รสวรรณคดีไทย มี 4ประเภท ดังนี้
มาจากคำว่า เสาว ว. ดี, งาม + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์ ว. งาม
คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง อาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่น บทชมโฉมนางมัทนา โดยท้าวชัยเสนราพันไว้ ในวรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา ว่า
สียงเจ้าสิเพรากว่า ดุริยางคะดีดใน
ฟากฟ้าสุราลัย สุรศัพทะเริงรมย์
ยามเดินบ่เขินขัด กละนัจจะน่าชม
กรายกรก็เร้ารม ยะประหนึ่งระบาสรวย
ยามนั่งก็นั่งเรียบ และระเบียบบ่เขินขวย
แขนอ่อนฤเปรียบด้วย ธนุก่งกระชับไว้
พิศโฉมและฟังเสียง ละก็เพียงจะขาดใจ
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: มัทนะพาธา)
บทชมนางเงือก ซึ่งติดตามพ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร
จากเรื่อง พระอภัยมณี
หน่อกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้าล้วนขาคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
2. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวโอ้โลม)
มาจากคำว่า นารี น. ผู้หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ
คือการกล่าวแสดงความรัก ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันในระยะแรกๆ หรือการพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย เช่น บทพระอภัยมณีโอ้โลมนางละเวง กล่าวว่า
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้าอาไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคูสอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
ในเรื่องวิวาหพระสมุทร กล่าวถึงนางอันโดรเมดา ไว้ว่า
อันโดรเมดาสุดาสวรรค์ ยิ่งกว่าชีวันเสน่หา
ขอเชิญชาวสวรรค์ชั้นฟ้า เปิดวิมานมองมาให้ชื่นใจ
ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์ ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่
ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ ไม่เห็นโฉมประโลมใจก็มืดมน
อ้าดวงสุรีย์ศรีของพี่เอ๋ย ขอเชิญเผยหน้าต่างนางอีก
ขอเชิญจันทร์ส่องสว่างกลางสกล เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว : วิวาหพระสมุทร)
3. พิโรธวาทัง(บทตัดพ้อ)
มาจากคำว่า พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารมณ์ + วาทัง น. วาทะ คำพูด
คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง
เช่น บทพิโรธของพระพันวษาตรัสบริภาษนางวันทอง ในเสภาขุนช้างขุนแผน ว่า
รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม
แต่ใจสัตว์มันยังมีที่นิยม สมาคมก็แต่ถึงฤดูมัน
มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถ่อยอีท้ายเมือง จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์
ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน สักร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ
ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว หาตามตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ไย อ้ายไวยมึงอย่านับว่ามารดา
(สุนทรภู่ : เสภาขุนช้างขุนแผน)
บทตัดพ้อที่แสดงทั้งอารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กัลยาณพงศ์ จากบทกวี “เสียเจ้า”
จะเจ็บจาไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
(อังคาร กัลยาณพงศ์ )
4. สัลลาปังคพิสัย (บทโศก)
มาจากคำว่า สัลล น. ความโศกเศร้าร่ำน้ำตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ , การคร่ำครวญรำพันถึงหรือ สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ + พิไสย น. ความสามารถ
คือการโอดครวญ หรือบทโศกอันว่าด้วยการจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก
เช่น
บทที่อิเหนากำลังชมนกชมไม้ระหว่างจะไปดาหา กล่าวว่า
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่จากสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสะการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างน้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาที่ไกลนาง
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้า
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพลางรีบโยธี
( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย : อิเหนา)
สุนทรภู่คร่่ำครวญถึงรัชกาลที่ 2 ซึ่งสวรรคต แล้วเป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องตกระกำลำบาก เพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ ๓ ต้องระเห็ดเตร็ดเตร่ไปอาศัยในที่ต่างๆขณะล่องเรือผ่านพระราชวัง สุนทรภู่ ซึ่งราลึกความหลังก็คร่าครวญอาลัยถึงอดีตที่เคยรุ่งเรือง ซึ่งกล่าวว่า
เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ (สุนทรภู่ : นิราศภูเขาทอง)
- เสาวรจนี
- นารีปราโมทย์
- พิโรธวาทัง
- สัลลาปังคพิสัย
มาจากคำว่า เสาว ว. ดี, งาม + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์ ว. งาม
คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง อาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่น บทชมโฉมนางมัทนา โดยท้าวชัยเสนราพันไว้ ในวรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา ว่า
สียงเจ้าสิเพรากว่า ดุริยางคะดีดใน
ฟากฟ้าสุราลัย สุรศัพทะเริงรมย์
ยามเดินบ่เขินขัด กละนัจจะน่าชม
กรายกรก็เร้ารม ยะประหนึ่งระบาสรวย
ยามนั่งก็นั่งเรียบ และระเบียบบ่เขินขวย
แขนอ่อนฤเปรียบด้วย ธนุก่งกระชับไว้
พิศโฉมและฟังเสียง ละก็เพียงจะขาดใจ
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: มัทนะพาธา)
บทชมนางเงือก ซึ่งติดตามพ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร
จากเรื่อง พระอภัยมณี
หน่อกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
ประไพพักตร์ลักษณ์ล้าล้วนขาคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
2. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวโอ้โลม)
มาจากคำว่า นารี น. ผู้หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ
คือการกล่าวแสดงความรัก ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันในระยะแรกๆ หรือการพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย เช่น บทพระอภัยมณีโอ้โลมนางละเวง กล่าวว่า
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้าอาไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคูสอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
ในเรื่องวิวาหพระสมุทร กล่าวถึงนางอันโดรเมดา ไว้ว่า
อันโดรเมดาสุดาสวรรค์ ยิ่งกว่าชีวันเสน่หา
ขอเชิญชาวสวรรค์ชั้นฟ้า เปิดวิมานมองมาให้ชื่นใจ
ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์ ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่
ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ ไม่เห็นโฉมประโลมใจก็มืดมน
อ้าดวงสุรีย์ศรีของพี่เอ๋ย ขอเชิญเผยหน้าต่างนางอีก
ขอเชิญจันทร์ส่องสว่างกลางสกล เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว : วิวาหพระสมุทร)
3. พิโรธวาทัง(บทตัดพ้อ)
มาจากคำว่า พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารมณ์ + วาทัง น. วาทะ คำพูด
คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง
เช่น บทพิโรธของพระพันวษาตรัสบริภาษนางวันทอง ในเสภาขุนช้างขุนแผน ว่า
รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม
แต่ใจสัตว์มันยังมีที่นิยม สมาคมก็แต่ถึงฤดูมัน
มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถ่อยอีท้ายเมือง จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์
ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน สักร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ
ว่าหญิงชั่วผัวยังคราวละคนเดียว หาตามตอมกันเกรียวเหมือนมึงไม่
หนักแผ่นดินกูจะอยู่ไย อ้ายไวยมึงอย่านับว่ามารดา
(สุนทรภู่ : เสภาขุนช้างขุนแผน)
บทตัดพ้อที่แสดงทั้งอารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กัลยาณพงศ์ จากบทกวี “เสียเจ้า”
จะเจ็บจาไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
(อังคาร กัลยาณพงศ์ )
4. สัลลาปังคพิสัย (บทโศก)
มาจากคำว่า สัลล น. ความโศกเศร้าร่ำน้ำตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ , การคร่ำครวญรำพันถึงหรือ สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ + พิไสย น. ความสามารถ
คือการโอดครวญ หรือบทโศกอันว่าด้วยการจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก
เช่น
บทที่อิเหนากำลังชมนกชมไม้ระหว่างจะไปดาหา กล่าวว่า
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่จากสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสะการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างน้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาที่ไกลนาง
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้า
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพลางรีบโยธี
( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย : อิเหนา)
สุนทรภู่คร่่ำครวญถึงรัชกาลที่ 2 ซึ่งสวรรคต แล้วเป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องตกระกำลำบาก เพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ ๓ ต้องระเห็ดเตร็ดเตร่ไปอาศัยในที่ต่างๆขณะล่องเรือผ่านพระราชวัง สุนทรภู่ ซึ่งราลึกความหลังก็คร่าครวญอาลัยถึงอดีตที่เคยรุ่งเรือง ซึ่งกล่าวว่า
เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ (สุนทรภู่ : นิราศภูเขาทอง)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น