ตอนที่ 3: รู้เรื่องพลังจักรวาล จักระทั้ง 7 ในร่างกาย และ วิธีเปิดจักระ (7 Chakra in body)


พลังจักรวาล
ในร่างกายมนุษย์มีสิ่งมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติซ่อนเร้นอยู่ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างพลังธรรมชาติ จิตวิญญาณและพลังเหนือธรรมชาติเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้อำนาจของสมาธิ เราเรียกสิ่งมหัศจรรย์นี้ว่า “จักระ (Chakra)”


จักระ (Chakra) เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “กงล้อ” ซึ่งเป็นลักษณะของลำแสงที่แผ่ออกมาเป็นวงคล้ายกลีบดอกบัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ลำแสงที่มีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัวนี้จะหมุนอยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดสีสรรต่าง ๆ เหมือนประกายไฟ มีสีที่ต่างกันออกไป จักระในร่างกายมี 7 จุด ผู้ที่ผ่านการกระตุ้นจักระและฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอจะทำให้จักระหมุนวนรับพลังจักรวาลที่อยู่รอบตัวเข้าสู่จักระทั้ง 7 และหากสามารถพัฒนาอำนาจจิตให้สูงขึ้นก็จะสามารถมองเห็นรูปร่าง แสง สี และการหมุนได้อย่างชัดเจน

จักระทั้ง 7 มีดังต่อไปนี้

  1. จักระที่ 1 มูลธารจักระ (The Base Chakra)
    ตั้งอยู่ระหว่างอวัยวะสืบพันธุ์กับทวารหนัก เป็นพื้นฐานของพลังชีวิต มีหน้าที่ดูดซับพลังคุนดาลินี (Kundalini = งูไฟ หรือ Serpent Fire) จากโลก โดยปกติแล้วจักระนี้จะไม่มีการกระตุ้นอย่างเด็ดขาดเพราะอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกาย สีที่สัมพันธ์คือ สีแดง มี 4 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 1 คือ ทับทิม โกเมน
  2. จักระที่ 2 สวาธิษฐานจักระ (The Sacral Chakra)
    ตั้งอยู่ที่ปลายกระดูกสันหลังใต้ก้นกบ เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังงานทางเพศและความเชื่อมั่นในตนเอง มีหน้าที่กระจายพลังที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือต่อมสืบพันธุ์ (Gonads Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีส้ม มี 6 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 2 คือ โกเมนสีส้ม คาร์เนเลี่ยนสีส้มแดง
  3. จักระที่ 3 มณีปุระจักระ (The Solar Plexus Chakra)
    ตั้งอยู่บริเวณสันหลังที่ตรงกับบั้นเอว มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารทั้งหมด ผลิตโลหิต เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ดิบ ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีเหลือง มี 10 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 3 คือ บุษราคัม ซิทริน
  4. จักระที่ 4 อนาหตะจักระ (The Heart Chakra)
    ตั้งอยู่กลางกระดูกสันหลังระดับที่ตรงกับหัวใจ เป็นศูนย์รวมของความรัก ความเมตตากรุณา ความเสียสละ การพัฒนาจิตใจ ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมไธมัส (Thymus Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีเขียว มี 12 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 4 คือ มรกต เพอริโด
  5. จักระที่ 5 วิสุทธิจักระ (The Throat Chakra)
    ตั้งอยู่ตรงกระดูกต้นคอ เป็นจักระที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ หอบหืด โรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีน้ำเงิน มี 16 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 5 คือ ไพลิน เทอร์ควอยซ์ ลาปิสลาซูลิ อะคัวมารีน
  6. จักระที่ 6 อาชณะจักระ (The Third Eye Chakra)
    ตั้งอยู่กลางหน้าผาก เป็นจักระที่เปรียบเหมือนดวงตาของปัญญา เป็นจุดกำเนิดของญาณหยั่งรู้ เป็นตาที่ 3 เป็นพาหนะแห่งญาณวิเศษสำหรับการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีคราม มี 96 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 6 คือ อะมีธีสต์สีม่วงคราม โซดาไลต์
  7. จักระที่ 7 สหัสธารจักระ (The Crown Chakra)
    ตั้งอยู่กลางกระหม่อม เปรียบเป็นมงกุฎดอกบัว เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระในร่างกาย เป็นสถานที่รับพลังแห่งจักรวาลและกระจายไปทั่วร่างกาย ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมเม็ดสน (Pineal Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีม่วง มี 972 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 7 คือ อะมีธีสต์
หมายเหตุ เนื่องจากชื่อของแต่ละจักระเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อนำมาสะกดเป็นภาษาอังกฤษแล้วอ่านเป็นภาษาไทยจึงมีความแตกต่างไปบ้างแล้วแต่ตำรา หากผู้อ่านไปศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มอื่นหรือไปเข้ารับการฝึกวิชาพลังจักรวาลหรือพลังกายทิพย์แล้วพบว่าเรียกชื่อจักระผิดเพี้ยนไปบ้าง ก็ขอให้เข้าใจว่าเป็นชื่อเดียวกัน

จุดประสงค์ของการฝึกพลังจักระ
การฝึกพลังจักระเพื่อ พัฒนาร่างกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำมาใช้ชีวิตประจำวัน การฝึกจักระเป็นการปรับความสมดุลย์ของพลังในแต่ะละฐาน เมื่อแต่ละฐานหรือศูนย์พลังมีพลังสมดุลย์กัน อวัยวะและต่อมต่าง ๆ ในร่างกายก็จะสามารถทำงานดีขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีภูมิต้านทานโรคดีขึ้นด้วย

ธาตุในจักระทั้ง

1. จักระที่ 1 มูลธารจักระ (The Base Chakra)
  • เป็นฐานของศูนย์พลังงานทั้งหมดในร่างกาย
  • เป็นธาตุดิน
  • เป็นศูนย์พลังสีแดง
  • อยู่ที่ก้นกบ อวัยวะและต่อท่ี่เกี่ยวข้องได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกทั้งหมด ขา ไตและลำไส้
  • พลังในจักระที่ 1 นี้ทำหน้าที่สร้างภูมิต่อต้านโรคต่าง ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง
  • ถ้าฝึกจนเกิดพลังสูงมาก จักระในฐานนี้ก็จะเปิดเองโดยไม่ต้องทำอะไร
2. จักระที่ 2 สวาธิษฐานจักระ (The Sacral Chakra)
  • เป็นศูนย์พลังที่ทำให้เกิด พลังทางเพศ
  • เป็นธาตุน้ำ
  • เป็นพลังสีส้ม
  • อยู่ที่ตรงสะดือ
  • ถ้ามีคุณภาพก็จะทำให้เกิดพลังความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่แปลก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี พลังนี้ทำให้มี ชีวิตชีวาและสามารถล้างพิษในร่างกายได้ด้วย
  • นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธ์ อวัยวะและต่อมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รังไข่ ลูกอัณฑะ ต่อมลูกหมาก ม้าม มดลูก อวัยวะสืบพันธ์ กระเพาะปัสสาวะ….
  • จักระที่ 2 นี้ถ้ามีพลังมากจะสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่กล่าวมาแล้วได้ด้วย
3. จักระที่ 3 มณีปุระจักระ (The Solar Plexus Chakra)
  • เป็นศูนย์กลางของร่างกาย
  • เป็นธาตุไฟ
  • เป็นพลังสีเหลือง
  • อยู่ตรงกลางระหว่างหัวใจกับสะดือ
  • อวัยวะ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ระบบประสาทกล้ามเนื้อ ตับ ถุงน้ำดี ต่อมหมวกไต กระเพาะอาหาร
  • ทำหน้าที่ขับถ่ายสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ควบคุมระบบการย่อยอาหาร
  • ถ้ามีพลังมากจะทำให้เป็นคนร่าเริง ตื่นตัวเสมอ สามารถประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ มีความเชื่อมันในตนเอง
  • พลังในฐานนี้ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไส้ติ่ง ตับ ม้าม ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ไต เบาาหวาน
4. จักระที่ 4 อนาหตะจักระ (The Heart Chakra)
  • ศูนย์พลังนี้ทำหน้าที่ควบคุมระบบการไหลเวียนของโลหิต หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด
  • เป็นธาตุลม
  • เป็นพลังสีเขียว
  • อยู่ตรงทรวงอก
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ ต่อมไร้ท่อ ปอด แขนและขา
  • ถ้ามีพลังมากจะสามารถรักษาโรคหัวใจและเกี่ยวกับหลอดเลือดได้
  • ถ้ามี คุณภาพจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูง มีมนุษยสัมพันย์ดี มีเมตตาจิต
  • พลังในจักระที่ 4 นี้ สามารถรับพลังจักรวาล พลังจากเทพหรือจากวิญญาณชั้นสูงได้ด้วย
5. จักระที่ 5 วิสุทธิจักระ (The Throat Chakra)
  • มีหน้าที่ควบคุมระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง การพูด เสียงและการสื่อความหมาย
  • ธาตุอากาศ
  • เป็นพลังสีฟ้า
  • อยู่ที่ลำคอ
  • อวัยวะและต่อมที่เกี่ยวข้องได้แก่ ต่อมไธรอยด์ พาราไธรอยด์ ปาก คอ
  • ถ้ามีพลังมากจะสามารถใช้รักษาโรคปอด หลอดลม ลำคอ หอบหืด ไอ จมูก ไซนัส ผื่นคัน ผิวหนัง
  • นอกจากนั้นพลังในจักระที่ 5 นี้ถ้ามีคุณภาพมาก จะทำให้เป็นคนมีความสามารถในการพูด มีวาทะศิลป์ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักมารยาทในสังคม
6. จักระที่ 6 อาชณะจักระ (The Third Eye Chakra)
  • ทำหน้ามี่เปรียบเสมือนเป็นตาที่สาม ควบคุมสติปัญญา ความนึกคิดและระบบประสาท
  • ธาตุแสงสว่าง
  • เป็นพลังสีน้ำเงินแก่
  • อยู่ตรงกลางหน้าผาก
  • อวัยวะและต่อม ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ต่อมพิตูอิทารี ต่อมฐานสมองเกี่ยวกับตาข้างซ้าาย หูทั้งสองข้าง จมูก
  • ใช้พลังนี้ติดต่อกับเบื้องบนได้
  • ใช้ทำลายเชื้อโรคบางชนิดได้
7. จักระที่ 7 สหัสธารจักระ (The Crown Chakra)
  • ทำหน้าที่ควบคุมระบบ ประสาททั้งหมดในร่างกาย เป็นศูนย์ควบคุมจักระทั้งหมด
  • ธาตุรู้
  • เป็นพลังสีม่วง
  • อยู่ตรงกลางกระหม่อม
  • จักระนี้สามารถรับพลังจักรวาลแล้วแผ่ไปทั่ว ร่างกายได้ สามารถสื่อติดต่อและสัมผัสกับวิญญาณในภพภูมิต่าง ๆ ได้
  • สามารถรักษาโรคต่าง ๆ อวัยวะและต่อมที่เกี่ยวข้องได้แก่ ต่อมไพนีล ศูนย์รวมระบบประสามตาข้างขวา
ประโยชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังจักระ
  1. พลังจักระสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคภัยได้
  2. พลังจักระสามารถช่วยเสริมสร้างพลังกายทุกส่วนให้แข็งแรง
  3. พลังจักระสามารถใช้รักษาโรคให้ตนเองและผู้อื่นได้
  4. พลังจักระสามารถช่วยเสริมสร้างพลังจิต ให้เกิดจิตใต้สำนึก ที่เป็นกุศลหรือพลังบวก
  5. พลังจักระสามารถช่วยเสริมหรือแผ่ให้แก่ผู้อื่น ที่มีร่างกายอ่อนแอกว่าได้ ยิ่งแผ่ให้ผู้อื่นมากก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะเหตุว่าขณะที่แผ่ให้ผู้อื่นนั้น ทั้งผู้ให้และผู้รับพลังจะต้องมีจิตที่สงบตั้งมั่น จึงทำใให้เกิดความปีติ และความสุข เพราะว่าร่างกายจะหลั่งสารสุขออกมา จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายมีร่างกายและจิตใจสบายเบิกบานและแข็งแรง
การกระตุ้นจักระอย่างถูกวิธีคือ จะต้องฝึกลมปราณ ทำสมาธิ และกระตุ้นทีละจักระ ภายใต้การแนะนำและควบคุมของอาจารย์ที่สำเร็จวิชานี้แล้ว การฝึกจะต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน ให้ร่างกายได้ปรับตัว เพราะผู้ที่ไม่เคยฝึกลมปราณมาก่อนจักระจะอ่อนแอ ไม่สามารถรับการกระตุ้นอย่างทันทีได้ ในการฝึกจะใช้เวลาหลายวันกว่าที่จะกระตุ้นได้ครบทุกจักระ และเมื่อฝึกสำเร็จจักระจะแข็งแรง เราก็สามารถมาฝึกหรือกระตุ้นจักระโดยวิธีอื่น เช่น การใช้ ควอทซ์ คริสตัล หินสี อัญมณีต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย

วิธีฝึกเสริมพลังจักระ
  1. สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและตั้งนะโม 3 จบ
  2. นั่งขัดสมาธิ, – นับ 1 พร้อมกับหายใจออกช้า ๆ ให้ลมออกจนหมด – นับ 2 หายใจเข้าช้า ๆ จนถึงก้นกบ – ทำเช่นนี้และนับไปด้วยจนได้ 100 ครั้ง นี่เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมทางกายและใจ
  3. ยังนั่งอยู่ในท่าเดิม ละจากการนับ เริ่มกำหนดจิตอยู่ที่ศูนย์ – พลังจักระที่ 7 – พลังสีม่วง ซึ่งอยู่ตรง กลางกระหม่อม….นึกถึงวงล้อที่มีสี “ม่วง” วางอยู่บนกลางกระหม่อม แล้ว หมุนวงล้อสีม่วงนี้ด้วยจิต  เริ่มหมุนไปตามเข็มนาฬิกา หมุนไปเรื่อย ๆ ในระยะแรก ๆ อาจจะหมุนช้าบ้าง หรือเร็วบ้างไม่ได้ระดับสม่ำเสมอ ก็ไม่ต้องกังวลเพราะว่าในระยะแรก ๆ จิตยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่านบ้างเป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่….เมื่อจิตมีสมาธิ ตั้งมั่นขึ้น ก็จะเห็นว่า “ล้อสีม่วง” เริ่มหมุนด้วยความเร็วช้าาลงและสม่ำเสมอ….ในที่สุดจะเห็นล้อสีม่วงชัดเจนขึ้น
  4. เมื่อเห็นล้อสีม่วงชัดเจนขึ้นมาก ก็ไม่ต้องตกใจหรือตื่นเต้น เพราะว่านั่นเป็นเพียงภาพนิมิตที่ปรากฏให้สติ ตามระลึกรู้แล้วก็ดับไปเท่านั้น เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงทาง จิตขณะนั้น….ถ้าไม่มีอะไรปรากฏก็ไม่เป็นไร…เพราะเหตุว่า “ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา” ไม่ ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล บังคับบัญชาไม่ได้….ธรรมะทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย…ดังนั้น เพียรฝึกต่อไป คือทำเหตุให้ถึงพร้อม….สักวันก็จะเกิดผลเอง
  5. เมื่อศูนย์พลังจักระที่ 7 นี้มีพลังในระดับสูงมาก คือหมายถึงจิตมีความสงบตั้งมั่นแน่วแน่…จิตจะ สามารถสัมผัสกับเทพ เทวดาหรือวิญญาณในภพภูมิต่าง ๆ ได้ แต่ก็ไม่ต้องตกใจกลัว ให้ตามระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏทางจิตขณะนั้น ว่าเป็นเพียงสภาวะธรรมหรือภาพนิมิตเท่านั้น. สิ่งที่ปรากฏหรือสิ่งที่สัมผัสไม่มีอำนาจหรืออิทธิพลต่อท่าน…เขามาปรากฏเพราะ ว่า ขณะนั้นจิตของท่านมีพลังหรือมีกระแสจิตที่อยู่ในระดับเดียวกันกับเขา จึงสื่อติดต่อและสัมผัสกันได้….มันดูเหมือนง่ายมากเลยนะ…แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายหรอกจ๊ะ….ต้องใช้ความเพียรและขันติอย่างมากทีเดียว และต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องทำอย่างหักโหม ทำวันละครึ่ง 20-30 นาที ทุกวันสำหรับระยะแรก ๆ “ทุกอย่างสำเร็จด้วยความเพียร”
  6. เคล็ดลับในฝึกเสริมพลังจักระ การที่จะมีจิตสงบได้นั้น…ต้องสงบจากกิเลสทั้งปวงในขณะนั้น จึงจะเป็นสมาธิที่ตั้งมั่นได้…และจะต้องเป็นผู้ที่มีปรกตินิสัย เป็นผู้มีจิต “เมตตา” คือมีความเป็นมิตร ไมตรีกับทุกคนไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ เป็นผู้ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์สุข โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ รักผู้อื่นเสมอเหมือนรักตน….เป็นผู้มี “เมตตาพรหมวิหาร” เป็น เครื่องอยู่ของจิต….แล้วการฝึกพลังจักระจึงจะสำเร็จดังปรารถนา….ท่านก็ จะสามารถสื่่อติดต่อกับโลกทิพย์ได้อย่างอัศจรรย์สำหรับการฝึกจักระศูนย์พลัง ที่ 6,ที่ 5,ที่ 4, ที่ 3, ที่ 2 และที่ 1 (จักระฐาน)…..ก็ฝึกวิธีเดียวกัน
  7. เริ่มในลักษณะเหมือนกันคือ กำหนดจิตอยู่ที่ฐานนั้น ๆ  แล้วนึกถึงวงล้อสีของพลังในฐานนั้นด้วย…..จากนั้นก็หมุนตามเข็มนาฬิกา จนเกิดสมาธิตั้งมั่นแน่วแน่ จนเกิดภาพนิมิตเห็นวงล้อสีของฐานนั้นชัดขึ้น ๆ ตามลำดับของพลัง……ให้ฝึกจนครบทุกจักระ โดยเริ่มจากจักระฐานที่กระหม่อมก่อน…..แล้วเลื่อนลงไปจักระที่ 2 และจักระที่ 3 ลงไปจนครบทุกจักระ. เมื่อครบทุกจักระแล้ว ให้เริ่มจากจักระที่ 1 (จักระฐาน) ซึ่งเป็นฐานพลังสีแดง….กำหนดจิตที่วงล้อสีแดงอยู่ตรงก้นกบ….แล้วหมุนจน เกิดสมาธิตั้งมั่น…..จากนั้นก็เลื่อนไปจักระที่ 2…..เลื่อนไปเรื่อยจนถึงจักระที่ 7 (ฐานกระหม่อม) เป็นอันว่าครบวงจรของการสร้างพลังจักระ

การฝึกเสริมพลังจักระนี้ เป็นการเสริมและปรับพลังให้สมดุลกัน ด้วยการหมุนวงล้อให้ครบทุกจักระหรือทุกฐานพลัง จักระแต่ละฐานจะมีพลัง ไม่เท่ากัน เพราะว่าพลังแต่ละสีมีอิทธิพลต่างกัน เมื่อหมุนไปเรื่อย ๆ พอฐานใดมีพลังมากพอแล้ว วงล้อเขาจะหยุดหมุนเอง นี่ก็คือความพิเศษอย่างหนึ่งของจักระ ถ้าไม่เกิดนิมิตอะไรก็ไม่ต้อง ท้อแท้ เพียรพยายามให้สม่ำเสมอ จะเกิดผลเอง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว
ที่มา: http://www.stonelover.com, http://www.luangputo.com, http://palungjit.org





ความคิดเห็น