาดไม่เกิน๑ มิลลิเมตร. (อ. bronchiole).

หลอดเลือด
น. ส่วนของร่างกายที่มีลักษณะเป็นหลอดสำหรับนำเลือดไปสู่หรือออกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย, เส้นเลือด ก็เรียก. (อ. blood vessel).

หลอดอาหาร
น. ทางเดินอาหารอยู่ระหว่างคอหอยส่วนล่างกับกระเพาะอาหาร. (อ. oesophagus, esophagus).

หลอด ๒
น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Solen วงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็นรูปทรงกระบอกเปิดหัวเปิดท้าย หัวเปิดมีท่อสำหรับทางน้ำเข้าออก ท้ายเปิดสําหรับยื่นตีนขุดดินโคลนฝังตัว เช่น ชนิด S. strictus ซึ่งพบมากที่ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม.

หลอน
[หฺลอน] ก. อาการที่ภาพซึ่งน่ากลัวหรือน่าสะเทือนใจคงอยู่ในมโนภาพเช่น ภาพที่เด็กถูกรถทับตายต่อหน้าต่อตามาหลอนอยู่ตลอดเวลา.

หล็อน, หล็อน ๆ
ว. น้อยไป, เล็กไป, เช่น ของนี้หล็อนมือ, ไม่สมส่วน เช่น แจกันใบใหญ่มีดอกไม้ปักอยู่ ๒-๓ ดอก ดูแล้วหล็อนตา; รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามที่ควรจะมีจะเป็น เช่น เคยสวมนาฬิกาข้อมือทุกวัน แต่วันนี้ลืมสวม เลยรู้สึกหล็อน ๆ มือ.

หล็อน, หล็อน ๆ
ว. น้อยไป, เล็กไป, เช่น ของนี้หล็อนมือ, ไม่สมส่วน เช่น แจกันใบใหญ่มีดอกไม้ปักอยู่ ๒-๓ ดอก ดูแล้วหล็อนตา; รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามที่ควรจะมีจะเป็น เช่น เคยสวมนาฬิกาข้อมือทุกวัน แต่วันนี้ลืมสวม เลยรู้สึกหล็อน ๆ มือ.

หล่อน
ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดรหล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

หลอม
[หฺลอม] ก. ทําให้ละลายด้วยความร้อน เช่น เขาหลอมทองคำด้วยไฟพ่นจากเป่าแล่น, โดยปริยายหมายถึงอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจโน้มน้าวไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หลอมความคิด หลอมจิตใจ, หล่อหลอม ก็ว่า.

หลอมตัว
ก. ละลายรวมกัน, เปลี่ยนภาวะเป็นของเหลวด้วยความร้อนเช่น เขาใช้ไฟจากเป่าแล่นพ่นจนทองคำหลอมตัว.

หลอมละลาย, หลอมเหลว
(วิทยา) ก. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว. น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวว่าจุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว.

หลอมละลาย, หลอมเหลว
(วิทยา) ก. เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว. น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวว่าจุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว.

หละ
[หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการลิ้นกระด้างคางแข็ง.

หละหลวม
[หฺละหฺลวม] ว. สะเพร่า, ไม่ถ้วนถี่, ไม่รอบคอบ, เช่น ทำงานหละหลวม,ไม่รัดกุม เช่น งานรักษาความปลอดภัยในพิธีนี้หละหลวมมาก.

หลัก ๑
น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมายเช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดํารงชีวิต,เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลักกฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.

หลักการ
น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติรับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.

หลักเกณฑ์
น. หลักที่กำหนดไว้เพื่อใช้วินิจฉัยและปฏิบัติตาม.

หลักแจว
น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสําหรับยึดแจว;ชื่อทรงผมแบบหนึ่ง. (ดู ผมหลักแจว).

หลักชัย ๑
น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.

หลักฐาน
น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคงอันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดงประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).

หลักตอ
น. อุปสรรคขัดขวาง.

หลักทรัพย์
(กฎ) น. ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่นตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน.

หลักบ้านหลักเมือง
(ปาก) น. ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง.

หลักประกัน
น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคงเช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือหลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.

หลักพยาน
น. เครื่องประกอบการพิสูจน์ ได้แก่พยานบุคคล พยานวัตถุและพยานเอกสาร.

หลักเมือง
น. เสาที่ยกตั้งขึ้นเพื่อแสดงว่าจะสร้างเมืองที่ตรงนั้นอย่างแน่นอน.

หลักลอย
ว. ไม่มีหลักแหล่ง, ไม่อยู่เป็นที่, เชื่อถือไม่ได้, เช่น เขาเป็นคนหลักลอย.

หลักวิชา
น. ความรู้ที่เป็นหลักของแต่ละวิชา.

หลักสูตร
น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง.

หลักแหล่ง
น. ที่ซึ่งอยู่ประจํา เช่น ทำงานเป็นหลักแหล่ง ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง.

หลักแหลม
ว. คมคาย เช่น วาจาหลักแหลม, เฉียบแหลม เช่น ความคิดหลักแหลม, แหลมหลัก ก็ว่า.

หลัก ๒
น. ตําแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจํานวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่าจํานวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกันเรียกว่า จํานวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่าจํานวนพัน เลข ๕ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนแสนเลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจํานวนร้อย ๙เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.

หลัก ๓
(โบ) ว. จํานวนแสน. (ป. ลกฺข; ส. ลกฺษ).

หลักชัย ๑
ดูใน หลัก ๑.

หลักชัย ๒
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศรวณะ มี ๓ ดวง, ดาวพระฤๅษี ดาวศระวณ หรือดาวสาวนะ ก็เรียก.

หลัง ๑
น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไปเช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลังเช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.

หลังคา
น. ส่วนเบื้องบนของเรือนเป็นต้น สําหรับบังแดดและฝน.

หลังคาเรือน
น. เรือนหรืออาคารที่ถือเอาทะเบียนบ้านเป็นหลักในการนับเช่น หมู่บ้านนี้มี ๓๐ หลังคาเรือน.

หลังจาก
สัน. ภายหลัง.

หลังฉัตร
น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.

หลังฉาก
(สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.

หลังเต่า
ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.

หลังบ้าน
(ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.

หลังยาว
(สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว,ขี้เกียจสันหลังยาว ก็ว่า.

หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
(สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึงชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้องก้มลงดิน.

หลัง ๒
ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.

หลั่ง
ก. ไหลลงหรือทําให้ไหลลงไม่ขาดสาย เช่น หลั่งน้ำตา หลั่งน้ำสังข์.

หลั่งไหล
ก. ไหลมาเทมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้นเช่น ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน.

หลังเขียว
ดู กุแล.

หลัด ๆ
ว. เมื่อไว ๆ, เมื่อเร็ว ๆ นี้.

หลั่น
ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลําดับ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่าหลั่นหัวเทียน.

หลับ
ก. อาการพักผ่อนของร่างกายที่มีการรับรู้สภาพแวดล้อมน้อยลง.

หลับตา
ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่นทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.

หลับนก
ก. นั่งหลับ.

หลับใน
ก. หลับในใจ. ว. อาการที่คล้าย ๆ กับหลับ แต่ตายังลืมอยู่.

หลับหูหลับตา
ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจพิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตาทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้องแข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตากลืนเข้าไป.

หลัว ๑
[หฺลัว] น. ภาชนะสานรูปคล้ายทรงกระบอก ก้นสอบปากผาย มีหูที่ขอบปาก ๒ ข้าง.(รูปภาพ หลัว)

หลัว ๒, หลัว ๆ
[หฺลัว] ว. มัว, ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ตอนเช้าใกล้สว่าง อากาศยังหลัว ๆอยู่ มองอะไรไม่ค่อยชัด, ใช้ว่า สลัว ก็มี.

หลัว ๒, หลัว ๆ
[หฺลัว] ว. มัว, ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ตอนเช้าใกล้สว่าง อากาศยังหลัว ๆอยู่ มองอะไรไม่ค่อยชัด, ใช้ว่า สลัว ก็มี.

หลัว ๓
[หฺลัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ฟืน, ฟืนไม้ไผ่.

หลา
[หฺลา] น. มาตราวัด คือ ๓ ฟุต เป็น ๑ หลา เท่ากับ ๐.๙๑ เมตร.

หล้า
น. โลก, แผ่นดิน.

หลาก
ว. ต่าง ๆ เช่น หลากสี, แปลก, ประหลาด, เช่น หลากใจ. ก. ไหลมากผิดปรกติโดยกะทันหัน เช่น นํ้าหลาก.

หลากใจ
ว. แปลกใจ, ประหลาดใจ.

หลากหลาย
ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลายหลาก ก็ว่า.

หลาทะ
[หะลาทะ] ก. ชอบใจ, พอใจ. (ส.).

หลาน
น. ลูกของลูก; ลูกของพี่หรือของน้อง.

หลานหลวง
น. หลานของพระเจ้าแผ่นดิน.

หลาบ ๑
ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.

หลาบจำ
ก. เข็ดจนไม่กล้าทําอีกต่อไป.

หลาบ ๒
(โบ) น. แผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นคล้ายใบลานใช้ในการจารึก เช่น หลาบเงินคือ หิรัญบัฏ หลาบคำ คือ สุพรรณบัฏ.

หลาม ๑
น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนหางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมีเส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืนไม่มีพิษ.

หลาม ๒
ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียกข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยายหมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.

หลามยา
(โบ) ก. เอาสมุนไพรมีใบไม้สดเป็นต้น ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก.

หลาย ๑
ว. มาก, บางทีใช้คู่กับคำ มาก เป็น มากหลาย.

หลายเติบ
ว. มากโข.

หลายหลาก
ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลากหลาย ก็ว่า.

หลายแหล่
ว. มากมาย.

หลาย ๒
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Grewia paniculata Roxb. ในวงศ์ Tiliaceae ผลออกเป็นพวงที่ปลายกิ่ง สุกสีดํา กินได้.

หลาว
น. ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสําหรับแทง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลาวทองเหลือง. ว. เรียกอาการที่พุ่งตัวพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้าว่า พุ่งหลาว.

หลาวเหล็ก
น. เรียกทิศที่โหรถือว่าไม่ดี.

หลาหละ
[หะลาหะละ] น. ยาพิษ. ว. ร้ายแรง, กล้าแข็งมาก, เข้มแข็ง. (ป.).

หลิกะ
[หะลิกะ] น. คนไถนา, ชาวนา. (ส.).

หลิ่ง
[หฺลิ่ง] น. ตลิ่ง.

หลิท
[หะลิด] น. ขมิ้น. (ป. หลิทฺท; ส. หริทฺธ).

หลิน
[หฺลิน] น. ชื่อแพรจีน มีหลายชนิด.

หลิม ๑
[หฺลิม] ว. แหลมเล็กผิดส่วน ในคำว่า คางหลิม หัวหลิม หัวหลิมท้ายหลิม.

หลิม ๒
[หฺลิม] (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).

หลิว
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix babylonica L. ในวงศ์ Salicaceae ดอกออกเป็นช่อกิ่งและใบห้อยลง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ.

หลิ่ว
ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.

หลิ่วตา
ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.

หลี
[หฺลี] น. ชื่อมาตราจีน คือ ๑๐ หลี เป็น ๑ หุน.

หลีก
ก. หลบสิ่งที่กีดขวาง, เลี่ยง, ขยับไปให้พ้นที่เดิม, ให้ทาง.

หลีโก
ดู ไน ๒. (จ.).

หลีบ
น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า ขลุ่ยหลีบ.

หลีฮื้อ
ดู ไน ๒. (จ.).

หลืบ
น. ช่องที่เป็นชั้น ๆ เข้าไป เช่น หลืบถ้ำ, สิ่งที่เหลื่อมกันเป็นชั้น ๆ เช่นหลืบหลังคา.

หลุกหลิก
[หฺลุกหฺลิก] ว. อาการที่ลุกลน, อยู่ไม่สุข, ไม่เรียบร้อย, ไม่สุภาพ, เช่นเขาเป็นคนมีกิริยาหลุกหลิก.

หลุด
ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุมอยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จํานําหลุดเป็นสิทธิ.

หลุดปาก
ก. พลั้งปาก.

หลุดพ้น
ก. เป็นอิสระจากสิ่งผูกมัด เช่น หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากคดี.

หลุดมือ
ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่าสูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลาไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.

หลุดลอย
ก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้กับหลักพอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า ขาดพ้นไป,สูญสิ้นไป, หมดโอกาสที่จะได้, เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาสหลุดลอยไป.

หลุดลุ่ย
ก. คลายตัวหลุดเลื่อนไปจากสภาพเดิม เช่น ผมหลุดลุ่ย เสื้อผ้าหลุดลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ เช่น แพ้หลุดลุ่ย คะแนนทิ้งห่างกันหลุดลุ่ย.

หลุน ๆ
ว. เร็ว ๆเช่น ก้อนหินตกจากยอดเขากลิ้งหลุน ๆ ลงมา เด็กวิ่งหลุน ๆหัวซุกหัวซุน.

หลุบ
[หฺลุบ] ก. ลู่ลงมา, ปกลงมา, เช่น ผมหลุบหน้า หนังตาหลุบ.

หลุบลู่
[หฺลุบ-] ว. ซุบซู่, ซอมซ่อ; ที่ปกลงมาอย่างไม่เรียบร้อย เช่น เสื้อผ้าหลุบลู่เพราะเปียกฝนโชก.

หลุม
[หฺลุม] น. ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นบ่อ มักมีขนาดเล็กและตื้น, ที่ซึ่งขุดลงไปในพื้นดิน มีลักษณะตามต้องการเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นหลุมเสา หลุมเผาถ่าน.

หลุมโจน
น. หลุมสําหรับลวงให้ปลากระโดดลงไป.

หลุมพราง
น. หลุมที่ทําลวงไว้; โดยปริยายหมายความว่า เล่ห์กล หรืออุบาย.

หลุมเสือก
น. หลุมที่ตรงปากใช้โคลนหรือดินเหนียวทำให้ลื่นเพื่อให้ปลาเสือกตัวลงไป.

หลุมหลบภัย
น. หลุมที่ใช้สำหรับกําบังภัยทางอากาศ.

หลุมอากาศ
น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดยกะทันหัน.

หลุมพอ
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Intsia palembanica Miq. ในวงศ์ Leguminosaeขึ้นตามป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, กะลําพอ หรือ ตะลุมพอก็เรียก.

หลุมพี
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะลุมพี. (ดู กะลุมพี).

หลู่
ก. ลบคุณ, ดูถูก, ไม่นับถือ, เช่น หลู่คุณ หลู่เกียรติ.

หลู่หลี่
ว. โลเล; ไม่ใคร่กลัวใคร.

หวง
ก. ไม่อยากให้, สงวนไว้, กันไว้.

หวงก้าง
ก. หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนได้ใช้ประโยชน์แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้.

หวงตัว
ก. รักนวลสงวนตัว เช่น เป็นลูกผู้หญิงต้องรู้จักหวงตัว, ไม่ยอมให้ถูกเนื้อต้องตัว เช่น เด็กคนนี้หวงตัว ไม่ยอมให้คนแปลกหน้าอุ้ม.

หวงห้าม
ก. กันไว้โดยเฉพาะ เช่น ผลไม้ในสวนนี้เจ้าของไม่หวงห้ามจะเก็บไปกินก็ได้. ว. ที่กันไว้โดยเฉพาะ เช่น เขตหวงห้าม เข้าได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง.

หวงแหน
[-แหนฺ] ก. หวงมาก เช่น หนังสือเล่มนี้หายาก เจ้าของหวงแหนเหลือเกิน.

ห่วง
น. เครื่องคล้อง เช่น ห่วงประตู, ของที่เป็นวง. ก. ผูกพัน, กังวลถึง, มีใจพะวงอยู่.

ห่วงคล้องคอ
น. ความรับผิดชอบที่ผูกพันอยู่.

ห่วงใย
ก. มีใจพะวงอยู่, มีทุกข์กังวลอยู่.

ห่วงหน้าพะวงหลัง, ห่วงหน้าห่วงหลัง
ก. พะว้าพะวัง.

ห่วงหน้าพะวงหลัง, ห่วงหน้าห่วงหลัง
ก. พะว้าพะวัง.

ห้วง
น. ช่วง, ระยะ, ตอน.

ห้วงน้ำ
น. ทะเลหรือแม่นํ้าตอนที่กว้างใหญ่.

หวด ๑
น. ภาชนะอย่างหนึ่งสําหรับนึ่งของ ทำด้วยดินเผา ไม้ไผ่สาน เป็นต้น.

หวด ๒
ก. ฟาด, ตีแรง ๆ, โบย.

หวน
ก. เวียนกลับ เช่น ลมหวน.

ห้วน, ห้วน ๆ
ว. สั้น ๆ, ไม่มีหางเสียง, เช่น พูดห้วน ๆ, มีลักษณะที่จบลงอย่างรวบรัดเช่น บทความเรื่องนี้จบลงอย่างห้วน ๆ.

ห้วน, ห้วน ๆ
ว. สั้น ๆ, ไม่มีหางเสียง, เช่น พูดห้วน ๆ, มีลักษณะที่จบลงอย่างรวบรัดเช่น บทความเรื่องนี้จบลงอย่างห้วน ๆ.

หวนคำนึง
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

หวย
(ปาก) น. หวย ก ข; สลากกินแบ่ง.

หวย ก ข
น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃเจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีนมาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.

หวยเบอร์
(ปาก) น. สลากกินแบ่ง.

ห้วย
น. แอ่งน้ำลึกกว้างมีทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ตลอดปี หรือแห้งบ้างเป็นบางคราว.

หวอ
[หฺวอ] ว. เปิดเป็นช่องเป็นโพรง เช่น นั่งอ้าปากหวอ; ให้สัญญาณเสียงดังเช่นนั้น.

หวอด
น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.

หว็อย ๆ
ว. อาการที่ชายผ้าหรือใบไม้เป็นต้นถูกลมพัดปลิวสะบัดหรือปลิวพลิกไปมา.

หวะ
ว. เป็นแผลลึก เช่น ถูกฟันหลังหวะ.

หวัง
ก. คาดว่าจะได้, ปองไว้, หมายไว้.

หวังใจ, หวังใจว่า
ก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่านคงจะประสบความสำเร็จ.

หวังใจ, หวังใจว่า
ก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่านคงจะประสบความสำเร็จ.

หวังดี
ก. มีความปรารถนาที่ดี.

หวัด ๑
น. อาการที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบ มักทําให้เสียงแห้งและนํ้ามูกไหล.

หวัด ๒, หวัด ๆ
ว. ไม่บรรจง เช่น เขียนหวัด, คร่าว ๆ เช่น ร่างภาพอย่างหวัด ๆ, สะเพร่า,ไม่ตั้งใจทําให้เรียบร้อย, เช่น ทํางานหวัด ๆ.

หวัด ๒, หวัด ๆ
ว. ไม่บรรจง เช่น เขียนหวัด, คร่าว ๆ เช่น ร่างภาพอย่างหวัด ๆ, สะเพร่า,ไม่ตั้งใจทําให้เรียบร้อย, เช่น ทํางานหวัด ๆ.

หวั่น
ก. พรั่น, มีอาการกริ่งเกรงไป.

หวั่นกลัว, หวั่นเกรง
ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.

หวั่นกลัว, หวั่นเกรง
ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.

หวั่นใจ
ก. มีความรู้สึกพรั่นใจไปเอง, มีอาการกริ่งเกรงไป.

หวั่นวิตก
ก. มีความรู้สึกกังวลใจ.

หวั่นหวาด
ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวาดหวั่น ก็ว่า.

หวั่นไหว
ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์,ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือนมาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.

หวันยิหวา
น. ชีวิต, ดวงวิญญาณ. (ช.).

หวัว, หวัวร่อ, หวัวเราะ
ดู หัว ๑.

หวัว, หวัวร่อ, หวัวเราะ
ดู หัว ๑.

หวัว, หวัวร่อ, หวัวเราะ
ดู หัว ๑.

หวา, หว่า ๑
ว. คําประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.

หวา, หว่า ๑
ว. คําประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา.

หว่า ๒
ว. คำประกอบท้ายแสดงความแคลงใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนหว่า.

หว่า ๓
ว. เปล่า, ว้าเหว่.

หว้า ๑
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Syzygium eumini (L.) Skeels. ในวงศ์Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดํา กินได้.

หว้า ๒
น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Argusianus argus ในวงศ์ Phasianidae ตัวสีน้ำตาล หนังบริเวณใบหน้าและคอสีฟ้า ตัวผู้หางยาวและมีแววขนที่ปีกในฤดูผสมพันธุ์จะรำแพนปีกเกี้ยวตัวเมียโดยสร้างอาณาเขตเดินเป็นวงกลม เรียกว่า ลานนกหว้า.

หวาก
ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้องไห้, ว้าก ก็ว่า.

หว่าง
น. ช่องว่างจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น หว่างคิ้ว หว่างเขา.

หวาด
ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.

หวาดกลัว, หวาดเกรง
ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.

หวาดกลัว, หวาดเกรง
ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.

หวาดผวา
ก. หวาดสะดุ้งเพราะตกใจกลัว.

หวาดระแวง
ก. หวั่นเกรงสงสัยไปเอง.

หวาดวิตก
ก. มีความกังวลใจด้วยความหวาดกลัว.

หวาดเสียว
ก. รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกลัว, หวาดกลัวจนขนลุกขนชัน. ว. ที่น่าหวาดกลัวจนขนลุกขนชัน เช่น เรื่องหวาดเสียว.

หวาดหวั่น
ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวั่นหวาด ก็ว่า.

หวาดไหว
ว. หมดสิ้น เช่น งานตั้งมากมายใครจะทำหวาดไหว, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่หวาดไม่ไหว หรือ ไม่หวาดไหว หมายความว่าไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.

หวาน ๑
ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่นหวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน;(ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุดไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.

หวานคอแร้ง
(ปาก) ว. ที่ทำได้ง่ายมาก, ที่ทำได้สะดวกมาก, คล่องมาก.

หวานนอกขมใน
(สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอกแต่ในใจกลับตรงข้าม.

หวานเป็นลม ขมเป็นยา
(สำ) น. คำชมมักไร้สาระทำให้ลืมตัวขาดสติแต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด.

หวานเย็น
น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิเป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.

หวานลิ้นกินตาย
(สำ) ก. หลงเชื่อคำพูดเพราะ ๆ หรือคำสรรเสริญเยินยอจะได้รับความลำบากในภายหลัง.

หวานอมขมกลืน
(สำ) ก. ตกอยู่ในฐานะที่จำต้องยอมรับ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม.

หวาน ๒
น. ผักหวาน.

หว่าน
ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดยปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.

หว่านพืชหวังผล
(สำ) ก. ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน.

หว่านล้อม
ว. ตะล่อมเข้ามาตามที่ต้องการ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดหว่านล้อม เจรจาหว่านล้อม.

หวาม
ว. อาการที่รู้สึกเสียวในใจ.

หวาย
น. (๑) ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอลําผิวต้นยาวทอดเลื้อย เกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่นหวายตะค้าทอง (Calamus caesius Blume), หวายขม (C. viminalisWilld.) หัวใช้ทํายาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia Mart.).(๒) ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium วงศ์ Orchidaceae เช่นหวายตะมอย.

หวายตะมอย
น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium crumenatum Sw.ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีขาว หอม ใช้ทํายาได้. (๒) ดู ตะเข็บ ๓.

หวายดิน
ดู โคคลาน.

หวำ
ว. บุ๋มลงไป เช่น ผอมจนแก้มหวำ เนื้อตะโพกหวำ, ลึกไม่มาก, เป็นแอ่งเช่น พื้นดินหวำ.

หวิด
ว. เฉียด, จวนเจียน, เกือบ, เช่น หวิดถูกลอตเตอรี่, หวุดหวิด ก็ว่า.

หวิว, หวิว ๆ
ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม,มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ;มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.

หวิว, หวิว ๆ
ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม,มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ;มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.

หวี
น. ของใช้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นซี่ ๆ เรียงต่อกันเป็นปื้น ใช้สางผมหรือเส้นด้ายเป็นต้น; กลุ่มผลกล้วยที่มีขั้วติดเรียงกันอยู่; โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. ก.แต่งผมด้วยหวี, สางผม.

หวี่
น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogasterนิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์.ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.

หวีด
น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังเช่นนั้น เรียกว่า นกหวีด. ว. มีเสียงร้องดังเช่นนั้น โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง.

หวือ
ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงสะเก็ดไม้กระเด็นอย่างแรง.

หวุดหวิด
ว. เฉียด, จวนเจียน, เกือบ, หวิด ก็ว่า.

หวุม
ว. บุ๋ม, บํ๋า, โบ๋.

หวูด
น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเปิดหวูด.

หสน-
[หะสะนะ-] น. การหัวเราะ, ความรื่นเริง. (ป., ส.).

หอ
น. เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระหอนั่ง หอสมุด; เรือนซึ่งปลูกสําหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่เรียกว่า เรือนหอ.

หอการค้า
(กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.

หอคอย
น. อาคารสูงที่สร้างขึ้นสําหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์.

หอคำ
น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ.

หอจดหมายเหตุ
น. สถานที่เก็บและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ.

หอฉัน
น. อาคารที่สร้างขึ้นในวัด เป็นที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งฉันอาหารและทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น.

หอไตร
น. หอสําหรับเก็บพระไตรปิฎก.

หอบังคับการ
น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงานควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย.

หอประชุม
น. ห้องประชุมขนาดใหญ่.

หอพัก
น. ที่พักอาศัยสําหรับนักเรียนนักศึกษาเป็นต้น; (กฎ) สถานที่ที่จัดขึ้นเพื่อรับผู้พักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก.

ห่อ
ก. พันหรือหุ้มสิ่งของด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น; ลักษณนามเรียกของที่หุ้มด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น เช่น ขนมห่อหนึ่ง ข้าว ๒ ห่อ.

ห่อปาก
ก. ทำริมฝีปากให้รวบเข้าหากันเป็นช่องกลม.

ห่อตัว
ก. งอตัว; ก้มนิดหน่อยพร้อมทั้งโค้งไหล่เข้าหากัน.

ห่อหมก
น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ใช้นํ้าพริกกับเนื้อปลาเป็นต้นกวนกับนํ้ากะทิมีผักรองแล้วห่อนึ่ง.

ห่อเหี่ยว
ว. มีความรู้สึกหดหู่, สลดใจ, เช่น หมู่นี้อ่านหนังสือพิมพ์มีแต่ข่าวร้าย ๆ ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยว.

ห่อไหล่
ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.

ห้อ
ก. วิ่งเต็มเหยียด, วิ่งเต็มที่.

หอก
น. อาวุธสําหรับแทงชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะ มีด้ามยาว.

หอกข้างแคร่
(สํา) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.

หอกซัด
น. หอกด้ามสั้น สําหรับใช้พุ่งหรือซัดไป.

หอง ๑
น. ชื่อแกงอย่างจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูเป็นต้นต้มกับดอกไม้จีนหรือหน่อไม้แห้งและถั่วลิสง.

หอง ๒
ก. ส่งให้สูงขึ้น, แต่งให้สูงขึ้น. (จ.).

ห้อง
น. ส่วนของเรือนหรือตึกเป็นต้นที่มีฝากั้นเป็นตอน ๆ; ตอน เช่น พระพุทธคุณเก้าห้อง; ชั้น เช่น ห้องฟ้า.

ห้องเครื่อง
(ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับเก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือเป็นต้น.

ห้องชุด
(กฎ) น. ส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนเฉพาะของแต่ละบุคคล.

ห้องแถว
น. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว,ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่าตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อกันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.

ห้องโถง
น. ห้องขนาดใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ.

ห้องน้ำ
น. ห้องอาบนํ้า, ส้วม.

ห้องสมุด, หอสมุด
น. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษาหนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์มเป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.

ห้องสมุด, หอสมุด
น. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษาหนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์มเป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.

หอน
ก. ร้องเสียงยาวโหยหวน (ใช้แก่หมา), (ปาก) เสียงวี้ดหรือกรี๊ดจากเครื่องยนต์หรือเครื่องขยายเสียงเป็นต้น.

ห่อน
ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บางคราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).

หอบ ๑
ก. เอาแขนทั้ง ๒ ข้างรวบสิ่งของไป; ขนสมบัติย้ายไป เช่น หอบข้าวหอบของ หอบลูกหอบเต้า; พัดพาไป เช่น ลมหอบเมฆฝนไปหมด. น. ปริมาณของฟืนหรือผักหญ้าเป็นต้นที่พอ ๒ แขนรวบได้ เรียกว่าหอบหนึ่ง.

หอบหิ้ว
ก. ทั้งหอบทั้งหิ้ว; ร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ทอดทิ้งกัน เช่น คนคู่นี้ถึงจะยากจนอย่างไรเขาก็หอบหิ้วกันไป.

หอบ ๒
ก. หายใจถี่ด้วยความเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย.

หอบหืด
ก. อาการหายใจไม่สะดวก มีเสียงหวีดหวือ เนื่องจากหลอดลมหดเกร็ง มักเกิดในผู้ป่วยโรคหืด.

หอม ๑
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุนใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัวหรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง.(๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla)ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.

หอมขาว
(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).

หอมจันทร์
น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminataColla) ผลเล็กเรียวขนาดกล้วยนํ้าไทย กลิ่นหอม.

หอมเตียม
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเทียม. (ดู กระเทียม).

หอมแป้น
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกุยช่าย. (ดู กุยช่าย).

หอม ๒
ก. จูบ; ได้รับกลิ่นดี. ว. มีกลิ่นดี, ตรงข้ามกับ เหม็น.

หอมหวน
ก. หอมตลบ.

หอมหื่น
(วรรณ) ก. หอมยวนใจ เช่น หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนางฯ.(เห่ชมไม้).

หอม ๓
ก. เก็บ, รวบรวม, ในความว่า เก็บหอมรอมริบ.

หอมยับ
(โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).

ห้อม ๑
ก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ.ภาค ๓).

ห้อมล้อม
ก. โอบล้อม, แวดล้อม, เช่น ฝูงชนห้อมล้อมดาราภาพยนตร์ชื่อดัง.

ห้อม ๒, ห้อมเมือง
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคราม. [ดู คราม ๓ (๒)].

ห้อม ๒, ห้อมเมือง
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคราม. [ดู คราม ๓ (๒)].

หอมกราย
(ถิ่น-จันทบุรี) น. ต้นขี้อ้าย. [ดู ขี้อ้าย (๑)].

หอมแดง
น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Eleutherine bulbosa (Miller) Urban ในวงศ์Iridaceae ใบแบนคล้ายใบหมากแรกเกิด ดอกสีขาวนวล หัวสีแดงเข้มรสขมเผ็ดซ่า ใช้ทํายาได้.

หอมป้อม
ดู ชี ๒.

หอย
น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Mollusca มีเปลือกหุ้มตัว แบ่งออกได้เป็น ๒ จําพวกตามลักษณะของเปลือก คือ จําพวกกาบเดี่ยว เช่นหอยขม (Filopaludina doliaris) ในวงศ์ Viviparidae และจําพวกกาบคู่เช่น หอยนางรม (Saccostrea forskali) ในวงศ์ Ostreidae.

ห้อย
ก. แขวนติดอยู่ เช่น ห้อยอุบะ, ปล่อยหรือหย่อนให้แขวนติดอยู่ เช่นนั่งห้อยเท้า.

ห้อยท้าย
ก. ต่อท้าย.

ห้อยโหน
ก. อาการที่เกาะราวหรือห่วงเป็นต้น แล้วโยนตัวไปมา.

หอยโข่ง
น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่าไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง.

หอยปากเป็ด
น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิด Lingula unguis ในวงศ์ Lingulidaeไฟลัม Brachiopoda เปลือกสีเขียว แบน บาง มีก้านยืดหดได้ อาศัยอยู่ตามหาดโคลน.

หอยแปดเกล็ด
ดู ลิ่นทะเล.

หอยเม่น
น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Echinoidea ไฟลัม Echinodermataรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม มีหนามแข็งทั่วตัว อาศัยตามแนวปะการังมีหลายชนิดหลายสกุล เช่น ชนิด Diadema setosum, เม่นทะเล ก็เรียก.

ห้อเลือด
ว. ช้ำมีเลือดคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง.

ห่อแห่, ห้อแห้
ว. มีอาการท้อแท้อ่อนเปลี้ย.

ห่อแห่, ห้อแห้
ว. มีอาการท้อแท้อ่อนเปลี้ย.

หะ
ว. เสียงเปล่งเพื่อให้ลงมือพร้อมกัน.

หะแรก
ว. ครั้งแรก, คราวแรก, เริ่มลงมือ.

หะยี, หัจญี
ดู ฮัจญี.

หะยี, หัจญี
ดู ฮัจญี.

หะหาย, หะห้าย
ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).

หะหาย, หะห้าย
ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).

หะแห้น
(วรรณ) ว. เสียงร้องของสัตว์ดังเช่นนั้น.

หัก
ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน;เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป(ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้มลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.

หักกลบลบหนี้
(กฎ) น. การนําเอาหนี้ที่บุคคล ๒ คนต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในมูลหนี้อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน มาหักลบกันเท่าจํานวนหนี้ที่ตรงกัน เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.

หักคอ
(ปาก) ก. ถือวิสาสะบังคับเอา.

หักใจ
ก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือสูญเสียเป็นต้น.

หักด้ามพร้าด้วยเข่า
(สํา) ก. หักโหมเอาด้วยกําลัง, ใช้อํานาจบังคับเอา.

หักทองขวาง
น. วิธีปักไหมทอง หักเส้นไปตามขวางลาย ใช้ปักเครื่องสูง.

หักบัญชี
ก. เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ในบัญชี, หักกลบลบหนี้ทางบัญชี.

หักราคา
ก. ตัดราคาให้ตํ่าลง เช่น พ่อค้าหักราคาข้าวเพราะมีความชื้นสูงและคุณภาพต่ำ.

หักร้างถางพง
ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.

หักแรง
ก. โหมทำงานจนเกินกำลัง เช่น อย่าหักแรงทำงานจนเกินไป จะทำให้ล้มป่วย.

หักล้าง
ก. ลบล้าง.

หักลำ
(สํา) ว. ทําให้เสียท่าหรือเสียเหลี่ยม.

หักหน้า
ก. ทําหรือพูดโดยเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย.

หักหลัง
ก. ร่วมใจกันมาก่อนแล้วกลับทําร้ายให้ในภายหลัง.

หักหาญ
ก. หักเอาด้วยความกล้า, หักเอาด้วยอํานาจ.

หักห้าม
ก. ยับยั้งใจ.

หักเห
ก. เปลี่ยนทางไป, เปลี่ยนแนวไป; (แสง) ลักษณะการที่แสงเปลี่ยนแนวทางเคลื่อนที่เมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน.

หักเหลี่ยม
ก. ทำให้ผู้อื่นเสียเชิง.

หักโหม
ก. ระดมเข้าไปด้วยกำลังให้แตกหัก, โหมหัก ก็ว่า; เอากําลังแรงเข้ามาหักเอา, ทํางานโดยไม่บันยะบันยัง.

หักอก
ก. ทําให้คนรักพลาดหวัง.

หักอกหักใจ
ก. หักใจ.

หักมุก
น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี ผลเป็นเหลี่ยม นิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนกิน.

หังส-
[หังสะ-] น. หงส์. (ป., ส. หํส).

หัจญ์
ดู ฮัจญ์.

หัจญี
ดู ฮัจญี.

หัช
[หัด] ว. น่ารัก; น่ายินดี, พึงใจ. (ป. หชฺช).

หัฏฐะ ๑
[หัดถะ] ว. ร่าเริง, ยินดี, สบายใจ. (ป.; ส. หฺฤษฺฏ).

หัฏฐะ ๒, หัสตะ
[หัดถะ, หัดสะตะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หัฏฐะ ๒, หัสตะ
[หัดถะ, หัดสะตะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หัด ๑
น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงและปวดศีรษะ ออกผื่นแดงตามตัว. (อ. measles, morbilli, rubeola).

หัดเยอรมัน
น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้ ต่อมนํ้าเหลืองที่คอโต ออกผื่นแดงทั่วตัวคล้ายโรคหัด แต่อาการไม่รุนแรงเท่า มีผลรุนแรงต่อทารกในครรภ์ระยะ ๓ เดือนแรก, เหือด ก็เรียก. (อ. Germanmeasles, rubella).

หัด ๒
ก. ฝึก, ฝึกฝน, ทําให้ชํานาญ.

หัต
ก. ทําลาย. (ป., ส. หต).

หัตถ-, หัตถ์
[หัดถะ-, หัด] น. มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).

หัตถ-, หัตถ์
[หัดถะ-, หัด] น. มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).

หัตถกรรม
น. งานช่างที่ทำด้วยมือ โดยถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก.(ป. หตฺถ + ส. กรฺมนฺ; ป. หตฺถกมฺม).

หัตถการ, หัตถกิจ
น. การทําด้วยฝีมือ, การช่าง.

หัตถการ, หัตถกิจ
น. การทําด้วยฝีมือ, การช่าง.

หัตถบาส
น. ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุสามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง. (ป. หตฺถปาส).

หัตถพันธ์, หัตถาภรณ์, หัตถาลังการ
น. สร้อยมือ.

หัตถพันธ์, หัตถาภรณ์, หัตถาลังการ
น. สร้อยมือ.

หัตถพันธ์, หัตถาภรณ์, หัตถาลังการ
น. สร้อยมือ.

หัตถศาสตร์
น. วิชาเกี่ยวกับการทำนายจากเส้นลายมือ.

หัตถศิลป์
น. ศิลปะในการผลิตสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ โดยถือความงามเป็นหลัก. (ป.).

หัตถศึกษา
น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ.

หัตถาจารย์
ดู หัตถี.

หัตถานึก
ดู หัตถี.

หัตถาโรหะ
ดู หัตถี.

หัตถินี
น. ช้างพัง. (ป.).

หัตถี
น. ช้าง. (ป.).

หัตถาจารย์
น. ผู้ฝึกช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง. (ป. หตฺถาจริย).

หัตถานึก
น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนามี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก(กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก(กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).

หัตถาโรหะ
น. ควาญช้าง, ทหารช้าง. (ป.).

หัน ๑
ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวาคือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้ากับศัตรู.

หันกลับ
ก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน.

หันข้าง
ก. ผินด้านข้างให้เพราะงอนหรือไม่พอใจเป็นต้น.

หันรีหันขวาง
ก. อาการที่หันเหไปมา เก้ ๆ กัง ๆ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทําอย่างใด.

หันหน้า
(สำ) ก. พึ่งพาอาศัย เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร.

หันหน้าเข้าวัด
(สำ) ก. มุ่งหน้าเข้าวัดเพื่อถือศีลฟังเทศน์เป็นต้น.

หันหน้าเข้าหากัน
(สํา) ก. ปรองดองกัน, สมัครสมานกัน, เช่น ทุกฝ่ายจะต้องหันหน้าเข้าหากัน.

หันหลัง
(สํา) ก. เลิก เช่น หันหลังให้อบายมุข.

หันหลังชนกัน
(สํา) ก. ร่วมมือร่วมใจกัน.

หันหลังให้กัน
(สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.

หันเห
ก. เบนจากเดิม.

หันเหียน
ก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, เช่น รำร่ายหันเหียนเวียนละวันหมายมั่นเข่นฆ่าราวี. (อิเหนา), เหียนหัน ก็ว่า.

หันอากาศ
น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัดก็เรียก.

หัน ๒
(ถิ่น-พายัพ) ก. เห็น.

หั่น
ก. เอาของวางลงบนที่รองรับแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ, (ปาก) ตัด เช่นหั่นงบประมาณ.

หั่นแหลก
(ปาก) ก. ตัดลงอย่างมาก เช่น บทความนี้ถูกหั่นแหลก. ว. เต็มที่เช่น สู้กันหั่นแหลก.

หั้น
(ถิ่น) ว. นั้น.

หันตรา
[-ตฺรา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําคล้ายขนมเม็ดขนุน แต่มีไข่ทําเป็นฝอยหุ้มนอก.

หันตา
น. ผู้ฆ่า. (ป., ส.).

หับ
ก. ปิด, งับ, เช่น เข้าห้องแล้วหับประตูเสีย.

หับเผย
ก. ปิดงับและเปิดคํ้าขึ้นได้. น. โรงเรือนที่มีลักษณะด้านหน้าปิดงับหรือเปิดค้ำขึ้นได้.

หัมมียะ
[หํา-] น. เรือนแบบหนึ่ง. (ป.; ส. หรฺมฺย).

หัย
น. ม้า. (ป., ส. หย).

หัว ๑
น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิดเป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆเช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่าหัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่นออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย;ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่นหัวยา หัวเหล้า.

หัวกระเด็น
น. สิ่งของที่โตและเด่นกว่าเพื่อนในหมู่หนึ่งหรือกองหนึ่ง,โดยมากมักใช้แก่ผลไม้บางชนิด เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความสามารถดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักเรียนห้องนี้ล้วนแต่หัวกระเด็นทั้งนั้น.

หัวกระไดไม่แห้ง
(สํา) ว. มีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ (มักใช้หมายถึงบ้านที่มีลูกสาวสวย หรือบ้านผู้มีอํานาจวาสนา).

หัวกระสุน
น. ส่วนของกระสุนปืนซึ่งอัดอยู่ที่ปลายปลอกกระสุน.

หัวก๊อก
ดู ก๊อก ๑.

หัวกะทิ
น. กะทิที่คั้นครั้งแรก. ว. ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักกีฬาที่เข้าแข่งขันในวันนี้เป็นพวกหัวกะทิทั้งนั้น.

หัวก่ายท้ายเกย
ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่ายท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด.

หัวกุญแจ
น. เครื่องสับหลีกทางรถไฟ.

หัวเก่า
ว. นิยมของเก่า, นิยมตามแบบเก่า, (ปาก) ครึ, ไม่ทันสมัย.

หัวแก้วหัวแหวน
ว. ที่รักใคร่เอ็นดูมาก, ที่โปรดปรานมาก, เช่น ลูกศิษย์หัวแก้วหัวแหวน.

หัวขโมย
น. ผู้มีสันดานเป็นขโมย.

หัวข้อ
น. ต้นเรื่อง, ส่วนสําคัญของเรื่องที่แยกออกเป็นส่วน ๆ และ กำหนดไว้ตอนต้นเรื่อง, ใจความสําคัญ.

หัวขั้ว
น. ด้านหัวของผลไม้ส่วนที่ติดอยู่กับขั้วหรือก้าน, ด้านล่างของดอกไม้ส่วนที่ติดอยู่กับขั้วหรือก้าน; เรียกปลอกโลหะที่สวมขั้วแบตเตอรี่เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านว่า หัวขั้วแบตเตอรี่; ต้นขั้ว.

หัวขาด
น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เมื่อแรกขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงเป็นฝี.

หัวขี้แต้
น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะปํ่าอยู่ตามทุ่งนามักอูดขึ้นมาจากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย.

หัวขี้เลื่อย
ว. โง่, มีปัญญาทึบ.

หัวขี้หมา
(ปาก) น. ก้อนขี้หมา. (ดู ก้อนขี้หมา ที่ ก้อน).

หัวเข่า
น. อวัยวะตรงที่ปลายกระดูกต้นขากับหัวกระดูกแข้งต่อกัน, เข่าก็ว่า.

หัวเข้า
น. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนเข้าอยู่ภายในเส้นกรอบของตัวอักษรเช่น ตัว ถ ตัว ผ, ตรงข้ามกับ หัวออก. (ดู หัวออก).

หัวแข็ง ๑
ว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่นเขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด.

หัวโขน ๑
น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยายหมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวนเช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.

หัวโขน ๒
น. เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวโพดคั่วคลุกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเหนียวว่า ข้าวโพดหัวโขน.

หัวคลองท้ายคลอง
ว. ทั่วทั้งคลอง.

หัวคว่ำ
น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งที่มีหัวอยู่ข้างใน.

หัวคะแนน
(ปาก) น. ผู้รับหาคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง.

หัวคันนา
น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือลูกคัน ก็เรียก.

หัวค่ำ
น. เวลาแรกมืด, เวลายังไม่ดึก.

หัวคิด
น. การใช้สมองคิด, สติปัญญา.

หัวคุ้ง
น. ส่วนเริ่มต้นของโค้งแม่น้ำ.

หัวใคร่
น. สิ่งที่รักมาก, มักใช้คู่กับคํา หัวรัก เป็น หัวรักหัวใคร่.

หัวงาน
น. เวลาตั้งต้นทํางาน; เนื้อที่นาตรงเริ่มไถหรือคราด; สถานที่เริ่มต้นทํางาน; (โบ) หัวหน้างาน.

หัวเงื่อน
น. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยายหมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.

หัวแง่
น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา, แง่ ก็ว่า.

หัวจิตหัวใจ
น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจจะทำอะไร.

หัวจุก
น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ ผมจุก ก็เรียก.

หัวแจว
น. ปลายสุดของด้ามแจวตรงที่สวมหมวกแจว.

หัวโจก
น. หัวหน้าผู้ประพฤติเกกมะเหรก. ว. เป็นโจกกว่าเพื่อน.

หัวใจ
น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ,สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มีหัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า 'ทุ. ส. นิ. ม.' หัวใจนักปราชญ์ ว่า 'สุ. จิ. ปุ. ลิ.' หัวใจเศรษฐีว่า 'อุ. อา. ก. ส.'.

หัวชนกำแพง, หัวชนฝา
(สํา) ว. มีลักษณะที่สู้ไม่ยอมถอย.

หัวชนกำแพง, หัวชนฝา
(สํา) ว. มีลักษณะที่สู้ไม่ยอมถอย.

หัวซุกหัวซุน
ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้ายหนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.

หัวซุน
ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัวไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.

หัวด้วน ๑
น. เรียกลมพายุที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนแล้วหายไปว่าลมหัวด้วน.

หัวดาวหัวเดือน
น. เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก โดยมากขึ้นที่ฝ่ามือฝ่าเท้าและนิ้วมือนิ้วเท้า.

หัวดี
ว. เฉลียวฉลาดรอบคอบ เช่น เด็กคนนี้หัวดี ปีนี้ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แน่.

หัวดื้อ
ว. ว่ายากสอนยาก เช่น เด็กคนนี้หัวดื้อจริง, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตามใครง่าย ๆ เช่น ผู้ใหญ่บางคนก็หัวดื้อ.

หัวเด็ดตีนขาด
(สำ) คำพูดแสดงการยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะตายก็ไม่ยอมเปลี่ยนใจ เช่น หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมย้าย หัวเด็ดตีนขาดก็จะอยู่ที่นี่.

หัวเดียวกระเทียมลีบ
ว. ตัวคนเดียวโดดเดี่ยว ไม่มีพวกพ้อง.

หัวต่อ
น. ที่ซึ่ง ๒ ส่วนมาติดกัน, ระยะตรงที่เวลา ข้อความ หรือเหตุการณ์ติดเนื่องกัน.

หัวตะคาก
น. แง่กระดูกเชิงกรานที่อยู่ใต้บั้นเอว, ตะคาก ก็เรียก.

หัวตะโหงก
[-โหฺงก] น. สิ่งที่นูนโหนกขึ้นมาจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้.

หัวเต่า
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณีก็เรียก.

หัวเตาไฟ
น. มุมทั้ง ๔ ของแม่เตาไฟ.

หัวถอก
น. ปลายลึงค์ที่หนังหุ้มร่นเข้าไป.

หัวเถิก
ว. มีผมที่หัวตอนหน้าผากร่นสูงขึ้นไป.

หัวแถว
น. คนที่อยู่ต้นของแถว, โดยปริยายหมายถึงหัวหน้าหรือผู้นำ.

หัวที
น. เวลาแรก, เวลาที่เริ่มทํา, เวลาลงมือ.

หัวทึบ
ว. โง่มาก เช่น เด็กคนนี้หัวทึบ สอนอย่างไร ๆ ก็ไม่เข้าใจ.

หัวเทียน
น. เดือยหัวเสาสําหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทําหน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิงผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.

หัวเทียม
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. หัวกระเทียม. (ดู กระเทียม).

หัวนกกระจอก
น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสวมอยู่ตรงกลางจานจ่ายไฟ ทําหน้าที่หมุนจ่ายกระแสไฟแรงสูงให้เข้าสู่หัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน.

หัวนม
น. อวัยวะส่วนที่อยู่ตอนยอดของนมมนุษย์หรือสัตว์; ของที่ทําด้วยยางเป็นต้น มีรูปคล้ายหัวนม สําหรับสวมขวดบรรจุนํ้านมหรือนํ้าเป็นต้นเพื่อให้เด็กดูด; นํ้านมที่มีครีมมากจนข้น.

หัวนอก
ว. ที่นิยมแบบฝรั่ง, ที่มีความคิดอ่านแบบฝรั่ง, ที่นิยมของที่ผลิตจากต่างประเทศ.

หัวนอน
น. ด้านทางหัวของผู้นอน, ตรงข้ามกับปลายตีน; (โบ) ทิศใต้เรียกว่า ทิศหัวนอน.

หัวนอนปลายตีน
น. หลักแหล่ง, เทือกเถาเหล่ากอ, เช่น คนคนนี้ไว้ใจยากเพราะไม่รู้หัวนอนปลายตีนของเขา.

หัวน้ำ
น. นํ้าหวานที่อยู่ในตอนบนของรวงผึ้ง.

หัวน้ำขึ้น
น. นํ้าที่เริ่มไหลขึ้น.

หัวน้ำลง
น. นํ้าที่เริ่มไหลลง.

หัวเนื้อ
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวศีรษะเนื้อดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณีก็เรียก.

หัวเนื้อทราย
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวโปฐบทดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวปุพพภัททะ ก็เรียก.

หัวใน
ว. ที่มีความคิดแบบไทย, ที่นิยมของที่ผลิตภายในประเทศ.

หัวบัว ๑
น. หัวนมหญิง.

หัวบัว ๒
น. กำไลที่ปลายทั้ง ๒ ข้างเป็นรูปดอกบัวตูม.

หัวบ้านท้ายบ้าน
ว. ทั่วทั้งหมู่บ้าน.

หัวเบี้ย
น. ผู้ที่เก็บและจ่ายเงินในวงถั่วโปเป็นต้น; (โบ) จํานวนเงินขนอนตลาดที่เรียกเก็บเอาไว้ในทีแรก.

หัวโบราณ
ว. นิยมตามแบบเก่าแก่, (ปาก) ครึมาก, ล้าสมัย.

หัวปลวก
น. จอมปลวก, รังปลวกที่เป็นดินสูงขึ้น.

หัวปลี
น. ดอกของกล้วยที่ยังมีกาบหุ้มอยู่ ซึ่งอยู่ถัดจากกล้วยตีนเต่า.

หัวปักหัวปำ
ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้นเช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่นถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.

หัวปั่น
ก. ทํางานจนยุ่งงงไป, ประสบกับเหตุยุ่งเหยิงหลาย ๆ เหตุเป็นต้นจนงง. ว. มึนงงเพราะประสบกับปัญหาต่าง ๆ ที่ทับถมเข้ามาจนแก้ไม่ตก.

หัวป่า
น. คนทําอาหาร ในคำว่า แม่ครัวหัวป่า พ่อครัวหัวป่า, โบราณเขียนเป็น หัวป่าก์.

หัวปาก
(โบ) น. นายร้อย. (จ. ปัก, แป๊ะ, ว่า ร้อย).

หัวปี
ว. ทีแรก, เกิดก่อนเพื่อน, เช่น ลูกคนหัวปี.

หัวปีท้ายปี
น. ต้นปีและท้ายปี เช่น เธอคลอดลูกหัวปีท้ายปี.

หัวพัน
น. ตําแหน่งข้าราชการโบราณรองจากนายเวรลงมา, หัวหน้าควบคุมทหารจํานวนพันหนึ่ง; (โบ) นายทหารผู้ช่วยกองเสนาหลวงในสมัยโบราณ.

หัวพุงหัวมัน
น. ส่วนที่มีพุงและมันซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีในตัวปลา,โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ดีที่สุดเยี่ยมที่สุดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.

หัวฟัดหัวเหวี่ยง
ว. อาการที่โกรธจัด เช่น เขาโกรธจัดเดินหัวฟัดหัวเหวี่ยงออกไป.

หัวฟืนหัวไฟ
น. หัวคํ่า เช่น มาแต่หัวฟืนหัวไฟ. (ถิ่น-อีสาน) ว. หัวปีในคําว่า ลูกหัวฟืนหัวไฟ.

หัวมังกุท้ายมังกร
(สํา) ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลายอย่างปนกัน.

หัวมุม
น. จุดรวมทั้งบริเวณใกล้จุดที่เส้น ๒ เส้น แนว ๒ แนวหรือระนาบ๒ ระนาบมาบรรจบกัน.

หัวเม็ด
น. ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมียอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุกที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี.

หัวเมือง
น. เมืองอื่นนอกจากเมืองหลวง; (ปาก) ต่างจังหวัด; (โบ) เมืองใหญ่ที่มีเมืองน้อยมาขึ้น.

หัวแม่ตีน, หัวแม่เท้า
น. นิ้วต้นของเท้า.

หัวแม่ตีน, หัวแม่เท้า
น. นิ้วต้นของเท้า.

หัวแม่มือ
น. นิ้วต้นของมือ, (ปาก) นิ้วโป้, นิ้วโป้ง.

หัวแมลงวัน
น. คำเปรียบขนาดของลูกมะม่วงที่แรกออกจากดอกประมาณเท่าหัวแมลงวัน.

หัวไม้
น. นักเลงที่ชอบตีรันฟันแทง, มักเรียกว่า นักเลงหัวไม้.

หัวไม่วางหางไม่เว้น
(สํา) ว. รวบหมดทั้งหัวทั้งหาง; อาการที่ทำงานอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาหยุดพัก เช่น เขาทำงานหัวไม่วางหางไม่เว้นเขาถูกใช้งานจนหัวไม่วางหางไม่เว้น.

หัวรถจักร
น. รถหัวขบวนรถไฟ มีเครื่องยนต์ใช้ลากจูงรถไฟทั้งขบวน,รถจักร ก็เรียก.

หัวรอ
(โบ) น. หลักปักกันกระแสน้ำ. (ดู รอ).

หัวระแหง
น. พื้นดินที่แตกระแหง; โดยปริยายหมายความว่า แห่งหนในความว่า ทั่วทุกหัวระแหง.

หัวรักหัวใคร่
ว. ที่รักมาก เช่น ศิษย์หัวรักหัวใคร่.

หัวรั้น
ว. ดื้อดัน.

หัวราน้ำ
ว. มากเกินปรกติจนขาดสติ ในความว่า เมาหัวราน้ำ เที่ยวหัวราน้ำ.

หัวรุนแรง
น. เรียกคนที่มีความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเอาจริงเอาจังว่า คนหัวรุนแรง. ว. ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นการปฏิบัติ หรือนโยบายเป็นต้น อย่างหักหาญโดยไม่ยอมประนีประนอมใด ๆ.

หัวเราะหัวไห้
(ปาก) ก. หัวเราะ.

หัวเรี่ยวหัวแรง, หัวแรง
น. ผู้เป็นกําลังสําคัญในการทํากิจการต่าง ๆ.

หัวเรี่ยวหัวแรง, หัวแรง
น. ผู้เป็นกําลังสําคัญในการทํากิจการต่าง ๆ.

หัวเรื่อง
น. ถ้อยคำหรือวลีที่แสดงสาระสำคัญของเรื่องซึ่งเขียนไว้ที่ต้นเรื่อง.

หัวเรือใหญ่
น. ผู้ออกรับแทนผู้อื่นเสียเอง, ผู้จัดการทุกอย่างให้ผู้อื่นด้วยตนเอง, ผู้ที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการทำเรื่องต่าง ๆ เสียเอง.

หัวแร้ง
น. เหล็กที่ปลายมีลักษณะคล้ายหัวของนกแร้ง ใช้เผาไฟให้ร้อนจัดแล้วจี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน, เครื่องมือไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อทำให้ปลายร้อนจัดด้วยกระแสไฟฟ้า ใช้จี้ตะกั่ว บัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน เรียกว่า หัวแร้งไฟฟ้า.

หัวลม
น. ต้นลม, ลมต้นฤดูหนาว; เรียกไข้ที่มักเกิดเพราะถูกอากาศเย็นต้นฤดูหนาวว่า ไข้หัวลม.

หัวล้าน ๑
ว. มีหัวไร้ผมบางแห่งหรือทั้งหมด.

หัวล้านได้หวี
(สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.

หัวล้านนอกครู
(สำ) น. ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา.

หัวเลี้ยว
น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง, เลี้ยว ก็ว่า.

หัวเลี้ยวหัวต่อ
น. ภาวะหรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะต่อกันถือว่าเป็นตอนสําคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพหรือความคิดเป็นต้น เช่น วัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่.

หัวแล่น
ว. มีความคิดเร็วปลอดโปร่ง เช่น วันนี้รู้สึกหัวแล่นดี ทำงานไปได้เยอะ.

หัวโล้น ๑
น. หัวที่โกนผมหมด.

หัวไว
ว. มีปฏิภาณไหวพริบดี.

หัวสมอง
(ปาก) น. ปัญญาความคิด เช่น เด็กคนนี้มีหัวสมองดี, สมอง ก็ว่า.

หัวสมัยใหม่
ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า;ทันสมัย ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวใหม่ ก็ว่า.

หัวสำเภา
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวสําเภาทองดาวสะเภา ดาวยามเกา ดาวตาเรือชัย หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก.

หัวสูง
ว. มีรสนิยมสูงจนเกินตัว; (ปาก) เย่อหยิ่ง.

หัวเสีย
ว. หงุดหงิด, มีอารมณ์โกรธค้างอยู่.

หัวใส
ว. มีความคิดว่องไวในการหาประโยชน์ เช่น พ่อค้าหัวใส.

หัวไส้
น. กระเพาะปัสสาวะ; ดาก; หัวริดสีดวงทวาร.

หัวหกก้นขวิด
(สํา) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตามความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.

หัวหงอก
[-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยายหมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึงทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.

หัวหด
ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบกับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.

หัวหน้า
น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่หนึ่ง ๆ.

หัวหน่าว
น. ส่วนของร่างกายอยู่ระหว่างท้องน้อยกับอวัยวะสืบพันธุ์.

หัวหมอ
(ปาก) น. บุคคลที่ชอบตั้งตัวเป็นเสมือนผู้รอบรู้หรือนักกฎหมายอ้างเหตุอ้างผลเพื่อโต้แย้งในเรื่องต่าง ๆ.

หัวหมื่น
น. ตำแหน่งราชการมหาดเล็กถัดจางวางลงมา.

หัวหมุน
ก. งง, สับสน, หัวหมุนเป็นลูกข่าง ก็ว่า.

หัวหมู
น. ส่วนของไถตอนที่ปลายสอดติดผาล.

หัวหลักหัวตอ
(สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่นเขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.

หัวหอก
น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำผู้อื่นไปก่อนในการต่อสู้หรือการพัฒนาสังคมเป็นต้น เช่น ส่งทหารพรานเป็นหัวหอกไปค้นหาผู้ก่อการร้าย.

หัวหาด
น. ชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความครอบครองของข้าศึก ซึ่งถ้ายึดได้แล้วจะทําให้สะดวกในการยกพลขึ้นบก เรียกว่า ยึดหัวหาด, โดยปริยายหมายถึงจุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นซึ่งถ้ายึดไว้ได้ก็จะสามารถทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ.

หัวหายตะพายขาด
(สํา) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางทีก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.

หัวเห็ด
น. เรียกตะปูชนิดหนึ่งที่หัวบานเหมือนดอกเห็ดสำหรับตอกสังกะสีเป็นต้น ว่า ตะปูหัวเห็ด.ว. ทรหดอดทน เช่น นักข่าวหัวเห็ด นักสืบหัวเห็ด;(โบ) ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดยมากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะอย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. (ลักวิทยา).

หัวแหลม
[-แหฺลม] น. ปลายแห่งแผ่นดินที่ยื่นออกไปในนํ้า. ว. ฉลาดหลักแหลม.

หัวแหวน
[-แหฺวน] น. ผักคราดหัวแหวน. (ดู คราด ๒).

หัวใหม่
ว. นิยมของใหม่, นิยมตามแบบใหม่, ตรงข้ามกับ หัวเก่า; ทันสมัย,ตรงข้ามกับ หัวโบราณ, หัวสมัยใหม่ ก็ว่า.

หัวไหล่
น. จะงอยบ่า.

หัวอก
น. ส่วนเบื้องบนของอกในระดับหัวใจ; (ปาก) สภาพที่น่าเห็นใจเช่น หัวอกแม่ค้า หัวอกคนจน.

หัวอกหัวใจ
น. สภาพจิตใจที่น่าสงสารหรือน่าเห็นใจเป็นต้น เช่น นั่งก็ไม่เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข หัวอกหัวใจมันร้อนรุ่มไปหมด.

หัวออก
น. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนออกนอกเส้นกรอบของตัวอักษร เช่นตัว พ ตัว ภ, ตรงข้ามกับ หัวเข้า.

หัวอ่อน
ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ,ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมากพอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.

หัว ๒
น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา,ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.

หัว ๓
(โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือหัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.

หัวร่อ
ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า,(โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.

หัวเราะ
ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคําหัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.

หัวขวาน ๑
น. ชื่อนกในวงศ์ Picidae ไต่ตามต้นไม้ โดยใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหากินแมลง ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดังมาก ทํารังในโพรงไม้ สีสวย มีหลายชนิด เช่น หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง(Chrysocolaptes lucidus) หัวขวานสีตาล (Celeus brachyurus).

หัวขวาน ๒
ดู สีกรุด.

หัวแข็ง ๑
ดูใน หัว ๑.

หัวแข็ง ๒
น. ชื่อกุ้งนํ้าจืดชนิด Palaemon styliferus ในวงศ์ Palaemonidae.

หัวแข็ง ๓
ดู ข้างเงิน.

หัวโขน ๑
ดูใน หัว ๑.

หัวโขน ๒
ดูใน หัว ๑.

หัวโขน ๓
น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Panulirus วงศ์ Palinuridae ที่ตอนหัวมีหนามมาก, กุ้งหนามใหญ่ หรือ กุ้งมังกร ก็เรียก.

หัวงอน, หัวเงิน
ดู หัวตะกั่ว (๑).

หัวงอน, หัวเงิน
ดู หัวตะกั่ว (๑).

หัวด้วน ๑
ดูใน หัว ๑.

หัวด้วน ๒
น. เถาหัวด้วน.

หัวตะกั่ว ๑
น. (๑) ชื่อปลาขนาดเล็กหากินตามผิวนํ้าชนิด Aplocheilus panchax ในวงศ์Cyprinodontidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลําตัวกลมยาว หัวโตกว้างมองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโตและอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลําตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลืองโคนครีบหลังสีดํา ที่สําคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอนก็เรียก. (๒) ดู ข้างเงิน.

หัวตะกั่ว ๒
ดู จิ้งโกร่ง.

หัวเทียม
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. หัวกระเทียม. (ดู กระเทียม).

หัวบัว ๑
ดูใน หัว ๑.

หัวบัว ๒
ดูใน หัว ๑.

หัวบัว ๓
น. โกฐหัวบัว. (ดู โกฐหัวบัว ที่ โกฐ).

หัวมัน
ดู กระโห้.

หัวร้อยรู
ดู กระเช้าผีมด (๒).

หัวล้าน ๑
ดูใน หัว ๑.

หัวล้าน ๒
น. ชื่อไม้เถาชนิด Merremia peltata Merr. ในวงศ์ Convolvulaceae เมล็ดมีขนตามข้าง ๆ คล้ายหัวล้าน เรียก ลูกหัวล้าน.

หัวลิง
น. ชื่อไม้เถาชนิด Sarcolobus globosus Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceaeผลขนาดผลส้มจีน มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง.

หัวโล้น ๑
ดูใน หัว ๑.

หัวโล้น ๒
ดู กระเบียน (๒).

หัวว่าว
ดู กระแตไต่ไม้ ๒.

หัส, หัส-
[หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาสเช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).

หัส, หัส-
[หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาสเช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).

หัสดนตรี
น. วงดนตรีสากลซึ่งบรรเลงในงานรื่นเริง.

หัสนาฏกรรม
น. ละครหรือเรื่องราวที่ตลกขบขัน.

หัสนิยาย
น. เรื่องชวนหัว, เรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตลกขบขัน.

หัสดิน, หัสดี
[หัดสะ-] น. ช้าง. (ส. หสฺตินฺ, หสฺติ; ป. หตฺถี).

หัสดิน, หัสดี
[หัดสะ-] น. ช้าง. (ส. หสฺตินฺ, หสฺติ; ป. หตฺถี).

หัสดีลิงค์
น. นกในวรรณคดีมีจะงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง.

หัสต์
[หัด] น. หัตถ์, มือ. (ส.; ป. หตฺถ).

หัสตะ, หัฏฐะ ๒
[หัดสะตะ, หัดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็น รูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หัสตะ, หัฏฐะ ๒
[หัดสะตะ, หัดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็น รูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หา ๑
ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่นเขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่นมีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหาเที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.

หากิน
ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบอาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่นให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่าหญิงหากิน.

หากินด้วยลำแข้ง
(สำ) ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความมานะพยายามของตัวเอง.

หากินตัวเป็นเกลียว
(สำ) ก. ขยันทำมาหากินจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน.

หากินตามชายเฟือย
(สำ) ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหนเอานั่นไปเรื่อย ๆ.

หาความ
ก. กล่าวโทษ, ใส่ความ; หาเรื่องไม่จริงมาว่า.

หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้
ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้.

หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้
ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้.

หาเงิน
(โบ) น. เรียกหญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณีว่า หญิงหาเงิน.(โบ) ก. ไปขายตัวเป็นทาส.

หาเช้ากินค่ำ
ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ.

หาตัวจับยาก
(สํา) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคนเรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.

หาทำยายาก
(สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพรบางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.

หาบมิได้, หาบ่มิได้
[หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้,บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.

หาบมิได้, หาบ่มิได้
[หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้,บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.

หาไม่ ๑
ก. ใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่, ไม่มี, เช่น เขาจะสำนึกผิดก็หาไม่ เขาจะมีความเกรงใจสักนิดก็หาไม่; สิ้นสุด เช่น จนกว่าชีวิตจะหาไม่.

หาไม่ ๒, หา...ไม่
ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

หาไม่ ๒, หา...ไม่
ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

หาไม่ ๓
สัน. มิฉะนั้น, ไม่เช่นนั้น, เช่น เธอต้องออกไปจากบ้านของฉัน

หารือ
ก. ปรึกษา.

หาเรื่อง
ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่องกันได้.

หาเลือดกับปู
(สํา) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, รีดเลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.

หาเศษหาเลย
(สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไปจ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไปหาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.

หาสู่
ก. เยี่ยมเยียน, มักใช้ควบกับคํา ไปมา เป็น ไปมาหาสู่.

หาเสียง
ก. แสวงหาการสนับสนุน.

หาห่วงมาคล้องคอ
(สํา) ก. รนหาภาระผูกพันมาใส่ตน.

หาเหตุ
ก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา;หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; ข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.

หาเหาใส่หัว
(สำ) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อนรำคาญมาใส่ตน.

หา ๒
ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.

ห่า ๑
น. ชื่อผีจําพวกหนึ่ง ถือกันว่าทําให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคห่า.

ห่ากิน
ก. ตายเพราะโรคระบาดอย่างร้ายแรง เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค)กาฬโรค.

ห่าลง
ก. เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่นโรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค. (ปาก) น. คนที่มากันเป็นจำนวนมากเช่น งานนี้คนมากันอย่างกับห่าลง.

ห่า ๒
(โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝนเช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.

ห้า
น. จํานวนสี่บวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน.

ห้าแต้ม
ว. พลั้งพลาดน่าขายหน้า.

หาก
ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น 'อันไตรโลกย์หากบูชา' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่นออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่นหากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

หากว่า
สัน. ถ้าว่า, แม้ว่า, เช่น ฉันจะไปชายทะเลหากว่ามีเวลาว่าง.

หาง
น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กาไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

หางกระเบน
น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก.

หางกระรอก
น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียวเสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.

หางกระหมวด, หางขมวด
[-กฺระหฺมวด, -ขะหฺมวด] ว. ที่มีหางกระหมวดปลาย ได้แก่หาง ฬ ฮ.

หางกระหมวด, หางขมวด
[-กฺระหฺมวด, -ขะหฺมวด] ว. ที่มีหางกระหมวดปลาย ได้แก่หาง ฬ ฮ.

หางกวัก
[-กฺวัก] น. หางที่มีปลายงอลง (ใช้แก่แมว) ถือว่าเป็นมงคล.

หางกะลวย
น. ขนหางไก่ตัวผู้ที่ยื่นยาวกว่าเพื่อน.

หางกังหัน
น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า หางกังหัน ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัดก็เรียก.

หางแกละ
[-แกฺละ] น. ผมที่เอาไว้เป็นแหยมที่แง่ศีรษะ.

หางขอด
น. หางที่มีปลายขมวดงอหงิก (ใช้แก่หมาและแมว).

หางข้าว
น. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวงเรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).

หางเครื่อง
น. เพลงที่ออกต่อท้ายจากเพลง ๓ ชั้น หรือ เพลงเถา; กลุ่มบุคคลที่ออกมาเต้นประกอบจังหวะในการร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง.

หางงอ
น. หางที่ปลายงอขึ้น (ใช้แก่หมาและแมว).

หางจิ้งเหลน
[-เหฺลน] น. ผมของเด็กที่เอาไว้ที่ท้ายทอยเล็กกว่าผมเปีย.

หางเต่า
น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หีเต่า ก็เรียก.

หางแถว
น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ไม่มีความสำคัญ, ปลายแถว ก็ว่า.

หางนม
น. น้ำนมที่เอาครีมส่วนใหญ่ออกแล้ว.

หางปลา
น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่ปิดด้วยกระดาษเป็นต้นลงบนโครงพัดรูปคล้ายหางปลาช่อนที่แผ่ออก เรียกว่า พัดหางปลา; ชื่อพลั่วชนิดหนึ่งปลายบากเข้าเป็นรูปคล้ายหางปลาทู ใช้ขุดดิน เรียกว่า พลั่วหางปลา;เครื่องหมายสัญญาณให้รถไฟแล่นเข้าออกได้; โลหะลักษณะแบนสําหรับเหนี่ยวเพลาล้อหลังรถจักรยาน เพื่อให้โซ่ตึง; ชื่อชายปั้นลมแบบหนึ่ง ปลายตอนล่างผายออกคล้ายหางปลาที่ตัดตรง; ตัวไม้สำหรับช่วยยึดตัวไม้ส่วนโครงหลังคาเรือนบางตัวให้มั่นคง.

หางเปีย
น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, เปียหรือ ผมเปีย ก็เรียก.

หางแมงป่อง
น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ.

หางยาม
น. หางคันไถตอนที่มือถือ.

หางยาว
น. เรียกเรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ติดท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวปลายติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัว โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางและยกขึ้นลงได้ ว่าเรือหางยาว.

หางเลข
น. เครื่องหมายย่อแทนตัวเลขสําหรับทําเลขอย่างเก่า; (ปาก) เลขท้ายสลากกินแบ่งที่ได้รางวัล, โดยปริยายหมายถึงพลอยถูกผู้ใหญ่ดุหรือตำหนิไปด้วย เช่น หัวหน้าถูกผู้ใหญ่ดุ ลูกน้องก็เลยพลอยถูกหางเลขไปด้วย.

หางว่าว
น. (โบ) กระดาษแผ่นยาวอย่างหางของว่าวปักเป้าสําหรับจดบัญชีบอกรายชื่อเลกครั้งโบราณ, บัญชีรายชื่อคนหรือรายการสิ่งของเป็นต้นที่ยาวยืด.

หางเสียง
น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.

หางเสือ
น. เครื่องถือท้ายเรือ, จะกูด จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.

หางหงส์ ๑
น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียกเครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลายตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.

หางหนู
น. หางเปียขนาดเล็กและสั้นที่บริเวณท้ายทอยโดยโกนผมที่เหลือออกทั้งหมด; เรียกตะไบเล็ก ๆ ที่มีลักษณะกลมเรียวว่า ตะไบหางหนู;ส่วนของแขนงช่อดอกของหมากและมะพร้าวที่ดอกเพศผู้ร่วงหมดแล้ว.

หางไหล ๑
น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยหรือชอนไปแตกเป็นหน่อขึ้น, ไหล ก็เรียก.

ห่าง, ห่าง ๆ
ว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็นห่างไกล; ไม่ชิด เช่น ญาติห่าง ๆ, ไม่ถี่ เช่น มีลูกห่าง.

ห่าง, ห่าง ๆ
ว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็นห่างไกล; ไม่ชิด เช่น ญาติห่าง ๆ, ไม่ถี่ เช่น มีลูกห่าง.

ห่างเห
(กลอน) ว. จากไป, พรากไป, เช่น นิราศร้างห่างเหเสนหา ปางอิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา. (นิ. อิเหนา).

ห่างเหิน
ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกันเหมือนเดิม, จืดจาง, เหินห่าง ก็ว่า.

ห้าง ๑
น. กระท่อมที่ทําไว้เฝ้านาเฝ้าสวน หรือที่พักเล็ก ๆ ชั่วคราว; ที่ซึ่งทําไว้บนต้นไม้ในป่า สําหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์ เป็นต้น.

ห้าง ๒
น. สถานที่จําหน่ายสินค้า, สถานที่ประกอบธุรกิจ. (จ.).

ห้างหุ้นส่วน
(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทํากิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกําไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทํานั้น.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิดเพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้องจดทะเบียน.

ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้วจึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้น.

หางกราย
น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓)

หางกะลวยไก่
น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีดอกเหมือนหางกะลวยไก่. (พจน. ๒๔๙๓).

หางกิ่ว
น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิดCaranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือCaranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า ๓.

หางไก่
น. ชื่อปลาทะเลชนิด Coilia macrognathus และ C. dussumieri ในวงศ์Engraulidae ลําตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัวจึงแลดูใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ขนาดยาวประมาณ๒๕ เซนติเมตร.

หางแข็ง
น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียวแบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลองหรือ อีโลง ก็เรียก.

หางจระเข้
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Aloe vera (L.) Burm.f. ในวงศ์ Liliaceae ใบเป็นทางยาวอวบนํ้าขอบใบจัก ปลายใบแหลมคล้ายหางจระเข้ มียางและเมือกจากวุ้นใช้ทํายาได้.

หางช้าง
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Belamcanda chinensis DC. ในวงศ์ Iridaceaeใบเป็นแผ่นคล้ายพัดด้ามจิ้วหรือขนปลายหางช้าง, ว่านหางช้าง ก็เรียก,อีสานและพายัพเรียก ว่านมีดยับ. (๒) ข้าวฟ่างหางช้าง. (ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว).

หางนกกะลิง
น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในสกุล Capparis วงศ์ Capparidaceae คือ ไม้เถาชนิด C. sepiaria L. หนามโค้งลง C. pyrifolia Lam. หนามเหยียดตรงและไม้พุ่มชนิด C. radula Gagnep หนามโค้ง.

หางนกยูง
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw. ในวงศ์ Leguminosaeลําต้นและกิ่งมีหนาม ดอกสีแดง เหลือง หรือชมพู.

หางนกยูงฝรั่ง
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Delonix regia (Hook.) Raf.ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นและกิ่งไม่มีหนาม ดอกสีแดงหรือแสด ออกดอกปีละครั้ง ขณะออกดอกผลัดใบ.

หางนาค
น. ชื่อนกชนิด Megalurus palustris ในวงศ์ Sylviidae ตัวสีนํ้าตาล มีลายตลอดทั่วตัว หางยาว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า หนองนํ้า ทุ่งนา เวลาบินหางจะกระดกขึ้นลง.

หางแพน
ดู กราย ๑.

หางสิงห์
น. สนหางสิงห์. (ดู สนหางสิงห์ ที่ สน ๑).

หางหงส์ ๑
ดูใน หาง.

หางหงส์ ๒
ดู พู่ระหง.

หางไหล ๑
ดูใน หาง.

หางไหล ๒
น. ชื่อไม้เถาชนิด Millettia racemosa Benth. ในวงศ์ Leguminosae ใช้ทํายาได้.

หางไหลแดง
น. ชื่อไม้เถาชนิด Derris elliptica (Roxb.) Benth. ในวงศ์Leguminosae รากใช้เบื่อปลาและทํายาฆ่าแมลง, ไหลนํ้า หรือ โล่ติ๊นก็เรียก.

หางไหลเผือก
น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).

หาญ
ว. กล้า, เก่ง, เช่น ทหารหาญ; บังอาจ เช่น หาญสู้, บางทีก็ใช้เข้าคู่ กับคำอื่นเช่น กล้าหาญ หักหาญ เหี้ยมหาญ ฮึกหาญ.

หาด
น. เนินที่ลาดลงไปในนํ้าหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางนํ้า ส่วนมากเป็นเนินทราย, ที่เป็นเนินกรวดหรือเนินหิน เรียกว่า หาดกรวด หาดหิน ก็มี.

หาดก, หาตกะ
[-ดก, -ตะกะ] น. ทองคํา. (ป., ส. หาฏก).

หาดก, หาตกะ
[-ดก, -ตะกะ] น. ทองคํา. (ป., ส. หาฏก).

ห่าน
น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae คอยาวกว่าคอเป็ดแต่สั้นกว่าคอหงส์ทํารังบนดิน กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Anser anser,A. cygnoides ทั้ง ๒ ชนิดเป็นต้นตระกูลของห่าน ที่นํามาเลี้ยงกันทั่วไป.

หานะ
น. ความเสื่อม, ความทรุดโทรม. (ป.).

หาบ
ก. เอาของห้อยปลายคาน ๒ ข้างแล้วแบกกลางคานพาไป. น. ชื่อ มาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวงก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.

หาบเร่
น. ผู้ที่หาบของไปเร่ขาย.

หาบหลวง
น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ,หาบ ก็เรียก.

หาม ๑
ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งห้อยกลางไม้หรือวางบนเปลเป็นต้น แล้วช่วยกันหิ้วหรือยกไป, ช่วยกันยกหัวและท้ายพาไป.

หามแล่น
น. ชื่อปืนใหญ่ชนิดหนึ่งใช้คนหามไป.

หาม ๒
ว. รุ่ง, สว่าง, ฮาม ก็ว่า. (ข. พฺรหาม).

หามรุ่งหามค่ำ
ว. ตลอดวันตลอดคืน เช่น เที่ยวหามรุ่งหามค่ำ.

ห่าม
ว. จวนสุก (ใช้แก่ผลไม้); มีนิสัยมุทะลุ ห้าวหาญบ้าบิ่น ผิดปรกติวิสัย.

ห้าม
ก. ให้เว้นกระทํา, ไม่ให้ทําตามที่กําหนดไว้. น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่าหม่อมห้าม.

ห้ามญาติ
น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม.

ห้ามทัพ
ก. ยับยั้งศึก, โดยปริยายหมายความว่า ยับยั้งการทะเลาะวิวาทกัน.

ห้ามปราม
ก. สั่งไม่ให้ทํา.

ห้ามพระแก่นจันทน์
น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนพระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระเป็นกิริยาห้าม.

ห้ามไม่ให้
(สำ) ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้เขียน ห้ามไม่ให้พูด.

ห้ามล้อ
ก. ยั้ง. น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งใช้สําหรับลดความเร็วแห่งการหมุนของล้อรถ.

ห้ามเลือด
ก. ทําให้เลือดหยุดไหลด้วยวิธีการต่าง ๆ.

ห้ามสมุทร
น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.

หามรอก
น. ชื่อต้นไม้ชนิด Miliusa velutina Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceaeใบป้อม ขนนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นพวง ทุกส่วนใช้ทำยา.

หาย
ก. สูญ, หาไม่พบ, ไม่ปรากฏ, หมด, สิ้น, พ้นจากการเจ็บป่วย.

หายกัน
ก. ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน.

หายขาด
ก. หายสนิท.

หายเข้ากลีบเมฆ
(สํา) ก. หายลับไปไม่ได้พบอีก เช่น ตั้งแต่เขายืมเงินไปแล้วก็หายเข้ากลีบเมฆไปเลย.

หายตัว
ก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้,มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น;โดยปริยายหมายความว่า หลบลี้หนีหน้า เช่น เผลอแผล็บเดียวเขาก็หายตัวไปแล้ว, หายหน้า หรือ หายหัว ก็ว่า.

หายวันหายคืน
(สำ) ก. ฟื้นจากการเจ็บไข้อย่างรวดเร็ว.

หายวับ
ก. หายไปอย่างฉับไว, หายไปอย่างรวดเร็ว.

หายวับไปกับตา
(สำ) ก. หายไปอย่างฉับไวต่อหน้าต่อตา.

หายหกตกหล่น
(สำ) ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.

หายหน้า
ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหนมา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัวก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.

หายห่วง
ก. ไม่ต้องเป็นห่วงอีกแล้ว, ไม่ต้องกังวลถึงอีกแล้ว, เช่น คนนี้มีความสามารถเชื่อถือได้ เมื่อมอบงานให้แล้ว หายห่วงได้เลย; (ปาก)นานมากเช่น ใช้ให้ไปซื้อของตั้งแต่เช้า ไปเสียหายห่วงเลย, มาก เช่นเขาวิ่งทิ้งคู่แข่งหายห่วงเลย.

หายหัว
ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหนมา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือหายหน้า ก็ว่า.

หายใจ
ก. กิริยาที่ทําให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด, ยังมีชีวิตอยู่ เช่น คนเจ็บยังมีชีวิตอยู่; โดยปริยายหมายความว่า หมกมุ่นไปในทางใดทางหนึ่งเช่น หายใจเป็นเงิน.

หายใจไม่ทั่วท้อง
(ปาก) ก. ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด.

ห่าย
(ถิ่น-พายัพ) น. ข่าย.

หายนะ ๑
[หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).

หายนะ ๒
[หายะนะ] น. ปี. (ป., ส.).

หาร ๑
[หาน] ก. แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน (ใช้แก่วิธีเลข). น. เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้? ว่า เครื่องหมายหาร.หารร่วมมาก ดู ตัวหารร่วมมาก.

หาร ๒
[หาน] น. สิ่งที่เอาไปได้; การนําไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสเช่น บริหาร อวหาร. (ป., ส.).

หาริ
ว. งดงาม, น่าดู, น่ารัก. (ป., ส.).

หาริน, หารี
ว. ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).

หาริน, หารี
ว. ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).

หารือ
ก. ขอความเห็น, ปรึกษา.

หาลิท
[-ลิด] ว. มีสีเหลือง. (ป. หาลิทฺท; ส. หาริทฺร).

หาว
น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออกทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.

หาวนอน
ก. หาวเพราะง่วงนอน, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ง่วงเหงา เป็น ง่วงเหงาหาวนอน ก็มี.

ห้าว
ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย;มีเสียงใหญ่.

ห้าวหาญ
ก. กล้าอย่างยอมเสี่ยงอันตราย เช่น ทหารไทยออกรบอย่างห้าวหาญ.

หาสก, หาสกะ
[-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).

หาสก, หาสกะ
[-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).

หาสยะ
[-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน;แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).

หาสะ
น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).

หำ
(ถิ่น-อีสาน, พายัพ) น. ลูกอัณฑะ, ไข่หํา หรือ หมากไข่หำ ก็เรียก.

ห้ำ
(ปาก) ก. เข้าทําร้ายกัน; ตัดให้สั้นอย่างไม่เป็นระเบียบ; เข้าตะครุบขบกัด(ใช้แก่สัตว์).

ห้ำหัก
ก. เข้าทําร้ายศัตรูให้แตกหักยับเยิน.

ห้ำหั่น
ก. เข้าฟาดฟันให้แหลกไป.

หิ้ง
น. ที่วางของซึ่งแขวนหรือติดไว้ข้างฝา เช่น หิ้งพระหิ้งหนังสือ.

หิงคุ
น. มหาหิงคุ์. (ป., ส. หิงฺคุ).

หิงสา
น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท.(ป., ส. หึสา).

หิงห้อย, หิ่งห้อย
น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridaeสามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอกสันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.

หิงห้อย, หิ่งห้อย
น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridaeสามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอกสันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.

หิ่งหาย
น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Crotalaria วงศ์ Leguminosae ส่วนใหญ่ดอกสีเหลือง มีบางชนิดดอกสีม่วง ฝักกลมพอง, กิ่งหาย หรือ ติ่งหายก็เรียก.

หิด
น. ชื่อโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ Sarcoptes scabiei ลักษณะเป็นเม็ดสีขาวใสเป็นเงาในเนื้อ ขึ้นตามผิวหนัง มีอาการปวดและคัน เรียกว่า หิดด้านเมื่อเม็ดแตกมีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม เรียกว่า หิดเปื่อย.

หิต, หิต-
[หิด, หิตะ-] น. ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).

หิต, หิต-
[หิด, หิตะ-] น. ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).

หิตกร
[หิตะกอน] น. ผู้ทําการเกื้อหนุน. (ป., ส.).

หิตประโยชน์
[หิตะปฺระโหฺยด] น. ประโยชน์เกื้อกูล.

หิตพจน์, หิตวจนะ
[หิตะพด, หิตะวะจะนะ] น. คําที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล.

หิตพจน์, หิตวจนะ
[หิตะพด, หิตะวะจะนะ] น. คําที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล.

หิตานุหิตประโยชน์
[หิตานุหิตะปฺระโหฺยด] น. ประโยชน์เกื้อกูลน้อยใหญ่.

หิตานุหิตประโยชน์
ดู หิต, หิต-.

หิน ๑
น. ของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ.

หินงอก
น. คราบหินปูนที่ทับถมงอกจากพื้นถํ้าขึ้นไปหาเพดานถํ้า.

หินชนวน
น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดํา สีนํ้าเงินที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี.

หินชั้น
น. หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากหินอัคนีหรือหินแปรที่ผุพังแตกสลายหรือการตกตะกอนทางเคมี รวมทั้งตะกอนที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ มีลักษณะของการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ, หินตะกอน ก็เรียก.

หินดาน
น. หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด มีแร่เช่นดีบุก ทองคำรวมอยู่ด้วย.

หินดินดาน
น. หินชั้นซึ่งประกอบด้วยอะลูมิเนียมซิลิเกตกับแมกนีเซียมซิลิเกต มีเนื้อละเอียดมาก บี้กับนํ้าแล้วเหนียวติดมือ.

หินดินสอพอง
น. ชอล์ก. (ดู ชอล์ก ๑).

หินตะกอน
น. หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากหินอัคนีหรือหินแปรที่ผุพังแตกสลายหรือการตกตะกอนทางเคมีรวมทั้งตะกอนที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ มีลักษณะการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ, หินชั้น ก็เรียก.

หินตับเป็ด
น. หินชนิดหนึ่ง สีดํา เนื้อแข็ง.

หินติดไฟ
น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่าเคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอาน้ำมันเชื้อเพลิงออกได้, หินน้ำมัน ก็เรียก.

หินทราย
น. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือเหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็งมีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.

หินน้ำมัน
น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่าเคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นํามากลั่นเอานํ้ามันเชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก.

หินปากนก
น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืนโบราณบางชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, ศิลาปากนก ก็เรียก.

หินปูน
น. หินที่มีเนื้อสารเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเกือบทั้งสิ้น สารประกอบหินดังกล่าวเกิดจากการตกตะกอนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีก็มี และที่เกิดจากการตกจมรวมตัวเป็นพืดใหญ่ของสัตว์ประเภทมีเปลือกหุ้มตัวเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตก็มี.

หินแปร
น. หินที่แปรสภาพจากหินเดิม โดยการกระทําของความร้อนความดัน และปฏิกิริยาเคมี.

หินฝนทอง
น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง.

หินฟองเต้าหู้
น. ยิปซัมหรือเกลือจืด.

หินย้อย
น. คราบหินปูนที่ทับถมย้อยลงมาจากเพดานถํ้า.

หินแลง
น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็งมีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.

หินสบู่
น. หินแปรชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อสารประกอบด้วยแร่ทัลก์เป็นส่วนใหญ่มีเนื้ออ่อน เอาเล็บขูดเป็นรอยได้ง่าย และลื่นมือคล้ายสบู่.

หินโสโครก
น. แนวพืดหินหรือโขดหินใต้น้ำใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมีบางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ.

หินหนืด
น. หินที่อยู่ในสภาพของหนืด อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลกเมื่อเปลือกโลกเกิดรอยร้าวจะอูดตัวแทรกซอนขึ้นมาสู่ผิวโลก และจะแข็งตัวเป็นหินอัคนีพวกต่าง ๆ.

หินเหล็กไฟ
น. หินสำหรับใช้เหล็กตีให้เกิดประกายไฟเพื่อให้ติดชุดซึ่งทำด้วยด้ายหรือนุ่นเป็นต้น.

หินอ่อน
น. หินปูนชนิดที่ขัดแล้วผิวจะเป็นมัน.

หินอัคนี
[-อักคะนี] น. หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด.

หิน ๒
(ปาก) ว. ยากมาก เช่น ข้อสอบหิน, เข้มงวดมาก เช่น ครูคนนี้หิน, เหี้ยมมาก, แข็งมาก, เช่น เขาเป็นคนใจหิน.

หิน ๓
ก. หัน, ผัน หรือ ผิน ก็ว่า.

หิน ๔, หิน-
[หิน, หินนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า, ใช้ว่า หืน ก็มี เช่น โหดหืน. (ป., ส. หีน).

หิน ๔, หิน-
[หิน, หินนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า, ใช้ว่า หืน ก็มี เช่น โหดหืน. (ป., ส. หีน).

หินชาติ
[หินนะชาด] ว. มีกําเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคํา ทมิฬ เป็น ทมิฬหินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.

หินยาน
[หินนะ-] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่าและ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. (ป., ส. หีนยาน).

หิม-, หิมะ
[หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่าลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น;ฤดูหนาว. (ป., ส.).

หิม-, หิมะ
[หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่าลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น;ฤดูหนาว. (ป., ส.).

หิมพาน
[หิมมะ-] น. หิมวัต.

หิมพานต์
[หิมมะ-] น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ชื่อกัณฑ์ที่ ๒แห่งเวสสันดรชาดก.

หิมวัต
[หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน(รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์(แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต).(ส.; ป. หิมวนฺต).

หิมวันต์, หิมวา, หิมวาต, หิมวาน
[หิมมะ-] น. หิมวัต.

หิมวันต์, หิมวา, หิมวาต, หิมวาน
[หิมมะ-] น. หิมวัต.

หิมวันต์, หิมวา, หิมวาต, หิมวาน
[หิมมะ-] น. หิมวัต.

หิมวันต์, หิมวา, หิมวาต, หิมวาน
[หิมมะ-] น. หิมวัต.

หิมวาส, หิมเวศ
[หิมมะวาด, หิมมะเวด] น. ที่อยู่อันหนาว คือ ป่าหิมพานต์;ใช้ว่า ป่าทั่วไป ก็มี.

หิมวาส, หิมเวศ
[หิมมะวาด, หิมมะเวด] น. ที่อยู่อันหนาว คือ ป่าหิมพานต์;ใช้ว่า ป่าทั่วไป ก็มี.

หิมาลัย
น. ชื่อเทือกเขาอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี. (ป., ส. หิม + อาลย = ที่อยู่ของหิมะ).

หิมาลัย
ดู หิม-, หิมะ.

หิรัญ, หิรัญ-
[หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน.(ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).

หิรัญ, หิรัญ-
[หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน.(ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).

หิรัญบัฏ
[หิรันยะบัด] น. แผ่นเงินที่จารึกราชทินนามสำหรับพระราชทานแก่พระสงฆ์และขุนนางผู้ใหญ่.

หิรัญญิการ์
[หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceaeคือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.

หิรัณย-, หิรัณย์
[หิรันยะ-, หิรัน] น. ทองคํา, เงิน. (ส.).

หิรัณย-, หิรัณย์
[หิรันยะ-, หิรัน] น. ทองคํา, เงิน. (ส.).

หิรัณยการ
[หิรันยะกาน] น. ช่างทอง. (ส.).

หิรัณยเกศ
[หิรันยะเกด] ว. มีผมสีทอง. (ส.).

หิรัณยรัศมี
[หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).

หิริ
[หิหฺริ] น. ความละอายใจ, ความละอายบาป. (ป.; ส. หฺรี).

หิริโอตตัปปะ
[หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัวบาป, ความละอายใจ. (ป.).

หิว
ก. อยากกิน, อยากดื่ม, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นหิวเงิน.

หิ้ว
ก. จับหรือถือให้ห้อยถ่วงลงมา.

หิ้วท้อง
ก. ทนรอจนกว่าจะได้กิน.

หิ้วปีก
ก. หิ้วโดยใช้แขนสอดเข้าใต้รักแร้ของผู้ถูกหิ้วแล้วพาไป.

หีด
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. นิด, เล็ก, น้อย.

หีน-
[หีนะ-, หีนนะ-, ฮีนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ป., ส.).

หีนยาน
[หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.

หีบ ๑
น. ภาชนะใส่สิ่งของ รูปทรงสี่เหลี่ยมเป็นต้น มีฝา.

หีบชัก
(โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลังเปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับปากโถตอนล่าง.

หีบเชิงชาย
น. หีบศพพระราชทานสําหรับพระครูสัญญาบัตร ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรขั้นต้นเป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทองประดับกระจก.

หีบพระมาลัย
น. หีบใส่คัมภีร์พระมาลัยซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคัมภีร์ใบลาน,ตู้พระมาลัย ก็เรียก.

หีบเพลง
น. เครื่องอัดลมทําด้วยไม้หุ้มกระดาษมีรู มีลิ้นใช้นิ้วปิดเปิดให้เป็นเสียงเพลง.

หีบเพลงชัก
น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือมีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียงประสาน. (อ. accordion).

หีบเพลงปาก
น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ใช้ปากเป่า ลักษณะแบนยาวประกอบด้วยลิ้นเสียง ๒ แถว แถวหนึ่งดังเมื่อเป่าลมออก อีกแถวหนึ่งดังเมื่อดูดลมเข้า. (อ. harmonica, mouth organ).

หีบเสียง
น. เครื่องทําให้จานเสียงหมุนแล้วมีเสียงออกมา.

หีบห่อ
น. สิ่งของที่บรรจุกล่องหรือมีสิ่งอื่นห่อหุ้มไว้.

หีบ ๒
ก. บีบเค้นให้ส่วนที่ต้องการออกมา เช่น หีบอ้อย หีบฝ้าย.

หีบฝ้าย
ก. บีบเค้นเมล็ดออกจากปุยฝ้าย. น. เรียกเครื่องมือบีบเค้นเมล็ดออกจากปุยฝ้ายว่า เครื่องหีบฝ้าย.

หีบสไบ
ก. อัดผ้าสไบให้เป็นรอยจีบ.

หึ, หึ ๆ
ว. เสียงดังเช่นนั้น.

หึ, หึ ๆ
ว. เสียงดังเช่นนั้น.

หึง ๑
ก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง.

หึง ๒
(โบ) ว. นาน เช่น บ่มิหึง คือ ไม่นาน.

หึ่ง ๑
ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่งมาแต่ไกล.

หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ
ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียงฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.

หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ
ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียงฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.

หึงส-, หึงสา
[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า,บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

หึงส-, หึงสา
[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า,บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

หืด
น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.

หืน ๑
ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นนํ้ามันมะพร้าวเป็นต้นที่ทิ้งไว้นาน ๆ.

หืน ๒
(กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน ๔, หิน-).

หื่น
ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).

หื่นหรรษ์
[-หัน] (กลอน) ก. เหิมใจ, ยินดี, ร่าเริง, ชื่นชม.

หือ ๑
อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสงสัยเพื่อถามหรือเมื่อยังไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ,(เป็นคำสำหรับผู้ใหญ่กว่าหรือเสมอกันใช้).

หือ ๒
ก. เถียง, คัดค้าน, เช่น อย่ามาหือนะ เขาไม่กล้าหือ.

หือไม่ขึ้น
ก. เถียงไม่ได้, คัดค้านไม่ได้, ไม่กล้าเถียง, ไม่กล้าคัดค้าน.

หื้อ ๑
อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้.

หื้อ ๒
(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. ให้, แต่งตั้ง.

หือรือโหด
(กลอน) ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติทาสเมถุน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

หุง
ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา,ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.

หุงข้าว
ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้วปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยวจนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.

หุงข้าวประชดหมา
(สํา) ก. ทําประชดหรือแดกดัน ซึ่งรังแต่จะเสียประโยชน์,มักพูดเข้าคู่กับ ปิ้งปลาประชดแมว ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว.

หุงขี้ผึ้ง
ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยวกับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สีปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก.

หุต-
[หุตะ-] น. การบูชา, การบูชาไฟ. (ป., ส.).

หุตโกวิท
น. ผู้ฉลาดในการบูชา.

หุตาจารย์
น. ผู้รู้ในการบูชา.

หุตาจารย์
ดู หุต-.

หุน
น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึง เส้นผ่าศูนย์กลาง๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. (จ.).

หุ่น
น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือแกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกายเป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราวเช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจอะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.

หุ่นกระบอก
น. หุ่นชนิดหนึ่ง มีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด.

หุ่นขี้ผึ้ง
น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวมใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.

หุ่นจีน
น. หุ่นชนิดหนึ่ง ทำเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีน มีทั้งชนิดครึ่งท่อนและเต็มตัว ใช้คนเชิดคนเดียว.

หุ่นนิ่ง
น. เรียกภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวว่า ภาพหุ่นนิ่ง.

หุ่นพยนต์
[-พะยน] น. รูปที่ผู้ทรงวิทยาคมเอาวัตถุมาผูกขึ้นแล้วเสกเป่าให้เป็นเหมือนรูปที่มีชีวิต.

หุ่นยนต์
น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงานหลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่งโดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.

หุ่นไล่กา
น. หุ่นที่มักทำเป็นรูปคนสวมเสื้อผ้าสําหรับลวงนกกาให้กลัวทำให้ไม่กล้าลงมากินพืชผลในไร่นา.

หุ่นใหญ่
น. หุ่นชนิดทำจำลองย่อส่วนตัวละครขนาดสูงประมาณ ๒ ศอกตัวหนึ่งใช้คนเชิด ๓ คน ใช้แสดงละครเล็ก.

หุ้น
น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่าหุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วยลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกันเป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจํากัด. (อ. share).

หุ้นกู้
(กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).

หุ้นบุริมสิทธิ
[-บุริมมะสิด] (กฎ) น. หุ้นที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิพิเศษเหนือผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งผลกําไรก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ.(อ. preference share).

หุ้นลม
(ปาก) น. หุ้นที่ไม่ได้ลงทุนเอง.

หุ้นส่วน
น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็นหุ้นส่วน.

หุ้นสามัญ
(กฎ) น. หุ้นธรรมดาของบริษัทจำกัด ซึ่งแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและผู้ถือหุ้นมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.

หุนหัน
ว. ไม่ยั้งใจ, ไม่รั้งรอ, ใจเร็ว.

หุนหันพลันแล่น
น. ด่วนทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปโดยไม่ยั้งคิดด้วยความโกรธความโลภ เป็นต้น.

หุบ
ก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ; อาการที่แสงอาทิตย์ถูกเมฆบดบัง เรียกว่า แดดหุบ.

หุบเขา, หุบผา
น. แอ่งภูมิประเทศ ที่เป็นเส้นเป็นแนวยาว ๒ ข้างแอ่งขนาบด้วยพื้นแผ่นดินสูงหรือภูเขาหรือเทือกเขา.

หุบเขา, หุบผา
น. แอ่งภูมิประเทศ ที่เป็นเส้นเป็นแนวยาว ๒ ข้างแอ่งขนาบด้วยพื้นแผ่นดินสูงหรือภูเขาหรือเทือกเขา.

หุบปาก
ก. ปิดปาก, หยุดพูด, ไม่พูด.

หุบผาชัน
น. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึกลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.

หุบห้วย
น. หุบเขาที่มีแอ่งน้ำขังอยู่.

หุบเหว
น. หุบเขาที่มีเหวลึก.

หุ้ม
ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นกาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูกกาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น.

หุ้มกลอง
[-กฺลอง] น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของโบสถ์ วิหาร, ถ้าเป็นด้านหัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน เรียกว่า ด้านสกัด.

หุ้มแผลง
[-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.

หุ้มแพร
[-แพฺร] น. ตําแหน่งยศมหาดเล็กรองจ่าลงมา.

หุ้ยหุย ๑
ว. เฉียด ๆ ไป.

หุ้ยหุย ๒
น. พวกจีนฮ่อที่นับถือศาสนาอิสลาม.

หุยฮา
ว. เสียงหัวเราะเยาะเย้ย (มักใช้ในการละเล่น).

หุรัม
ว. ในเบื้องหน้า, ภพหน้า. (ป. หุรํ).

หุหนิงหงัน
น. ดอกบานไม่รู้โรย. (ช.).

หู
น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่งสิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกงหูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและกระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.

หูกระต่าย
น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูกเป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหินที่ กระทง ๑).(รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย)(รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)

หูกว้างตากว้าง
ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูยาวตายาวก็ว่า.

หูกะพง
น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูกตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.

หูเข้าพรรษา
ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบเช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.

หูแจว
น. วงด้ายดิบหรือเชือกที่ชุบนํ้าบิดให้เป็นเลข 8 อาระบิก (?)สําหรับคล้องแจวให้ยึดกับหลักแจว.

หูฉลาม
น. ชื่ออาหารคาวแบบจีน ปรุงด้วยครีบหรือกระโดงปลาฉลามเนื้อปู เป็นต้น.

หูฉี่
(ปาก) ว. มากเหลือเกิน เช่น แพงหูฉี่ เผ็ดหูฉี่.

หูชอง
น. เชือกใบลานสําหรับมัดลานหนังสือ.

หูชัน
ก. อาการที่แสดงว่าตั้งใจฟัง (มักใช้แก่สัตว์บางชนิด).

หูช้าง ๑
น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับมุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือพลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม;ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.

หูดับ
ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก.

หูดับตับไหม้
ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.

หูตัน
ว. อาการที่หูฟังไม่ได้ยินเพราะมีขี้หูเต็มช่องหู, โดยปริยายหมายความว่าไม่ได้ยิน เช่น เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน หูตันหรืออย่างไร.

หูตาสว่าง
ว. รู้เหตุการณ์ดีขึ้น, รู้ความจริงมากขึ้น.

หูตึง
ว. ฟังอะไรไม่ใคร่ได้ยิน.

หูตูบ
น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่างหนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.

หูแตก
น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมายความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตกหรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.

หูทิพย์
น. หูที่จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด.

หูเบา
ว. เชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง.

หูป่าตาเถื่อน
ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.

หูผีจมูกมด
(สํา) ว. รู้เรื่องอะไรได้เร็วทันท่วงที.

หูผึ่ง
ว. เอาใจใส่อยากฟังอยากรู้.

หูฝาด, หูเฝื่อน
ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.

หูฝาด, หูเฝื่อน
ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.

หูยาน
น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่ง มีติ่งหูยาวมากผิดปรกติ.

หูยาวตายาว
ว. รอบรู้ทันเหตุการณ์, มองเห็นการณ์ไกล, หูกว้างตากว้างก็ว่า.

หูรูด
น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวารหนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่ามพูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่าปากไม่มีหูรูด.

หูลี่
ว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัวเป็นต้น.

หูแว่ว
ก. ได้ยินเสียงแผ่ว ๆ ไม่ชัดเจน; ได้ยินไปเอง.

หูไว
ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มีประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.

หูไวตาไว
ว. รู้ทันเหตุการณ์ได้รวดเร็ว.

หูหนวก
น. หูที่ขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง, โดยปริยายหมายความว่า ฟังอะไรไม่ได้ยิน.

หูหนวกตาบอด
(สำ) ว. ไม่รับรู้รับเห็นสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น.

หูหนัก
ว. ไม่เชื่อคำป้อยอหรือยุแหย่เป็นต้นของใครง่าย ๆ.

หูหนาตาโต, หูหนาตาเล่อ
น. ชื่อโรคเรื้อน.

หูหนาตาโต, หูหนาตาเล่อ
น. ชื่อโรคเรื้อน.

หูหาเรื่อง
(สำ) น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไปในทางที่ไม่ดี.

หูไห
น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่งด้านหลังมีหูสําหรับร้อยเชือกผูกคอช้างศึกม้าศึก.

หูอื้อ
ว. อาการที่รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในหูทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง.

หู่
ก. ยู่เข้า, หดเข้า, ห่อเข้า.

หู่หี่
ว. ย่นยู่ยี่.

หูก
น. เครื่องทอแบบพื้นเมือง.

หูกวาง
[-กฺวาง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Terminalia catappa L. ในวงศ์ Combretaceaeใบใหญ่ แตกกิ่งเป็นชั้น ๆ.

หูช้าง ๑
ดูใน หู.

หูช้าง ๒
น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Platax วงศ์ Platacidae ลําตัวกว้างแบนข้างมากรูปร่างคล้ายรูปไพ่โพดํา มีแถบสีดําพาดขวางลําตัว เช่น ชนิด P. orbicularisหูช้างครีบยาว (P. teira).(รูปภาพ ปลาหูช้าง)

หูด ๑
น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่งขึ้นเป็นไตแข็ง.

หูด ๒
ดู ชันโรง.

หูติ
น. การเรียก. (ป.).

หูปลาช่อน
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Emilia sonchifolia (L.) DC. ex Wight ในวงศ์Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจํา.

หูเสือ
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coleus amboinicus (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Labiataeใบกลมแข็งกรอบมีขน กลิ่นฉุน กินได้.

หูหนู
น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบนขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิดA. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิดA. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น,ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒)จอกหูหนู.


ความคิดเห็น