ก่อนที่จะทราบและเรียนรู้เรื่องชีววิทยานั้น เราควรที่จะรู้ความหมายของ คำว่า "ชีววิทยา" หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Biology" ซึ่งคำดังกล่าวนี้มาจากภาษากรีก ของคำว่า "bios" ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" ที่แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล ดังนั้นคำว่า
ชีววิทยา หรือ Biology นั้นหมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งของภาควิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตอย่างมีเหตุและผล ซึ่งรวมถึงการศึกษาโครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ อนุกรมวิธาน และด้านอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ด้วยการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ
เพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องชีววิทยา ผู้ค้นพบการเรียนรู้เรื่องดังกล่าวจึงจำแนกวิชาชีววิทยา ออกเป็นแขนงต่างๆ ได้ 4 กลุ่มย่อย ดังนี้
ชีววิทยา หรือ Biology นั้นหมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งของภาควิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตอย่างมีเหตุและผล ซึ่งรวมถึงการศึกษาโครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ อนุกรมวิธาน และด้านอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต โดยการศึกษาค้นคว้าในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ด้วยการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ
เพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่องชีววิทยา ผู้ค้นพบการเรียนรู้เรื่องดังกล่าวจึงจำแนกวิชาชีววิทยา ออกเป็นแขนงต่างๆ ได้ 4 กลุ่มย่อย ดังนี้
- การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์ ยีน
- การศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย
- การศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต เช่น วิวัฒนาการ
- การศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต เช่น การพึงพาอาศัยกัน การเกือกุลของสิ่งมีชีวิต
- ชีวเคมี (Biochemistry) - ที่ศึกษาความเป็นไปในระดับชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต ทั้งองค์ประกอบทางชีวเคมีของเซลล์หรืออณุภาคต่างๆ (รวมไวรัส) โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง ทั้งการสร้างและทำลายโมเลกุลเหล่านั้น (ทั้งสารโมเลกุลเล็ก และ โมเลกุลใหญ่ เป็น มหโมเลกุล (macro-molecules) เช่น โปรตีน (Protein) (รวม เอ็นไซม์ / Enzyme) ดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) การควบคุมการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุล การควบคุมการทำงานในระดับต่างๆ การสร้างพลังงานและการใช้พลังงาน อันเป็นปรากฎการณ์ของชีวิต
- อณูชีววิทยา (Molecular biology) หรือ ชีววิทยาโมเลกุล - เป็นสาขาย่อย ที่แตกย่อยออกมาจากชีวเคมี ที่เน้นศึกษาเรื่องโครงสร้างและการทำงานของยีน (Gene) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมบนสายดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ ตลอดจนการควบคุมการทำงานของยีน ในระดับต่างๆ จนสามารถออกมาเป็น สาย อาร์เอ็นเอ และ เป็นโปรตีน ต่อไป
- พันธุศาสตร์ (Genetics) - ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จากชั่วชีวิตหนึ่งไปอีกชั่วชีวิตหนึ่ง
- เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) - ศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต
- สัณฐานวิทยา (Morphology) - ศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจุลชีพ สัตว์ หรือพืช เพื่อประกอบการระบุชนิด เช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy) - ศึกษาการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ ในทางวิวัฒนาการ (evolution) สมัยก่อนเน้นข้อมูลสัณฐานวิทยา ปัจจุบันใช้ข้อมูลระดับโมเลกุลมากขึ้น กลายเป็นวิชา Molecular Systematic
- คัพภวิทยา (Embryology) - ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในสิ่งมีชีวิต การพัฒนา และ การเกิดอวัยวะต่างๆ ในช่วงเวลาการพัฒนาตัวอ่อน สามารถแยกได้เป็นคัพภวิทยาของพืช หรือคัพภวิทยาของสัตว์
- จุลชีววิทยา (Microbiology) - ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ส่วนมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และ ยีสต์ มักรวม ไวรัส ไว้ด้วย
- สัตววิทยา (Zoology) - ศึกษาชีววิทยาของสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- มีนวิทยา (Ichthyology) - ศึกษาปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบต่างๆ ภายในตัวปลา การจัดจำแนกปลาออกเป็นกลุ่มหรือประเภทต่างๆ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลา
- สังขวิทยา (Macrology) - ศึกษาหอย โดยเฉพาะหอยน้ำจืดที่เป็นเจ้าบ้านส่งผ่านของพยาธิ
- ปรสิตวิทยา (Parapsychology) - ศึกษาปรสิต ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นตัวเบียฬของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน
- กีฏวิทยา (Entomology) - ศึกษาเรื่องแมลง การจัดจำแนก สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง
- พฤกษศาสตร์ (Botany) - ศึกษาชีววิทยาของพืช การจัดจำแนกพืช การกระจายของพืชในส่วนต่างๆ ของโลก ตั้งแต่พวกพืชชั้นต่ำที่ไม่มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง ไปจนถึงพืชชั้นสูง อันได้แก่ พืชดอก
- เห็ดราวิทยา (Mycology) - ศึกษาเรื่องชีววิทยาของเห็ด และ รา
- บรรพชีวินวิทยา(Paleontology) - ศึกษาฟอสซิล (fossils)
- ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) - เป็นบูรณาการของสหวิชา ศึกษาโดยใช้ความรู้จาก อณูชีววิทยา ชีวเคมี คณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สืบค้น ประมวลผลข้อมูลทางชีววิทยา เพื่อตอบปัญหาทางชีววิทยา หรือทำแบบจำลองเพื่อทำนายความเป็นไปได้ทางชีววิทยา ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ต่อๆมา เช่น จีโนมิกส์ (Genomics) โปรตีโอมิส์ (Proteomics) เมตะโบโลมิกส์ (Metabolomics) ฯลฯ
- ชีววิทยาระบบ (Systems Biology) - เป็นศาสตร์ที่อาศัยความรู้ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ คณิตศาสตร์ชั้นสูง วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ ชีวเคมี เพื่อทำแบบจำลองของปราฏการณ์ภายในเซลล์ หรือในสิ่งมีชีวิต บนคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยการคำนวณ จุดมุ่งหมายก็เพื่อทำนายปรากฏการณ์ของชีวิตในเรื่องต่างๆ อาทิ การตอบสนองของเซลล์ต่อยา หรือ ต่อสภาวะต่างๆ เป็นต้น ก่อนการทำการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการ (wet lab)
- ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) - เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง หน้าที่ การเจริญเติบโต พันธุกรรมศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และ พยาธิวิทยา ของ ระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม และ การเรียนรู้ ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น