การนั่งสมาธิ ในแต่ละครั้งไม่ว่าจะนั่งสมาธิ หลาย ๆ นาที หลาย ๆ ชั่วโมง จำเป็นต้องมี คำบริกรรม (คือ การช่วยเป็นเครื่องโยงให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น) เพื่อให้ง่ายต่อการนั่งสมาธิ จึงขอยกตัวอย่าง คำบริกรรม ที่นิยมใช้ และเป็นหลักในการนั่งกรรมฐาน 40 อย่าง ดังนี้
- พุทโธ: กำหนด "พุทโธ" หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ
- พุทโธ ธัมโม สังโฆ: 1) พุทหายใจเข้า โธหายใจออก 2) ธัมหายใจเข้า โมหายใจออก 3) สัง หายใจเข้า โฆหายใจออก
- กรรมฐาน 5: เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
- อาการ 32 ของร่างกาย: เกสา ผมทั้งหลาย, โลมา ขนทั้งหลาย, นะขา เล็บทั้งหลาย, ทันตา ฟันทั้งหลาย, ตะโจ หนัง, มังสัง เนื้อ, นะหารู เอ็นทั้งหลาย, อัฏฐี กระดูกทั้งหลาย, อัฏฐิมิญชังเยื่อในกระดูก, วักกัง ม้าม, หะทะยัง หัวใจ, ยะกะนัง ตับ, กิโลมะกัง พังผืด, ปิหะกัง ไต, ปัปผาสัง ปอด, อันตัง ไส ้ใหญ่, อันตะคุณัง ไส้น้อย, อุทะริยัง อาหารใหม่, กะรีสัง อาหารเก่า, ปิตตัง น้ำดี, เสมหัง น้ำเสลด, ปุพโพ น้ำเหลือง, โลหิตัง นำเลือด, เสโท น้ำเหงื่อ, เมโท น้ำมันข้น, อัฐสุ น้ำตา, วะสา น้ำมันเหลว, เขโฬ น้ำลาย, สิงฆาณิกา น้ำมูก, ละสิกา น้ำไขข้อ, มุตตัง น้ำมูตร, มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมอง
- ยุบหนอ พองหนอ: ให้สังเกตอาการที่ท้องพองขึ้น-ยุบลง
- นะมะพะทะ: เป็นคำภาวนาเฉพาะอย่าง นะมะพะธะ สำหรับผู้ฝึกมโนมยิทธิ จะใช้กำลังของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ท่านช่วย
- นะ โม พุท ธา ยะ ยะธาพุทโมนะ: อันเป็นพระนามขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระพุทธกัสสป พระสมณโคดม และพระศรีอาริยเมตไตรย์ การภาวนาบริกรรมครั้งแรก ให้ภาวนาควบคู่ กับจับลมหายใจเข้าออกไปด้วย หายใจเข้าว่า นะโมพุทธายะ หายใจออก ยะธาพุทโมนะ ต่อมาคำภาวนาจะเร็วขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปเร่งคำภาวนา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น