คำศัพท์ภาษาไทย ขึ้นต้นด้วย ม



พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กม.

มก
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก ๒).

มกร, มกร-
[มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.).

มกร, มกร-
[มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.).

มกรกุณฑล
[มะกอระ-] น. เครื่องประดับหูมีรูปคล้ายมังกร

มกราคม
[มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก)ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).

มกราคม
ดู มกร, มกร-.

มกสะ
[มะกะสะ] น. ยุง. (ป.; ส. มศก).

มกุฎ
[มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).

มกุฎราชกุมาร
[มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.

มกุละ
น. กลุ่ม, พวง. ว. ตูม. (ป., ส.).

มคธ
[มะคด] น. ชื่อแคว้นใหญ่ในอินเดียครั้งพุทธกาล ในบัดนี้เรียกว่าพิหาร. (ป., ส.).

มฆวัน, มัฆวา, มัฆวาน
[มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา).

มฆวัน, มัฆวา, มัฆวาน
[มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา).

มฆวัน, มัฆวา, มัฆวาน
[มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา).

มฆะ, มฆา, มาฆะ
[มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานรหรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).

มฆะ, มฆา, มาฆะ
[มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานรหรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).

มฆะ, มฆา, มาฆะ
[มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานรหรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).

ม่ง ๑
น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ในวงศ์ Carangidae มีลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อยหน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่นชนิด Caranx sexfasciatus, C. melampygus, C. ignobilis, Carangoidesgymnostethoides, C. fulvoguttatus และ Alectis ciliaris ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจโตยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง หรือ กะม่ง ก็เรียก.

ม่ง ๒
(กลอน) ก. มุ่ง.

มงกุฎ
น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่องสวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาลมงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.

มงกุฎไทย
น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

มงโกรย
น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidaeลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจํานวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลําตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดํา ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถวจุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิดTenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขงลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลําตัวยาวได้ถึง ๓๐เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.

มงคล, มงคล-
[มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).

มงคล, มงคล-
[มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).

มงคลจักร
[มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.

มงคลแฝด
[มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.

มงคลวาท
[มงคนละวาด] น. คําให้พร, คําแสดงความยินดี.

มงคลวาร
[มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.

มงคลสมรส
[มงคน-] น. งานแต่งงาน.

มงคลสูตร
[มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์;ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.

มงคลหัตถี
[มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม.(ดู กาฬาวก).

มงคล่อ
ดู มองคร่อ.

มณฑ์
น. ของมัน ๆ; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).

มณฑก ๑
[-ทก] น. กบ (สัตว์), ใช้ว่า มัณฑุก หรือ มณฑุก ก็มี. (ป., ส. มณฺฑูก).

มณฑก ๒
[-ทก] (โบ) น. เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก. (อ. bundook).

มณฑนะ
[มนทะนะ] น. เครื่องประดับ, อาภรณ์; การแต่ง. (ป., ส.).

มณฑป
[มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุมหรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี.(ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่าพระมณฑป.

มณฑล
[มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑลคือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่นมณฑล. (ป., ส.).

มณฑา
[มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceaeใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ.

มณฑารพ
[มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์, มณฑา ก็ใช้. (ป. มณฺฑารว).

มณฑิระ, มณเฑียร
[มนทิระ, มนเทียน] (โบ) น. มนเทียร. (ป., ส. มนฺทิร).

มณฑิระ, มณเฑียร
[มนทิระ, มนเทียน] (โบ) น. มนเทียร. (ป., ส. มนฺทิร).

มณเฑียรบาล
[มนเทียนบาน] (โบ) น. มนเทียรบาล.

มณี
น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจําพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ).

มณีการ
น. ช่างเจียระไนเพชรพลอย. (ส.).

มณีพืช
น. ต้นทับทิม. (ส. มณิพีช).

มณีรัตน์
น. แก้วมณี. (ป. มณิรตน; ส. มณิรตฺน).

มณีราค
[-ราก] น. สีแดงเสน. (ส.).

มณีศิลา
น. หินแก้ว. (ส.).

มด ๑
น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือ ปล้องที่ ๑และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้นซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทําให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตนและ ปลวก.

มดดำ
น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae สีดําเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร ทํารังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิดDolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus.

มดแดง
น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidaeลูกรังลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทํารังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออกมาแล้วกัดให้เกิดแผลทําให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.

มดแดงเฝ้ามะม่วง
(สํา) น. ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก, มดแดงแฝงพวงมะม่วง ก็ว่า

มด ๒
น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่าแม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.

มดเท็จ
ว. โกหกหลอกลวง, มักใช้เข้าคู่กับคำ โป้ปด เป็น โป้ปดมดเท็จ.

มดยอบ
น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือกหรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceaeเช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทํายา แต่งกลิ่นเครื่องสําอางและใช้ในพิธีทางศาสนา.

มดลูก
น. อวัยวะภายในอันเป็นที่ตั้งครรภ์.

มดส้ม
ดู มดแดง ที่ มด ๑.

มดสัง
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. (ดู อีเห็น).

มดหมอ
(ปาก) น. หมอทั่วไป.

มดาย
[มะ-] น. แม่. (ข.).

มดี
[มะ-] คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนามในคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระอิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง.(ป., ส. มตี).

มต-, มตะ
[มะตะ-] ก. ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤต).

มต-, มตะ
[มะตะ-] ก. ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤต).

มตกภัต
[มะตะกะพัด] น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศให้คนตาย. (ป. มตกภตฺต).

มตกะ
[มะตะกะ] น. คนตายแล้ว, ผู้ตายแล้ว. ว. ของผู้ตายแล้ว.(ป.; ส. มฺฤตก).

มตกภัต
ดู มต-, มตะ.

มตกะ
ดู มต-, มตะ.

มติ
[มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้;ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).

มติมหาชน
น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.

มทนะ
[มะทะ-] น. กามเทพ. (ส.).

มทนียะ
[มะทะ-] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ควรเมา. (ป.).

มทะ
[มะทะ] น. ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. (ป., ส.).

มธุ
[มะ-] น. นํ้าหวาน, นํ้าผึ้ง. (ป., ส.).

มธุกร
[-กอน] น. ผู้ทํานํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).

มธุกรี
[-กะรี] น. แมลงผึ้งตัวเมีย. (ป.; ส. มธุกรินฺ).

มธุการี
น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุการินฺ).

มธุโกศ
น. รวงผึ้ง. (ส.).

มธุตฤณ
[-ตฺริน] น. อ้อย. (ส.).

มธุปะ
น. ผู้ดื่มนํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).

มธุปฎล
[-ปะดน] น. รวงผึ้ง. (ป., ส. มธุปฏล).

มธุปายาส
น. ข้าวปายาสเจือนํ้าผึ้ง ใช้เป็นของหวานในงานรื่นเริง. (ป.).

มธุพรต
[-พฺรด] น. แมลงผึ้ง. (ส. มธุวฺรต).

มธุมักขิกา
น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุมกฺษิกา).

มธุมิศร
[-มิด] ว. เจือนํ้าหวาน. (ส.).

มธุรส
น. นํ้าผึ้ง, รสหวาน, อ้อย. ว. ไพเราะ เช่น มธุรสวาจา. (ป., ส.).

มธุลีห์
น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุลิห).

มธุเศษ
น. ขี้ผึ้ง. (ส.).

มธุสร
[-สอน] น. เสียงหวาน. (ป.; ส. มธุสฺวร).

มธุร-, มธุระ
[มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน,ไพเราะ. (ป., ส.).

มธุร-, มธุระ
[มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน,ไพเราะ. (ป., ส.).

มธุรตรัย
น. ของอร่อยทั้ง ๓ คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง เนย. (ส. มธุรตฺรย).

มธุรพจน์
น. ถ้อยคําไพเราะ; ผู้มีถ้อยคําไพเราะ. (ส. มธุรวจน).

มน ๑
ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือเสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).

มน ๒
ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมนปกเสื้อมน.

มน ๓, มน-
[มะนะ, มน, มะนะ-] น. ใจ. (ป.).

มน ๓, มน-
[มะนะ, มน, มะนะ-] น. ใจ. (ป.).

มนินทรีย์
น. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. มน+อินฺทฺริย).

ม่น
(ถิ่น-อีสาน) ก. ซุก, แทรก.

มนต์, มนตร์
น. คําศักดิ์สิทธิ์, คําสําหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์,คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์.(ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).

มนต์, มนตร์
น. คําศักดิ์สิทธิ์, คําสําหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์,คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์.(ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).

มนตรี
น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี.(ส.; ป. มนฺตี).

มนท-, มนท์
[มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย, ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ.(ป., ส.).

มนท-, มนท์
[มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย, ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ.(ป., ส.).

มนทกานติ
น. 'ผู้มีรัศมีอ่อน' คือ ดวงเดือน. (ส.).

มนทาทร
[-ทอน] ว. ไม่เอาใจใส่, ทอดธุระ. (ส.).

มนทาทร
ดู มนท-, มนท์.

มนทิระ, มนทิราลัย
[มนทิระ] (แบบ) น. เรือนหลวง. (ป., ส.).

มนทิระ, มนทิราลัย
[มนทิระ] (แบบ) น. เรือนหลวง. (ป., ส.).

มนเทียร
[มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่าพระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).

มนเทียรบาล
[มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน,เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.

มนสิการ
[มะนะสิกาน] น. การกําหนดไว้ในใจ. (ป., ส.).

มนัส, มนัส-
[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน,ดู มโน). (ส.).

มนัส, มนัส-
[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน,ดู มโน). (ส.).

มนัสดาป
[มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.).

มนัสวี
[มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).

มนินทรีย์
[มะนินซี] ดู มน ๓, มน-.

มนิมนา, มนีมนา
[มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน.(ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).

มนิมนา, มนีมนา
[มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน.(ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).

มนิลา
น. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา,มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่วเหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือนทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.

มนุ
น. มนู. (ป., ส.).

มนุช
น. 'ผู้เกิดจากมนู' คือ คน. (ส.).

มนุชาธิป
น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

มนุช
ดู มนุ.

มนุชาธิป
ดู มนุ.

มนุญ
ว. เป็นที่พอใจ, งาม. (ป. มนุญฺ?).

มนุษย-, มนุษย์
[มะนุดสะยะ-, มะนุด] น. สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.; ป. มนุสฺส).

มนุษย-, มนุษย์
[มะนุดสะยะ-, มะนุด] น. สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.; ป. มนุสฺส).

มนุษย์กบ
น. คนที่ฝึกดํานํ้าได้นาน ๆ จนชํานาญโดยอาศัยหน้ากาก รองเท้าคล้ายตีนกบและอุปกรณ์ช่วยการหายใจใต้นํ้า.

มนุษยชาติ
[มะนุดสะยะ-, มะนุดสะ-] น. จําพวกคน, หมู่มนุษย์. (ส.).

มนุษยเทพ
น. กษัตริย์. (ส.).

มนุษยธรรม
น. ธรรมของคน, ธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มีเมตตากรุณาเป็นต้น.

มนุษย์มนา
(ปาก) น. ผู้คน เช่น ไม่เห็นมีมนุษย์มนาสักคน, คนทั่ว ๆ ไป เช่นแต่งตัวไม่เป็นมนุษย์มนา. (ส.).

มนุษยโลก
> [มะนุดสะยะ-, มะนุดสะ-] น. โลกมนุษย์. (ส.).

มนุษยศาสตร์
[มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทางจิตใจและงานของคนมีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย+ศาสฺตฺร). (อ. humanities).

มนุษยสัมพันธ์
[มะนุดสะยะ-, มะนุดสำพัน] น. ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน.

มนุษย์อวกาศ
น. คนที่ฝึกจนมีความชํานาญเพื่อเดินทางออกนอกบรรยากาศของโลก.

มนุสาร, มนูสาร, มโนสาร
น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.

มนุสาร, มนูสาร, มโนสาร
น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.

มนุสาร, มนูสาร, มโนสาร
น. ชื่อคัมภีร์กฎหมายมนูธรรมศาสตร์ฉบับย่อ.

มนู
น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปีองค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่ามนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คํา มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).

มโน
น. ใจ. (ป.; ส. มนสฺ).

มโนกรรม
น. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).

มโนคติ
น. ความคิด. (ส.).

มโนช
น. 'เกิดแต่ใจ' คือ ความรัก. (ส.).

มโนชญ์
ว. เป็นที่พอใจ, งาม. (ส.).

มโนทุจริต
[มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่างได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.

มโนธรรม
น. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทําอะไรไม่ควรทํา.

มโนนุกูล
ว. ซึ่งเกื้อกูลใจ, ชูใจ. (ส.).

มโนภาพ
น. ความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในใจ.

มโนภินิเวศ
น. ความมั่นใจ, ความหนักแน่น. (ส.).

มโนมัย
ว. สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูกมโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).

มโนรถ
น. ความหวัง, ความประสงค์, ความใฝ่ฝัน. (ป., ส.).

มโนรม, มโนรมย์
ว. เป็นที่ชอบใจ, งาม. (ส. มโนรม, มโนรมฺย;ป. มโนรม, มโนรมฺม).

มโนรม, มโนรมย์
ว. เป็นที่ชอบใจ, งาม. (ส. มโนรม, มโนรมฺย;ป. มโนรม, มโนรมฺม).

มโนศิลา
น. ศิลาอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้,อีกนัยหนึ่งว่าการหนูแดง, เรียกหินลายสีแดง ๆ เช่น รัตนผลึกเลื่อมมโนศิลาลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ส. มนสฺ + ศิลา; ทมิฬ มโนจิไล).

มโนสุจริต
[มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่างได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.

มโนหระ
[มะโนหะระ] ว. เป็นที่จับใจ, น่ารักใคร่, สวย, งาม. (ส.).

มโนช
ดู มโน.

มโนชญ์
ดู มโน.

มโนราห์ ๑
น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารําอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.

มโนราห์ ๒
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

มโนสาเร่
น. เรื่องเบ็ดเตล็ดหยุมหยิม เช่น เรื่องมโนสาเร่, เรียกคดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่า คดีมโนสาเร่.

มโนห์รา
ดู มโนราห์ ๑.

มมังการ
[มะมังกาน] น. ความถือว่าเป็นของเรา. (ป.).

มมาก
[มะ-] น. แมลงหวี่. (เทียบ ข. มมาจ ว่า ตัวชีปะขาว).

มยุร-, มยุระ
[มะยุระ-] น. นกยูง, ใช้ว่า มยูร ก็มี. (ป., ส. มยูร).

มยุร-, มยุระ
[มะยุระ-] น. นกยูง, ใช้ว่า มยูร ก็มี. (ป., ส. มยูร).

มยุรคติ
[มะยุระคะติ] น. ท่าทางของนกยูง. (ส. มยูรคติ).

มยุรฉัตร
น. พนมหางนกยูง หรือเครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทําด้วยหางนกยูง เป็นเครื่องสูง ใช้ในงานพิธีโสกันต์.

มยุรอาสน์
น. 'พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ' หมายถึง พระขันทกุมารหรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.

มยุรา, มยุเรศ
[มะ-] (กลอน) น. นกยูง.

มยุรา, มยุเรศ
[มะ-] (กลอน) น. นกยูง.

มยุรี
[มะ-] น. นกยูงตัวเมีย. (ป.).

มยุรา, มยุเรศ
ดู มยุร-, มยุระ.

มยุรา, มยุเรศ
ดู มยุร-, มยุระ.

มยุรี
ดู มยุร-, มยุระ.

มยูขะ
น. รัศมี. (ป., ส.).

มยูร
[มะยูน] น. นกยูง. (ป., ส.).

มร-
[มะระ-, มอน-] น. ความตาย. (ป.).

มรกต
[มอระกด] น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในจำพวกนพรัตน์ มีสีเขียว.

มรคา
[มอระคา] น. ทาง, ช่อง, ถนน. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรฑป
[มอระดบ] น. มณฑป เช่น โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร. (นิ. นรินทร์). (ป. มณฺฑป).

มรณ-, มรณ์, มรณะ
[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.

มรณ-, มรณ์, มรณะ
[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.

มรณ-, มรณ์, มรณะ
[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.

มรณกรรม
[มอระนะกํา] น. ความตาย.

มรณธรรม
[มะระนะทํา] ว. มีความตายเป็นธรรมดา. (ป.).

มรณบัตร
[มอระนะบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง.

มรณภัย
[มะระนะไพ, มอระนะไพ] น. ความรู้สึกกลัวต่อความตาย, ภัยที่เป็นอันตรายถึงตาย. (ป.).

มรณภาพ
[มอระนะพาบ] น. ความตาย. ก. ตาย (ใช้แก่พระสงฆ์).

มรณันติก-
[มะระนันติกะ-] ว. มีความตายเป็นที่สุด. (ป. มรณ + อนฺติก).

มรณานต์
[มะระนาน] ว. จนกว่าจะตาย. (ส.).

มรณันติก-
ดู มรณ-, มรณ์, มรณะ.

มรณานต์
ดู มรณ-, มรณ์, มรณะ.

มรดก
[มอระ-] น. สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล; (กฎ) ทรัพย์สินทุกชนิดตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก.

มรรค, มรรค-, มรรคา
[มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนาเป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคเรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรค, มรรค-, มรรคา
[มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนาเป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคเรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรค, มรรค-, มรรคา
[มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนาเป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคเรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรคนายก
[มักคะนายก] น. 'ผู้นําทาง' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).

มรรคผล
(ปาก) น. ผล, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นมรรคผล ไม่ได้มรรคผลอะไร.

มรรตยะ, มรรตัย, มัตตัย, มัตยะ
[มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย, ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน,คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).

มรรตยะ, มรรตัย, มัตตัย, มัตยะ
[มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย, ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน,คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).

มรรตยะ, มรรตัย, มัตตัย, มัตยะ
[มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย, ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน,คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).

มรรตยะ, มรรตัย, มัตตัย, มัตยะ
[มันตะยะ, มันไต, มัดไต, มัดตะยะ] น. ผู้ที่ต้องตาย, ได้แก่ พวกมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน,คู่กับ อมร ผู้ไม่ตาย คือ เทวดา. (ส. มรฺตฺย; ป. มจฺจ).

มรรทนะ
[มัดทะนะ] น. การบด, การถู; การทําให้เจ็บ, การยํ่ายี, การทําลาย. (ส. มรฺทน; ป. มทฺทน).

มรรยาท
[มันยาด] น. กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ, มารยาท ก็ว่า. (ส. มรฺยาทา;ป. มริยาท).

มรรษ, มรรษะ
[มัด, มัดสะ] น. ความเพียร, ความอดทน. ก. อดทน. (ส. มรฺษ).

มรรษ, มรรษะ
[มัด, มัดสะ] น. ความเพียร, ความอดทน. ก. อดทน. (ส. มรฺษ).

มรสุม
[มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยายหมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).

มรัมเทศ
[มะรํามะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).

มรานควาน
[มะรานคฺวาน] ก. รบกวน, ทําให้รําคาญ. (ข. เมฺรญคงฺวาล).

มริจ
[มะริด] น. พริกไทย. (ส. มริจ, มรีจ; ป. มริจฺจ).

มริยาท
(แบบ) น. มรรยาท. (ป.; ส. มรฺยาทา).

มรีจิ
น. พยับแดด, แสงแดด. (ป., ส.).

มรุ ๑
น. ทะเลทราย, ที่กันดารนํ้า. (ป., ส.).

มรุ ๒
น. เทวดาพวกหนึ่ง. (ป.; ส. มรุต).

มรุต
น. เจ้าแห่งพายุ, เจ้าแห่งลม; เทวดาพวกหนึ่ง. (ส.).

มฤค, มฤค-
[มะรึก, มะรึกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).

มฤค, มฤค-
[มะรึก, มะรึกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).

มฤคชาติ
น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.

มฤคทายวัน
[มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา;ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).

มฤคราช
น. ราชสีห์. (ส.).

มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ
[มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโคดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).

มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ
[มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโคดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).

มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ
[มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโคดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).

มฤคศิรมาส
น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.

มฤคศิรัส
น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโคดาวมฤคเศียร ดาวมิคสิระ หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.

มฤคินทร์, มฤเคนทร์
[มะรึคิน, -เคน] น. ราชสีห์. (ส. มฺฤค + อินฺทฺร).

มฤคินทร์, มฤเคนทร์
[มะรึคิน, -เคน] น. ราชสีห์. (ส. มฺฤค + อินฺทฺร).

มฤคย์
[มะรึก] ว. สิ่งที่ควรติดตาม, สิ่งที่ต้องการ. (ส.).

มฤคินทร์, มฤเคนทร์
ดู มฤค, มฤค-.

มฤคินทร์, มฤเคนทร์
ดู มฤค, มฤค-.

มฤจฉา
[มะริดฉา] ว. มิจฉา, ผิด. (ป. มิจฺฉา; ส. มิถฺยา).

มฤจฉาชีพ
น. มิจฉาชีพ, การเลี้ยงชีวิตผิดทาง.

มฤจฉาทิฐิ
น. มิจฉาทิฐิ, ความเห็นผิดทางธรรม.

มฤดก
[มะรึดก] (โบ) น. มรดก. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).

มฤต
[มะริด, มะรึด] ว. ตายแล้ว. (ส. มฺฤต; ป. มต).

มฤตกะ
[มะรึตะกะ] น. ผู้ตาย, ซากศพ. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).

มฤตยู
[มะรึดตะยู] น. ความตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒,๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐,๘๐๐ กิโลเมตร,ดาวยูเรนัส ก็เรียก. (ส. มฺฤตฺยู; ป. มจฺจุ).

มฤตยูราช
น. ยมราช, พญายม. (ส. มฺฤตฺยุราช; ป. มจฺจุราช).

มฤทิงค์
[มะรึ-] น. ตะโพน, กลองสองหน้าชนิดหนึ่ง. (ส. มฺฤทงฺค; ป. มุทิงฺค).

มฤทุ
[มะรึ-] ว. นุ่ม, อ่อน, อ่อนโยน, สุภาพ; แช่มช้า. (ส. มฺฤทุ; ป. มุทุ).

มฤทุกะ
ว. อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, มีใจอ่อนโยน. (ส. มฺฤทุก; ป. มุทุก).

มฤธุ
[มะรึทุ] น. มธุ, นํ้าผึ้ง, นํ้าหวาน. (ส. มฺฤธุ; ป. มธุ).

มฤษา
[มะรึสา] ว. มุสา, ไม่จริง, เท็จ. (ส. มฺฤษา; ป. มุสา).

มฤษาวาท
น. คําเท็จ. (ส.; ป. มุสาวาท).

มล, มล-
[มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง,สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).

มล, มล-
[มน, มนละ-] น. ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์; สนิม, เหงื่อไคล. ว. มัวหมอง,สกปรก, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).

มลพิษ
[มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่นในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสงเสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย. (อ. pollution).

มลสาร
น. สารที่ทำให้เกิดมลพิษ, สารมลพิษ ก็ใช้. (อ. pollutant).

มลโค
[มอละโค] (ปาก) น. อุจจาระพอเหลว ๆ คล้ายมูลโค.

มลทิน
[มนทิน] น. ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์. (ข. มนฺทิล).

มลน, มล่น
[มะลน, มะล่น] (โบ) ก. วิ่ง, รีบ.

มลน, มล่น
[มะลน, มะล่น] (โบ) ก. วิ่ง, รีบ.

มลนมลาน
[-มะลาน] (โบ) ว. ลนลาน, ตะลีตะลาน.

มลวก
[มะลวก] (โบ) ก. ลวก.

มล่อน
[มะล่อน] (โบ) ว. สนุก, เพราะ, หวาน.

มล่อย
[มะล่อย] (โบ) ก. ม่อย, เผลอ, เคลิ้ม.

มละ
[มะละ] ก. ละ, ทิ้ง.

มลัก
[มะลัก] ก. ลัก, ลอบ; มัก; รัก; เห็น. ว. มากเช่น รู้มลัก.

มลังเมลือง
[มะลังมะเลือง] ว. สุกใส, อร่ามเรือง.

มล้า
[มะล้า] ว. ล้า.

มลาก
[มะลาก] ก. ลาก. ว. มาก, ดี.

มล้าง
[มะล้าง] ก. ม้าง, ล้าง, ฆ่า, ผลาญ.

มลาน ๑
[มะลาน] ว. เหี่ยว, แห้ง; อ่อน, อิดโรย; ตาย; โศกเศร้า, หมอง. (ส. มฺลาน).

มลาน ๒
[มะลาน] ว. ลนลาน; ลานตา. (แผลงมาจาก ลาน).

มล่าน
[มะล่าน] ก. วิ่งอย่างรีบ, วิ่งพล่าน.

มลาย
[มะลาย] ก. แตก, ตาย, ทําลาย.

มลายู
[มะ-] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู.

มลาว
[มะลาว] น. ลาว.

มล่าวเมลา
[มะล่าวมะเลา] (กลอน) ว. งดงาม, สวย.

มลิน
[มะลิน] ว. ขุ่นมัว, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์. (ป., ส.).

มลิ้น
[มะลิ้น] (กลอน) น. ลิ้น เช่น คือมลิ้นคนผู้ ทราบรู้รสแกง. (โลกนิติ).

มลื่น
[มะลื่น] ก. มื่น, ลื่น.

มวก
น. ชื่อไม้เถาชนิด Parameria laevigata (Juss.) Moldenke ในวงศ์ Apocynaceaeมียางเหนียวคล้ายกาว ใช้ทํายาได้, กระทั่งติด เครือเขามวก ตังติด หรือ เถามวก ก็เรียก.

มวกใหญ่
ดู โมกใหญ่ ที่ โมก.

มวกผา
น. ของอย่างหนึ่งเป็นยางคล้ายวุ้นอยู่ตามเขา.

มวกเหล็ก
น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).

ม่วง ๑
ว. สีน้ำเงินปนแดง, ถ้าออกครามเรียก สีม่วงคราม, ถ้าออกแดงเรียก สีม่วงชาด, ถ้าเจือขาวเรียกสีม่วงอ่อน, เรียกผ้าไหมสําหรับผู้ชายนุ่งที่มีสีอย่างนั้นหรือสีอย่างอื่นว่า ผ้าม่วง.

ม่วง ๒
น. มะม่วง.

ม่วง ๓
น. ชื่อเรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.

มวน ๑
น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบเนื้อปีกบริเวณโคนแข็ง ปลายเป็นแผ่นบางอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอดเมื่อพับปีกจะแบนราบไปตามสันหลัง แต่บางชนิดก็ไม่มีปีก ปากเป็นท่อยาวคล้ายเข็มโผล่ทางด้านล่างบริเวณปลายหัว หลายชนิดปล่อยกลิ่นเหม็นได้และเป็นศัตรูพืชพวกที่อยู่ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว (Rhynchocoris humeralis) ทําลายส้ม, แมงแกง(Tessaratoma javanica) ทําลายลําไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่นมวนแดงฝ้าย (Dysdercus cingulatus)ทําลายทุกส่วนของฝ้าย.

มวน ๒
ก. ม้วนเส้นยาสูบด้วยใบตองหรือใบจากเป็นต้นให้เป็นบุหรี่. น. ลักษณนามของบุหรี่เช่น บุหรี่ ๒ มวน.

มวน ๓
ว. อาการที่ทำให้รู้สึกปั่นป่วนอยู่ในท้อง.

มวน ๔
(กลอน) ว. ม่วน. (ดู มอน).

ม่วน
ว. ไพเราะ, เสนาะ, สนุก.

ม้วน
ก. หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งของเช่นผ้าหรือกระดาษที่ขดหรือพันห่อตัวอยู่ เช่น ผ้าม้วนหนึ่ง กระดาษ ๒ ม้วน.

ม้วนต้วน
ว. อาการที่แสดงท่าทางเอียงอาย. ก. กลิ้งหมุนไปรอบตัว.

ม้วนเสื่อ
(ปาก) ก. เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนินกิจการนั้นต่อไปได้.

ม้วนหน้า
ก. ก้มหน้าเพราะความอาย.

มวย ๑
น. การชกกันด้วยหมัดเป็นต้น.

มวยไทย
น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกายอมให้คู่ชกใช้เท้า ศอก และเข่าได้.

มวยปล้ำ
น. กีฬาต่อสู้ด้วยมือเปล่าอย่างหนึ่ง คู่ต่อสู้ต้องพยายามทําให้อีกฝ่ายล้มลงจนไหล่ด้านหลังทั้ง ๒ ข้างแตะพื้นตลอดช่วงเวลาที่กำหนดจึงจะเป็นฝ่ายชนะ.

มวยล้ม
น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน,โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.

มวยวัด
น. การชกต่อยอย่างไม่มีกติกา.

มวยสากล
น. กีฬาชกมวยบนเวทีที่มีกติกาห้ามคู่ชกใช้อวัยวะอื่นใดนอกจากหมัด.

มวยหมู่
น. การยกพวกเข้าชกต่อยกันอย่างชุลมุน.

มวย ๒
น. ผมที่มุ่นขมวดให้เป็นกลุ่มเป็นกระจุกไว้ตรงท้ายทอยเป็นต้น เรียกว่า ผมมวย.

มวย ๓
ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).

ม้วย
ก. ตาย, สิ้นสุด, วายวอด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มอด เป็น ม้วยมอด หรือ มอดม้วย.

มวล
[มวน] ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งปวง, เช่น มวลชน มวลมนุษย์, ทั้งมวล ก็ว่า.

มวลสาร
น. เนื้อของเทหวัตถุที่รวมกันอยู่ในเทหวัตถุนั้น ๆ.

มวลอากาศ
(ภูมิ) น. อากาศในบริเวณกว้างที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้น.

มสาร, มสารกะ
[มะสาน, มะสาระกะ] น. แก้วมรกต. (ส.).

มสาร, มสารกะ
[มะสาน, มะสาระกะ] น. แก้วมรกต. (ส.).

มสารคัล
[มะสาระคัน] น. แก้วลาย, เพชรตาแมว. (ป. มสารคลฺล; ส. มสารคลฺว).

มสิ
[มะสิ] น. เขม่า; หมึก. (ป., ส.).

มหกรรม
[มะหะกํา] น. การฉลอง, การบูชา. (ป. มหกมฺม).

มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ
[มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว).

มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ
[มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว).

มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ
[มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว).

มหรรฆ-
[มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหรรฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก.(ส. มหารฺฆ; ป. มหคฺฆ).

มหรสพ
[มะหอระสบ] น. การเล่นรื่นเริงมีโขนละครเป็นต้น. (ป. มหุสฺสว; ส. มโหตฺสว).

มหัคฆ-
[มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก.(ป. มหคฺฆ; ส. มหารฺฆ).

มหัจฉริย-, มหัจฉริยะ
[มะหัดฉะริยะ-] ว. น่าอัศจรรย์มาก. (ป.; ส. มหาศฺจรฺย).

มหัจฉริย-, มหัจฉริยะ
[มะหัดฉะริยะ-] ว. น่าอัศจรรย์มาก. (ป.; ส. มหาศฺจรฺย).

มหัณณพ
น. มหรรณพ. (ป. มหณฺณว; ส. มหรฺณว).

มหัต
ว. มหันต์, ใหญ่, มาก. (ส. มหตฺ; ป. มหนฺต).

มหัทธนะ
[มะหัดทะนะ] น. ผู้มั่งคั่ง, คนมั่งมี. ว. มีทรัพย์มาก, มั่งมี. (ป., ส.).

มหันต-, มหันต์
[มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มหบ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).

มหันต-, มหันต์
[มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มหบ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).

มหันตโทษ
[มะหันตะโทด] น. โทษหนัก, คู่กับ ลหุโทษ = โทษเบา. (ป. มหนฺต + ส. โทษ).

มหัพภาค
[มะหับพาก] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่.

มหัล, มหัลกะ
[มะหัน, มะหันละกะ] น. ผู้ใหญ่, คนมีอายุมาก, คนแก่. ว. แก่, มีอายุมาก. (ป. มหลฺล, มหลฺลก).

มหัล, มหัลกะ
[มะหัน, มะหันละกะ] น. ผู้ใหญ่, คนมีอายุมาก, คนแก่. ว. แก่, มีอายุมาก. (ป. มหลฺล, มหลฺลก).

มหัศจรรย์
[มะหัดสะจัน] ว. แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, ผิดปรกติวิสัยของธรรมชาติ. (ส. มหาศฺจรฺย; ป. มหจฺฉริย).

มหา ๑
ว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ มหัทธนะ มหัศจรรย์.

มหา ๒
น. สมณศักดิ์ที่ใช้นําหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป.

มหากฐิน
น. ชื่อพระชฎาเครื่องต้น.

มหากาฬ ๑
น. ชื่อยาไทยชนิดหนึ่งสําหรับแก้โรคปากเปื่อย คอเปื่อย ลิ้นเปื่อย.

มหากาฬ ๒
น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Gynura pseudochina (L.) DC. ในวงศ์ Compositaeดอกสีเหลืองส้ม ใบใช้ทํายาพอก, ว่านมหากาฬ ก็เรียก.

มหาขันธกะ
[มะหาขันทะกะ] น. ชื่อคัมภีร์พระวินัยหมวดหนึ่ง. (ป.).

มหาจักร ๑
น. ชื่อยาไทยแก้ลมเพื่อซางโค.

มหาจักร ๒
น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, พฤหัสบดีจักร ก็ว่า.

มหาจักร ๓
น. ดาว ๘ ดวง มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และราหู ซึ่งอยู่ในราศีนิยมเช่น จันทร์อยู่ราศีเมษ อาทิตย์อยู่ราศีกรกฎ ตามที่ท่านกำหนดไว้ย่อมทรงคุณทำให้เจ้าของชะตาเด่นขึ้นหรือคุ้มโทษต่าง ๆ ได้.

มหาชน
น. คนจำนวนมาก, คนส่วนใหญ่, ชนจำนวนมาก เช่น มติมหาชน, ประชาชนทั่วไป,เรียกกฎหมายที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไปว่า กฎหมายมหาชน. (ป., ส.).

มหาชัย
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธานในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัยเป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธานและบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือจอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.

มหาชาติ
น. เรียกเวสสันดรชาดกว่า มหาชาติ มี ๑๓ กัณฑ์, การมีเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกเรียกว่า มีเทศน์มหาชาติ. (ป.).

มหาโชตรัต
[มะหาโชตะรัด] น. ชื่อตําราแพทย์แผนโบราณว่าด้วยระดูสตรี.

มหาดไทย
น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน,ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.

มหาดเล็ก
น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านายหรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์.

มหาดเล็กรายงาน
(โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น;ชื่อตําแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.

มหาดเล็กหลวง
น. ข้าราชการในราชสำนักมีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์.

มหาตมะ
[มะหาดตะมะ] ว. ผู้มีอิทธิฤทธิ์, ผู้มีใจสูง. (ส.).

มหาไถ่
น. ผู้โปรดให้พ้นบาป หมายถึง พระเยซู.

มหาเทพ
น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ (โดยมากใช้เรียกพระอิศวร). (ส.).

มหาเทพี, มหาเทวี
น. พระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า พระมหาเทพี หรือ พระมหาเทวี. (ส.).

มหาเทพี, มหาเทวี
น. พระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า พระมหาเทพี หรือ พระมหาเทวี. (ส.).

มหาธาตุ
น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุเช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง.

มหานสะ
[มะหานะสะ] น. ครัว, โรงครัว. (ป.).

มหานิกาย
น. ชื่อคณะสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับ ธรรมยุติกนิกาย.

มหานิล ๑
น. ชื่อยาไทยขนานหนึ่ง มีสีดํา ใช้เป็นยาสมานกวาดคอเด็ก แก้หละ ละออง ซาง.

มหานิล ๒
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุล Hedychium วงศ์ Zingiberaceae, ว่านมหานิล ก็เรียก.

มหาบพิตร
[-บอพิด] น. เดิมเป็นคําพระสงฆ์ใช้สําหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี,ปัจจุบันใช้ว่า บรมบพิตร หรือ สมเด็จบรมบพิตร.

มหาบัณฑิต
น. ปริญญาโท; ผู้ได้รับปริญญาโท.

มหาพน
น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๗ ของมหาชาติ ว่าด้วยเรื่องป่า.

มหาพรหม
[-พฺรม] น. ชื่อพรหมชั้นที่ ๓ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น.

มหาภารตะ
[มะหาพาระตะ] น. ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย, คู่กับรามายณ คือ รามเกียรติ์. (ส.).

มหาภิเนษกรมณ์
[มะหาพิเนดสะกฺรม] น. การเสด็จออกบรรพชาของพระพุทธเจ้า. (ส. มหาภินิษฺกฺรมณ; ป. มหาภินิกฺขมน).

มหาภูต
น. ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป., ส.).

มหาเมฆ ๑
น. ว่านมหาเมฆ. (ดู ว่านมหาเมฆ ที่ว่าน).

มหาเมฆ ๒
น. ชื่อละอองหรือฝ้าในปากเด็กเล็ก ๆ เกิดเพราะเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซางโค.

มหายาน
น. ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายเหนือที่ถือกันในทิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และญวนเป็นต้น, อาจริยวาท ก็ว่า.

มหายุค
น. ยุคใหญ่ คือ ยุคทั้ง ๔ รวมกัน, จตุรยุค ก็เรียก. (ดู จตุรยุค), ๑,๐๐๐ มหายุคหรือ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหมเมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิงและปล่อยให้โลกอยู่ในความมืดจนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. (ส.).

มหาราช
น. คําซึ่งมหาชนถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อธงประจําพระองค์พระเจ้าแผ่นดินเรียกว่า ธงมหาราช; ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๑ ของมหาชาติ.

มหาราชลีลา
น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา.

มหาฤกษ์
[-เริก] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่นพิธีเปิดสถานที่ทํางานรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สําคัญ ๆ, ปัจจุบันข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์รับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในเพลงมหาชัย.

มหาละลวย
น. ชื่อมนตร์สําหรับเป่าให้คนหลงรัก.

มหาละลาย
น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).

มหาวงศ์
น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนานพระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัยพระเจ้าคชพาหุ.

มหาวรรค
น. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎกคัมภีร์หนึ่ง; วิธีนับปักษ์อย่างหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ รวมเป็น ๕ ปักษ์ เรียกว่า มหาวรรค.

มหาวิทยาลัย
[มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชาเพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.

มหาศักราช
น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี(พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช).

มหาศาล
น. ผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณะนั้น ๆ, ถ้าเป็นพราหมณ์ก็หมายความว่า มีศิษย์มาก,ถ้าเป็นกษัตริย์ก็หมายความว่า มีอํานาจมาก, ถ้าเป็นแพศย์ก็หมายความว่ามีทรัพย์มาก. ว. มีทรัพย์สมบัติมากมาย เช่น เศรษฐีมหาศาล, (ปาก) อย่างยิ่ง,มากมาย, เช่น เขามีที่ดินมหาศาล. (ส.).

มหาสงกรานต์
น. นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า เริ่มแต่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์.

มหาสดมภ์
[มะหาสะดม] น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่งตามตําราแพทย์แผนโบราณซึ่งอาจทําให้ขากรรไตรแข็ง.

มหาสดำ
[มะหาสะดํา] น. ชื่อเฟินต้นชนิด Cyathea podophylla (Hook.) Copel. ในวงศ์ Cyatheaceae ใช้ทํายาได้.

มหาสมุทร
น. ทะเลใหญ่. (ส.; ป. มหาสมุทฺท).

มหาสาวก
น. พระสาวกชั้นผู้ใหญ่ของพระพุทธเจ้า ๘๐ องค์ ซึ่งรวมพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์เข้าไว้ในจํานวนนั้นด้วย. (ป.; ส. มหาศฺราวก).

มหาหงส์
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hedychium coronarium Koen. ในวงศ์ Zingiberaceaeดอกใหญ่ สีขาวล้วนหรือมีสีเหลืองตอนกลาง กลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ลุ่มนํ้าขังมักปลูกตามบ้าน, กระทายเหิน ก็เรียก, จันทบุรีและระยองเรียก เลเป หรือ ลันเต.

มหาหิงคุ์
น. ยางของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Ferula วงศ์ Umbelliferae มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็นนิยมใช้เป็นยาทาภายนอก เช่น ชนิด F. assafoetida L. และชนิด F. foetida (Bunge) Regel.(ป.; ส. หิงฺคุ).

มหาอำนาจ
ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.

มหาอุจ
(โหร) น. ดาวพระเคราะห์ที่ทรงคุณสูงเด่น ทําให้เจ้าดวงชะตามีความเจริญรุ่งเรือง.

มหาอุด
น. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน; โบสถ์หรือวิหารที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียวเพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.

มหาอุปรากร, อุปรากร
น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสําคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจังหนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. (อ. grand opera).

มหาอุปราช
[มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด] (โบ) น. ตำแหน่งรองพระเจ้าแผ่นดิน,เรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า; ตำแหน่งขุนนางทำหน้าที่มุขมนตรี.

มหิ
(แบบ) น. แผ่นดิน. (ป., ส.).

มหิดล
น. พื้นดิน, พื้นโลก. (ส. มหิตล, มหีตล).

มหิธร
น. ผู้ทรงแผ่นดิน คือ ภูเขา; ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์; พระเจ้าแผ่นดิน.(ส. มหีธร, มหีธฺร).

มหิบดี, มหิบาล, มหิป
น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).

มหิบดี, มหิบาล, มหิป
น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).

มหิบดี, มหิบาล, มหิป
น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).

มหิงส์
น. ควาย. (ป. มหึส; ส. มหิษ).

มหิทธิ
[มะหิดทิ] ว. มีฤทธิ์มาก. (ป. มหา + อิทฺธิ).

มหินท์
น. พระอินทร์. (ป.).

มหิมา
ว. ใหญ่, โต, ใช้ว่า มหึมา ก็มี.

มหิศร, มหิศวร
[มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร หมายถึง พระศิวะหรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

มหิศร, มหิศวร
[มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร หมายถึง พระศิวะหรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

มหิษ
น. ควาย. (ส.; ป. มหิส, มหีส, มหึส).

มหิษี
น. ชายาพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.; ป. มเหสี).

มหึมา
ว. ใหญ่, โต, ใช้ว่า มหิมา ก็มี.

มหุดิฤกษ์
น. ฤกษ์ดี, ยามดี.

มหุรดี
น. ครู่, ขณะ, ชั่วโมง. (ส. มุหูรฺต, มุหูรตฺต).

มหู
ก. ต้องการ. (ช.).

มเหนทร์
น. พระอินทร์. (ส.).

มเหยงค์
[มะเห-ยง] น. ภูเขา, เนินดิน. (ป. มหิยงฺคณ).

มเหศ, มเหศวร
[มะเหด, มะเหสวน] น. พระอิศวร, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

มเหศ, มเหศวร
[มะเหด, มะเหสวน] น. พระอิศวร, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).

มเหศักดิ์
(ถิ่น-อีสาน) น. เจ้าผีซึ่งเดิมเป็นเจ้าเมืองในถิ่นนั้น.

มเหสักข์
น. เทวดาผู้ใหญ่. (ป.).

มเหสิ, มเหสี ๑
น. ผู้แสวงหาศีลาทิคุณอันยิ่งใหญ่, ฤษีใหญ่, พระพุทธเจ้า. (ป.; ส. มหรฺษิ).

มเหสิ, มเหสี ๑
น. ผู้แสวงหาศีลาทิคุณอันยิ่งใหญ่, ฤษีใหญ่, พระพุทธเจ้า. (ป.; ส. มหรฺษิ).

มเหสี ๒
น. ชายาพระเจ้าแผ่นดิน. (ป.; ส. มหิษี).

มเหาษธ ๑
[มะเหาสด] น. ยาแรงชนิดหนึ่ง; การแก้ไข้อย่างชะงัด. (ส.).

มเหาษธ ๒
[มะเหาสด] น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. (ส.; ป. มโหสธ).

มเหาฬาร
ว. มโหฬาร, ยิ่งใหญ่, กว้างใหญ่. (ป., ส. มหา + อุฬาร).

มโหฆะ
น. ห้วงนํ้าใหญ่, ทะเลใหญ่; นํ้ามาก, นํ้าท่วมมาก. (ส., ป. มหา + โอฆ).

มโหรสพ
[มะโหระสบ] น. มหรสพ. (ป. มหสฺสว; ส. มโหตฺสว).

มโหระทึก
น. กลองโลหะชนิดหนึ่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม.

มโหรี ๑
น. วงดนตรีที่มีเครื่องผสมทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า และมีผู้ขับร้องร่วมด้วย.

มโหรี ๒
ดู สีกรุด.

มโหษธ
[มะโหสด] น. มเหาษธ. (ส. มเหาษธ; ป. มโหสธ).

มโหฬาร
[-ลาน] ว. ยิ่งใหญ่, กว้างใหญ่, เช่น ใหญ่โตมโหฬาร. (ป., ส.).

มไหศวรรย์
[มะไหสะหฺวัน] น. อํานาจใหญ่; สมบัติใหญ่; ความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน.(ส. มไหศฺวรฺย, มไหศฺวรฺยฺย).

มอ ๑
น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ.

มอ ๒
น. เนินดินเล็ก ๆ อย่างภูเขา, เขาจําลองที่ทําไว้ดูเล่นในบ้าน เรียกว่า เขามอ.

มอ ๓
น. วัวตัวผู้. ว. เสียงอย่างเสียงวัวร้อง.

มอ ๔
ว. สีมัว ๆ อย่างสีดําเจือขาว.

มอคราม
ว. สีฟ้าคล้ำ.

มอซอ
ว. ดําคลํ้า, ไม่ผ่องใส, หม่น, เช่น แต่งตัวมอซอ.

มอหมึก
ว. สีขาวเจือดํา.

มอง ๑
ก. มุ่งดู.

มองการณ์ไกล
ก. คาดคะเน เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงโดยอาศัยเหตุผลหรือประสบการณ์เป็นต้น, เห็นการณ์ไกล ก็ว่า.

มองเมียง
ก. เลียบ ๆ เคียง ๆ ดู.

มองเสี้ยว
น. ท่าโขนท่าหนึ่ง.

มอง ๒
น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งจำพวกอวน แต่เล็กสั้น และตาถี่กว่าอวน ใช้ในแม่น้ำลำคลอง.

มอง ๓
น. ฆ้องขนาดเล็ก เรียกว่า ฆ้องมอง.

มองโกลอยด์
น. ชนชาติผิวเหลือง มีลักษณะผมดําเหยียด หน้ากว้าง จมูกเล็ก ตาเรียว เช่น ไทย จีนลาว เขมร เวียดนาม. (อ. Mongoloid).

มองโกเลีย
น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).

มองคร่อ
[-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทําให้มีอาการไอเรื้อรังห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอยอาจติดต่อถึงคนได้,เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).

มอญ ๑
น. ชื่อชนชาติหนึ่ง เคยเป็นใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของพม่า ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้.

มอญซ่อนผ้า
น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมักฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่ายังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตีผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้าให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่งแทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.

มอญตีดั้ง
น. ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่งในพวกดอกไม้นํ้า.

มอญ ๒
น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า มอญ เช่น มอญรำดาบ มอญชมจันทร์มอญครวญ.

มอด ๑
น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทําให้เกิดเป็นรูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็นแมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทําลายข้าวสาร,มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป;เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.

มอด ๒
ก. จวนจะดับ (ใช้แก่ไฟ); ตาย, มักใช้เข้าคู่กับคํา ม้วย เป็น มอดม้วย หรือ ม้วยมอด.

ม่อต้อ
ว. เตี้ยลํ่า (ใช้แก่รูปร่าง) เช่น รูปร่างม่อต้อ เตี้ยม่อต้อ.

มอเตอร์
น. กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานรูปอื่นให้เป็นพลังงานกล โดยทั่วไปมักหมายถึงกลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล. (อ. motor).

มอเตอร์ไซค์
(ปาก) น. จักรยานยนต์, รถที่มีล้อ ๒ ล้อเหมือนกับรถจักรยาน ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์,รถเครื่อง ก็ว่า.

มอน
น. ใจกลาง, ส่วนสําคัญ, เช่น มอนไข่ คือ ไข่แดง. ว. สนุก, เพราะ, หวาน, เช่น ใจมอนใจหวาน, ใจดี.

ม่อน ๑
(ถิ่น-พายัพ) น. เนินเขา, ยอดเขา.

ม่อน ๒
(ถิ่น-พายัพ) ส. ข้าพเจ้า เช่น อกม่อนเมา บาบั้น บิ่นบ้าในทรวง. (หริภุญชัย).

มอนไข่
น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium thyrsiflorum Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceaeดอกขาว ปากเหลือง.

มอบ ๑
ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิตมอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่นมอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.

มอบฉันทะ
ก. มอบธุระไว้ด้วยความไว้วางใจ, ยินยอมให้ทําแทนโดยมีหลักฐาน.

มอบตัว
ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของโรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.

มอบหมาย
ก. กำชับสั่งเสีย เช่น มอบหมายการงาน, กะให้,กําหนดให้, เช่น มอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ.

มอบอำนาจ
(กฎ) ก. มอบหมายให้มีอํานาจจัดการหรือทําการแทน.

มอบ ๒
น. เครื่องสานสําหรับสวมปากวัวปากควายเพื่อกันไม่ให้กินต้นกล้าและสวมปากม้าเพื่อกันม้ากัด.

มอบ ๓
ก. ทําให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปากกระทง. น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ.

มอม ๑
ว. เปื้อนด้วยสีมัว ๆ ดํา ๆ เช่น หน้ามอม. ก. ทําให้เปื้อนด้วยสีมัว ๆดํา ๆ เช่น มอมหน้า; ทําให้เสียชื่อเสียง, ทําให้มัวหมอง; ทําให้เสียสติด้วยของมึนเมามีเหล้าเป็นต้น เช่น มอมเหล้า มอมกัญชา.

มอมเมา
ก. ทําให้หลงผิด, ทําให้หมกมุ่นในทางที่ผิด.

มอมแมม
ว. เปื้อนเปรอะ, สกปรก, เช่น เนื้อตัวมอมแมม.

มอมหน้า, มอมหน้ามอมตา
ก. เอามินหม้อเป็นต้นละเลงบนหน้าเพื่อไม่ให้คนอื่นจำหน้าได้.

มอมหน้า, มอมหน้ามอมตา
ก. เอามินหม้อเป็นต้นละเลงบนหน้าเพื่อไม่ให้คนอื่นจำหน้าได้.

มอมเหล้า
ก. ล่อให้กินเหล้าจนเมาครองสติไม่ได้.

มอม ๒
น. เรียกรูปสัตว์ในนิยายที่มักสักตามร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นรูปสิงห์.

ม่อย
ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจว่า หน้าม่อย.

ม่อยกระรอก
(ปาก) ก. หลับ; ตาย.

มอร์ฟีน
น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3Nลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็นยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือแอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด.(อ. morphine).

มอระกู่
น. หม้อสูบยาของชาวอาหรับ. (ช.).

มอลโทส
(วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็นกลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่งนํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย.(อ. maltose).

ม่อลอกม่อแลก
ว. เปื้อน ๆ เปรอะ ๆ, เลอะ ๆ เทอะ ๆ, เช่น เนื้อตัวเปียกฝนม่อลอกม่อแลก, มะลอกมะแลก ก็ว่า.

ม่อห้อม, ม่อฮ่อม
(ถิ่น-พายัพ) ดู หม้อห้อม.

ม่อห้อม, ม่อฮ่อม
(ถิ่น-พายัพ) ดู หม้อห้อม.

มะ ๑
คํานําหน้าต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง กร่อนมาจากคํา 'หมาก' โบราณแปลว่าลูกไม้, ผลไม้.

มะ ๒
น. นาย (ใช้นําหน้าชื่อคน). (ต.).

มะกรูด
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Citrus hystrix DC. ในวงศ์ Rutaceae ผลขรุขระ รสเปรี้ยวผิวและใบมีกลิ่นหอมฉุน ใช้แต่งกลิ่นและรสอาหาร ใช้ทํายาได้.

มะกล่ำ
น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้างหรือ มะกลํ่าต้น (Adenanthera pavonina L.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดงใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น;มะกลํ่าตาหนู หรือ มะกลํ่าเครือ (Abrus precatorius L.) เป็นไม้เถาฝักแก่ไม่บิด เมล็ดสีแดงจุดดํา มีพิษ รากและใบใช้ทํายาได้, พายัพเรียกกํ่าเคือ; อีกชนิดหนึ่งคือ มะกล่ำเผือก (A. fruticolosus wall. ex wight etArnu.) คล้ายมะกล่ำตาหนูแต่เมล็ดสีขาว.

มะกอก
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata (L.f.) Kurz ในวงศ์Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบเมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทํายาได้,มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก.

มะกอกฝรั่ง
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias cytherea Sonn.ในวงศ์ Anacardiaceae ผลใหญ่ เนื้อหนากรอบ กินดิบ ๆ ได้.

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
(สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.

มะกอกน้ำ
น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด elaeocarpus hygrophilus Kurz ในวงศ์Elaeocarpaceae มักขึ้นริมนํ้า ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร.

มะกอกบ้าน, มะกอกป่า
ดู มะกอก.

มะกอกบ้าน, มะกอกป่า
ดู มะกอก.

มะกอกพราน
ดู กระเบียน (๒).

มะก่อง
ดู ค้างคาว ๒ (๑).

มะกะโรนี
น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูปอื่น ๆ เวลาจะนํามาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด,มักกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).

มะกา
น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Bridelia ovata Decne. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบใช้ทํายาได้.

มะเกลือ
[-เกฺลือ] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Diospyros mollis Griff.ในวงศ์ Ebenaceae แก่นดํา ผลดิบใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีดําและใช้ทํายาได้.

มะเกี๋ยง
(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Cleistocalyx operculatus (Roxb.) Merr.et L.M. Perry var. paniala (Roxb.) P. Chantaranothai et J. Parn. ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดํา กินได้.

มะข่วง
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกําจัด. (ดู กําจัด ๑).

มะขวิด
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Feronia limonia (L.)Swing. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ผลกลม เปลือกแข็งกินได้ ยางใช้ทํายาได้.

มะขาม
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tamarindus indica L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยวใช้ปรุงอาหารและทํายาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียกมะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน.

มะขามคราบหมู
น. มะขามฝักที่จวนจะแก่.

มะขามเทศ
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosaeลําต้นและกิ่งมีหนาม ฝักกินได้.

มะขามเปียก
น. เนื้อมะขามเปรี้ยวที่แก่เกราะ นํามาปั้นเป็นก้อนเก็บไว้ใช้ปรุงอาหาร.

มะขามป้อม
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมรสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.

มะเขือ
น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่ผลกินได้คือ ชนิดS. melongena L. ผลกลม ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะเขือไข่เต่า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือละโว้,มะเขือยาว [S. melongena L. var. serpentinum (Desf.) Bailey] ผลยาว มีหลายสี,ชนิดที่ผลกินไม่ได้ คือ มะเขือขื่น (S. aculeatissimum Jacq.) รากใช้ทํายาได้.

มะเขือเทศ
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lycopersicum esculentum Miller ในวงศ์ Solanaceaeผลกินได้.

มะเขือพวง
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Solanum torvum Sw. ในวงศ์ Solanaceae ผลกินได้,อีสานเรียก หมากแข้ง.

มะเขือทวาย, มะเขือมอญ
ดู กระเจี๊ยบ.

มะเขือทวาย, มะเขือมอญ
ดู กระเจี๊ยบ.

มะแข่น
(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum budrungaWall. ex Hook.f. ในวงศ์ Rutaceae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกําจัดหรือมะข่วง[Z. rhetsa (Roxb.) DC.] ต่างกันที่ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ มิลลิเมตรมีกลิ่นฉุนจัด เมล็ดกลม สีนํ้าตาลเข้ม ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตําผสมเป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส, พริกหอม ลูกระมาศ หรือ หมากมาศ ก็เรียก.

มะคะ
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Cynometra ramiflora L. ในวงศ์ Leguminosaeใบอ่อนสีขาว ใบแก่สีเขียวแก่ ผลแข็ง.

มะคังแดง
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gardenia erythroclada Kurz ในวงศ์ Rubiaceaeลําต้นมีหนาม เปลือกสีแดง ใช้ทํายาได้.

มะค่า
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Afzelia xylocarpa Craib ในวงศ์Leguminosae ใบคล้ายใบประดู่ ฝักแบน หนา แข็ง เนื้อไม้สีนํ้าตาลอมแดง ใช้ในการก่อสร้าง, มะค่าโมง หรือ มะค่าใหญ่ ก็เรียก.

มะค่าแต้
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sindora siamensis Teijsm.ex Miq. ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยคู่ปลายใหญ่กว่าคู่อื่น ฝักแบนค่อนข้างบาง มีหนามแหลมทั้ง ๒ ด้าน เนื้อไม้สีนํ้าตาลเข้ม, มะค่าหนาม ก็เรียก, อีสานเรียก แต้.

มะค่าโมง, มะค่าใหญ่
ดู มะค่า.

มะค่าโมง, มะค่าใหญ่
ดู มะค่า.

มะค่าหนาม
ดู มะค่าแต้ ที่ มะค่า.

มะคำไก่
ดู ประคําไก่.

มะคำดีควาย
ดู ประคําดีควาย.

มะงัน
ดู กะอวม.

มะงั่ว
น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Citrus ichangensis Swing. ในวงศ์ Rutaceaeผลคล้ายส้มโอ รสเปรี้ยวจัด ใช้ประสมกับขมิ้นเพื่อย้อมผ้า.

มะงุมมะงาหรา
[-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหราสำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง,โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.

มะซัก
ดู ประคําดีควาย.

มะซาง
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Madhuca pierrei (Williams) Lam ในวงศ์ Sapotaceaeผลขนาดหมากดิบ สีเขียว มียางมาก รสหวานเย็น.

มะซ่าน
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dillenia aurea Smith ในวงศ์ Dilleniaceae ผลเป็นพูมีเมือกมาก.

มะดะขี้นก
ดู พะวา.

มะดัน
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia schomburgkiana Pierre ในวงศ์ Guttiferaeผลสีเขียว รสเปรี้ยวจัด กิ่งอ่อนใช้ทํายาได้เรียก รกมะดัน.

มะดา
น. ดวงตา. (ช. มะตา).

มะดีหวี
น. มะเดหวี.

มะดูก
น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Beilschmiedia roxburghiana Nees ในวงศ์Lauraceae ดอกสีขาวอมเขียว อับเรณูสีแดง. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิดSiphonodon celastrineus Griff. ในวงศ์ Celastraceae ดอกสีเหลืองมีขีดหรือจุดประสีนํ้าตาลแดง ผลสุกกินได้ รสหวาน.

มะเดหวี
[-หฺวี] น. ตําแหน่งพระมเหสีที่ ๒ ของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา,มะดีหวี ก็ว่า. (ช.; เทียบทมิฬ มาเทวี).

มะเดื่อ
น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เช่น มะเดื่อปล้อง (F. hispida L.)ใบสากคาย, มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (F. racemosa L.) ใบเกลี้ยง ผลกินได้,มะเดื่อกวาง หรือ ลิ้นกระบือ (F. callosa Willd.) ใบแข็งหนา.

มะเดื่อดิน
น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Ficus chartacea Wall. var. torulosa Wall.ในวงศ์ Moraceae ใบออกสลับกัน ผลออกที่โคนต้นใกล้รากลักษณะคล้ายผลมะเดื่อ. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Aganosma marginata G. Donในวงศ์ Apocynaceae ใบเป็นมัน ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ดอกสีขาวผลเป็นฝัก.

มะต้อง
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน ๑).

มะตะบะ
น. ชื่ออาหารอย่างมุสลิมชนิดหนึ่ง คล้ายโรตี แต่มีไส้ทําด้วยเนื้อหรือไก่ผัดกับหอมหัวใหญ่ใส่เครื่องเทศ กินกับอาจาด.

มะตาด ๑
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dillenia indica L. ในวงศ์ Dilleniaceae ใบใหญ่ผลกลม ๆ มียางเป็นเลือก ใช้เป็นผัก.

มะตาด ๒
น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้บรรจุดินปืนจุดแล้วมีสีต่าง ๆ.

มะตาหะรี
น. ดวงอาทิตย์. (ช.).

มะตี
ก. ตาย. (ช.; ส. มฺฤติ).

มะตึ่ง
ดู ตูมกา.

มะตื๋น
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน ๑).

มะตูม
น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corr?a ในวงศ์ Rutaceaeต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการมงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.

มะแตก
ดู กระทงลาย.

มะโต
น. ตำแหน่งพระมเหสีที่ ๓ ของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา.

มะนาว
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Citrus aurantifolia Swing. ในวงศ์ Rutaceaeผลเล็ก ๆ รสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร.

มะนาวเทศ
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Triphasia trifolia (Burm.f.) P. Wils.ในวงศ์ Rutaceae ต้นมีหนาม ใบเล็ก ผลคล้ายตะขบฝรั่ง แต่ผิวคล้ายส้มเมื่อสุกเนื้อในเป็นยาง รสหวานเจือเผ็ด.

มะนาวไม่รู้โห่
ดู หนามแดง (๒).

มะปราง
[-ปฺราง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bouea macrophylla Griff. ในวงศ์Anacardiaceae ใบคล้ายใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ปลายใบแหลมผลสุกสีเหลืองอมแดง พันธุ์รสเปรี้ยวจัดเรียก กาวาง, พันธุ์รสเปรี้ยว ๆหวาน ๆ เรียก มะยง, พันธุ์รสหวานแหลมเรียก มะยงชิด.

มะปริง
[-ปฺริง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn.ในวงศ์ Anacardiaceae คล้ายมะปรางแต่ผลมีรสเปรี้ยว.

มะป่อง
ดู พะวา.

มะป่องต้น
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia succifolia Kurz ในวงศ์ Guttiferaeผลและเนื้อคล้ายมังคุดแต่เล็กกว่า กินได้.

มะฝ่อ
น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Trewia nudiflora L. ในวงศ์ Euphorbiaceaeผลกลม ๆ ใบคล้ายใบโพแต่บางและมีขน. (๒) ชื่อลําไยพันธุ์หนึ่ง.

มะพร้าว
[-พฺร้าว] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cocos nucifera L. ในวงศ์ Palmae ผลใช้ทํานํ้ามันและปรุงอาหารต่าง ๆ.

มะพร้าวแก้ว
น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยมะพร้าวขูดเป็นเส้นหยาบ ๆ ฉาบนํ้าตาล.

มะพร้าวตื่นดก
(สํา) ก. เห่อหรือตื่นเต้นในสิ่งที่ตนไม่เคยมีไม่เคยได้จนเกินพอดี,มักพูดเข้าคู่กับ ยาจกตื่นมี ว่า มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี.

มะพร้าวทึนทึก, มะพร้าวทึมทึก
น. มะพร้าวจวนแก่.

มะพร้าวทึนทึก, มะพร้าวทึมทึก
น. มะพร้าวจวนแก่.

มะพร้าวทุย
น. ผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบนํ้าหนักเบา เพราะไม่มีเนื้อและนํ้า นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น.

มะพร้าวห้าว
น. ผลมะพร้าวที่แก่จัด.

มะพลับ
[-พฺลับ] ดู พลับ.

มะพูด ๑
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia dulcis Kurz ในวงศ์ Guttiferae ใบใหญ่ หนาเป็นมันผลกลมเป็นพู ๆ รสเปรี้ยวอมหวาน.

มะพูด ๒
ว. ชื่อสีเขียวใบไม้แก่.

มะแพน
ดู มะแฟน.

มะแพร้ว
ดู แพร้ว ๒.

มะเฟือง ๑
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Averrhoa carambola L. ในวงศ์ Oxalidaceae ผลเป็นเฟือง ๆรสเปรี้ยวบ้างหวานบ้าง.

มะเฟือง ๒
น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Dermochelys coriacea ในวงศ์ Dermochelyidae กระดองหลังเป็นสันคล้ายมะเฟือง เป็นเต่าที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน, เต่าเหลี่ยม ก็เรียก.

มะแฟน
น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Protium serratum Engl. ในวงศ์ Burseraceae,มะแพน หรือ กะแทน ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตีบ.

มะไฟ
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Baccaurea ramiflora Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมออกเป็นพวงรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.

มะไฟเดือนห้า
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Excoecaria oppositifolia Griff. ในวงศ์ Euphorbiaceaeใช้ทํายาได้ ยางเป็นพิษ.

มะม่วง ๑
น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่นอกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด M. caloneura Kurzใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.

มะม่วงหิมพานต์
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L.ในวงศ์ Anacardiaceaeผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง มีเมล็ดอยู่ภายในคั่วแล้วกินได้ ยางเป็นพิษ ก้านผลอวบนํ้าลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตคือ เมล็ด.

มะม่วง ๒
น. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบ เกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรคชนิด Lymphogranuloma venereum เรียกว่า ฝีมะม่วง.

มะม่าว
(กลอน) ก. เมื่อยล้า, อ่อนเพลีย. ว. เผือด, เศร้า.

มะมี่
(กลอน) ก. มี่, อึงมี่, เอิกเกริก, แซ่, อึกทึก.

มะมื่น
ดู กระบก.

มะมุด
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Mangifera foetida Lour. ในวงศ์ Anacardiaceaeมีในภาคใต้ ต้นและใบคล้ายมะม่วง ผลดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานอมเปรี้ยว, มุด ก็เรียก.

มะเมอ
ก. ละเมอ.

มะเมีย
น. ชื่อปีที่ ๗ ของรอบปีนักษัตร มีม้าเป็นเครื่องหมาย.

มะเมื่อย, มะเหมื่อย
(กลอน) ว. เรื่อย ๆ, มาเนือง ๆ, มาติด ๆ กัน, ใช้ เหมื่อย ๆ ก็ได้.

มะเมื่อย, มะเหมื่อย
(กลอน) ว. เรื่อย ๆ, มาเนือง ๆ, มาติด ๆ กัน, ใช้ เหมื่อย ๆ ก็ได้.

มะแม
น. ชื่อปีที่ ๘ ของรอบปีนักษัตร มีแพะเป็นเครื่องหมาย.

มะยง
น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ.

มะยงชิด
น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสหวานแหลม.

มะยม
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Phyllanthus acidus (L.) Skeels ในวงศ์ Euphorbiaceaeผลกลมเป็นเฟือง ๆ รสเปรี้ยว.

มะระ
น. ชื่อไม้เถาชนิด Momordica charantia L. ในวงศ์ Cucurbitaceaeผลขรุขระ รสขม กินได้, ผักไห่ ก็เรียก.

มะริด
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros philippensis (Desr.) G?rke. ในวงศ์Ebenaceae แก่นดํา ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ เช่น หีบ.

มะรืน
น. วันถัดจากวันพรุ่งนี้ไปวันหนึ่ง.

มะรุม
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Moringa oleifera Lam. ในวงศ์ Moringaceae ฝักยาว กินได้.(เทียบทมิฬ มุรุงไก).

มะรุมมะตุ้ม
ว. กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ เช่น เจ้าหนี้มามะรุมมะตุ้มทวงหนี้กัน, มารุมมาตุ้ม ก็ว่า.

มะเร็ง
น. เนื้องอกชนิดร้าย เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้ รักษาไม่ค่อยหาย. (อ. cancer).

มะเร็งกรามช้าง
น. โรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา.

มะเรื่อง
น. วันถัดจากวันมะรืนไปวันหนึ่ง.

มะโรง
น. ชื่อปีที่ ๕ ของรอบปีนักษัตร มีงูใหญ่เป็นเครื่องหมาย.

มะลอกมะแลก
ว. ม่อลอกม่อแลก.

มะละกอ
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Carica papaya L. ในวงศ์ Caricaceae ใบหยักหยาบ ๆ ก้านยาว ผลกินได้.

มะลารอกัน
น. มะลิซ้อน. (ช.).

มะลำ, มาลำ
น. เวลาคํ่ามืด, กลางคืน. (ช.).

มะลำ, มาลำ
น. เวลาคํ่ามืด, กลางคืน. (ช.).

มะลิ ๑
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Jasminum sambac (L.) Ait. ในวงศ์ Oleaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอมเย็น,พันธุ์ดอกซ้อนเรียก มะลิซ้อน. (เทียบ ส. มลฺลิ).

มะลิซ่อม
น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Jasminum multiflorum (Burm.f.) Andr.ในวงศ์ Oleaceae ในวรรณคดีเรียก มะลุลี.

มะลิ ๒
ดู กล้วย ๒.

มะลิน
(โบ) น. ต้นกระบก.

มะลิ่ม
น. ชื่อเพลงไทย มีหลายชนิด.

มะลิลอย
ดูใน กินสี่ถ้วย.

มะลิเลื้อย
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

มะลิอ่อง
(ถิ่น-พายัพ) น. กล้วยนํ้าว้า. (ดู นํ้าว้า).

มะลื่น
ดู กระบก.

มะลืมดำ
ดู กระไดลิง ๒.

มะลุลี
ดู มะลิซ่อม ที่ มะลิ ๑.

มะวาร, มาวาร
น. กุหลาบ. (ช.).

มะวาร, มาวาร
น. กุหลาบ. (ช.).

มะแว้ง
น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceaeที่เป็นไม้พุ่มเรียก มะแว้งต้น เช่น ชนิด S. sanitwongsei Craib, ที่เป็นเถาเรียก มะแว้งเครือ (S. trilobatum L.), ทั้ง ๒ ชนิดผลเล็กเป็นพวงกินได้ และใช้ทํายาได้, อีสานเรียก หมากแข้ง.

มะสัง
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Feroniella lucida (R. Scheffer) Swing. ในวงศ์ Rutaceae กิ่งมีหนามใบคล้ายใบมะขวิด แต่ผลเล็กกว่า รสเปรี้ยว, อีสานเรียก กะสัง หรือ สัง.

มะเส็ง
น. ชื่อปีที่ ๖ ของรอบปีนักษัตร มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย.

มะหลิ่ม
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม หรือ ปะหลิ่ม ก็ว่า.

มะหวด
น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.ในวงศ์ Sapindaceae ผลออกเป็นช่อ สุกสีเหมือนลูกหว้า กินได้ รสหวานปะแล่ม ๆ,ปักษ์ใต้เรียก กําชํา หรือ กําซํา.

มะหะหมัด
น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มุฮัมมัด ก็เรียก.

มะหัล
ว. แพง; หายาก. (ช.).

มะหาด
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Artocarpus วงศ์ Moraceaeเช่น ชนิด A. lakoocha Roxb. ผลกลม ผิวขรุขระคล้ายขนุน แต่เล็กกว่ามากรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แก่นใช้ทํายาได้.

มะหิ่ง, หมากหิ่ง
(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ลูกกระพรวน.

มะเหงก
[-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบคํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก.

มะอึก
น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Solanum stramonifolium Jacq. ในวงศ์ Solanaceae ต้นมีหนามใบและผลเป็นขน ผลกลม สุกสีเหลือง ใช้ผสมนํ้าพริกหรือแกงก็ได้.

มะฮอกกานี
น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Swietenia วงศ์ Meliaceae คือ มะฮอกกานีใบใหญ่(S. macrophylla King) และ มะฮอกกานีใบเล็ก [S. mahogani (L.) Jacq.],ทั้ง ๒ ชนิดเนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือนได้ดี.

มัก
ก. ชอบ, พอใจ, เช่น เลือกที่รักมักที่ชัง. ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เนือง ๆ, เช่นมักมีอันเป็นไปต่าง ๆ มักเป็นคนขี้ลืม.

มักคุ้น, มักจี่
ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่.

มักคุ้น, มักจี่
ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่.

มักง่าย
ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า.

มักจะ
ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เช่น คนเกิดวันศุกร์มักจะปากหวาน.

มักได้
ก. เห็นแก่ได้.

มักน้อย
ก. ปรารถนาน้อย, สันโดษ.

มักมาก
ก. โลภมาก, ปรารถนามาก (ใช้เฉพาะในทางกามคุณ).

มักใหญ่
ก. ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต, มักใช้เข้าคู่กับคํา ใฝ่สูง เป็น มักใหญ่ใฝ่สูง.

มักกะโรนี
น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีเป็นเส้นกลวงยาวหรือเป็นรูปอื่น ๆ เวลาจะนำมาปรุงต้องต้มให้สุก มักใช้ผัดหรือทำแกงจืด,มะกะโรนี ก็เรียก. (อ. macaroni).

มักกะลีผล
(โบ) น. ชื่อต้นไม้ในนิยาย ว่ามีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ออกผลเป็นรูปหญิงสาวงดงามห้อยย้อยเป็นระย้า ผลเมื่อครบ ๗ วันก็เน่า, นารีผล ก็เรียก.

มักกะสัน
น. ชื่อชนชาติชาวอินโดนีเซียในมากัสซาร์ตอนใต้เกาะเซเลบีส, โดยปริยายหมายความว่า มีรูปร่างใหญ่โต ดุร้าย น่าเกลียดน่ากลัว เช่น รูปร่างอย่างกับยักษ์มักกะสัน.

มักขะ
น. ความลบหลู่คุณท่าน (เป็นประการหนึ่งในอุปกิเลส ๑๖). (ป.).

มั่กขั้ก
ว. ลํ่า (มักใช้แก่คำอ้วน).

มักขิกา, มักขิกาชาติ
น. แมลงวัน. (ป.).

มักขิกา, มักขิกาชาติ
น. แมลงวัน. (ป.).

มักฏกะ
[มักกะตะกะ] (แบบ) น. แมงมุม. (ป. มกฺกฏก; ส. มรฺกฏก).

มักฏะ
[มักกะตะ] (แบบ) น. ลิง. (ป. มกฺกฏ; ส. มรฺกฏ).

มัค-, มัคคะ
[มักคะ-] (แบบ) น. ทาง. (ดู มรรค). (ป. มคฺค; ส. มรฺค).

มัค-, มัคคะ
[มักคะ-] (แบบ) น. ทาง. (ดู มรรค). (ป. มคฺค; ส. มรฺค).

มัคนายก
น. 'ผู้นําทาง' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญ

มัคนายก
ทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด.(ป. มคฺค + นายก).

มัคคุเทศก์
น. ผู้นําทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นําเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).

มัคสิระ
[-คะสิระ] น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม.(ป. มคฺคสิร, มาคสิร; ส. มารฺคศิรสฺ).

มัฆวา, มัฆวาน
น. พระอินทร์. (ป. มฆวา, มฆวนฺตุ; ส. มฆวนฺ).

มัฆวา, มัฆวาน
น. พระอินทร์. (ป. มฆวา, มฆวนฺตุ; ส. มฆวนฺ).

มั่ง
ก. มี, มีมาก. (ปาก) ว. บ้าง เช่น ขอมั่งซี.

มั่งคั่ง
ว. มีทรัพย์มากมาย, มีทรัพย์ล้นเหลือ, มีทรัพย์มาก.

มั่งมี
ว. มีเงินมาก.

มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก
(สํา) ก. คิดฝันในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้, คิดสมบัติบ้า,สร้างวิมานในอากาศ.

มังกง
น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลงปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลําตัวและครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดํามีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ในนํ้ากร่อยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.

มังกร ๑
น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีน มีเขา; ชื่อกลุ่มดาวรูปมังกรเรียกว่า ราศีมังกร เป็นราศีที่ ๙ ในจักรราศี.

มังกร ๒
น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล Muraenesox วงศ์ Muraenesocidaeลําตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากกว้างจะงอยปากบนยาวลํ้ากรามล่าง ฟันคม แข็งแรง ครีบอกใหญ่พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลอ่อนปนเหลืองหรือคลํ้า ด้านท้องสีขาวขอบครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางสีดํา ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร,ยอดจาก เงี้ยว หลด หรือ ไหล ก็เรียก.

มังกร ๓
น. กุ้งมังกร. (ดู หัวโขน ๓).

มังกุ ๑
น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่นเอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ.

มังกุ ๒
ว. เก้อ, กระดาก. (ป.).

มังคละ
(แบบ) น. มงคล. (ป., ส.).

มังค่า
ว. คําประกอบคํา ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อแคว้นเบงกอล.

มังคุด
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia mangostana L. ในวงศ์ Guttiferae ผลกลม เมื่อแก่สีแดงคลํ้าเปลือกมีรสฝาดใช้ทํายาได้ เนื้อในขาว รสหวานอมเปรี้ยว.

มังตาน
น. ชื่อไม้ต้นชนิด Schima wallichii (DC.) Korth. ในวงศ์ Theaceaeเปลือกชั้นในระคายผิวหนังทําให้เป็นเม็ดผื่นคัน ใช้เบื่อปลาได้,ปักษ์ใต้เรียก พันตัน.

มังส-, มังสะ, มางสะ
น. เนื้อของคนและสัตว์. (ป.).

มังส-, มังสะ, มางสะ
น. เนื้อของคนและสัตว์. (ป.).

มังส-, มังสะ, มางสะ
น. เนื้อของคนและสัตว์. (ป.).

มังสวิรัติ
น. การงดเว้นกินเนื้อสัตว์, เรียกอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์มีแต่พืชผัก ว่า อาหารมังสวิรัติ.

มังสี ๑
น. พานรูปรีใช้รองสังข์รดนํ้าเป็นต้น.

มังสี ๒
(กลอน) ว. เนื้องาม, ผิวงาม, เช่น เฉกโฉมแม่มังสี เสาวภาคย์ กูเอย. (นิ. นรินทร์).

มังหงัน
น. ดอกมะพร้าว. (ช.).

มัจจะ
น. ผู้ที่ต้องตาย ได้แก่พวกมนุษย์ ดิรัจฉาน. (ป.).

มัจจุ
น. ความตาย. (ป.; ส. มฺฤตฺยุ).

มัจจุราช
น. 'เจ้าแห่งความตาย' คือ พญายม. (ป.).

มัจฉระ
ว. ริษยา; ตระหนี่, เห็นแก่ตัว. (ป.; ส. มตฺสร).

มัจฉริยะ
น. ความตระหนี่. (ป.; ส. มาตฺสรฺย).

มัจฉรี
น. คนตระหนี่. (ป.; ส. มตฺสรินฺ).

มัจฉะ, มัจฉา
น. ปลา. (ป. มจฺฉ; ส. มตฺสฺย).

มัจฉะ, มัจฉา
น. ปลา. (ป. มจฺฉ; ส. มตฺสฺย).

มัจฉาชาติ
น. พวกปลา.

มัช-, มัชชะ
[มัดชะ-] น. นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).

มัช-, มัชชะ
[มัดชะ-] น. นํ้าเมา, ของเมา. (ป. มชฺช).

มัชวิรัติ
น. การงดเว้นของมึนเมา. (ป. มชฺชวิรติ).

มัชชาระ
[มัดชาระ] น. แมว. (ป.; ส. มารฺชาร).

มัชฌ-
[มัดชะ-] น. ท่ามกลาง. (ป.; ส. มธฺย).

มัชฌันติก-
[มัดชันติกะ-] น. เวลาเที่ยงวัน, คู่กับ วิมัชฌันติก ว่า เวลาเที่ยงคืน. (ป.).

มัชฌันติกสมัย
น. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).

มัชฌิม-
[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).

มัชฌิมชนบท
น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.

มัชฌิมนิกาย
น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่าหมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).

มัชฌิมบุรุษ
น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.

มัชฌิมประเทศ
[มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง.

มัชฌิมภูมิ
[-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้นคือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ,และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).

มัชฌิมยาม
[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยามปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกาถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

มัชฌิมวัย
[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. วัยกลางคน.

มัชฌิมา
ว. ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา. (ราชา)น. นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา. (ป.; ส. มธฺยมา).

มัชฌิมาปฏิปทา
น. ทางสายกลาง. (ป.).

มัชฌิมา
ดู มัชฌิม-.

มัชฌิมาปฏิปทา
ดู มัชฌิม-.

มัญจกะ, มัญจา
[มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).

มัญจกะ, มัญจา
[มันจะกะ, มันจา] น. เตียง, ที่นอน. (ป., ส. มญฺจ, มญฺจก).

มัญชิษฐะ, มัญชิษฐา
[มันชิดถะ, มันชิดถา] น. ฝาง. (ส.; ป. มญฺเชฏฺ?).

มัญชิษฐะ, มัญชิษฐา
[มันชิดถะ, มันชิดถา] น. ฝาง. (ส.; ป. มญฺเชฏฺ?).

มัญชีร-
[มันชีระ-] น. กําไลเท้า. (ส.).

มัญชุ
ว. ไพเราะ. (ป., ส.).

มัญชุสา, มัญชูสา
น. ลุ้ง, หีบ. (ป.).

มัญชุสา, มัญชูสา
น. ลุ้ง, หีบ. (ป.).

มัญเชฏฐะ ๑
ว. สีฝาง, สีแสดแก่. (ป.; ส. มญฺชิษฺ?).

มัญเชฏฐะ ๒, มัญเชฏฐิกา
น. ฝาง. (ป., ส. มญฺชิษฺ?า).

มัญเชฏฐะ ๒, มัญเชฏฐิกา
น. ฝาง. (ป., ส. มญฺชิษฺ?า).

มัญเชฏฐิกากร
น. ส่วยฝาง. (ป.).

มัญเชียร
น. กําไลเท้า. (ส. มญฺชีร).

มัฏฐะ
ว. เกลี้ยง. (ป. มฏฺ?; ส. มฺฤษฺฏ).

มัณฑ-
น. มณฑ์, ของที่เป็นมัน; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).

มัณฑน-, มัณฑนา
[มันทะนะ-] น. เครื่องประดับ; การแต่ง. (ป., ส.).

มัณฑน-, มัณฑนา
[มันทะนะ-] น. เครื่องประดับ; การแต่ง. (ป., ส.).

มัณฑนศิลป์
น. ศิลปะการออกแบบและตกแต่งผลิตกรรมหรืองานช่างต่าง ๆ.

มัณฑุก-
[มันทุกะ-] น. กบ (สัตว์). (ป., ส. มณฺฑูก).

มัด
ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.

มัดจำ
(กฎ) น. สิ่งที่ให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทําสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย.

มัดเชื้อเพลิง
น. คบไฟ, คบเพลิง.

มัดมือชก
(สํา) ก. บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้.

มัดหมี่
น. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.

มัดหมู
น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, ทิ้งมะพร้าวห้าว ก็ว่า.

มัดหวาย
น. เรียกลายนิ้วมือที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอยว่าลายมัดหวาย.

มัตตะ ๑
น. ประมาณ. (ป.; ส. มาตฺร).

มัตตัญญู
น. ผู้รู้ประมาณคือความพอเหมาะพอดี. (ป.).

มัตตะ ๒
ก. เมา, มึนเมา. (ป.; ส. มาตฺร).

มัตตัญญู
ดู มัตตะ ๑.

มัตตา
น. มาตรา. (ป. มตฺต; ส. มาตฺรา).

มัตติกา
น. ดิน, ดินเหนียว. (ป. มตฺติกา; ส. มฺฤตฺติกา).

มัตถกะ
[มัดถะกะ] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ป. มตฺถก; ส. มสฺตก).

มัตถลุงค์
[มัดถะลุง] น. มันสมอง. (ป.).

มัตสยะ, มัตสยา
[มัดสะยะ, มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย; ป. มจฺฉ).

มัตสยะ, มัตสยา
[มัดสะยะ, มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย; ป. มจฺฉ).

มัตสรรย์
[มัดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).

มัตสระ
[มัดสะระ] ว. ตระหนี่, เห็นแก่ตัว, ริษยา. (ส. มตฺสร; ป. มจฺฉร).

มัตสริน
[มัดสะริน] น. คนตระหนี่. (ส. มตฺสรินฺ; ป. มจฺฉรี).

มัตสริน
ดู มัตสระ.

มัททวะ
น. ความอ่อนโยน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).

มัทนะ ๑
[มัดทะนะ] น. การยํ่ายี, การบด, การทําลาย. (ป. มทฺทน; ส. มรฺทน).

มัทนะ ๒
[มัดทะนะ] น. กามเทพ. (ป., ส. มทน).

มัทนียะ
[มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).

มัทยะ
[มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทําให้เมา, ซึ่งทําให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).

มัธย-
[มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).

มัธยฐาน
(คณิต) น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลางของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น.

มัธยม, มัธยม-
[มัดทะยม, มัดทะยมมะ-] ว. กลาง, ปานกลาง. (ส.).

มัธยม, มัธยม-
[มัดทะยม, มัดทะยมมะ-] ว. กลาง, ปานกลาง. (ส.).

มัธยมกาล
น. เวลาของตําบลใดตําบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้เป็นเวลากลางสําหรับประเทศ.

มัธยมศึกษา
[มัดทะยมมะ-, มัดทะยม-] น. การศึกษาระหว่างประถมศึกษากับอุดมศึกษา.

มัธยมา
[มัดทะยะมา] ว. มัชฌิมา, ปานกลาง. (ส.).

มัธยมา
ดู มัธยม, มัธยม-.

มัธยันห์
[มัดทะยัน] น. เวลากลางวัน, เที่ยงวัน. (ส. มธฺยาหฺน).

มัธยัสถ์
[มัดทะยัด] ก. ใช้จ่ายอย่างประหยัด. (ส. มธฺยสฺถ ว่า ปานกลาง, ตั้งอยู่ในท่ามกลาง).

มัน ๑
น. ชื่อเรียกไม้เถาหรือไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ที่หัวใช้เป็นอาหารได้.

มันแกว
น. ชื่อมันชนิด Pachyrhizus erosus (L.) Urban ในวงศ์Leguminosae ใช้กินดิบ ๆ มีรสชืด ๆ หรือหวานน้อย ๆ เมล็ดเป็นพิษ,พายัพเรียก มันแกวลาว.

มันขี้หนู
ดู ขี้หนู ๑ (๒).

มันเทศ
น. ชื่อมันชนิด Ipomoea batatas (L.) Lam. ในวงศ์Convolvulaceae ยอดทําให้สุกแล้วกินได้, พายัพเรียก มันแกว.

มันนก
น. ชื่อมันหลายชนิดในสกุล Dioscorea วงศ์ Dioscoreaceaeเช่น ชนิด D. inopinata Prain et Burk. หัวกินได้.

มันฝรั่ง
น. ชื่อมันชนิด Solanum tuberosum L. ในวงศ์ Solanaceaeตาที่กําลังงอกจากหัวเป็นพิษ.

มันเสา
น. ชื่อมันชนิด Dioscorea alata L. ในวงศ์ Dioscoreaceaeเถามีครีบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน ผิวเรียบ, มันจาวมะพร้าว ก็เรียก.

มัน ๒
น. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ มีไขมันอยู่ในตัวเช่น มันหมู มันไก่.

มันแข็ง
น. มันของหมูที่ติดอยู่กับหนัง.

มันเปลว
น. มันที่ติดอยู่ที่พุงและลำไส้.

มันสมอง
น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่นเป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.

มัน ๓
ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สําหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สําหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสําหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

มัน ๔
ก. เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ, เช่น เกาเสียมัน.

มันเขี้ยว
ก. อยากกัดอยากกินอยู่เรื่อย ๆ.

มันมือ
ก. อยากใช้มือเล่นหรือทำเป็นต้นอยู่เรื่อย ๆ.

มัน ๕
ว. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว; เป็นเงา, ขึ้นเงา, เช่น เหงื่อออกหน้าเป็นมัน.มันแปลบ ว. มันเป็นเงาวับ, มันปลาบ หรือ มันแผล็บ ก็ว่า.

มันย่อง
ว. มันจนมีน้ำมันเยิ้มหรือลอยเป็นฝาขึ้นมา.

มันเยิ้ม
ว. มันมากจนแทบจะหยด.

มั่น
ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.

มั่นคง
ว. แน่นหนาและทนทาน เช่น เก็บของไว้ในห้องนั้นมั่นคงดี;ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น เช่น ใจคอมั่นคง.

มั่นใจ
ก. แน่ใจ, เชื่อใจ, เช่น คราวนี้มั่นใจว่าจะต้องสอบได้.

มั่นหมาย
ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่ เช่น เขามั่นหมายว่าจะได้งานทำ, หมายมั่น ก็ว่า.

มั่นเหมาะ
ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน.

มันดี
น. ที่อาบนํ้า. ก. อาบนํ้า. (ช.).

มันตา
น. ความรู้, ปัญญา. (ป.).

มันถะ
น. ข้าวตูก้อน. (ป.).

มันทิระ, มันทิราลัย
น. มนเทียร, เรือนหลวง. (ป., ส.).

มันทิระ, มันทิราลัย
น. มนเทียร, เรือนหลวง. (ป., ส.).

มันปลา
ดู กันเกรา.

มันปู
ว. สีแดงเจือเหลืองกับดํา เช่น พระเครื่องเนื้อสีมันปู โลหะที่เก็บไว้นาน ๆ จะออกสีมันปู. น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้าว่า ข้าวมันปู.

มันไส้
ก. ชังนํ้าหน้า เช่น ยิ่งโกรธาหุนหันมันไส้. (ไชยเชฐ), หมั่นไส้ ก็ว่า.

มับ
ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่นคว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.

มับ ๆ
ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, หมับ ๆ ก็ว่า.

มั้ม
น. ปลาร้าญวน ทําด้วยปลาดิบหมักเกลือใส่ข้าวคั่ว เรียกว่า ปลามั้ม.

มัมมี่
น. ศพอาบนํ้ายากันเน่าเปื่อยของชาวอียิปต์โบราณ. (อ. mummy).

มัย ๑
น. ม้า, ลา, อูฐ. (ป., ส. มย).

มัย ๒
ว. สําเร็จด้วย, แล้วด้วย, ประกอบด้วย, (ใช้ประกอบท้ายสมาส เช่นมโนมัย ว่า สำเร็จด้วยใจ, กุศลมัย ว่า แล้วด้วยกุศล, ตฤณมัย ว่าประกอบด้วยหญ้า). (ป., ส. มย).

มัลกะ
[มันละกะ] น. ถ้วย, ขันนํ้า. (ป. มลฺลก).

มัลละ
[มันละ] น. นักมวย, มวยปลํ้า. (ป., ส.).

มัลลิกา
น. ดอกมะลิ. (ป., ส.).

มัว, มัว ๆ
ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้าเช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืดไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว;อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.

มัว, มัว ๆ
ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้าเช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืดไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว;อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.

มัวซัว
ว. ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน, ไม่สดชื่น, เช่นหูตามัวซัว ผ้าสีตกมัวซัว.

มัวแต่
ว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.

มัวพะวง
ว. มัวเป็นห่วงกังวล.

มัวมอม
ว. แปดเปื้อนด้วยสีดํา ๆ ตามร่างกาย.

มัวเมา
ว. หลงละเลิง, เมามัว ก็ว่า.

มัวเมีย
ก. งัวเงีย.

มัวหมอง
ว. มีมลทิน, ไม่บริสุทธิ์.

มั่ว
ก. สุมกัน, รวมกัน, ออกัน, ประชุม; ปะปนกันจนแยกไม่ออก เช่น วางของมั่วไปหมด.

มั่วมูล
ก. มีมาก, ประชุมกันมาก.

มั่วสุม
ก. ชุมนุมกันเพื่อกระทําการในทางไม่ดี เช่น มั่วสุมเล่นการพนัน.

มัศยา
[มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย, มตฺสฺยา; ป. มจฺฉ, มจฺฉา).

มัสดก
[มัดสะดก] น. หัว, กระหม่อม; ยอด, ที่สุด. (ส. มสฺตก; ป. มตฺถก).

มัสดุ, มัสตุ
[มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).

มัสดุ, มัสตุ
[มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).

มัสตาร์ด ๑
น. เครื่องปรุงรสชนิดหนึ่ง ทําจากเมล็ดของพืชล้มลุกหลายชนิดในสกุล Brassicaวงศ์ Cruciferae สีเหลือง รสเผ็ด. (อ. mustard).

มัสตาร์ด ๒
น. สารพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดเอทิลซัลไฟด์(dichloro diethylsulphide) มีสูตร (CH2CH2Cl)2 S ลักษณะเป็นของเหลวคล้ายนํ้ามัน เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกกันว่า แก๊สมัสตาร์ด.

มัสมั่น
[มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิมใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวานและออกเปรี้ยวเล็กน้อย.

มัสยิด
[มัดสะ-] น. สถานที่ซึ่งอิสลามิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม, สุเหร่า ก็เรียก.

มัสรู่ ๑
[มัดสะหฺรู่] น. ชื่อผ้าไหมมีริ้วเป็นสีต่าง ๆ, เข้มขาบไหม ก็เรียก. (ฮ. มัศรู; ม. มิสรู).

มัสรู่ ๒
[มัดสะหฺรู่] น. แกงเผ็ดอย่างมุสลิม.

มัสลิน
[มัดสะลิน] น. ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดและบาง. (อ. muslin).

มัสสุ
น. หนวด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมัสสุ. (ป.).

มา ๑
น. พระจันทร์. (ป.; ส. มาสฺ).

มา ๒
ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย,ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นานมาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูดเช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.

มาแขก
ก. แปลก, ประหลาด; จรมา, มาสู่.

มาเหนือเมฆ
(สํา) ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.

ม้า ๑
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus caballus ในวงศ์ Equidae เป็นสัตว์กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว ใช้เป็นพาหนะขับขี่และเทียมรถ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง,ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า ดาวอัศวยุช หรือ ดาวอัสสนี ก็เรียก; เครื่องรองนั่งและรองสิ่งของ มีขาเป็นรูปต่าง ๆ; เรียกตัวหมากรุกที่แกะเป็นรูปม้า.

ม้าใช้
น. คนขี่ม้าสําหรับรับใช้, คนเร็วสําหรับส่งข่าวสาร, คนรับใช้ติดต่อ.

ม้าดีดกะโหลก
(สํา) ก. มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย(มักใช้แก่ผู้หญิง).

ม้าต้น
น. ม้าพระที่นั่งโดยเฉพาะ.

ม้าเทศ
น. ม้าขนาดใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ.

ม้าน้ำ ๑
น. ชื่อสัตว์ในวรรณคดี ท่อนบนเป็นม้า ท่อนล่างเป็นปลา.

ม้ามืด
น. ม้าแข่งที่ชนะโดยไม่มีใครนึกคาดไว้, โดยปริยายหมายถึงเรื่องอื่นในอาการเช่นนั้น.

ม้าเร็ว
น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึกแล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.

ม้าลาย
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidaeรูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตาเห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็กขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกามีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป.

ม้า ๒
น. ชื่อปูทะเลชนิด Portunus pelagicus ในวงศ์ Portunidaeกระดองสาก ตัวผู้สีออกนํ้าเงิน ตัวเมียสีออกนํ้าตาล.

ม้า ๓
น. ชื่อปลาชนิด Boesemania microlepis ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัวกว้างมากในแนวอกและท้อง ลาดแอ่นลงไปสุดปลายหัว และเรียวเล็กลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลายแหลม ครีบท้องมีปลายยาวเป็นเส้น เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่นชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายแหลมของครีบหาง ลําตัวและหัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ดพบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียกกวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว.

มาก
ว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก.มากขี้ควายหลายขี้ช้าง (สํา) ว. มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้.

มากมาย, มากมายก่ายกอง
ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมายก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.

มากมาย, มากมายก่ายกอง
ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมายก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.

มากหน้าหลายตา
ว. มากมาย (ใช้แก่คน) เช่น ผู้คนมากหน้าหลายตา.

มากหมอมากความ
(สํา) ว. หลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้.

มาคสิร-, มาคสิระ
[-คะสิระ] น. ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๕; ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,เดือนอ้าย ตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

มาคสิร-, มาคสิระ
[-คะสิระ] น. ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๕; ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,เดือนอ้าย ตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

มาฆ-, มาฆะ ๑
[-คะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๓ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนกุมภาพันธ์. (ป., ส.).

มาฆ-, มาฆะ ๑
[-คะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๓ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนกุมภาพันธ์. (ป., ส.).

มาฆบูชา
น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น,(วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).

มาฆะ ๒, มฆะ, มฆา
[-, มะคะ, มะคา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรืองอนไถ,ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).

มาฆะ ๒, มฆะ, มฆา
[-, มะคะ, มะคา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรืองอนไถ,ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).

มาฆะ ๒, มฆะ, มฆา
[-, มะคะ, มะคา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรืองอนไถ,ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).

ม้าง
ก. ล้าง, ทําลาย, รื้อ.

มางสะ
น. เนื้อของคนและสัตว์. (ส. มําส; ป. มํส).

มาณพ
[-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.).

มาณวิกา
[มานะ-] น. หญิงสาว, หญิงรุ่น. (ป., ส.).

มาด ๑
น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๔ วา, ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ยังไม่ได้เบิก เรียกว่า มาดเรือโกลน หรือ ลูกมาด, ถ้ามีประทุน เรียกว่าเรือมาดประทุน, ถ้ามีเก๋ง เรียกว่า เรือมาดเก๋ง.

มาด ๒
(ปาก) น. ท่าทาง เช่น มาดเขาดี วางมาด.

มาด ๓
ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา มุ่ง เป็น มุ่งมาด.

มาดา
น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).

มาตงค์
น. ช้าง. (ป. มาตงฺค).

มาตร ๑, มาตร- ๑
[มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุมเช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).

มาตร ๑, มาตร- ๑
[มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุมเช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).

มาตรการ
[มาดตฺระ-] น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบหรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการปราบโจรผู้ร้าย; วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสําเร็จ เช่น วางมาตรการในการดําเนินงาน.

มาตรฐาน
[มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไปเช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน.

มาตร ๒, มาตร- ๒
[มาด] ว. สักว่า. สัน. สักว่า, แม้ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).

มาตร ๒, มาตร- ๒
[มาด] ว. สักว่า. สัน. สักว่า, แม้ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).

มาตรแม้น
[มาด-] สัน. หากว่า, แม้ว่า, เช่น มาตรแม้นดวงใจอยากได้คู่.

มาตรว่า
[มาด-] สัน. หากว่า, ถ้าว่า.

มาตรา
[มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่นมาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกดจัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกดจัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย,ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ;(ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

มาตราพฤติ
น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยมาตรา คือ กําหนดคําในฉันท์แต่ละคําเป็นมาตราส่วน เช่น คําครุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง๒ มาตรา คําลหุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.

มาตราส่วน
น. อัตราส่วนระหว่างระยะห่างในแผนที่หรือภาพเป็นต้นกับระยะห่างจริงหรือกับระยะห่างบนแผนที่หรือภาพอื่น.

มาตฤ
[-ตฺริ] น. มารดา, แม่. (ส. มาตฺฤ; ป. มาตา).

มาตฤกะ
[-ตฺริกะ] ว. มาจากแม่หรือเกี่ยวกับแม่, ข้างแม่, ฝ่ายแม่. (ส.).

มาตสรรย์
[มาดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา; ใช้ว่า มัตสรรย์ ก็มี. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).

มาตังคะ
[-ตังคะ] น. มาตงค์, ช้าง. (ป.).

มาตา
น. แม่. (ป.; ส. มาตฺฤ).

มาตามหะ
[มาตามะหะ] (ราชา) น. ตา คือ พ่อของแม่. (ป., ส.).

มาตามหัยกะ
[-มะไหยะกะ] (ราชา) น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).

มาตามหัยกา, มาตามหัยยิกา
[-มะไหยะกา, -มะไหยิกา] (ราชา) น. ย่าทวด, ยายทวด. (ป. มาตา + มหยฺยิกา).

มาตามหัยกา, มาตามหัยยิกา
[-มะไหยะกา, -มะไหยิกา] (ราชา) น. ย่าทวด, ยายทวด. (ป. มาตา + มหยฺยิกา).

มาตามหา
[มาตามะหา] (ราชา) น. ยาย. (ป.).

มาติกะ
ว. ฝ่ายมารดา, ของมารดา. (ป.).

มาติกา
[มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.; ส. มาตฺฤกา).

มาตี
น. เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.).

มาตุ
น. แม่. (ป.).

มาตุคาม
น. ผู้หญิง, เพศหญิง, (เป็นคำที่พระใช้เรียกผู้หญิง). (ป.).

มาตุฆาต
น. การฆ่าแม่. (ป.).

มาตุภูมิ
น. บ้านเกิดเมืองนอน.

มาตุจฉา
น. ป้า (ญาติฝ่ายแม่), น้าผู้หญิง. (ป.).

มาตุรงค์, มาตุเรศ
(กลอน) น. แม่.

มาตุรงค์, มาตุเรศ
(กลอน) น. แม่.

มาตุละ
น. ลุง (ญาติฝ่ายแม่), น้าชาย, ใช้ มาตุลา ก็มี. (ป., ส.).

มาตุลา
น. มาตุละ.

มาตุลานี
น. ป้าสะใภ้, น้าสะใภ้. (ป., ส.).

มาตุลุงค์
น. มะงั่ว. (ป.).

มาทนะ, มาทะ
[มาทะนะ] น. เครื่องทําให้เมา, เครื่องทําให้รื่นเริง. (ส.).

มาทนะ, มาทะ
[มาทะนะ] น. เครื่องทําให้เมา, เครื่องทําให้รื่นเริง. (ส.).

ม้าทลายโรง
น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Neuropeltis racemosa Wall. ในวงศ์ Convolvulaceaeใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ผลเล็ก มีปีกบางล้อมรอบเป็นแผ่นกลม.

มาธยมิกะ
[มาทะยะ-] น. ทางสายกลาง; ศูนยวาท. (ส. มาธฺยมิก).

มาธุระ, มาธูระ
(แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.

มาธุระ, มาธูระ
(แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.

มาธุสร
[มาทุสอน] น. มธุสร, เสียงหวาน.

มาน ๑
น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็งลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้องอาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่งพองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.

มานทะลุน
น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.

มาน ๒
น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).

มาน ๓
ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).

มาน ๔
(ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.

ม่าน ๑
น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทําด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น,โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.

ม่านตา
น. เยื่อผิวลูกตาสําหรับบังคับแสงให้เข้าตามากหรือน้อย.

ม่านบังตา
น. เครื่องบังหน้าต่างในระดับตา มักทำด้วยผ้า.

ม่านบังเพลิง
น. ฉากพับได้ติดกับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.

ม่านเมรุ
น. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.

ม่านสองไข
น. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สําหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.

ม่าน ๒
น. ชนชาติพม่า.

ม้าน
ก. เหี่ยวแห้ง; เผือดเพราะความอาย. น. เรียกข้าวที่ยืนต้นแห้งตายเพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนแล้งว่า ข้าวม้าน; เรียกหน้าที่เผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคนว่า หน้าม้าน.

มานพ
[-นบ] น. คน. (ป.). (มาจากศัพท์ มนุ).

ม่านลาย
น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาลมีลายสีนํ้าตาลอ่อน, กริวลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก.

ม่านอินทนิล
ดู สร้อยอินทนิล.

มานะ ๑
น. การวัด, การนับ, อัตราวัด. (ป., ส. มาน).

มานะ ๒
น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทนมีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).

มานัต
น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).

มานัส
น. ใจ. ว. เกี่ยวกับใจ. (ป., ส. มานส).

ม้าน้ำ ๑
ดูใน ม้า ๑.

ม้าน้ำ ๒
น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidaeลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดําบางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วนหางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้องขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.

มานิต
[-นิด] ว. ผู้ที่คนนับถือ, ผู้ที่คนยกย่อง. (ป., ส.).

มานี
น. คนมีมานะ. (ป., ส.).

มานุษ, มานุษย-
[มานุด, มานุดสะยะ-] น. คน, เพศคน. ว. เกี่ยวกับคน, ของคน. (ส.).

มานุษ, มานุษย-
[มานุด, มานุดสะยะ-] น. คน, เพศคน. ว. เกี่ยวกับคน, ของคน. (ส.).

มานุษยวิทยา
[มานุดสะยะ-, มานุด-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น.(อ. anthropology).

มาโนชญ์
[-โนด] ว. มโนชญ์, เป็นที่พอใจ, งาม. (ส.).

มาบ
น. บริเวณที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งอาจมีน้ำขังหรือไม่มีก็ได้.

มาปกะ
[-ปะกะ] น. ผู้ก่อสร้าง. (ป.).

มาภา
(แบบ) น. แสงจันทร์ เช่น มาพ่างมาภาเป็น ปิ่นแก้ว. (ยวนพ่าย).(ป. มา ว่า พระจันทร์ + อาภา ว่า แสงสว่าง).

ม้าม
น. อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทําลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดนํ้าเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย.

มาย
ก. ตวง, นับ. (ป.).

ม่าย
ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยังไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย,ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยายเรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมียเช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง),เขียนเป็น หม้าย ก็มี.

ม่ายขันหมาก
ว. เรียกหญิงที่คู่หมั้นตายหรือถอนหมั้นก่อนแต่งงาน.

ม่ายทรงเครื่อง
ว. เรียกแม่ม่ายที่มั่งมีว่า แม่ม่ายทรงเครื่อง.

ม่ายเมียง
ก. ทําอาการเมิน ๆ เมียง ๆ.

ม้าย่อง
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

มายัง
น. ดอกหมาก. (ช.).

มายา
น. มารยา, การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล. (ป., ส.).

มายากร
น. คนเล่นกล, คนแสดงกล.

มายากล
น. การเล่นกล, การแสดงกล.

มายาการ
น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.

มายาวี
น. ผู้มีมารยา, ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทําให้ลุ่มหลง, เจ้าเล่ห์. (ป., ส.).

มายาประสาน
ดู กําแพงขาว.

มาร, มาร-
[มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).

มาร, มาร-
[มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).

มารคอหอย
[มาน-] (ปาก) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้.

มารชิ, มารชิต
[มาระชิ, มาระชิด] น. 'ผู้ชนะมาร' คือ พระพุทธเจ้า.(ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).

มารชิ, มารชิต
[มาระชิ, มาระชิด] น. 'ผู้ชนะมาร' คือ พระพุทธเจ้า.(ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).

มารผจญ
[มาน-] ก. มารยกทัพมารบ, มารที่ยกทัพมาขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า; โดยปริยายหมายความว่า ขัดขวางไม่ให้สําเร็จประโยชน์.

มารวิชัย
[มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมารหรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).

มารสังคม
[มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.

มารหัวขน
[มาน-] (ปาก) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใครเป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ.

มาราธิราช
น. พญามาร. (ป.).

มารค
[มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มารดร, มารดา
[มานดอน, มานดา] น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).

มารดร, มารดา
[มานดอน, มานดา] น. แม่. (ป. มาตา; ส. มาตฺฤ).

มารยา
[มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยามารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).

มารยาสาไถย
น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.

มารยาท
[-ระยาด] น. มรรยาท, กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ.(ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).

มารศรี
[มาระสี] (แบบ) น. นาง, นางงาม.

มารษา
[มานสา] น. คําปด, คําเท็จ, คําไม่จริง. (ส. แผลงมาจาก มฺฤษา).

มาระ
ก. โกรธ. (ช.).

มาราธิราช
ดู มาร, มาร-.

ม้ารำ
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

มาริ
ก. มา. (ช.).

มาริต
ว. ถูกฆ่าแล้ว. (ป., ส.).

มารุต
น. ลม. ว. เกี่ยวแก่ลม, เนื่องจากลม. (ส.; ป. มารุต, มาลุต).

มารุมมาตุ้ม
ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้มทวงหนี้กันใหญ่.

มาลย์
(แบบ) น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง. (ป., ส. มาลฺย).

ม้าล่อ
น. แผ่นโลหะสัมฤทธิ์ รูปคล้ายถาด ตีให้มีเสียงดัง เป็นของจีนใช้.

มาลัย
น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้กลีบดอกไม้ และใบไม้มาร้อยด้วยเข็มแล้วรูดออกมาใส่ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, พวงมาลัย ก็เรียก. (เทียบทมิฬ มาไล).

มาลัยชายเดียว
น. มาลัยที่มีอุบะห้อยชายเพียงพวงเดียว, มาลัยมือมาลัยข้อมือ หรือ มาลัยเปีย ก็เรียก.

มาลัยชำร่วย
น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วยมีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.

มาลัยสองชาย
น. มาลัยที่มี ๒ ชาย มีอุบะห้อยข้างละ ๑ พวง.

มาลา
น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลมวงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพเรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ;สาย, แถว. (ป., ส.).

มาลากรรม
น. การช่างดอกไม้.

มาลาการ
น. ช่างทําดอกไม้. (ป., ส.).

มาลาตี
น. มะลิชนิดหนึ่ง. (ช.).

มาลาเรีย
น. ไข้จับสั่น.

มาลินี
น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๕ พยางค์; ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้(เฉพาะเพศหญิง). (ป., ส.).

มาลี ๑
น. ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้, เพศหญิงใช้ว่า มาลินี. (ป.; ส. มาลินฺ).

มาลี ๒
(กลอน) น. ดอกไม้ทั่วไป.

มาลุต
[-ลุด] น. ลม. (ป.; ส. มารุต).

มาศ
น. ทอง; กํามะถัน.

มาส ๑
น. พระจันทร์, เดือน. (ป., ส.).

มาส ๒
ดู ราชมาษ, ราชมาส.

มาสก
[มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).

ม้าสะบัดกีบ
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

มาห์, ม่าห์
น. ผี, ยักษ์, ผู้ไม่ใช่มนุษย์และดิรัจฉาน. (เทียบญวน หม่า).

มาห์, ม่าห์
น. ผี, ยักษ์, ผู้ไม่ใช่มนุษย์และดิรัจฉาน. (เทียบญวน หม่า).

มาหิส
ว. เกี่ยวกับควาย, เนื่องจากควาย. (ป.; ส. มาหิษ).

ม่าเหมี่ยว ๑
น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Martinus dermestoides ยาวประมาณ๗ มิลลิเมตร กว้างประมาณ ๓ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลเกือบดําตลอดทั้งลําตัว ขา และปีก กินเมล็ดบัวแห้ง ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้เชื่อกันว่าเป็นยากระตุ้นทางเพศ, กระดิ่งทอง ก็เรียก.

ม่าเหมี่ยว ๒
น. ชื่อชมพู่สาแหรกที่ผลสีแดงเข้ม.

มาฬก
[มา-ลก] น. พลับพลา, ปะรํา, โรงพิธี. (ป.).

ม้าอ้วน
น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งทําด้วยไข่นึ่งเป็นชิ้น ๆ.

มำเลือง
(กลอน) ว. เมลือง, งาม, รุ่งเรือง, เปล่งปลั่ง, สุกใส.

มิ ๑
ว. ไม่ เช่น มิทราบ มิควร มิบังอาจ.

มิดีมิร้าย
ว. ชั่วร้าย, ไม่สมควร; อาการที่ล่วงเกินในเชิงชู้สาว.

มิได้
ว. ไม่ได้, ไม่ใช่.

มิอย่ารา
ว. ไม่เลิก, ไม่หยุด.

มิอย่าเลย
ว. ไม่เลิกเลย, ไม่เป็นอย่างอื่นเลย.

มิหนำซ้ำ
ว. เท่านี้ยังไม่เพียงพอ, หนักยิ่งไปกว่านั้นอีก, เช่นตัดเท้าตัดกรแล้วมิหนำ ซ้ำฆ่าสุริย์วงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์).

มิ ๒
ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้.(บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).

มิค, มิค-, มิคะ
[มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).

มิค, มิค-, มิคะ
[มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).

มิค, มิค-, มิคะ
[มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).

มิคชาติ
น. เนื้อ, หมู่เนื้อ.

มิคลุท, มิคลุทกะ
[-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).

มิคลุท, มิคลุทกะ
[-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).

มิคเศียร, มิคสิร-, มิคสิระ ๑
น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

มิคเศียร, มิคสิร-, มิคสิระ ๑
น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

มิคเศียร, มิคสิร-, มิคสิระ ๑
น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ,เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

มิคสัญญี
น. ชื่อยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟันเบียดเบียนกัน. (ป.).

มิคสิระ ๒, มฤคศิระ, มฤคเศียร
[-, มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณีก็เรียก. (ป. มิคสิร; ส. มฺฤคศิรสฺ).

มิคสิระ ๒, มฤคศิระ, มฤคเศียร
[-, มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณีก็เรียก. (ป. มิคสิร; ส. มฺฤคศิรสฺ).

มิคสิระ ๒, มฤคศิระ, มฤคเศียร
[-, มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณีก็เรียก. (ป. มิคสิร; ส. มฺฤคศิรสฺ).

มิคี
น. แม่เนื้อ, นางเนื้อ. (ป.).

มิคี
ดู มิค, มิค-, มิคะ.

มิ่ง
น. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง.

มิ่งขวัญ
น. สิ่งหรือผู้เป็นที่รักหรือเคารพนับถือ.

มิ่งมงคล
น. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่.

มิ่งมิตร
น. เพื่อนรัก, เมียรัก.

มิ่งเมีย
น. เมียที่ถือว่านำสิ่งมงคลมาสู่สามีและครอบครัว.

มิงโค
น. รอบ ๗ วัน, สัปดาห์หนึ่ง. (ช.).

มิจฉา
[มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มถฺยา).

มิจฉากัมมันตะ
น. 'การงานอันผิด' คือ ประพฤติกายทุจริต. (ป.).

มิจฉาจริยา
น. การประพฤติผิด.

มิจฉาจาร
น. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).

มิจฉาชีพ
น. การหาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, อาชีพที่ผิดกฎหมาย, เช่นเขาประกอบมิจฉาชีพ. ว. ที่หาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, ที่ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย, เช่น พวกมิจฉาชีพ. (ป. มิจฺฉา + อาชีว).

มิจฉาทิฐิ
น. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).

มิจฉาบถ
น. ทางดําเนินผิด. (ป.).

มิจฉาวาจา
น. 'การเจรจาถ้อยคําผิด' คือ ประพฤติวจีทุจริต. (ป.).

มิจฉาวายามะ
น. ความพยายามผิด. (ป.).

มิจฉาสติ
น. ความระลึกในทางผิด. (ป.).

มิจฉาสมาธิ
น. สมาธิผิด, ความตั้งใจผิด. (ป.).

มิจฉาสังกัปปะ
น. ความดําริในทางที่ผิด. (ป.).

มิจฉาอาชีวะ
น. การเลี้ยงชีพในทางผิด.

มิญช-
[มินชะ-] น. เยื่อ, แก่นหรือเมล็ด. (ป.).

มิด
ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิดจมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึงอาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.

มิดชิด
ว. ลับตา, ไม่ให้ใครเห็น, เช่น ซ่อนให้มิดชิด, สนิทแนบเนียนเช่น ปิดประตูให้มิดชิด, เรียบร้อย เช่น ห่อให้มิดชิด.

มิดด้าม
ว. อาการที่ใช้มีดหรือของมีคมแทงเข้าไปจนจมถึงด้าม,สุดก้น สุดด้าม หรือ สุดลิ่ม ก็ว่า.

มิดน้ำ
ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.

มิดเม้น
ก. ซ่อนของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลับตา.

มิดเมี้ยน
ว. ลับจนมองไม่เห็น; แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ,กระมิดกระเมี้ยน ก็ว่า.

มิดหัว
ว. อาการที่หัวจมหายลงไปในน้ำ เช่น ดำน้ำจนมิดหัว.

มิดหมี
ว. มาก, สนิท, ใช้ประกอบหลังคํา ดํา เป็น ดํามิดหมี.

มิต-
[-ตะ-] ว. พอประมาณ, น้อย. (ป.).

มิตภาณี
น. คนพูดพอประมาณ. (ป.).

มิตร, มิตร-
[มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียมฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).

มิตร, มิตร-
[มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียมฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).

มิตรจิต
น. ความมีนํ้าใจเอื้อเฟื้อเสมือนเพื่อนรัก, ความรักใคร่ประนีประนอมฐานเพื่อนรัก, เช่น มีมิตรจิตต่อกัน.

มิตรจิตมิตรใจ
(สํา) น. ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เช่น ต่างก็มีมิตรจิตมิตรใจต่อกัน.

มิตรภาพ
น. ความเป็นเพื่อน เช่น มิตรภาพระหว่างเขาทั้งสอง. (ส.).

มิตรสหาย
[มิด-] น. เพื่อนฝูง.

มิติ ๑
น. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ,ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็นมิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทนกว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).

มิติ ๒
น. ด้าน, มุมมอง, เช่น เปิดมิติใหม่ของวงการภาพยนตร์.

มิเตอร์
น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และ มุม เช่น มิเตอร์น้ำมิเตอร์ไฟฟ้า, มาตร ก็ว่า. (อ. meter).

มิถยา
[มิดถะหฺยา] ว. มิจฉา. (ส. มิถฺยา; ป. มิจฺฉา).

มิถุน
น. ชื่อกลุ่มดาวราศีที่ ๒. (ป., ส. มิถุน ว่า คนคู่).

มิถุนายน
น. ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนมกราคมมี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนเมษายน. (ป., ส. มิถุน + อายน).

มิถุนายน
ดู มิถุน.

มิทธะ
[มิด-] น. ความท้อแท้, ความเชื่อมซึม. (ป., ส.).

มิทธี
[มิด-] ว. ท้อแท้, เชื่อมซึม. (ป.).

มินตรา
[-ตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).

มินตา
ก. ขอโทษ. (ช.).

มินหม้อ
น. เขม่าดําที่ติดก้นหม้อ, มักพูดเพี้ยนเป็น ดินหม้อ ก็มี.

มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า
คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.

มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า
คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.

มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า
คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.

มิ่ม
ดู มิ้ม ๒.

มิ้ม ๑
ก. เม้ม, ปิดริม, พับริม.

มิ้ม ๒
น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กชนิด Apis florea ผึ้งงานยาวประมาณ ๘ มิลลิเมตรอกกว้างประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร อาศัยอยู่รวมเป็นกลุ่ม ทํารังในที่โล่งแจ้งเป็นแผ่นเดี่ยว ๆ มีขนาดตั้งแต่ฝ่ามือไปจนถึง ๓๐ เซนติเมตรเมื่อเลี้ยงลูกโตแล้วจะทิ้งรังไปหาที่ใหม่ต่อไป, มิ่ม นิ่ม หรือ นิ้ม ก็เรียก.

มิยา
น. โต๊ะวางของ. (ช.).

มิไย
สัน. ถึงแม้, ถึงแม้ว่า, เช่น มิไยจะด่า หมายความว่า ถึงแม้จะด่า.

มิรันตี
น. ต้นดาวเรือง. (ช.).

มิลลิกรัม
น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของ ๑ กรัม,อักษรย่อว่า มก. (ฝ. milligramme).

มิลลิบาร์
(อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ มิลลิบาร์มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ ดายน์ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๐ นิวตันต่อตารางเมตร. (อ. millibar).

มิลลิเมตร
น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า มม. (ฝ. millim?tre).

มิลลิลิตร
น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐ของ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า มล. (ฝ. millilitre).

มิลักขะ, มิลักขู
น. คนป่าเถื่อน. (ป.).

มิลักขะ, มิลักขู
น. คนป่าเถื่อน. (ป.).

มิลาต
ว. เหี่ยว, โรย; อิดโรย, เมื่อย. (ป.).

มิศร-, มิศรก-
[มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).

มิศร-, มิศรก-
[มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).

มิส-, มิสก-
[มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).

มิส-, มิสก-
[มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).

มิสกวัน
น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวันปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน);ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.

มิสกรี
[มิดสะกฺรี] น. เสื้อที่ใช้ผ้าค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นเสื้อคอกลมผ่าหน้าลึกพอให้สวมได้ แขนเสื้อต่อเป็นเส้นตรง.

มิสซา
น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึงพระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้ายโดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทําพระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).

มี
ว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อมีข้าว ในห้องน้ำมีคน. ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่นมีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค,ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่เช่น มีคนอยู่ไหม.

มีแก่ใจ
ก. เอาใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, มีนํ้าใจ, มักกร่อนเป็น มีกะใจ.

มีครรภ์
ก. มีลูกอยู่ในท้อง, มีท้อง ก็ว่า.

มีชีวิตชีวา
ว. มีความสดชื่นคึกคัก.

มีชื่อ, มีชื่อเสียง
ว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.

มีชื่อ, มีชื่อเสียง
ว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.

มีชู้
ก. ล่วงประเวณีกับชายอื่นที่มิใช่สามีของตน.

มีตระกูล
ว. ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลสูง เช่น เขาเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล.

มีตาแต่หามีแววไม่
(สำ) ก. ดูแต่ไม่ลึกซึ้ง, เซ่อ.

มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว
(สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อยแต่กังวลจนนอนไม่หลับ.

มีท้อง
ก. มีลูกอยู่ในท้อง, มีครรภ์ ก็ว่า.

มีท้องมีไส้
(ปาก) ก. มีท้อง.

มีน้ำมีนวล
ว. มีสง่าราศี, มีผิวพรรณผ่องใส.

มีปากมีเสียง
ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน.

มีเฟื้องมีสลึง
(สํา) ก. มีเงินเล็กน้อย.

มีภาษีกว่า
(สํา) ว. ได้เปรียบ.

มีมือมีเท้า
ก. มีผู้คอยช่วยเหลือเปรียบเสมือนมือและเท้า.

มีเรือน
ว. มีครอบครัว, แต่งงานแล้ว, (ตามปรกติใช้แก่ผู้หญิง),มีเหย้ามีเรือน ก็ว่า

มีเสียง
ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.

มีหน้า
ว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น),มักใช้กับคํา ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก.

มีหน้ามีตา
ว. มีคนนับถือ, มีเกียรติ, ได้รับความยกย่อง.

มีหวัง
ก. มีโอกาสที่จะได้ดังที่หวัง.

มีอันจะกิน
ว. ค่อนข้างมั่งมี.

มีอันเป็น
ก. เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน (มักใช้ในทางร้ายมีภัยพิบัติเป็นต้น)เช่น ขอให้มีอันเป็นไปเถิด มีอันเป็นให้ป่วยไข้เวลามีนัด.

มีอายุ
ว. สูงอายุ, ย่างเข้าปัจฉิมวัย.

มี่
ว. อึกทึก, เสียงแซ่.

มี่ฉาว
ว. อึกทึก, เอิกเกริก, เกรียวกราว.

มีด
น. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็กเป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีกด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มีโคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้ามซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ใช้.

มีดกราย
น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว หัวตัด ใช้ถือกรีดกราย,พร้ากราย พร้าโอ หรือ มีดโอ ก็เรียก.

มีดกรีดกล้วย
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายแหลมโค้งงอด้ามทำด้วยไม้ ใช้กรีดหรือผ่าเปลือกกล้วยปิ้ง.

มีดกรีดยาง
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปงอเป็นขอคล้ายเคียวเกี่ยวข้าวใช้กรีดเปลือกต้นยางพารา.

มีดแกะ
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนยาวปลายตัดเฉียงและแหลมคมมีดอยู่ตรงปลายเฉียง มีด้าม ใช้ในงานแกะไม้.

มีดโกน
น. มีดสำหรับโกนผมหรือหนวดเคราเป็นต้น มีดโกนอย่างเก่ารูปร่างคล้ายมีดโต้ สันหนา คมบาง ปรกติมีฝักหุ้มส่วนคมมีดโกนอย่างใหม่ใบมีดยาวรี สันหนา คมบาง มีฝักหุ้มคมเช่นกันมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มีดโกนโมกุล.

มีดขอ
น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดยาว ปลายงอเป็นรูปขอ ด้ามยาว๑-๒ ศอก ใช้สำหรับเกี่ยว ตัด ลิด หรือราน, พร้าขอ ก็เรียก.

มีดควั่นอ้อย
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรูที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย.

มีดคว้าน
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรีคล้ายใบหญ้า มักทำด้วยทองเหลือง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ใช้ปอก จัก คว้านผลไม้.

มีดเจียนหนัง
น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นแผ่นแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีคมอยู่ตรงปลายมีดที่ตัดเผล้ ส่วนโคนมีกั่นโค้งงอคล้ายคอห่านสอดติดกับด้ามขนาดพอกำได้สะดวก ใช้ตัดเจียนหนังสัตว์.

มีดเจียนหมาก
น. มีดบางขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายเสี้ยวด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้เจียนหมาก.

มีดชายธง
น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.

มีดซุย
น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลมสันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.

มีดดาบ
น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝักดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่ามีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด,ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียงปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.

มีดตอก
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างป้าน ๆ สันหนา คมบาง ด้ามยาวและมีปลายงอนขึ้นคล้ายคันธนู ใช้จักตอก เหลาไม้หรือหวาย.

มีดต้องสู้
น. มีดขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายดาบ ปลายตัดเป็นหยักด้ามทำด้วยโลหะหรือไม้หุ้มโลหะ ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝัก เป็นมีดที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวต้องสู้.

มีดตัดกระดาษ
น. มีดขนาดเล็กหรือโลหะแบน ๆ อย่างมีด ใช้ตัดกระดาษหรือซองจดหมายเป็นต้น.

มีดโต้
น. มีดขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ใบมีดมีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผ่าเสี้ยวหัวโต สันหนา โคนมีดแคบ ด้ามทำด้วยไม้เป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีดขนาดสั้นพอมือกำ มีดโต้ขนาดใหญ่และกลาง ใช้ฟันหรือผ่าทั่วไปขนาดเล็กใช้กรีดหรือผ่าทุเรียนเป็นต้น, พร้าโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก.

มีดโต๊ะ
น. มีดขนาดกลางและเล็ก ใช้ตัดหรือเฉือนอาหาร เช่น เนื้อปลา ในเวลารับประทานอาหารแบบฝรั่ง.

มีดทอง
น. มีดขนาดกลางและเล็ก ทำด้วยทองเหลืองหรือทองม้าล่อใบมีดรูปยาวรี มีทั้งชนิดปลายมนและปลายเสี้ยว ด้ามมักทำด้วยเขาสัตว์ใช้ปอกผลไม้.

มีดแทงหยวก
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียว ปลายแหลมคล้ายใบข้าวมีคม ๒ ด้าน ด้ามสั้นพอกำ ใช้แทงหรือฉลุหยวกกล้วยทำเป็นลวดลายในงานเครื่องสด.

มีดบังตอ
น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันหนาและแอ่นโค้งด้ามทำด้วยไม้ขนาดสั้นพอมือกำ ใช้สับเนื้อและกระดูกหมูเป็นต้น.

มีดบาง
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดแบนยาว มีทั้งชนิดปลายมนและปลายเสี้ยว ด้ามทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้หั่น เฉือน หรือซอยผักหรือเนื้อเป็นต้น.

มีดปาดตาล
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายปลากราย ปลายแหลมสันหนา ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ คืบ ใช้ปาดงวงตาลหรืองวงมะพร้าว.

มีดแป๊ะกั๊ก
น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนาด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้าในกองทัพสมัยโบราณ.

มีดพก
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดหนายาวเรียว ปลายแหลม มีคมด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน ยาวประมาณ ๑ ฝ่ามือ ด้ามสั้นทำด้วยไม้ เขาสัตว์ หรืองาใช้พกเป็นอาวุธ.

มีดพับ
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดพับกลับเข้าไปซ่อนอยู่ในฝักซึ่งทำหน้าที่เป็นด้ามมีดอยู่ในตัวได้.

มีดพับสปริง
น. มีดพับที่มีสปริง มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเมื่อกดปุ่มหรือคานสปริงแล้วจึงจะง้างใบมีดออกหรือพับใบมีดเข้าร่องได้ กับอีกชนิดหนึ่ง เมื่อกดปุ่มหรือคานสปริงใบมีดจะดีดออกจากร่องหรือพับเข้าร่องได้.

มีดสปริง
น. มีดที่มีปุ่มสำหรับกดให้ใบมีดพุ่งออกมาหรือถอยกลับเข้าที่เดิมได้.

มีดสองคม
น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่มีคมทั้ง ๒ ด้าน.

มีดสั้น
น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่สันบางกว่า.

มีดสับหมู
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างหนายาวประมาณ ๑ คืบด้ามเป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีดขนาดพอมือกำถ้าเป็นแบบที่ใช้ในครัวมักทำสันงอนขึ้น และด้ามทำด้วยไม้.

มีดเสียม
น. มีดหัวเสียม.

มีดเสือซ่อนเล็บ
น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลมยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อนสี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกันแล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ.

มีดหมอ
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายมีดเหน็บ แต่โคนมีดมีชายแหลมโค้งออจากคมเล็กน้อย ใช้สำหรับประกอบในพิธีทางไสยศาสตร์.

มีดหมู
น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปสามเหลี่ยมชายธง ปลายแหลมสันตรงและหนา คมโค้งขึ้นไปจดปลาย ด้ามทำด้วยไม้สั้นขนาดพอกำใช้แล่เนื้อหมูตามเขียงหมู.

มีดหวด
น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว ด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า,พร้าหวด ก็เรียก.

มีดหั่นยา
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๑ คืบด้ามทำด้วยไม้ขนาดพอกำ ใช้หั่นใบยาสูบ.

มีดหัวเสียม
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดปลายแบนป้าน โคนแคบยาวประมาณ ๑ ศอก ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ใช้ถากหญ้าหรือขุดดินแทนเสียมได้, มีดเสียม หรือ พร้าเสียม ก็เรียก.

มีดเหน็บ
น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่องโคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง,มีดอีเหน็บ ก็เรียก.

มีดเหลียน
น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่าตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, มีดอีเหลียน ก็เรียก.

มีดอีเหน็บ
น. มีดเหน็บ.

มีดอีเหลียน
น. มีดเหลียน.

มีดโอ
น. มีดกราย.

มีดยับ
(ถิ่น-อีสาน, พายัพ) น. ว่านหางช้าง. [ดู หางช้าง (๑)].

มีเทน
น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อยในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิงและใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. (อ. methane).

มีน
น. ปลา; ชื่อกลุ่มดาวรูปปลา เรียกว่า ราศีมีน เป็นราศีที่ ๑๑ ในจักรราศี. (ป., ส.).

มีนาคม
น. ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน;(เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนเมษายน. (ป. มีน + อาคม).

มีนาคม
ดู มีน.

มี่สั้ว
น. เส้นหมี่ขนาดเล็ก ๆ ทําด้วยแป้งสาลี ตากแห้งเก็บไว้ได้นาน. (จ.).

มีฬห-
[มีนหะ-] น. อุจจาระ. (ป.).

มึก
ก. กิริยาที่ดื่มเหล้าจนเมา; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ดื่มอย่างกระหาย.

มึกมวย
ก. เมามาย.

มึง
ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, มักถือกันว่าไม่สุภาพหรือหยาบคาย,เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

มึงวาพาโวย
ก. พูดจาเอะอะโวยวาย.

มึน
ก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่นอ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.

มึนงง
ก. งงจนทําอะไรไม่ถูกหรือคิดอะไรไม่ออก.

มึนชา
ก. แสดงอาการเฉยเมยไม่ใยดี.

มึนซึม
ก. แสดงอาการเชื่อมซึมคล้ายเป็นไข้.

มึนตึง
ก. แสดงอาการออกจะโกรธ ๆ ไม่พูดด้วย ไม่มองหน้า.

มึนเมา
ก. เมาจนรู้สึกมึนหัว.

มึนหัว
ก. รู้สึกตื้อในสมอง, มึน ก็ว่า.

มืด
ว. ขาดแสงสว่าง เช่น เดือนมืด, มีแสงสว่างน้อย เช่น ไม่ควรอ่านหนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้เสียสายตา, โดยปริยายหมายความว่าเหลือรู้เหลือเห็น เช่น มือมืด. น. เวลาใกล้ฟ้าสาง เช่น ตื่นแต่มืด;ค่ำ เช่น มืดแล้วทำไมไม่เปิดไฟ.

มืดครึ้ม
ว. มีแสงสว่างน้อยเพราะมีเมฆมากคล้ายจะมีฝนตกเช่น ท้องฟ้ามืดครึ้ม.

มืดค่ำ
น. เวลาพลบคํ่าขมุกขมัว เช่น มืดค่ำแล้วเข้าบ้านเสียที.

มืดตึดตื๋อ, มืดตึ๊ดตื๋อ
ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่นในถ้ำมืดตึ๊ดตื๋อ, มืดตื้อ หรือ มืดตื๋อ ก็ว่า.

มืดตึดตื๋อ, มืดตึ๊ดตื๋อ
ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่นในถ้ำมืดตึ๊ดตื๋อ, มืดตื้อ หรือ มืดตื๋อ ก็ว่า.

มืดตื้อ, มืดตื๋อ
ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่น ในห้องนี้มืดตื้ออย่างกับเข้าถ้ำ.

มืดตื้อ, มืดตื๋อ
ว. มืดมากจนมองไม่เห็นแสงสว่าง เช่น ในห้องนี้มืดตื้ออย่างกับเข้าถ้ำ.

มืดแปดด้าน
ก. นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.

มืดฟ้ามัวดิน
ว. มีจำนวนมากมาย เช่น มีประชาชนมาร่วมงานมืดฟ้ามัวดิน.

มืดมน
ว. มืดมัว, มืดมาก, มืดจนมองไม่เห็นทาง, มักใช้เข้าคู่กับคํา อนธการเป็น มืดมนอนธการ.

มืดมัว
ว. มีแสงสว่างน้อย เช่น อากาศมืดมัว, ไม่แจ่มใส เช่น หูตามืดมัว.มากจนรู้สึกมืดหน้า.

มืดหน้า
ว. มีอาการเวียนหัวเห็นอะไรพร่าไปหมด เช่น อากาศร้อน

มืน
(ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.

มื่น ๑
(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. ลื่น.

มื่น ๒
ก. ชื่นบาน เช่น ชื่นมื่น.

มือ ๑
น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วยฝ่ามือและนิ้วมือ สําหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิดที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์;เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่นคนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะสิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตําลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวนนับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปรางมังคุด เงาะ).

มือกาว
ว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า,ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของเผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูกไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.

มือเก่า
ว. มีความชํานาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาทมือเก่านะเจ้าเอ๋ย. (อภัย).

มือขวา
น. ความสันทัด เช่น การรบพุ่งชิงชัยมันเป็นมือขวาของเขานี่ครับ. (ชิงนาง ร. ๖). ว. ที่ใกล้ชิด, ที่เก่งกล้าสามารถ,ที่ไว้วางใจได้, เช่น สมุนมือขวา.

มือขึ้น
ว. เจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้า เช่น เขากำลังมือขึ้นในทางการค้า; มีโชคดีในการพนัน เช่น เขากำลังมือขึ้นในการเล่นไพ่.

มือแข็ง
ว. ไม่ค่อยไหว้คนง่าย ๆ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ว่าผู้น้อย); เก่งเช่น เขาเป็นนักเทนนิสมือแข็ง; เล่นการพนันไม่ค่อยเสีย เช่นเขามือแข็งในการเล่นโป, ตรงข้ามกับ มืออ่อน.

มือจับ
น. ส่วนที่ทำไว้สำหรับจับเวลาเปิดปิดประตูหรือในการใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น เช่น มือจับประตูรถยนต์ มือจับกบไสไม้มือจับลิ้นชัก.

มือดี
ว. มีความชำนาญ, มีความสามารถสูง, เช่น เขาเป็นคนมือดีของกองปราบ.

มือตก
ว. เสื่อมความสามารถลง เช่น หมู่นี้เล่นบิลเลียดมือตกไป,เสื่อมความนิยม เช่น เขียนหนังสือมือตกไป, เสียมากกว่าได้ในการเล่นการพนัน เช่น ตอนนี้เขาเล่นไพ่กำลังมือตก.

มือต้น
(ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือทำงานเพียงคร่าว ๆ เป็นคนแรก.

มือเติบ
ก. ใช้หรือจ่ายมากเกินสมควรหรือเกินจำเป็น.

มือถือสาก ปากถือศีล
(สํา) ว. มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรมแต่กลับประพฤติชั่ว.

มือที่สาม
น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือชอบเด็ดดอกไม้ใบไม้เป็นต้น.

มือเที่ยง
ว. แน่, แม่นยำ, เช่น เขายิงปืนมือเที่ยง; มีความสามารถในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆเป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือนไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น.

มือบน
ว. ผู้ทิ้งไพ่ให้มือต่อไป.

มือบอน
ว. อาการที่มืออยู่ไม่สุข ชอบขีดเขียนตามกําแพง

มือเบา
ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างละมุนละไมหรือประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือหนัก.

มือปลาย
(ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือตกแต่งงานเป็นคนสุดท้าย.

มือปืน
น. ผู้ที่พกพาอาวุธปืนคอยคุ้มกันผู้มีอิทธิพลหรือได้เสียด้วย.

มือเปล่า
น. มือที่ไม่ได้ถืออาวุธ เช่น สู้มือเปล่า, มือที่ไม่ได้ถือของติดไปด้วย เช่น มามือเปล่า, ไม่ได้ลงทุน เช่น จับเสือมือเปล่า.

มือเป็นระวิง
(สำ) ว. อาการที่ใช้มือทำงานไม่ได้หยุด ในความว่าทำงานมือเป็นระวิง.

มือผี
น. ขาไพ่ตองที่เข้าเล่นพอให้ครบขาหรือครบวงไม่ต้อง

มือมืด
แล้วยังขัดขวางการทํางานของผู้อื่น.เหลือเห็นว่าเป็นใคร.

มือโม่
น. ไม้ที่ยื่นออกมาจากตัวโม่ มีเดือยสำหรับจับหมุน.

มือไม่ถึง
ว. มีความสามารถยังไม่ถึงระดับ.

มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ, มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.

มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ, มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.

มือเย็น
ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า คนมือเย็น,ตรงข้ามกับ มือร้อน.

มือรอง
น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก,

มือร้อน
ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ไม่ขึ้นหรือไม่งอกงามว่า คนมือร้อน,ตรงข้ามกับ มือเย็น.

มือล่าง
น. ผู้รับไพ่ที่มือบนทิ้งให้.

มือลิง
น. ไม้สําหรับติดข้างเรือ อยู่ในระหว่างกงหรือต่อจากกง,เรียกเรือต่อเช่นเรือสำปั้นที่มีมือลิง ๓ คู่ หรือ ๕ คู่ เป็นต้นอันแสดงถึงขนาดความยาวของเรือว่า เรือ ๓ มือลิง เรือ ๕ มือลิง.

มือไว
หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง.

มือสอง
น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๒.

มือสะอาด
(สํา) ว. มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง

มือสั้นตีนสั้น
(สํา) ก. ขาดกําลังที่จะช่วยให้กิจการสําเร็จด้วยดี.

มือสาม
น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๓.

มือสี
มักทำด้วยไม้ไผ่ สำหรับตะกุยสิ่งต่าง ๆ เช่น ถ่าน.

มือเสือ ๑
น. ไม้รูปร่างคล้ายมือ มีซี่ ๖-๗ ซี่คล้ายนิ้ว ปลายงอ

มือหนัก
ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่นการพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนักเขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.

มือหนึ่ง
ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เขาเป็นมือหนึ่งทางประวัติศาสตร์.

มือห่างตีนห่าง
(สํา) ว. สุรุ่ยสุร่าย; เลินเล่อ, สะเพร่า, ไม่ระมัดระวัง.

มือใหม่
ว. ยังไม่มีความชํานาญ.

มืออ่อน
ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย);มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.

มืออ่อนตีนอ่อน
ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ

มือ ๒
น. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis Swing.ในวงศ์ Rutaceae ซึ่งส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือใช้ทํายาดมได้ เรียกว่า ส้มมือ.

มื้อ
น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้าอาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว,ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.

มือเสือ ๑
ดูใน มือ ๑.

มือเสือ ๒
น. ชื่อมันชนิด Dioscorea esculenta Burk. ในวงศ์ Dioscoreaceaeหัวเป็นแง่งมีรากติดอยู่โดยรอบ.

มุ
ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้,มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.

มุก
น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Pinctada วงศ์ Pteriidaeอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ให้ไข่มุกและมุกซีก เปลือกใช้ทําเป็นเครื่องประดับได้.

มุกดา, มุกดาหาร
น. ไข่มุก; ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อน ๆ.(ส. มุกฺตา, มุกฺตาหาร; ป. มุตฺตา, มุตฺตาหาร, ว่า สร้อยไข่มุก).

มุกดา, มุกดาหาร
น. ไข่มุก; ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อน ๆ.(ส. มุกฺตา, มุกฺตาหาร; ป. มุตฺตา, มุตฺตาหาร, ว่า สร้อยไข่มุก).

มุกตลก
[-ตะหฺลก] น. วิธีทำให้ขบขัน.

มุกุระ
(แบบ) น. กระจกเงา. (ป., ส.).

มุกุละ
(แบบ) น. ดอกไม้ตูม. (ป., ส.).

มุข, มุข-
[มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).

มุข, มุข-
[มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).

มุขกระสัน
น. มุขที่เชื่อมระหว่างพระที่นั่งองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่ง.

มุขเด็จ
น. มุขโถงที่ยื่นออกมาจากหน้าอาคาร เป็นที่เสด็จออก.

มุขโถง
น. มุขที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร ไม่มีฝากั้น.

มุขบาฐ, มุขปาฐะ
[มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา,การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร,เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.

มุขบาฐ, มุขปาฐะ
[มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา,การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร,เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.

มุขมนตรี
[มุกขะมนตฺรี] น. ที่ปรึกษาราชการชั้นผู้ใหญ่.

มุขลด
น. พื้นอาคารลดระดับต่ำกว่าพื้นส่วนกลางอาคารอยู่ต่อออกมาทางหัวและท้ายอาคาร เช่น มุขลดศาลามุขลดพระที่นั่งต่าง ๆ.

มุขย-
[มุกขะยะ-] ว. สําคัญ, เป็นใหญ่. (ส.).

มุขยประโยค
น. ชื่อประโยคในตําราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มี

มุโขโลกนะ
[-โลกะนะ] ว. เห็นแก่หน้า, เห็นแก่พวก, เช่น เขาเป็นคนมุโขโลกนะ. (ป.).

มุคคะ
[มุกคะ] น. ถั่วเขียว. (ป. มุคฺค).

มุคธ์
[มุก] ว. เขลา, ไม่รู้เดียงสา. (ส. มุคฺธ).

มุคระ
[มุกคะระ] น. ไม้ค้อน. (ป. มุคฺคร; ส. มุทฺคร).

มุง
ก. เอาวัตถุมีกระเบื้องหรือจากเป็นต้น ขึ้นปิดส่วนบนของเรือนหรือหลังคาเพื่อกันแดดกันฝน เช่น เอากระเบื้องมุงหลังคา; รุมกันเข้าไปดูอย่างไม่มีระเบียบ เช่น มีคนมุงดูคนเป็นลมเต็มไปหมด.

มุ่ง
ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.

มุ่งแต่จะ
ก. มุ่งเฉพาะจะ เช่น เขามุ่งแต่จะทำงาน.

มุ่งมั่น
ก. ตั้งใจอย่างแน่วแน่ เช่น เขามุ่งมั่นในการทำความดี.

มุ่งมาด
ก. ปรารถนา, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มุ่งมาดปรารถนา.

มุ่งร้ายหมายขวัญ
ก. คิดปองร้าย.

มุ่งหน้า
ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน.

มุ่งหมาย
ก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้.

มุ่งหวัง
ก. ตั้งใจ, หวังจะเอาให้ได้.

มุ้ง
น. ผ้าหรือสิ่งอื่นที่ทําขึ้นสําหรับกางกันยุงหรือป้องกันยุง, ลักษณนามว่า หลัง.

มุ้งกระโจม
น. มุ้งที่มีรูปร่างอย่างจอมแห ใช้แขวนจากเพดานให้ชายด้านล่างคลุมเตียงหรือที่นอนจนถึงพื้นโดยรอบ.

มุ้งประทุน
น. มุ้งรูปโค้งคล้ายประทุน มีโครงเป็นลวดเหล็ก หุบเก็บและกางได้.

มุ้งลวด
น. มุ้งที่ทําด้วยตาข่ายลวดตาละเอียด, โดยอนุโลมเรียกห้องที่ใช้ตาข่ายลวดตาละเอียดกรุประตู หน้าต่าง และช่องลมเพื่อกันยุงหรือแมลงว่า ห้องมุ้งลวด.

มุ้งสายบัว
(ปาก) น. ห้องขังผู้ต้องหา.

มุ้งกระต่าย
ดู ซุ้มกระต่าย.

มุจฉา
[มุด-] น. การสลบ. (ป.; ส. มูรฺฉา).

มุจนะ
[มุดจะนะ] น. ความพ้นไป, ความรอด, ความหลุด, ความแคล้ว. (ป. มุจฺจน).

มุจลินท์
[มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).

มุญจนะ
[มุนจะนะ] น. การแก้, การเปลื้อง, การปลด, การปล่อย, การสละ. (ป. มุญฺจน).

มุญชะ
[มุนชะ] น. พืชจําพวกหญ้าปล้อง; ปลาค้าว. (ป., ส.).

มุฐิ
[มุดถิ] น. กํามือ. (ป. มุฏฺฺ?ิฺฺิ).

มุณฑกะ, มุณฑะ
[มุนดะกะ, มุนดะ] ว. เกลี้ยง, โล้น, (ใช้แก่หัว). (ป., ส.).

มุณฑกะ, มุณฑะ
[มุนดะกะ, มุนดะ] ว. เกลี้ยง, โล้น, (ใช้แก่หัว). (ป., ส.).

มุด ๑
ก. เอาหัวลอดเข้าไป เช่น มุดรั้ว มุดใต้ถุน, เอาหัวดําลงในนํ้า ในคําว่า มุดนํ้า.

มุดหัว
(ปาก) ก. หลบ, ซ่อน, เช่น ไปมุดหัวอยู่ที่ไหน.

มุด ๒
ดู มะมุด.

มุต-, มุตตะ ๑
[มุดตะ-] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ป. มุตฺต; ส. มูตฺร).มุตกิด [มุดตะ-] น. โรคระดูขาว, ตกขาว ก็เรียก.มุตฆาต [มุดตะ-] น. โรคขัดปัสสาวะชํ้าเลือดชํ้าหนอง.

มุต-, มุตตะ ๑
[มุดตะ-] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ป. มุตฺต; ส. มูตฺร).มุตกิด [มุดตะ-] น. โรคระดูขาว, ตกขาว ก็เรียก.มุตฆาต [มุดตะ-] น. โรคขัดปัสสาวะชํ้าเลือดชํ้าหนอง.

มุตตะ ๒
[มุด-] ว. ซึ่งพ้นแล้ว. (ป.; ส. มุกฺต).

มุตตา
[มุด-] น. ไข่มุก, โบราณหมายถึงแก้วชนิดหนึ่ง สีหมอกอ่อน ๆคล้ายสีไข่มุก. (ป.; ส. มุกฺตา).

มุตติ
[มุด-] น. ความพ้น. (ป.; ส. มุกฺติ).

มุตะ
[มุ-ตะ] ก. รู้แล้ว. (ป.).

มุติ
[มุ-ติ] น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. (ป.).

มุติงค์
น. กลองสองหน้า, ตะโพน. (ป. มุติงฺค; ส. มฺฤทงฺค).

มุทคะ
[มุดคะ] น. ถั่วเขียว. (ส. มุทฺค; ป. มุคฺค).

มุทคระ
[มุดคะระ] น. ไม้ค้อน. (ส. มุทฺคร; ป. มุคฺคร).

มุททา
[มุด-] น. ตรา, พิมพ์, เครื่องสําหรับตีตรา, เครื่องหมาย; แหวน, แหวนตรา.(ป. มุทฺทา; ส. มุทฺรา, มุทฺริกา).

มุทธชะ
[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่ พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณและอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต.(ป.; ส. มูรฺธนฺย).

มุทธา
[มุด-] น. หัว, ยอด, ที่สุด. (ป. มุทฺธา; ส. มูรฺธา).

มุทธาภิเษก
น. มูรธาภิเษก, นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ. (ป. มุทฺธา + ส. อภิเษก).

มุทรา, มุทริกา
[มุดทฺรา, มุดทฺริ-] น. มุททา. (ส. มุทฺรา, มุทฺริกา; ป. มุทฺทา).

มุทรา, มุทริกา
[มุดทฺรา, มุดทฺริ-] น. มุททา. (ส. มุทฺรา, มุทฺริกา; ป. มุทฺทา).

มุทะลุ
ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือโดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.

มุทา
น. ความยินดี, ความสุขใจ. (ป.).

มุทิกา
น. คนขับเสภา. (ป.).

มุทิงค์
น. กลองสองหน้า, ตะโพน. (ป. มุทิงฺค; ส. มฺฤทงฺค).

มุทิตา
น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).

มุทิน
(โบ) น. มลทิน.

มุทุ
ว. อ่อน. (ป.).มุทุตา น. ความเป็นผู้มีใจอ่อน, ความอ่อนหวาน, ความละมุนละม่อม. (ป.).

มุ่น
ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน)เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่าเงินมุ่น.

มุ่นใจ
ก. ยุ่งใจ.

มุ่นหมก
ก. กังวลรักใคร่อยู่, ลุ่มหลงอยู่, หมกมุ่น ก็ว่า.

มุนิ, มุนี
น. นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์. (ป., ส.).

มุนิ, มุนี
น. นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์. (ป., ส.).

มุนิกุญชร
น. นามพระพุทธเจ้า. (ป.).

มุนินทร์
น. จอมนักปราชญ์, พระพุทธเจ้า. (ส. มุนินฺทฺร; ป. มุนินฺท).

มุนินทร์
ดู มุนิ, มุนี.

มุบ
ก. ยุบลง. ว. อาการที่ยอบตัวลงโดยเร็ว เช่น มุบหัวลง, อาการที่ของด้านใดด้านหนึ่งจมลงจากระดับเดิม เช่น พอปลากินเบ็ด ทุ่นเบ็ดก็มุบลง แพด้านหนึ่งมุบลง, อาการที่คว้าสิ่งของโดยเร็ว เช่น พอของตกก็เอามือคว้ามุบ,อาการที่สัตว์งับสิ่งของโดยเร็ว เช่น ปลาฮุบเหยื่อมุบ พอโยนขนมให้หมาก็เอาปากรับมุบ.

มุบมิบ
ว. ปิดบังไม่ให้คนอื่นรู้, อาการที่เถียงหรือบ่นโดยอ้าปากขึ้นลงเล็กน้อยไม่ให้ได้ยิน.

มุบ ๆ
ว. อาการของปากที่เผยอขึ้นลงอย่างเร็ว, อาการที่คนไม่มีฟันเคี้ยวอาหารเช่น คนแก่เคี้ยวข้าวทำปากมุบ ๆ.

มุม
น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาวกับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจากเส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วมจุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.

มุมกดลง
น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนวระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่ตํ่ากว่าจุดเล็ง, มุมก้ม ก็เรียก.

มุมก้ม
น. มุมกดลง.

มุมกลับ
น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๑๘๐ องศา กับ ๓๖๐ องศา; (ปาก)แง่คิดหรือทัศนะนัยหนึ่ง, แง่ตรงกันข้าม เช่น มองในมุมกลับ.

มุมเงย
น. มุมยกขึ้น.

มุมฉาก
น. มุมที่มีขนาด ๙๐ องศา.

มุมตกกระทบ
(แสง) น. มุมระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปรกติที่ลากผ่าน

มุมตรง
น. มุมที่มีขนาด ๑๘๐ องศา หรือ ๒ มุมฉาก.

มุมเท
(แม่เหล็ก) น. มุมระหว่างแนวทิศของสนามแท้ของแม่เหล็กโลกกับแนวระดับ.

มุมบ่ายเบน
(แม่เหล็ก) น. มุมระหว่างแนวเมริเดียนแม่เหล็กโลกกับแนวเมริเดียนภูมิศาสตร์, มุมเห ก็เรียก.

มุมประชิด
น. มุม ๑ ใน ๒ มุมที่มีแขนข้างหนึ่งร่วมกัน.

มุมป้าน
น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๙๐ องศา กับ ๑๘๐ องศา.

มุมมืด
น. ที่เร้นลับ, ซอกที่มืด, เช่น เขายืนอยู่ในมุมมืด.

มุมยกขึ้น
น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนวระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่สูงกว่าจุดเล็ง, มุมเงย ก็เรียก.

มุมแย้ง
น. มุมที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่ง อยู่เยื้องกันคนละข้างของเส้นตัดภายในเส้นขนานคู่นั้น รวมกันแล้วได้ ๑๘๐ องศาหรือ ๒ มุมฉาก.

มุมสะท้อน
(แสง) น. มุมระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบบนผิววัตถุ.

มุมหักเห
(แสง) น. มุมระหว่างรังสีหักเหกับเส้นปรกติที่ลากผ่านจุดตกกระทบบนผิววัตถุ.

มุมเห
น. มุมบ่ายเบน.

มุมแหลม
น. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๐ องศา กับ ๙๐ องศา.

มุ่ม
ว. ทู่ ๆ, ปุ้ม ๆ, เช่น งูเขียวปากมุ่ม. (ปรัดเล).

มุ้ม
ว. งุ้ม.

มุย
ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, หมุ่ย ก็ว่า.

มุ่ย
ว. อาการที่ยิ้มไม่ออกเพราะไม่พอใจ (ใช้แก่หน้า) เช่น เขาถูกดุเลยทำหน้ามุ่ย.

มุรชะ
[มุระชะ] น. ตะโพน, กลองชนิดหนึ่ง. (ป., ส.).

มุรธา
[มุระ-] น. หัว, ยอด. (ดู มูรธ-, มูรธา).

มุรธาภิเษก
น. นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ,มูรธาภิเษก ก็ว่า. (ส.; ป. มุทฺธาภิเสก).

มุลุต
[-ลุด] น. ปาก. (ช.).

มุลู
น. พล. (ช.).

มุสละ
[-สะละ] น. สากตําข้าว. (ป., ส.).

มุสลิม
[มุดสะลิม] น. ผู้นับถือศาสนาอิสลาม.

มุสะ
น. มุ้ง. (ช.).

มุสา
ว. เท็จ, ปด. (ป.).

มุสาวาท
น. การพูดเท็จ, การพูดปด; คําเท็จ. (ป.).

มุสิก
น. หนู. (ป. มูสิก).

มุหงิด
[-หฺงิด] น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.

มุหน่าย
น. นํ้ามันตานี หรือนํ้ามันเหนียว เป็นเครื่องหอมสําหรับใส่ผม,นํ้ามันตานีที่ผสมกับเขม่าและปูน, นํ้ามันหอมเป็นเครื่องเจิม.

มุหุต
[-หุด] น. เวลาครู่หนึ่ง, ขณะหนึ่ง. (ป. มุหุตฺต).

มุฮัมมัด
น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มะหะหมัด ก็เรียก.

มูก, มูกะ
ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ส.; ป. มูค).

มูก, มูกะ
ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ส.; ป. มูค).

มูก ๒
น. นํ้าเมือกที่ไหลออกจากจมูก เรียกว่า นํ้ามูก, นํ้าเมือกที่ไหลออกทางทวารหนักพร้อมกับอุจจาระ.

มูกเลือด
น. โรคที่มีมูกและเลือดในลําไส้ติดออกมากับอุจจาระ.

มูกมัน
ดู โมกมัน ที่ โมก.

มูกหลวง
ดู โมกใหญ่ ที่ โมก.

มูคะ
ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ป.; ส. มูก).

มูเซอ
น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ตระกูลทิเบต-พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทยและพม่า.

มูตร
[มูด] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ส. มูตฺร; ป. มุตฺต).

มู่ทู่
ว. ป้าน, ไม่แหลม, สั้น อ้วน ใหญ่ (ใช้แก่หน้า) เช่น หมาบูลด๊อกหน้ามู่ทู่.

มูน ๑
น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. ก. พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่าเกิดมูนพูนผล. ว. มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.

มูนดิน
น. เนินดิน. ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม.

มูนมอง
ว. มากมาย.

มูน ๒
ก. เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน.

มูมมาม
ว. อาการที่กินอาหารอย่างตะกรุมตะกราม, อาการที่กินอาหารอย่างเปื้อนเปรอะเลอะเทอะไม่เรียบร้อย, เช่น กินมูมมาม.

มูรดี, มูรติ
[มูระ-] น. ร่างกาย, รูป. (ส. มูรฺติ).

มูรดี, มูรติ
[มูระ-] น. ร่างกาย, รูป. (ส. มูรฺติ).

มูรธ-, มูรธา
[มูระธะ-] น. หัว, ยอด. (ส.; ป. มุทฺธา).

มูรธ-, มูรธา
[มูระธะ-] น. หัว, ยอด. (ส.; ป. มุทฺธา).

มูรธาภิเษก
น. นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ,มุรธาภิเษก ก็ว่า. (ส.; ป. มุทฺธาภิเสก).

มูรธาภิเษก
ดู มูรธ-, มูรธา.

มูล ๑, มูล-
[มูน, มูนละ-] น. โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล,เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

มูล ๑, มูล-
[มูน, มูนละ-] น. โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล,เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

มูลคดี
(กฎ) น. เหตุแห่งคดี; เหตุที่ทำให้คดีเกิดขึ้น.

มูลความ
[มูนละ-] น. ความเดิม.

มูลจิต
[มูนละ-] น. ชื่อยาแก้ลมซางชนิดหนึ่ง.

มูลฐาน
[มูนละ-, มูน-] น. พื้นฐาน, รากฐาน, เค้ามูล.

มูลนาย
[มูน-] น. นายใหญ่, นายเดิมที่ตนสังกัดอยู่.

มูลนิธิ
[มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).

มูลประกันภัย
(กฎ) น. ราคาทรัพย์ที่กำหนดในการเอาประกันภัย.

มูลภัณฑ์กันชน
[มูนละ-] น. ของที่ซื้อสะสมไว้เมื่อมีราคาตํ่า และนําออกขายเมื่อของนั้นมีราคาสูงเกินควร เพื่อรักษาระดับราคาของนั้นให้มีเสถียรภาพ.(อ. buffer stock).

มูลหนี้
น. เหตุที่ทำให้เกิดหนี้.

มูลเหตุ
[มูนละ-, มูน-] น. ต้นเหตุ.

มูล ๒, มูล-
[มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูลเตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

มูล ๒, มูล-
[มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูลเตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).

มูลค่า
[มูนละ-, มูน-] น. ค่าของสิ่งของ, ราคาของสิ่งของ, เช่นถวายจตุปัจจัยมีมูลค่า ๓๐ บาท.

มูล ๓
[มูน] น. อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ.

มูลโค
น. อุจจาระเหลว แต่ไม่เหลวถึงเป็นนํ้า, มักพูดว่า มลโค.

มูลนกการเวก
ว. สีเขียวฟ้า.

มูลฝอย
น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า;(กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหารเถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.

มูล ๔, มูละ, มูลา ๑
[มูน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว ก็เรียก.

มูล ๔, มูละ, มูลา ๑
[มูน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว ก็เรียก.

มูล ๔, มูละ, มูลา ๑
[มูน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว ก็เรียก.

มูลไถ
น. ชื่อนกชนิดหนึ่งตัวขนาดนกกระจาบฝน โตกว่านิดหน่อย เรียกสามัญว่า นกขี้ไถ. (พจน. ๒๔๙๓).

มูลา ๑
ดู มูล ๔, มูละ.

มูลา ๒
ว. ที่หนึ่ง, ทีแรก. (ช.).

มูลิกากร
น. ข้าทูลละอองธุลีพระบาท, เรียกให้เต็มว่า บาทมูลิกากร.

มู่ลี่
น. เครื่องบังประตูหน้าต่างเป็นทํานองม่าน ทําด้วยซี่ไม้เล็ก ๆ ถักด้วยเชือกเป็นช่องโปร่ง มีรอกและเชือกสำหรับชักให้ม้วนและคลี่ได้.

มู่เล่
(ปาก) น. ล้อหนักสําหรับหมุนถ่วงให้เครื่องยนต์เดินเรียบ.

มูสัง
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. (ดู อีเห็น).

มูสิก-, มูสิกะ
[-สิกะ-] น. หนู. (ป.).

มูสิก-, มูสิกะ
[-สิกะ-] น. หนู. (ป.).

มูสิกทันต์
น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ ' สำหรับเขียนบนสระ ิ ให้เป็นสระ ื, ฟันหนู ก็ว่า.

มูฬห-
[มูนหะ-] ว. เขลา, หลง. (ป.).


ความคิดเห็น