ตอนที่ 7: พระพุทธศาสนา เรื่อง การปฏิบัติเพื่อความรู้ธรรมและเห็นธรรม โดย พระอาจารย์สุทธี ฐิตญาโณ วัดป่าพุทธาวาสรังสี จังหวัดร้อยเอ็ด

การปฏิบัตินี้ผู้ปฏิบัติยังไม่รู้ไม่เห็นอะไรในชั้นต้นๆ ชั้นนี้ต้องอาศัยการอบรม การแนะ การนำ จากครูบาอาจารย์ก่อน เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรเลย ผู้แนะนำในการสอนก็ต้องให้รู้จักวิธีปฏิบัติ ให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจวิธีก่อน

พอเข้าใจวิธีทำแล้วก็ลงมือปฏิบัติ คือปฏิบัติให้ธรรมเกิดขึ้นกับใจของผู้ปฏิบัติก่อน ถ้าธรรมไม่เกิดกับใจ ใจก็ไม่รู้ว่าธรรมเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไรถ้าธรรมไม่เกิด ใจก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และไม่รู้ทั้งอาการของใจและอาการของธรรมด้วย

ฉะนั้นผู้จะรู้ธรรมเห็นธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อให้ธรรมเกิดกับใจ คือสร้างธรรมขึ้นที่ใจ ให้ใจเป็นธรรมรู้ธรรมเห็นธรรมก่อน พอเกิดแล้วใจก็เห็นธรรมและรู้ธรรม ถ้ารู้แล้วเกิดแล้วเห็นแล้วเป็นแล้ว ใจของผู้ปฏิบัติจะต้องได้สัมผัสจากธรรมที่เกิด คือ เกิดความสงบที่ว่า “สมถธรรม” ก็ต้องปฏิบัติให้เกิดกับใจของผู้ปฏิบัติก่อน

เกิดสมาธิก็เช่นเดียวกัน เกิดสติเป็นธรรมะก็เช่นเดียวกัน เกิดปัญญาธรรมก็เช่นเดียวกัน เกิดอะไรก็ขอให้แต่เกิดมา จะต้องเกิดกับใจผู้ปฏิบัติทั้งนั้น เพราะว่าผู้รับรู้ธรรมทั้งหลายคือใจ ถ้าใจไม่ใช่ใจแล้วไม่มีใครรู้

ทีนี้เป็น เป็นก็เช่นเดียว คือ เป็นหรือไม่เป็นนี่ ผุ้ปฏิบัติก็ต้องรู้คือ รู้จากการเกิด เกิดขึ้นมาจะเกิดธรรมอะไรก็ช่าง จะต้องไปเกิดกับใจของผู้ปฏิบัติ

ทีนี่เห็น เห็นเช่นเดียวกัน คือ เกิดก็เห็นการเกิด พอเห็นการเกิดพอเกิดก็เห็นว่าเกิดมาแล้วเป็นอย่างไร นี้เห็นการเป็นแล้วน่ะ พอเห็นว่าเกิดขึ้นมาแล้วเป็นอย่างไรก็รู้ นี้รู้แล้วน่ะ การเห็นนี้ใจจะสัมผัสได้ด้วยธรรมหลายอย่าง และทำความรู้ความเห็นได้หลายอย่าง จากข้ออรรถข้อธรรม คือ อาศัยความเห็นนี้เป็นใหญ่ในวงการปฏิบัติ

ถ้าไม่เห็นก็ไม่รู้ว่าปฏิบัติผิดเป็นอย่างไร ปฏิบัติถูกเป็นอย่างไร เห็นความสงบ เห็นสมาธิ เห็นสติ เห็นปัญญาเป็นอย่างไร ความเห็นนี้มากมายเหลือเกิน จนไม่อาจจะเอาความเห็นทั้งหลายมาเล่าสู่กันฟังได้ คือ “ทำความรู้ก็ตาม ความเห็น สุข ทุกข์ ดี ชั่วอะไร ก็อาศัยความเห็น” ยิ่งสติปัญญาด้วยแล้ว ยิ่งต้องเอามาเป็นประสบการณ์ คือ ความเห็นเป็นใหญ่ จดจ่อพิจารณาอะไรด้วยสติธรรมจนเห็นเป็นปัญญาธรรมขึ้นมาด้วยความเห็น เสมือนหนึ่งว่าในภาคปฏิบัตินี้ถือเอาความเห็นเป็นปัญญาก็ไม่ผิด คือ “รู้ด้วยสติ เห็นด้วยปัญญา”

ทีนี้รู้ก็เช่นเดียวกัน คือ รู้ด้วยสติ เห็นด้วยปัญญา ความรู้ก็มาจากความเห็นนี้

ทีนี่สว่างก็เช่นเดียวกัน คือ สว่างด้วยสติ  สว่างด้วยปัญญา ก็รู้ด้วยสติ เห็นด้วยปัญญา ก็เสมือนหนึ่งว่าสติก็ดี ปัญญาก็ดี ที่บำรุงขึ้นด้วยการปฏิบัติธรรมนี้เปิดโลกเปิดธรรมก็ไม่ผิด คือ ธรรมทั้ง 2 อย่างผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติไม่สมบูรณ์แล้ว ด้านธรรมจะไม่เกิด ไม่เป็น จะไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย จิตใจของผู้ปฏิบัติจะว่าบอดจะว่ามืดจะว่าไม่มีจะว่าไม่เห็นหรือจะว่าไม่เป็นจะว่าอะไร ๆ ทั้งนั้น แต่จะเป็นจริงเหมือนอย่างที่เราผู้ตกอยู่ในความมืดรู้หรือเปล่าก็ไม่รู้ คือ ธรรมทุกข้อ ศาสนาทุกตอนที่ออกมาเป็นศาสนาธรรม คำสอนของพระผู้รู้ คือ พระพุทธเจ้า คือ เจ้าแห่งความรู้ ทั้งการตรัสรู้ของพระองค์ก็ตรัสมาจากสัจธรรม

ผู้รู้คือพระพุทธเจ้า คือเป็นเจ้าแห่งความรู้ ทั้งการตรัสรู้ของพระองค์ก็ตรัสรู้มาจากสัจธรรม คือความเป็นจริงทุกข้อ ในความเห็นของท่านกับความเห็นของพวกเรานี้ ถึงรู้เห็นก็ต่างกัน เหมือนอย่างฟ้ากับดินหินกับเพชร หรือคนละขั้วโลกโน้น ในด้านความรู้ความเห็น

ฉะนั้น ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม ไม่เข้าใจในธรรม ไม่รุ้ธรรมและไม่เห็นธรรมแล้ว ไปฟังท่านแสดงธรรมก็ไม่อยากฟัง เพราะเห็นว่าการฟังนี้ไม่มีค่าอะไรเลย เท่านี้ก็ยังดี แล้วยังเกลียดชังผู้แสดงด้วย คือ ไม่พอใจในการฟัง อย่างนี้เป็นต้น

ต่อไปก็เกลียดพระศาสนาคือ เกลียดคำสอนของพระองค์ คือท่านสอนไว้ว่า ทาน ศีล ภาวนา อย่างนี้ไม่ค่อยมีใครชอบกัน และไม่อยากมีขึ้นในตนเลย อย่างนี้เป็นต้น มิหนำซ้ำยังไปอิจฉาผู้เข้าไปวัดรักษาศีล ผู้เข้าไปทำสมาธิภาวนาด้วยซ้ำไป นี้ก็ด้วยความเห็น แต่เป็นความเห็นของผู้ไม่รู้ ของผู้ไม่เข้าใจในความดี คือความเป็นศาสนาทั้งหลายนี้ ก็เกิดจากความเห็นของใจ ความมืดของใจ ความรู้ของใจผุ้ไม่รู้

ถ้าเห็นตามความเป็นจริงแล้ว รู้ตามคำสอนของพระศาสนาของศีล ของธรรมแล้วตามความเป็นจริง ดังที่พระองค์ทรงสอนไว้ด้วยทางภาคปฏิบัติแล้ว ก็จะเห็นศาสนธรรมคำสอนของพระองค์ที่ทรงสอนไว้นี้ ทั้งด้านความรู้ความเห็น และจะเห็นถึงความเป็นศาสดาของพระองค์ว่า “เป็นศาสดาที่เลิศโลกเช่นเดียวกัน” เพราะความเห็นในธรรมคือ คำสอนของท่านก็เลิศโลกอยู่แล้ว

พระองค์จึงทรงสอนไว้ในธรรมว่า “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา หรือ ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม” นี้ก็ออกมาจากความเห็นไม่ใช่หรือ? ความมีศาสนากับความไม่มีศาสนานี้ต่างกัน ความรู้ศาสนากับความไม่รู้ศาสนาก็ต่างกัน ความเห็นศาสนากับความไม่เห็นศาสนาก็ต่างกัน ความรู้ความเห็นของพระพุทธเจ้ากับความเห็นของเราจึงต่างกัน

ผู้ปฏิบัติพระศาสนากับผู้ไม่ได้ปฏิบัติพระศาสนาจึงต่างกัน คือศาสนาพูดตามส่วนของสัจธรรมแล้ว ศาสนาคือความเป็นสัจธรรมนี้มีอยู่แล้วตั้งแต่โลกตั้งโนน คือเป็นสัจธรรมเป็นความจริงอยู่ตามความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น แต่ไม่มีใครรู้ได้เห็นได้ ถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ฉะนั้นผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้รู้ศาสนา ผู้เห็นศาสนาจะไม่วิเศษและเลิศโลกได้อย่างไร ความรู้ก็ต้องเลิศโลกจึงจะรู้สัจธรรมที่มีอยู่ในโลกได้ ความเห็นก็เช่นเดียวกัน จึงจะเห็นสิ่งที่เลิศโลกได้เช่นเดียวกัน

ฉะนั้นผู้รู้ผู้เห็นเป็นคนแรกก็มีพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นผู้รู้ผู้เห็นถึงได้นำมา เอามาแนะนำพร่ำสอนบรรดาสัตว์โลกทั้งหลาย ได้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ได้รับการให้การสอนจากพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้มาด้วยสัจธรรม คือ “ความเป็นจริง” แล้วก็เข้าใจในธรรมที่ท่านให้ท่านสอนเข้าสู่จิตใจ ใจก็เห็นศาสนา เห็นความจริง จึงกลายมาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ครั้งแรก ๆ ก็มี พระสิทธัตถกุมาร เห็นแล้วเกิดความเห็นขึ้นมาเป็นพระธรรมด้วยความรู้ความเห็น แต่ก็แน่ใจในการรู้การเห็น เพราะว่ารู้เห็นแบบเลิศโลก ก็รู้ว่าเป็นความรู้พิเศษ เป็นความเห็นพร้อมด้วย "สันทิฏฐิโก (ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง)" ก็แน่ในทันทีด้วยการรู้ขึ้นเห็นขึ้น แล้วจึงนำความรู้ความเห็นที่พระองค์รู้เห็นมาสอนปัญจวัคคีย์ ที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ก็รู้ตามเห็นตามที่พระองค์รู้ พระองค์เห็น สิทธัตถกุมารก็เป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่วันนั้นมา

ความเห็นพระองค์ก็เห็นพระธรรมคือ ความจริง ศาสนาคือความรู้จริงเห็นจริงก็ออกมาสู่โลกให้โลกได้รู้ได้เห็นพระธรรม คือ พระศาสนาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ผู้ไม่รู้ไม่เห็นก็ได้เห็น เมื่อได้สดับรับฟังศาสนธรรมคำสอนของพระผู้รู้ด้านพระธรรม คือ สันทิฏฐิโกความรู้จริง เห็นจริงแล้วก็กลายมาเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เช่นอย่างปัญจวัคคีย์ เป็นต้น

ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมหรือศาสนาที่เป็นสัจธรรมของพระองค์ก็ดี พระสงฆ์ผู้รู้ธรรมหรือเห็นศาสนา เชื่อฟังในศาสนธรรมของพระองค์ก็ดี ก็ล้วนแล้วแต่มาจากความรู้ความเห็นทั้งนั้น ศาสนาจึงสมบูรณ์ขึ้นด้วยความรู้ความเห็น

พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์และพระไตรสรณคมน์ จึงสมบูรณ์ขึ้นด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือพระศาสนาด้วยความสมบูรณ์จึงเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นด้วยการรู้จริงเห็นจริง

พระองค์จึงนำเอาพระธรรม คือ ความจริง มาเป็นศาสนธรรมคำสอนมาเป็นศาสนา ให้สัตว์โลกทั้งหลายได้กราบไหว้ได้ประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้รู้ได้เห็นได้เกิดเป็นถึง ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ อย่างที่พระองค์ทรงสอนไว้ว่า “ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์



ความคิดเห็น