ลักษณะต่างๆ เช่น รูปหน้า ลักษณะของเส้นผม สีผม ชั้นหนังตา สีตา ติ่งหู สีผิว ความสูง ลักยิ้ม ความสามารถในการห่อลิ้น เป็นลักษณะที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ เราจึงเรียกลักษณะพวกนี้ว่า ลักษณะทางพันธุกรรม
โรคบางโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ตาบอดสี เบาหวาน ธาลัสซีเมีย และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
ถ้าลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นไม่เหมือนลักษณะของใครในครอบครัวเลย แสดงว่าลักษณะบางอย่างที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะแปรผัน เช่น ความสูง พ่อแม่เตี้ย แต่ลูกสูง เป็นเพราะได้รับสารอาหารที่ดี มีสติปัญญาดี เพราะได้รับการศึกษาอบรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปได้
ลักษณะเด่น จะปรากฏในรุ่นลูก แต่ ลักษณะด้อย จะปรากฏในรุ่นหลาน เช่น การที่พ่อแม่มีลักยิ้ม แต่ลูกที่เกิดมาไม่มีลักยิ้ม ถือเป็นการถ่ายทอดพันธุกรรมที่มีลักษณะด้อย
ลักษณะทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ที่ปรากฏในรุ่นลูก เราจะเรียกว่า ลักษณะเด่น
ส่วนสูง เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีลักษณะแปรผัน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
ถ้าพ่อแม่มีผมหยิก ลูกที่เกิดมาควรมีโอกาสผมหยิก เพราะผมหยิกเป็นลักษณะเด่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น