คนเป็นจำนวนมากยังมีความสงสัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดย
การตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคำภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้องในขณะนั้น สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหานี้คือคนเหล่านี้คุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนามาก่อน โดยการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากบนพยายามสังเกตลมหายใจเข้าออก ว่าสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด นอกจากนั้นในบางสำนักยังมีการสอนใจเจริญพุทธานุสสติควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ ให้กำหนดจิตหรือผู้รู้ไว้ที่ลมหายใจ ซึ่งมีการสัมผัสที่ปลายจมูก พร้อมกับนึกในใจว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก
การปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวอานาปานสติสูตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงสงสัยว่าการภาวนา “พองหนอ (rising)” และ “ยุบหนอ (falling)” เป็นแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีการปฏิบัติกันเช่นนี้ในสมัยก่อนหรือไม่ หรือเป็นวิธีปฏิบัติของวิปัสสนาจารย์ในยุคหลัง ความลังเลสงสัยเช่นนี้ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือบางคนพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแหล่งที่มาของ “พองหนอและยุบหนอ” สิ่งที่สำคัญคือต้องการจะทราบว่าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเป็นจริงตามนี้มีหลักฐานอะไรมายืนยันบ้าง เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วจะก่อให้เกิดศรัทธาและปสาทะในการปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ต่อไปผลเสียคือว่าทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนไม่เต็มที่มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยและมีโอกาสจะบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการได้ยาก
มหาสติปัฏฐานสูตร
ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์มหาวรรคทีฆนิกายซึ่งเป็นพระสูตรที่ค่อนข้าง
ยาวมาก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“ทางสายนี้เป็นทางสายเอกหรือทางสายเดียวเท่านั้น (The onlyway)”
1. เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
2. เพื่อระงับความเศร้าโศกและคร่ำครวญ
3. เพื่อดับความทุกข์กาย (ทุกข์) และความทุกข์ใจ (โทมนัส)
4. เพื่อบรรลุญายธรรม คือ อริยมรรค
5. เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน
ทางสายเดียวนี้คือ“สติปัฏฐาน 4”
สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติซึ่งได้แก่ กาย (body) เวทนา (feeling) จิต (mind) และธรรม
(mind-objects) สติปัฏฐาน 4 จำแนกออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูจิตหรือความคิด
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูธรรมหรืออารมณ์ที่เกิดกับจิต
กรรมฐานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 21
กรรมฐาน
ในบรรดากรรมฐาน 21 อย่างนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายว่า อานาปานปัพพะ (ข้อกำหนด
ลมหายใจเข้า-ออก) และปฏิกูลปัพพะ (ข้อกำหนดอาการ 32 ของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ว่าเป็นของน่ารังเกียจ) เป็นข้อปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และสามารถทำให้
เกิดอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิระดับฌาน หรืออุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่เข้าไปเฉียดใกล้ต่อฌาน
ในบรรดากรรมฐานที่เหลือ 19 อย่างนี้ นวสีวถิกาปัพพะ (ข้อกำหนดด้วยป่าช้า 9 ชนิด) เป็นสมถกร
รมฐานล้วน ส่วนที่เหลือคือ อิริยาบถ 4 สัมปชัญญะ 4 และการกำหนดธาตุ 4 เป็นวิปัสสนา
กรรมฐานล้วน
วิปัสสนาขณิกสมาธิ
ความจริงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิ (momentary
concentration) ได้แก่สมาธิเพียงชั่วขณะเท่านั้น ผู้ปฏิบัติต้องพยายามกำหนดอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
คือ รูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง
รวมทั้งอาการต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสและการนึกคิดเป็น
ต้น ขณะเดียวกันต้องกำหนดอารมณ์ต่าง ๆ ให้เห็นเป็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทนได้ยาก (ทุก
ขัง) และความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) เมื่อกำหนดเช่นนี้ติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย กำลังของสมาธิจะ
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถกำจัดนิวรณ์ต่าง ๆ ได้
ฉะนั้นวิปัสสนาขณิกสมาธิจึงมีกำลังเท่ากับสมถอุปจารสมาธิ และเมื่อวิปัสนาญาณสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง เช่น อุทยพยญาณ ภังคญาณ แล้วก็จะมีกำลังมากคล้าย ๆ กับอัปปนาสมาธิ
อย่าเข้าใจผิดว่าการปฏิบัติวิปัสสนาต้องตั้งสติกำหนดที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องย้ายไปกำหนดที่อารมณ์อื่น สมาธิจะได้ตั้งมั่น จิตไม่วอกแวกเช่น ขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ พอมีการได้ยิน การปวด การคิด เกิดขึ้นและเป็นอารมณ์ที่ชัดกว่า ก็ไม่ยอมกำหนด การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการเข้าใจผิด สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสมถสมาธิส่วนวิปัสสนาขณิกสมาธินั้นมีรูปนามปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ต้องตั้งสติจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าขณิกสมาธิ
แต่วิปัสสนาขณิกสมาธิเมื่อมีกำลังแก่กล้าพอ ก็สามารถทำให้บรรลุถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ คือ เข้าถึงมรรคผล นิพพานได้ อุปมาเหมือนเมล็ดงาที่มีขนาดเล็กมากเมล็ดหนึ่ง ๆ ย่อมมีน้ำมันน้อย ยังไม่อาจทำให้เกิดเป็นน้ำมันขึ้นมาได้ แต่เมื่อเอาหลาย ๆ เมล็ดรวมกันเข้าก็ได้น้ำมันมาก ข้อนี้ฉันใดวิปัสสนาขณิกสมาธิก็ฉันนั้น โยคีบุคคลที่มีจิตไปถึงไหน ก็ตั้งสติกำหนดไปที่นั้น ได้ขณิกสมาธิเกิดขึ้นมาทันที ไม่เรียกว่าใจฟุ้งซ่านเมื่อขณิกสมาธิมีกำลังมากเท่ากับอุปจารสมาธิแล้ว การกำหนดอารมณ์อันหนึ่งกับอีกอันหนึ่งนั้นระหว่างกลางอารมณ์ทั้งสองกิเลสนิวรณ์เข้าไม่ได้
รูปแบบของวิปัสสนายานิก
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนากรรมฐาน (pure
insight meditation) ซึ่งเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โยคีหรือผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดรูปธรรม
(materiality) และนามธรรม (mentality) ที่เป็นปรมัตถ์ ในขณะที่ทวารทั้ง 6 รับรู้อารมณ์ภายนอก
(รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และธรรมารมณ์) ตัวอย่างเมื่อมีรูป (คลื่นแสง) มากระทบกับตาจะเกิด
การเห็นขึ้น ให้ตั้งสติกำหนดในใจว่า “เห็นหนอ ๆๆ” ในขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบที่
สำคัญ 3 อย่างคือ
1. ตา เป็นรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ คือ การมองเห็น
2. รูปหรือคลื่นแสงก็เป็นรูป
3. จักขุวิญญาณ คือการเห็น เป็นนาม
ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการกำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ ๆ” ด้วยความเพียร (อาตาปี) สติ (สติมา) และ
สัมปชัญญะ (สัมปชาโน) จะมีเพียงรูป (คือ ตา กับคลื่นแสงที่มากระทบกับตา) และนาม (คือจักขุ
วิญญาหรือการเห็น) เกิดขึ้น รูปและนามที่เกิดขึ้นก็มีการเกิดและการดับอยู่ตลอดเวลาอย่างถี่ยิบ
เพราะเป็นรูปนามปรมัตถ์ ต่อมาก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ในขณะ
นั้นจะไม่มีสิ่งสมมุติหรือบัญญัติ (concepts) เช่น ฉันเห็น เขาเห็น เธอเห็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับโยคีผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มักประสบความยากลำบากอย่าง
มากในการกำหนดรูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 วิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนจึงนิยมให้กำหนดตาม
หมวดอิริยาบทใหญ่ 4 (อิริยาปถปัพพะ) หมวดอิริยาบทย่อย 4 (สัปชัญญะปัพพะ) และหมวดกำหนด
ธาตุ 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ)
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยทางวิปัสสนา เมื่อเริ่มปฏิบัติให้นั่งในท่าสมาธิแบบพระพุทธรูป ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาวางลงบนมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นเอาสติไปกำหนดที่ท้องบริเวณสะดือ ให้สังเกตแต่เพียงอาการคือการแสดงออกมา (manifestation)ซึ่งได้แก่การเคลื่อนไหว (movement or motion) ของท้องขณะที่ท้องพองออกให้กำหนดในใจว่า“พองหนอ” และขณะที่ท้องยุบลงให้กำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” ไม่ให้มีการออกเสียง เป็นแต่เพียงการกำหนดในใจ (a mental note) เท่านั้น ปล่อยให้การหายใจดำเนินไปตามปกติไม่ต้องไม่สนใจกับลมหายใจเข้าออก และรูปร่างสัณฐานของท้อง จำไว้ว่าสนใจแต่เพียงอาการพองและอาการยุบของท้องเท่านั้น
การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ
“อการกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ“อนนมติ-โอนมติ” (ภาษาบาลี) นั้น เป็นเพียงคำภาวนา ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ (conventionalconcept) เพื่อก่อให้เกิดสมาธิเท่านั้นไม่ใช่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate reality) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น นอกเหนือจากการกำหนดในใจว่า “พองหนอ ยุบหนอ” แล้วโยคีจะต้องพยายามสังเกตดู “อาการพอง-อาการยุบ” ซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ แน่นอนในระยะเริ่มต้นโยคีมักจะกำหนดได้แต่เพียงอารมณ์บัญญัติก่อน
ต่อไปเมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ(ความสงบและความตั้งมั่นของจิต) และปัญญา (ความรู้) พัฒนามากขึ้น ๆ ก็จะค่อย ๆ เห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือ อาการพอง-อาการยุบ ชัดขึ้น ๆ เป็นลำดับ การกำหนดอารมณ์ของกรรมฐาน “พองหนอ-ยุบหนอ” คือการกำหนด “วาโยโผฏฐัพพรูป” ซึ่งหมายถึงรูปตามที่ลมถูกต้องนั่นเอง
ธาตุลมกับอาการพองและอาการยุบ
ธาตุลม (วาโยธาตุ) มี 2 อย่าง คือ
1. วาโยธาตุภายในและ
2. วาโยธาตุภายนอก
ในที่นี้วาโยธาตุภายในมีอยู่ 6 ประการคือ
1. ลมที่ขึ้นเบื้องสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการเรอ สะอึก หรืออาเจียน
2. ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งทำให้มีการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระออกจากร่างกาย
3. ลมที่อยู่ในท้องภายนอกระบบทางเดินอาหาร
4. ลมในกระเพาะและลำไส้
5. ลมที่เดินตามเส้นประสาทไปตามแขนขา และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดการยืน
การนั่ง การเดิน การคู้ การเหยียด และอิริยาบทย่อยอื่น ๆ และ
6. ลมหายใจเข้าและออก
ส่วนวาโยธาตุภายนอก ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ลมมรสุม ลมไต้ฝุ่น ลมประจำ
ทิศ ลมร้อน ลมเย็น ลมที่เกิดจากพัดลม เป็นต้น
จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การกำหนดอาการพองและอาการยุบของท้อง มิใช่การ
กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกซึ่งอยู่ในหมวดอานาปานปัพพะ แต่เป็นการกำหนดวาโย
ธาตุหรือธาตุลมซึ่งอยู่ในหมวดธาตุมนสิการปัพพะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน
สูตรว่า “ภิกษุพิจารณาดูกาย นี้แหละ ตามที่สถิตอยู่ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ในการนี้มี ธาตุ
ดิน (the earth element) ธาตุน้ำ (the water element) ธาตุไฟ (the fire element) และธาตุลม (the wind element)
ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ธาตุทั้ง 4 จะปรากฏอาการให้รู้เป็นปัจจุบันธรรม
ตัวอย่างในอิริยาบทนั่ง ร่างกายของโยคีจะมีลักษณะตึงและเคร่ง เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ในอิริยาบทนี้
ด้วยอำนาจของธาตุลมเหมือนลูกโป่งที่ถูกอัดจนแน่นด้วยลม จนมีลักษณะพองและตึง ความแข็ง
(hardness) หรือความอ่อน (softness) คือลักษณะเฉพาะของธาตุดินบางครั้งรู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณท้องหรือก้นที่สัมผัสกับพื้น ความอุ่น (warmth) หรือความร้อน (hotness) คือธาตุไฟที่ปรากฎออกมาการที่ท้องหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกาะกุมกันจนมีรูปร่างเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผนังหน้าท้อง การเกาะกุม (cohesion) เช่นนี้ คือ ลักษณะของธาตุน้ำ ส่วนอาการหรือการเคลื่อนไหว (motion)ของท้องเวลาท้องพองออกและท้องยุบลง คือปรากฎการณ์ของธาตุลม
ธาตุทั้ง 4 เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เรียกว่า อวินิพโภครูป สิ่งที่เป็นรูปทุก
อย่างแม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดจะต้องมีคุณสมบัติที่มีอยู่เป็นประจำ 8 อย่างคือ
ธาตุลมทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากอำนาจของธาตุลม เมื่อเราคู้แขนเข้ามา เหยียดแขน
ออกไป หรือแสดงพฤติกรรมทางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าธาตุลมกำลังทำงานอยู่ ตัวอย่าง
สำหรับการเดิน ก่อนที่การเดินจะเกิดขึ้น จิตจะทำหน้าที่เป็นผู้สั่งทำให้วาโยธาตุแล่นไปทั่วร่างกาย
โดยเฉพาะบริเวณขาทั้งสองข้าง ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมของการเดิน
โดยสรุปจิตที่อยากเดินนั้นเป็นเหตุ ส่วนอาการเดินที่เกิดขึ้นเป็นผล สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ปรากฎการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสรีรวิทยาทางการแพทย์ ในสมองของแต่ละคนจะมีส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวของร่างซีกซ้ายจะถูกควบคุมโดยสมองซีดขวา เมื่อเราต้องการจะยกมือซ้าย จิตที่ประกอบด้วยเจตนาจะสั่งให้สมองซีกขวาจะส่งกระแสประสาท (nerve impulse) ไปตามเซลล์
ประสาท (neurons) จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งไปสู่เส้นประสาท (nerve fibers) ที่ไปเลี้ยง
บริเวณแขนและมือซ้าย กระแสประสาทจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของมือตามที่ต้องการ ความ
จริงแล้วกระแสประสาทก็คือ ธาตุลมนั้นเอง เพราะมีหน้าที่เหมือนกันคือ การทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหว (movement) ในร่างกาย
ในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าโยคีกำหนดแต่เพียงรูปร่างสัณฐานของ ท้อง แขน
ขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตยังคงเป็น
อารมณ์บัญญัติ (conventional concepts) ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานทำให้จิตสงบและตั้งมั่น แต่ยังไม่สามารถทำลายสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเราของเขา เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา
ทำนองนี้ได้ แต่ถ้าโยคีพยายามกำหนดการเคลื่อนไหวของท้องพร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ” หรือกำหนดการเคลื่อนไหวของเท้า พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “ยกหนอ ย่าง
หนด เหยียบหนอ” (สำหรับการเดินจงกรม 3 ระยะ) ในลักษณะเช่นนี้อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตจะเป็น
อารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate realities) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน การกำหนดที่ถูกต้อง
เช่นนี้จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนเห็นแจ้งประจักษ์ในความไม่เที่ยง
(อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของรูปนาม เห็นรูปนามเกิดดับ
อย่างถี่ยิบ จนเกิดความกลัว ความเห็นโทษ ความเบื่อหน่าย ความปรารถนาที่จะพ้นไปจากรูปนาม
และจนสุดท้ายคือ บรรลุมรรคญาณและผลญาณในที่สุด
ประวัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์
ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะเจ้า สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
จังหวัดชลบุรีได้เล่าไว้ ในเรื่อง “วิปัสสนาวงศ์” เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ
ปัฏฐาน 4 หรือแบบ “พองหนอ-ยุบหนอ” มีหลักฐานยืนยันว่าการปฏิบัติแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณ
กาลในราวพุทธศักราช 235 มีอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมด้วยพระ
อรหันต์ 1,000 รูป ได้ร่วมกระทำตติยาสังคายนา ที่เมืองปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธ โดยมี
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นศาสนูปถัมภก หลังจากเสร็จสิ้นในการทำสังคายนาครั้งที่สามแล้ว ท่านได้
ส่งสาวกที่เป็นพระอรหันต์นำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่และประดิษฐานยังที่ต่าง ๆ รวม 9 สาย
ด้วยกัน
ในแคว้นสุวรรณภูมิมีพระโสณะอรหันต์ และพระอุตตระอรหันต์ นำพระพุทธศาสนามา
ประดิษฐานที่เมืองตะโทง (Thaton) หรือสุธรรมนครในประเทศสหภาพพม่า ตามประวัติได้มีการ
สืบทอดวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์เรื่อยมาไม่ขาดสาย จนถึงสมัยของวิปัสสนาจารย์ติรงคะ สะยาดอ
พระมโน อรหันต์ พระมิงกุลโตญ สะยาดอ และพระมิงกุล เชตวัน สยาดอ ตามลำดับ
พระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ หรือภัททันตะนารทเถระแห่งเมืองมะละแหม่ง เป็นผู้ที่
มีชื่อเสียงมากในการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 จนกิตติศัพท์ของท่านขจรไป
ไกลในประเทศสหภาพพม่า
สมัยนั้นสานุศิษย์ของท่านผู้หนึ่งที่มีคนรู้จักกันดีทั่วไปในวงการพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท คือ พระอาจารย์มหาสีสะยาดอ หรือ ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต ผู้เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาสี และเจ้าสำนักสาสนยิตตา ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในเมืองย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า พระอาจารย์ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ผู้เป็นสานุศิษย์องค์หนึ่งของพระอาจารย์มหาสีสะยาดอ ได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าพระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ มีความสามารถในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างช่ำชอง ท่านสามารถกำหนดสติได้ ทั้งที่ปลายจมูก โดยสังเกตการกระทบของลมหายใจเข้าออกที่บริเวณนี้ (แบบอานาปานปัพพะ) และที่บริเวณท้องโดยสังเกตอาการพองและอาการยุบ (แบบธาตุมนสิการปัพพะ)
การเผยแพร่วิปัสสนาแบบพองหนอยุบหนอ
เมื่อพระอาจารย์มหาสี สะยาดอ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับท่านได้พิจารณาดูอย่างรอบ
คอยกลับมีความเห็นว่า การกำหนดสติที่บริเวณท้องทำได้ง่ายกว่า และได้ผลดีกว่าด้วย
โดยปกติลมหายใจเข้า-ออก เป็นรูปที่ละเอียดอ่อน เป็นอารมณ์ของกรรมฐานที่กำหนดได้
ยาก เมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความ
รู้ตัวทั่วพร้อม) มีพลังมากขึ้น ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดอ่อนและเบาลง ๆ จนดูเหมือนว่าจะหยุด
หายใจ ในสถานการณ์เช่นนี้ โยคีบางคนหาที่กำหนดไม่ได้ ทำให้จิตฟุ้งซ่านและซัดส่าย
แม้ว่าอานาปานสติจะเป็นยอดของกรรมฐานทั้งหมด แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวไว้ว่า
“ก็อานาปานสติกรรมฐานนี้เป็นของยาก อบรมได้ยาก เป็นภูมิแห่งมนสิการของผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น
กล่าวคือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรทั้งหลาย”
ส่วนการกำหนดสติที่บริเวณท้องโดยสังเกตการเคลื่อนไหวของท้อง ซึ่งเกิดจากอำนาจของ
ธาตุลมทำให้สะดวกกว่า เพราะว่าวาโยโผฏฐัพพรูป หรือรูปที่ลมถูกต้อง เป็นรูปที่หยาบกว่ารูปอัน
เกิดจากการสัมผัสของลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก นอกจากนั้นคนสมัยนี้ไม่ละเอียดอ่อนเหมือน
คนสมัยก่อน
ดังนั้นการกำหนดสติที่บริเวณท้องจึงเหมาะสมกว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เมื่อเริ่มมีการ
สอนวิปัสสนากรรมฐาน พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จึงแนะนำให้โยคีทุกคนกำหนดสติไว้ที่หน้า
ท้องบริเวณสะดือ และพยายามสังเกตอาการพอง-อาการยุบ พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ”
ในช่วงเวลานี้หลายคนมีความเห็นขัดแย้งกับแนวการสอนแบบนี้อย่างรุนแรง เขา
เหล่านี้คิดว่าเป็นวิธีการสอนวิปัสสนากรรมฐานแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยพระอาจารย์มหาสี สะ
ยาดอ เป็นคำสอนที่ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก หรือมิใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จาก
หลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ชัดว่าวิธีการสอนแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลเป็นแนวปฏิบัติที่
นิยมแพร่หลายในประเทศสหภาพพม่าเป็นระยะเวลานานก่อนที่พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จะ
นำมาใช้สอนโยคีผู้เป็นศิษย์
ฉะนั้น การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ที่บริเวณท้องคือการสังเกตธาตุลม (วาโย
ธาตุ) ที่มีสภาวะลักษณะคือการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เป็นแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานที่
สอดคล้องกับหลักคำสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าด้วยการมีสติตามดูกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏ
ฐาน) ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณากายโดยความเป็นธาตุทั้ง 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ) อาการ
พอง-อาการยุบ คือรูปที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสของธาตุลมนี้เรียกว่า วาโยโผฏฐัพพรูป เป็นรูปปรมัตถ์
ที่มีลักษณะของวาโยธาตุชัดเจนคือการเคลื่อนไหว
พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ในบาลีสังยุติการยว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ ตั้งสติ กำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้น
อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนแน่นอน”
ยังทรงเทศน์อีกว่า “โยคีบุคคลที่โผฏฐัพพารมณ์ถูกต้องสัมผัสนั้นตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยงบุคคลนั้นอวิชชาหายไปวิชชาญาณปรากฏ”
ดังนั้น การกำหนด “พองหนอ-ยุบหนอ” จึงเป็นการสังเกตวาโยโผฏฐัพพรูปด้วยโยนิโสมนสิการ อันประกอบด้วยอาตาปีหรือวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพลังของปัจจัยดังกล่าวแก่กล้าพอเพียงแล้วผู้ปฏิบัติ (โยคี) จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตนของรูปธรรมและนามธรรม มีสัมมาทิฏฐิและวิชชาญาณเกิดขึ้น จนสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
อ้างอิง
วิปัสสนากรรมฐาน(แนวมหาสติปัฏฐานสูตร)
รวบรวมเป็นวิทยาทานโดย…..พระราชพุทธิญาณ
เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดบุพพาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่
ประธานศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นวัดบุพพาราม
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
การตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคำภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้องในขณะนั้น สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหานี้คือคนเหล่านี้คุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนามาก่อน โดยการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากบนพยายามสังเกตลมหายใจเข้าออก ว่าสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด นอกจากนั้นในบางสำนักยังมีการสอนใจเจริญพุทธานุสสติควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ ให้กำหนดจิตหรือผู้รู้ไว้ที่ลมหายใจ ซึ่งมีการสัมผัสที่ปลายจมูก พร้อมกับนึกในใจว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก
การปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวอานาปานสติสูตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงสงสัยว่าการภาวนา “พองหนอ (rising)” และ “ยุบหนอ (falling)” เป็นแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีการปฏิบัติกันเช่นนี้ในสมัยก่อนหรือไม่ หรือเป็นวิธีปฏิบัติของวิปัสสนาจารย์ในยุคหลัง ความลังเลสงสัยเช่นนี้ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือบางคนพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแหล่งที่มาของ “พองหนอและยุบหนอ” สิ่งที่สำคัญคือต้องการจะทราบว่าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเป็นจริงตามนี้มีหลักฐานอะไรมายืนยันบ้าง เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วจะก่อให้เกิดศรัทธาและปสาทะในการปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ต่อไปผลเสียคือว่าทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนไม่เต็มที่มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยและมีโอกาสจะบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการได้ยาก
มหาสติปัฏฐานสูตร
ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์มหาวรรคทีฆนิกายซึ่งเป็นพระสูตรที่ค่อนข้าง
ยาวมาก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“ทางสายนี้เป็นทางสายเอกหรือทางสายเดียวเท่านั้น (The onlyway)”
1. เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
2. เพื่อระงับความเศร้าโศกและคร่ำครวญ
3. เพื่อดับความทุกข์กาย (ทุกข์) และความทุกข์ใจ (โทมนัส)
4. เพื่อบรรลุญายธรรม คือ อริยมรรค
5. เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน
ทางสายเดียวนี้คือ“สติปัฏฐาน 4”
สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติซึ่งได้แก่ กาย (body) เวทนา (feeling) จิต (mind) และธรรม
(mind-objects) สติปัฏฐาน 4 จำแนกออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูจิตหรือความคิด
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูธรรมหรืออารมณ์ที่เกิดกับจิต
กรรมฐานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 21
กรรมฐาน
ในบรรดากรรมฐาน 21 อย่างนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายว่า อานาปานปัพพะ (ข้อกำหนด
ลมหายใจเข้า-ออก) และปฏิกูลปัพพะ (ข้อกำหนดอาการ 32 ของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ว่าเป็นของน่ารังเกียจ) เป็นข้อปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และสามารถทำให้
เกิดอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิระดับฌาน หรืออุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่เข้าไปเฉียดใกล้ต่อฌาน
ในบรรดากรรมฐานที่เหลือ 19 อย่างนี้ นวสีวถิกาปัพพะ (ข้อกำหนดด้วยป่าช้า 9 ชนิด) เป็นสมถกร
รมฐานล้วน ส่วนที่เหลือคือ อิริยาบถ 4 สัมปชัญญะ 4 และการกำหนดธาตุ 4 เป็นวิปัสสนา
กรรมฐานล้วน
วิปัสสนาขณิกสมาธิ
ความจริงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิ (momentary
concentration) ได้แก่สมาธิเพียงชั่วขณะเท่านั้น ผู้ปฏิบัติต้องพยายามกำหนดอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
คือ รูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง
รวมทั้งอาการต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสและการนึกคิดเป็น
ต้น ขณะเดียวกันต้องกำหนดอารมณ์ต่าง ๆ ให้เห็นเป็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทนได้ยาก (ทุก
ขัง) และความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) เมื่อกำหนดเช่นนี้ติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย กำลังของสมาธิจะ
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถกำจัดนิวรณ์ต่าง ๆ ได้
ฉะนั้นวิปัสสนาขณิกสมาธิจึงมีกำลังเท่ากับสมถอุปจารสมาธิ และเมื่อวิปัสนาญาณสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง เช่น อุทยพยญาณ ภังคญาณ แล้วก็จะมีกำลังมากคล้าย ๆ กับอัปปนาสมาธิ
อย่าเข้าใจผิดว่าการปฏิบัติวิปัสสนาต้องตั้งสติกำหนดที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องย้ายไปกำหนดที่อารมณ์อื่น สมาธิจะได้ตั้งมั่น จิตไม่วอกแวกเช่น ขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ พอมีการได้ยิน การปวด การคิด เกิดขึ้นและเป็นอารมณ์ที่ชัดกว่า ก็ไม่ยอมกำหนด การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการเข้าใจผิด สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสมถสมาธิส่วนวิปัสสนาขณิกสมาธินั้นมีรูปนามปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ต้องตั้งสติจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าขณิกสมาธิ
แต่วิปัสสนาขณิกสมาธิเมื่อมีกำลังแก่กล้าพอ ก็สามารถทำให้บรรลุถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ คือ เข้าถึงมรรคผล นิพพานได้ อุปมาเหมือนเมล็ดงาที่มีขนาดเล็กมากเมล็ดหนึ่ง ๆ ย่อมมีน้ำมันน้อย ยังไม่อาจทำให้เกิดเป็นน้ำมันขึ้นมาได้ แต่เมื่อเอาหลาย ๆ เมล็ดรวมกันเข้าก็ได้น้ำมันมาก ข้อนี้ฉันใดวิปัสสนาขณิกสมาธิก็ฉันนั้น โยคีบุคคลที่มีจิตไปถึงไหน ก็ตั้งสติกำหนดไปที่นั้น ได้ขณิกสมาธิเกิดขึ้นมาทันที ไม่เรียกว่าใจฟุ้งซ่านเมื่อขณิกสมาธิมีกำลังมากเท่ากับอุปจารสมาธิแล้ว การกำหนดอารมณ์อันหนึ่งกับอีกอันหนึ่งนั้นระหว่างกลางอารมณ์ทั้งสองกิเลสนิวรณ์เข้าไม่ได้
รูปแบบของวิปัสสนายานิก
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนากรรมฐาน (pure
insight meditation) ซึ่งเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โยคีหรือผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดรูปธรรม
(materiality) และนามธรรม (mentality) ที่เป็นปรมัตถ์ ในขณะที่ทวารทั้ง 6 รับรู้อารมณ์ภายนอก
(รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และธรรมารมณ์) ตัวอย่างเมื่อมีรูป (คลื่นแสง) มากระทบกับตาจะเกิด
การเห็นขึ้น ให้ตั้งสติกำหนดในใจว่า “เห็นหนอ ๆๆ” ในขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบที่
สำคัญ 3 อย่างคือ
1. ตา เป็นรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ คือ การมองเห็น
2. รูปหรือคลื่นแสงก็เป็นรูป
3. จักขุวิญญาณ คือการเห็น เป็นนาม
ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการกำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ ๆ” ด้วยความเพียร (อาตาปี) สติ (สติมา) และ
สัมปชัญญะ (สัมปชาโน) จะมีเพียงรูป (คือ ตา กับคลื่นแสงที่มากระทบกับตา) และนาม (คือจักขุ
วิญญาหรือการเห็น) เกิดขึ้น รูปและนามที่เกิดขึ้นก็มีการเกิดและการดับอยู่ตลอดเวลาอย่างถี่ยิบ
เพราะเป็นรูปนามปรมัตถ์ ต่อมาก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ในขณะ
นั้นจะไม่มีสิ่งสมมุติหรือบัญญัติ (concepts) เช่น ฉันเห็น เขาเห็น เธอเห็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับโยคีผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มักประสบความยากลำบากอย่าง
มากในการกำหนดรูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 วิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนจึงนิยมให้กำหนดตาม
หมวดอิริยาบทใหญ่ 4 (อิริยาปถปัพพะ) หมวดอิริยาบทย่อย 4 (สัปชัญญะปัพพะ) และหมวดกำหนด
ธาตุ 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ)
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยทางวิปัสสนา เมื่อเริ่มปฏิบัติให้นั่งในท่าสมาธิแบบพระพุทธรูป ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาวางลงบนมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นเอาสติไปกำหนดที่ท้องบริเวณสะดือ ให้สังเกตแต่เพียงอาการคือการแสดงออกมา (manifestation)ซึ่งได้แก่การเคลื่อนไหว (movement or motion) ของท้องขณะที่ท้องพองออกให้กำหนดในใจว่า“พองหนอ” และขณะที่ท้องยุบลงให้กำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” ไม่ให้มีการออกเสียง เป็นแต่เพียงการกำหนดในใจ (a mental note) เท่านั้น ปล่อยให้การหายใจดำเนินไปตามปกติไม่ต้องไม่สนใจกับลมหายใจเข้าออก และรูปร่างสัณฐานของท้อง จำไว้ว่าสนใจแต่เพียงอาการพองและอาการยุบของท้องเท่านั้น
การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ
“อการกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ“อนนมติ-โอนมติ” (ภาษาบาลี) นั้น เป็นเพียงคำภาวนา ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ (conventionalconcept) เพื่อก่อให้เกิดสมาธิเท่านั้นไม่ใช่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate reality) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น นอกเหนือจากการกำหนดในใจว่า “พองหนอ ยุบหนอ” แล้วโยคีจะต้องพยายามสังเกตดู “อาการพอง-อาการยุบ” ซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ แน่นอนในระยะเริ่มต้นโยคีมักจะกำหนดได้แต่เพียงอารมณ์บัญญัติก่อน
ต่อไปเมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ(ความสงบและความตั้งมั่นของจิต) และปัญญา (ความรู้) พัฒนามากขึ้น ๆ ก็จะค่อย ๆ เห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือ อาการพอง-อาการยุบ ชัดขึ้น ๆ เป็นลำดับ การกำหนดอารมณ์ของกรรมฐาน “พองหนอ-ยุบหนอ” คือการกำหนด “วาโยโผฏฐัพพรูป” ซึ่งหมายถึงรูปตามที่ลมถูกต้องนั่นเอง
ธาตุลมกับอาการพองและอาการยุบ
ธาตุลม (วาโยธาตุ) มี 2 อย่าง คือ
1. วาโยธาตุภายในและ
2. วาโยธาตุภายนอก
ในที่นี้วาโยธาตุภายในมีอยู่ 6 ประการคือ
1. ลมที่ขึ้นเบื้องสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการเรอ สะอึก หรืออาเจียน
2. ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งทำให้มีการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระออกจากร่างกาย
3. ลมที่อยู่ในท้องภายนอกระบบทางเดินอาหาร
4. ลมในกระเพาะและลำไส้
5. ลมที่เดินตามเส้นประสาทไปตามแขนขา และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดการยืน
การนั่ง การเดิน การคู้ การเหยียด และอิริยาบทย่อยอื่น ๆ และ
6. ลมหายใจเข้าและออก
ส่วนวาโยธาตุภายนอก ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ลมมรสุม ลมไต้ฝุ่น ลมประจำ
ทิศ ลมร้อน ลมเย็น ลมที่เกิดจากพัดลม เป็นต้น
จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การกำหนดอาการพองและอาการยุบของท้อง มิใช่การ
กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกซึ่งอยู่ในหมวดอานาปานปัพพะ แต่เป็นการกำหนดวาโย
ธาตุหรือธาตุลมซึ่งอยู่ในหมวดธาตุมนสิการปัพพะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน
สูตรว่า “ภิกษุพิจารณาดูกาย นี้แหละ ตามที่สถิตอยู่ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ในการนี้มี ธาตุ
ดิน (the earth element) ธาตุน้ำ (the water element) ธาตุไฟ (the fire element) และธาตุลม (the wind element)
ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ธาตุทั้ง 4 จะปรากฏอาการให้รู้เป็นปัจจุบันธรรม
ตัวอย่างในอิริยาบทนั่ง ร่างกายของโยคีจะมีลักษณะตึงและเคร่ง เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ในอิริยาบทนี้
ด้วยอำนาจของธาตุลมเหมือนลูกโป่งที่ถูกอัดจนแน่นด้วยลม จนมีลักษณะพองและตึง ความแข็ง
(hardness) หรือความอ่อน (softness) คือลักษณะเฉพาะของธาตุดินบางครั้งรู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณท้องหรือก้นที่สัมผัสกับพื้น ความอุ่น (warmth) หรือความร้อน (hotness) คือธาตุไฟที่ปรากฎออกมาการที่ท้องหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกาะกุมกันจนมีรูปร่างเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผนังหน้าท้อง การเกาะกุม (cohesion) เช่นนี้ คือ ลักษณะของธาตุน้ำ ส่วนอาการหรือการเคลื่อนไหว (motion)ของท้องเวลาท้องพองออกและท้องยุบลง คือปรากฎการณ์ของธาตุลม
ธาตุทั้ง 4 เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เรียกว่า อวินิพโภครูป สิ่งที่เป็นรูปทุก
อย่างแม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดจะต้องมีคุณสมบัติที่มีอยู่เป็นประจำ 8 อย่างคือ
- ปฐวี (คือสภาพแข็งและอ่อน)
- อาโป (คือสภาพเอิบอาบและเกาะกุม)
- เตโช (คือสภาพร้อนและเย็น)
- วาโย (คือสภาพเคร่งตึงและเคลื่อนไหว)
- วัณณะ (คือสี)
- คันธะ (คือกลิ่น)
- รสะ (คือรส) และ
- โอชา (คืออาหารรูป)
ธาตุลมทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากอำนาจของธาตุลม เมื่อเราคู้แขนเข้ามา เหยียดแขน
ออกไป หรือแสดงพฤติกรรมทางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าธาตุลมกำลังทำงานอยู่ ตัวอย่าง
สำหรับการเดิน ก่อนที่การเดินจะเกิดขึ้น จิตจะทำหน้าที่เป็นผู้สั่งทำให้วาโยธาตุแล่นไปทั่วร่างกาย
โดยเฉพาะบริเวณขาทั้งสองข้าง ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมของการเดิน
โดยสรุปจิตที่อยากเดินนั้นเป็นเหตุ ส่วนอาการเดินที่เกิดขึ้นเป็นผล สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ปรากฎการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสรีรวิทยาทางการแพทย์ ในสมองของแต่ละคนจะมีส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวของร่างซีกซ้ายจะถูกควบคุมโดยสมองซีดขวา เมื่อเราต้องการจะยกมือซ้าย จิตที่ประกอบด้วยเจตนาจะสั่งให้สมองซีกขวาจะส่งกระแสประสาท (nerve impulse) ไปตามเซลล์
ประสาท (neurons) จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งไปสู่เส้นประสาท (nerve fibers) ที่ไปเลี้ยง
บริเวณแขนและมือซ้าย กระแสประสาทจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของมือตามที่ต้องการ ความ
จริงแล้วกระแสประสาทก็คือ ธาตุลมนั้นเอง เพราะมีหน้าที่เหมือนกันคือ การทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหว (movement) ในร่างกาย
ในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าโยคีกำหนดแต่เพียงรูปร่างสัณฐานของ ท้อง แขน
ขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตยังคงเป็น
อารมณ์บัญญัติ (conventional concepts) ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานทำให้จิตสงบและตั้งมั่น แต่ยังไม่สามารถทำลายสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเราของเขา เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา
ทำนองนี้ได้ แต่ถ้าโยคีพยายามกำหนดการเคลื่อนไหวของท้องพร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ” หรือกำหนดการเคลื่อนไหวของเท้า พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “ยกหนอ ย่าง
หนด เหยียบหนอ” (สำหรับการเดินจงกรม 3 ระยะ) ในลักษณะเช่นนี้อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตจะเป็น
อารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate realities) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน การกำหนดที่ถูกต้อง
เช่นนี้จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนเห็นแจ้งประจักษ์ในความไม่เที่ยง
(อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของรูปนาม เห็นรูปนามเกิดดับ
อย่างถี่ยิบ จนเกิดความกลัว ความเห็นโทษ ความเบื่อหน่าย ความปรารถนาที่จะพ้นไปจากรูปนาม
และจนสุดท้ายคือ บรรลุมรรคญาณและผลญาณในที่สุด
ประวัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์
ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะเจ้า สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
จังหวัดชลบุรีได้เล่าไว้ ในเรื่อง “วิปัสสนาวงศ์” เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ
ปัฏฐาน 4 หรือแบบ “พองหนอ-ยุบหนอ” มีหลักฐานยืนยันว่าการปฏิบัติแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณ
กาลในราวพุทธศักราช 235 มีอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมด้วยพระ
อรหันต์ 1,000 รูป ได้ร่วมกระทำตติยาสังคายนา ที่เมืองปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธ โดยมี
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นศาสนูปถัมภก หลังจากเสร็จสิ้นในการทำสังคายนาครั้งที่สามแล้ว ท่านได้
ส่งสาวกที่เป็นพระอรหันต์นำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่และประดิษฐานยังที่ต่าง ๆ รวม 9 สาย
ด้วยกัน
ในแคว้นสุวรรณภูมิมีพระโสณะอรหันต์ และพระอุตตระอรหันต์ นำพระพุทธศาสนามา
ประดิษฐานที่เมืองตะโทง (Thaton) หรือสุธรรมนครในประเทศสหภาพพม่า ตามประวัติได้มีการ
สืบทอดวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์เรื่อยมาไม่ขาดสาย จนถึงสมัยของวิปัสสนาจารย์ติรงคะ สะยาดอ
พระมโน อรหันต์ พระมิงกุลโตญ สะยาดอ และพระมิงกุล เชตวัน สยาดอ ตามลำดับ
พระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ หรือภัททันตะนารทเถระแห่งเมืองมะละแหม่ง เป็นผู้ที่
มีชื่อเสียงมากในการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 จนกิตติศัพท์ของท่านขจรไป
ไกลในประเทศสหภาพพม่า
สมัยนั้นสานุศิษย์ของท่านผู้หนึ่งที่มีคนรู้จักกันดีทั่วไปในวงการพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท คือ พระอาจารย์มหาสีสะยาดอ หรือ ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต ผู้เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาสี และเจ้าสำนักสาสนยิตตา ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในเมืองย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า พระอาจารย์ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ผู้เป็นสานุศิษย์องค์หนึ่งของพระอาจารย์มหาสีสะยาดอ ได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าพระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ มีความสามารถในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างช่ำชอง ท่านสามารถกำหนดสติได้ ทั้งที่ปลายจมูก โดยสังเกตการกระทบของลมหายใจเข้าออกที่บริเวณนี้ (แบบอานาปานปัพพะ) และที่บริเวณท้องโดยสังเกตอาการพองและอาการยุบ (แบบธาตุมนสิการปัพพะ)
การเผยแพร่วิปัสสนาแบบพองหนอยุบหนอ
เมื่อพระอาจารย์มหาสี สะยาดอ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับท่านได้พิจารณาดูอย่างรอบ
คอยกลับมีความเห็นว่า การกำหนดสติที่บริเวณท้องทำได้ง่ายกว่า และได้ผลดีกว่าด้วย
โดยปกติลมหายใจเข้า-ออก เป็นรูปที่ละเอียดอ่อน เป็นอารมณ์ของกรรมฐานที่กำหนดได้
ยาก เมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความ
รู้ตัวทั่วพร้อม) มีพลังมากขึ้น ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดอ่อนและเบาลง ๆ จนดูเหมือนว่าจะหยุด
หายใจ ในสถานการณ์เช่นนี้ โยคีบางคนหาที่กำหนดไม่ได้ ทำให้จิตฟุ้งซ่านและซัดส่าย
แม้ว่าอานาปานสติจะเป็นยอดของกรรมฐานทั้งหมด แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวไว้ว่า
“ก็อานาปานสติกรรมฐานนี้เป็นของยาก อบรมได้ยาก เป็นภูมิแห่งมนสิการของผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น
กล่าวคือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรทั้งหลาย”
ส่วนการกำหนดสติที่บริเวณท้องโดยสังเกตการเคลื่อนไหวของท้อง ซึ่งเกิดจากอำนาจของ
ธาตุลมทำให้สะดวกกว่า เพราะว่าวาโยโผฏฐัพพรูป หรือรูปที่ลมถูกต้อง เป็นรูปที่หยาบกว่ารูปอัน
เกิดจากการสัมผัสของลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก นอกจากนั้นคนสมัยนี้ไม่ละเอียดอ่อนเหมือน
คนสมัยก่อน
ดังนั้นการกำหนดสติที่บริเวณท้องจึงเหมาะสมกว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เมื่อเริ่มมีการ
สอนวิปัสสนากรรมฐาน พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จึงแนะนำให้โยคีทุกคนกำหนดสติไว้ที่หน้า
ท้องบริเวณสะดือ และพยายามสังเกตอาการพอง-อาการยุบ พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ”
ในช่วงเวลานี้หลายคนมีความเห็นขัดแย้งกับแนวการสอนแบบนี้อย่างรุนแรง เขา
เหล่านี้คิดว่าเป็นวิธีการสอนวิปัสสนากรรมฐานแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยพระอาจารย์มหาสี สะ
ยาดอ เป็นคำสอนที่ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก หรือมิใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จาก
หลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ชัดว่าวิธีการสอนแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลเป็นแนวปฏิบัติที่
นิยมแพร่หลายในประเทศสหภาพพม่าเป็นระยะเวลานานก่อนที่พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จะ
นำมาใช้สอนโยคีผู้เป็นศิษย์
ฉะนั้น การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ที่บริเวณท้องคือการสังเกตธาตุลม (วาโย
ธาตุ) ที่มีสภาวะลักษณะคือการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เป็นแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานที่
สอดคล้องกับหลักคำสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าด้วยการมีสติตามดูกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏ
ฐาน) ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณากายโดยความเป็นธาตุทั้ง 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ) อาการ
พอง-อาการยุบ คือรูปที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสของธาตุลมนี้เรียกว่า วาโยโผฏฐัพพรูป เป็นรูปปรมัตถ์
ที่มีลักษณะของวาโยธาตุชัดเจนคือการเคลื่อนไหว
พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ในบาลีสังยุติการยว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ ตั้งสติ กำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้น
อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนแน่นอน”
ยังทรงเทศน์อีกว่า “โยคีบุคคลที่โผฏฐัพพารมณ์ถูกต้องสัมผัสนั้นตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยงบุคคลนั้นอวิชชาหายไปวิชชาญาณปรากฏ”
ดังนั้น การกำหนด “พองหนอ-ยุบหนอ” จึงเป็นการสังเกตวาโยโผฏฐัพพรูปด้วยโยนิโสมนสิการ อันประกอบด้วยอาตาปีหรือวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพลังของปัจจัยดังกล่าวแก่กล้าพอเพียงแล้วผู้ปฏิบัติ (โยคี) จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตนของรูปธรรมและนามธรรม มีสัมมาทิฏฐิและวิชชาญาณเกิดขึ้น จนสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
อ้างอิง
วิปัสสนากรรมฐาน(แนวมหาสติปัฏฐานสูตร)
รวบรวมเป็นวิทยาทานโดย…..พระราชพุทธิญาณ
เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดบุพพาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่
ประธานศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นวัดบุพพาราม
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น