พยัญชนะภาษาเขมร (Khmer Language)
อักษรเขมรมีพยัญชนะ 33 ตัว พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-อา /ɑ/ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ) พื้นเสียงเป็น ออ-โอ /ɔ/ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน อักษรเขมรมีทั้งพยัญชนะธรรมดา และพยัญชนะซ้อนที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่น พยัญชนะซ้อนจะใช้เมื่อต้องการตัดพื้นเสียงของพยัญชนะตัวก่อนหน้า
สระภาษาเขมร (Khmer Language)
สระเขมร มี 23 ตัว สระในอักษรเขมรมีสองแบบคือ สระลอยและสระจม สระลอยใช้เขียนเมื่อมิได้ผสมกับพยัญชนะ (เปรียบเหมือนขึ้นต้นด้วย อ) ส่วนสระจมใช้ประกอบกับพยัญชนะอื่น พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับจะออกเสียงตามเสียงเดิมของพยัญชนะดังที่กล่าวไว้ด้านบน (เทียบได้กับ ออ) เสียงสระจะแตกต่างจากอักษรไทย และขึ้นอยู่กับว่าพยัญชนะเป็นอโฆษะหรือโฆษะด้วย ต่อไปนี้เป็นสระลอย
ข้อมูลเพิ่มเติม: พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ภาษาเขมร , พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ภาษาเขมร Link2
ไวยากรณ์ภาษาเขมร (Khmer Language)
ตามแบบลักษณ์ภาษา ชนิดของคำในภาษาเขมรจัดอยู่ในกลุ่มสองกลุ่ม คือภาษาคำโดดและภาษาคำติดต่อ คำส่วนใหญ่เป็นคำโดด แต่มีการสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำซึ่งเป็นลักษณะของภาษาคำติดต่อก็มีมาก ส่วนโครงสร้างประโยคพื้นฐานเป็น ประธาน-กริยา-กรรม และคำขยายมักจะอยู่ด้านหลังของคำหลัก ยกเว้นคำขยายกริยาสามารถปรากฏหน้าหรือหลังของคำกริยาได้โดยมีความหมายเดียวกัน ภาษาเขมรมีลักษณนาม มีคำลงท้ายประโยคที่แสดงทัศนคติหรืออารมณ์ ส่วนลักษณะบางประการทางไวยากรณ์ของภาษาเขมรใกล้เคียงกับไวยากรณ์ในภาษาไทยและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะส่วนภาคพื้นทวีป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น